ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,805 รายการ
พิพิธภัณฑ์สรรหาสาระ บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
“เจ้าแม่แห่งโคกพนมดี” หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีได้เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งอ่าวไทย แต่แท้ที่จริงแล้ว แหล่งโบราณคดีโคกพนมดียังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกมากมาย โดยครั้งนี้ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าแม่โคกพนมดีให้ได้รู้จักกัน
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ กรมศิลปากร ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี โดยมีศาสตราจารย์ชาร์ลส ไฮแอม และนางรัชนี ทศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการขุดค้นร่วม การขุดค้นทางโบราณคดีในครั้งนั้น ได้มีการขุดพบหลุมฝังศพและโครงกระดูกจำนวนถึง ๑๕๔ โครง ฝังซ้อนทับกันถึง ๗ สมัย โดยมีโครงกระดูกหมายเลข ๑๕ เป็นหนึ่งในโครงกระดูกที่มีการขุดพบครั้งนั้น โครงกระดูกหมายเลข ๑๕ มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า เจ้าแม่แห่งโคกพนมดี เนื่องจากเป็นโครงกระดูกที่มีการอุทิศสิ่งของเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องประดับร่างกาย โครงกระดูกหมายเลข ๑๕ เป็นหลุมศพของผู้หญิง อายุประมาณ ๓๕ ปี พบที่ระดับความลึก ๒.๕๐ เมตร ตัวหลุมศพมีขนาดใหญ่ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๓ เมตร ลึก ๙๕ เซนติเมตร ฝังแบบนอนหงายเหยียดยาวหันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากโครงกระดูกเจ้าแม่โคกพนมดีหรือโครงกระดูกหมายเลข ๑๕ พบหลักฐานเป็นจำนวนมากประกอบไปด้วย - ลูกปัดเปลือกหอยแบบแว่นกลมมากกว่า ๑๒๐,๐๐๐ เม็ด พบบริเวณส่วนหน้าอกและแผ่นหลัง ในลักษณะน่าจะเป็นลูกปัดที่เย็บติดกับผ้าหรือเสื้อคลุม - ลูกปัดแบบตัวไอ ขนาดต่าง ๆ จำนวน ๙๕๐ เม็ด พบบริเวณหน้าอกและใต้แขน - เครื่องประดับศีรษะทำจากเปลือกหอย มีลักษณะเป็นแผ่นกลม เจาะรูทะลุตรงกลาง พบบริเวณหูข้างละ ๑ อัน - แผ่นวงกลมมีเดือยอยู่ตรงกลาง ทำจากเปลือกหอยจำนวน ๒ วง พบบริเวณไหล่ข้างละ ๑ วง - กำไลเปลือกหอย สวมใส่อยู่ที่ข้อมือซ้ายจำนวน ๑ วง ซึ่งถือว่าเป็นกำไลวงแรกที่พบร่วมกับโครงกระดูก - ภาชนะดินเผา ๑๐ ใบถูกทุบให้แตก โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ พบวางในลักษณะกระจายปกคลุมลำตัวตั้งแต่ต้นขาถึงปลายเท้า และกลุ่มที่ ๒ พบวางอยู่บนกองของแท่นดินเหนียวที่วางทับลำตัวอยู่ โดยที่บางใบมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากที่พบในหลุมศพอื่น - หินดุ ๑ ชิ้น พบบริเวณกระดูกหน้าแข้งข้างขวา โดยหินดุนี้ เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการผลิตภาชนะดินเผา ซึ่งจะพบแต่ในศพของผู้หญิงเท่านั้น - ฝาหอยพอก จำนวน ๑ ชิ้น อีกทั้งโครงกระดูกหมายเลข ๑๕ นี้ ยังมีดินเทศจำนวนปกคลุมร่างกาย รวมทั้งแท่งดินเหนียวดิบ จำนวนมากวางสุมทับลำตัวเป็นกองสูงเกือบเท่าถึงปากหลุม จากลักษณะของกระดูกนิ้วมือที่ค่อนข้างแข็งแรง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้มือนวดดินในการปั้นหม้อ ประกอบกับการพบหินดุและหินขัดภาชนะดินเผา เจ้าแม่แห่งโคกพนมดีน่าจะเป็นช่างปั้นหม้อด้วย จากการพบสิ่งของและเครื่องประดับจำนวนมาก แสดงว่า “เจ้าแม่แห่งโคกพนมดี” คงเป็นผู้หญิงที่มีบทบาทสำคัญชุมชนในสมัยนั้น เอกสารอ้างอิง : - ชาร์ลส ไฮแอม,รัชนี ทศรัตน์. สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย, ๒๕๔๒.- อำพัน กิจงาม. โคกพนมดี : แหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารศิลปากร ฉบับที่ ๔ ก.ค. – ส.ค. ๒๕๔๖.
ผู้เรียบเรียง : นายเพิ่มพันธ์ นนตะศรี ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
สาระสังเขป : เป็นคำปราศรัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีที่ได้กล่าวในวันครบรอบ 1 ปี ที่ได้ปฏิวัติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2502 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผู้แต่ง : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีโรงพิมพ์ : ธนะการพิมพ์ปีที่พิมพ์ : 2502ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.30ร4218เลขหมู่ : 895.915 ท424ค
เลขทะเบียน : นพ.บ.12/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 8หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.42/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 24 (239-243) ผูก 1หัวเรื่อง : อาทิกมฺมวณฺณน --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง : ยิ้ม บัณฑยางกูร
ชื่อเรื่อง : กรมพระราชวังหลัง
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๔
ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่สอง
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : บริษัท อมรโปรดัดส์ จำกัด
จำนวนหน้า : ๑๖๗ หน้า
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี ม.ล. จวง เสนีวงศ์ ท.ช. , ท.ม.
เรื่องกรมพระราชวังหลังนี้ พระยาสากลกิจประมวล (ม.ล. แปลก เสนีวงศ์) เป็นผู้รวบรวมหลักฐานและบันทึกเรื่องราวไว้ นายยิ้ม บัณฑยางกูร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นผู้เรียบเรียงและตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติม และได้มอบต้นฉบับเรื่องให้กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ดำเนินการจัดพิมพ์ต่อไป
การพิมพ์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สอง และเจ้าภาพได้ขออนุญาตนำเรื่องพระวังหลังของนายสมภพ จันทรประภา ประวัติสกุลเสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ของนายเมือง เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และวัดโพธิ์บางโอ ของ น.ณ ปากน้ำ มารวมพิมพ์ไว้ด้วย
"ปลูกดี กินดี ใจดี"
คนเมืองขลุง."ปลูกดี กินดี ใจดี".จันท์ยิ้ม.(2):4;เมษายน-พฤษภาคม2560.
วันหนึ่งระหว่างเดินทางกลับจันทบุรี แอบใด้ยินคนต่างถิ่น เอ่ยปากชื่นชมความเป็นจันท์ ชื่นชมสภาพแวดล้อม ความสวยงาม รวมถึงทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ นานา ที่คนจันทบุรีคนใหนได้ยิน ก็คงแอบปลื้มไม่แพ้กัน
ช่วงเวลานั้นมองไปรอบๆ เส้นทางในตัวเมืองกรุงมองความแออัด ของผู้คนที่นั่งและยืนอยู่บนรถโดยสารเห็นข้างทาง ที่เต็มไปด้วยผู้คน ที่ดูเร่งรีบและมีความเครียด บางคนก็นําหนังสือมาบังศีรษะ เนื่องจาก สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว บางคนก็ขมวดคิ้วมองดูรถที่ผ่านไปมา เพราะอาจจะกังวลเรื่องเวลากับการเดินทาง บางคนใช้ผ้าปิดจมูก เพราะมลภาวะอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน
มันสะท้อนอะไรบางอย่างที่ทําให้เราได้ย้อนมองตนเอง และ บวกกับคําพูดคําชม ของคนต่างถิ่นกอปรกัน ซึ่งเสริมความคิตในด้าน ดี ๆ ของตนเองว่า จริง ๆ แล้วนั้นเราที่เกิดเป็นคนจันท์โซคดีเหลือเกิน
“บ้าน” ของผู้เขียน คือ“จันทบุรี เมืองที่มีแต่ความสุข เคยนึกถึงกันไหม ว่าเราโชคดีขนาดไหน และมีคนอีกก็ล้านคนอยากอยู่ เมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์นี้
มองด้วยใจที่เป็นบวก ก็ต้องเรียกว่า คนจันท์ อยู่ดี กินดี มา โดยกําเนิดจริง ๆ มองไปรอบ ๆ เราแทบจะไม่ต้องดิ้นรนอะไร มากมายเลย ถ้าเรายึดเศรษฐกิจพอเพียงแบบที่พ่อ“ในหลวง” สอนเรา
จันทบุรีนี้เหมาะสมที่สุดแล้ว รถไม่ติด มสภาวะแทบไม่มี อากาศก็ดี ผลไม้ก็มีมากมายนานาชนิด
ช่วงนี้เป็นหน้าผลไม้ ยิ่งใกล้งาน“มหานครผลไม้ 2017” เชื่อเหลือเกินว่า หลายบ้าน หลายคน ที่เป็นคนจันท์แท้ ๆ แทบจะไม่ต้อง ควักเงินจ่ายค่าผลไม้ดี ๆ ที่สุดแสนอร่อยสักบาทเลย ยิ่งเฉพาะบ้าน ของผู้เขียนเอง ผลไม้หลากชนิดมีเพื่อนบ้านเดินถือมาให้เกือบทุกวัน อะไรจะข่างโชคดีแห้แบบนี้
“วิธีการดําเนินชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน ยังมีอยู่จริง สําหรับบ้านเรา สิ่งนี้มันสะท้อนให้เห็นถึงความน่ารัก“ใจดี” ของชาวจันท์ ที่คนต่างบ้าน ต่างถิ่นเขาชื่นชมกันบ่อย ๆ และที่สําคัญคือเป็นเมือง ซึ่งหาได้ยากที่เมืองใตจะมีครบขนาดนี้ ธรรมชาติงดงาม สภาพอากาศดี ใกล้ทะเล ภูเขาและน้ำตก หลายสิ่งหลายอย่างประกอบ กัน ทําให้คนจันท์ ปลูกดี อยู่ดี กินดี แถม“ใจ” กันมาช้านาน
บ่อยครั้งที่หลังจากทําบุญแล้วเราก็จะแผ่ผลบุญนั้นให้กับ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทําให้เราได้มาเกิดเป็นคนจันทบุรี ทุกอย่างล้วนจัดสรร มาแล้วทั้งสิ้น
สุดท้าย หากผู้ย่านที่เป็นคนจันท์ยังรู้สึกว่าตนเองทําไมชีวิต มีไม่พร้อมเลย หรือทําไมหลายอย่างยังเหมือนไม่ได้ตั้งใจ มีความทุกข์ ในชีวิต อยากให้ท่านย้อนมองตรงนี้ว่า เราได้เกิดมาอยู่บนผืนแผ่นดินไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อยู่บนผืนแผ่นดินของพ่อตากสิน“จันทบุรี" ที่พ่อ รักษาไว้ให้เรา ลิขิตเลือกเรา ให้ได้มาเกิดอยู่บนผืนแผ่นดินแห่งนี้ ที่มีความอุตมสมบูรณ์ขนาดนี้ ขอให้ทุกท่าน ใช้พื้นฐานที่ดีที่เรามี พัฒนาตน ความสามารถเพื่อชีวิตที่ดีกับทรัพยากรที่มีและเพื่อประเทศชาติ กันต่อไปนะคะ.
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
องค์ความรู้ เรื่อง นิทานพื้นบ้านเมืองสุพรรณ โดยหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
THAI CULTURE, NEW SERIES No. 24
THE DEVELOPMENT OF
NATIONAL MUSEUMS IN THAILAND
BY
DHANIT YUPHO
ตรวจรับงานกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางที่ทำลายโบราณสถานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาวันศุกร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗
ชื่อเรื่อง บทละครนอกรวม 6 เรื่อง ฉบับหอสมุดแห่งชาติครั้งที่พิมพ์ 4ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.9112081 พ835บสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ คลังวิทยาปีที่พิมพ์ 2508ลักษณะวัสดุ 734 หน้าหัวเรื่อง บทละครไทย – รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก บทละครนอก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รวม ๖ เรื่อง ได้แก่ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 17
ฉบับที่ 695
วันที่ 1-15 มกราคม 2536