ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,789 รายการ
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ (๒ เมษายน ๒๕๖๖) รณรงค์ดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน เปิดให้เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม พร้อมเชิญชวนร่วมงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย รับฟังการเสวนาทางวิชาการและชมการแสดงนาฏศิลป์-ดนตรี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ กำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันอนุรักษ์มรดกไทย” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีคุณูปการอย่างอเนกอนันต์และทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ในฐานะหน่วยงานที่เป็นสถาบันหลักด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และสร้างสรรค์มรดกวัฒนธรรมของชาติ ได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ ในวันที่ ๒ เมษายนของทุกปี พร้อมทั้งจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ร่วมกับเครือข่ายในท้องถิ่น อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนในพื้นที่ จัดกิจกรรมทำความสะอาดแหล่งเรียนรู้ วัด และโบราณสถานทั่วประเทศ ปลูกต้นไม้ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน รู้ รัก และภาคภูมิใจในมรดกศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น สำหรับกรุงเทพมหานคร จะจัดกิจกรรมรณรงค์ดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในย่านฝั่งธนบุรี ภาพ : วัดประดู่ฉิมพลีภาพ : ทำความสะอาดโบราณสถาน
นอกจากนี้ กรมศิลปากร กำหนดจัดงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ ประกอบด้วยกิจกรรม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ระหว่างวันที่ ๒ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. และรับฟังการเสวนาวิชาการ ระหว่างวันที่ ๓ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๕.๐๐ น. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดการแสดงคอนเสิร์ต ๒ ทศวรรษ เพชรในเพลง พุทธศักราช ๒๕๖๖ ในวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
จึงขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยทุกคนซึ่งล้วนมีส่วนเป็นเจ้าของสมบัติวัฒนธรรมของชาติ ร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน รักษา ต่อยอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้ยั่งยืนสืบไปตามพระราชปณิธาน “การรักษามรดกไทยเป็นการรักษาชาติ”ภาพ : การแสดงเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๖๕
เลขทะเบียน : นพ.บ.428/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 155 (129-130) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อภิธรรมรวม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เมื่อเดือนก่อนแอดฯได้มีโอกาสเจอกับรุ่นพี่ภัณฑารักษ์ท่านหนึ่ง และได้ให้แอดฯดูโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งที่สันนิษฐานว่ามาจากเมืองศรีเทพ นั้นคือชิ้นส่วนประติมากรรมมือซ้ายที่กำลังถือวัตถุบางอย่างรูปทรงคล้ายถ้วยชาม บริเวณตอนกลางของวัตถุมีลักษณะเป็นปุ่มก้อนกลมไข่ปลาอยู่หลายก้อน และด้านบนสุดมีชิ้นส่วนบางอย่างครอบวัตถุก้อนกลมไข่ปลาเหล่านั้นไว้ โดยปัจจุบันโบราณวัตถุชิ้นนี้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จ.สุโขทัย
โบราณวัตถุชิ้นนี้จะเป็นอะไรนะ และจะเกี่ยวข้องอะไรกับเมืองศรีเทพ ม่ะ เดี๋ยวแอดฯจะเล่าให้ฟัง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ดร. อนุรักษ์ ดีพิมาย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2565). ลวดลายในศิลปะทวารวดี การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วกาฏกะ. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2531). รายงานการขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณ ศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2532). รายงานเบื้องต้นหลุมขุดตรวจฐานโบราณสถาน โบราณสถานเขาคลังใน (P10) เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2532). รายงานเบื้องต้นการขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังใน (ต่อ) เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2533). ดรรชีภาพปูนปั้นจากโบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. (2534). รายงานทางวิชาการฉบับที่ 2/2534 การปฏิบัติงานทางโบราณคดีโบราณสถานเขาคลังในด้านทิศใต้ เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ.
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ แจ้งข่าว ปิดเบี่ยงการจราจรบนถนนสามเสนและบนถนนศรีอยุธยา.ประชาสัมพันธ์ บริเวณซอยท่าวาสุกรี ถึง หอสมุดแห่งชาติ บริเวณโรงเรียนพระดาบส ถึง แยกสี่เสาเทเวศร์ และบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ฝั่งทางเข้าวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เพื่อดำเนินงานก่อสร้างกำแพงสถานี บริเวณสถานีหอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2566 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง
กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที - พีแอล ผู้รับจ้างออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 2 ช่วงหอสมุดแห่งชาติ - ผ่านฟ้า แจ้งปิดเบี่ยงจราจร 2 ช่องจราจร บนถนนสามเสนและบนถนนศรีอยุธยา บริเวณซอยท่าวาสุกรี ถึง หอสมุดแห่งชาติ บริเวณโรงเรียนพระดาบส ถึง แยกสี่เสาเทเวศร์ และบริเวณแยกสี่เสาเทเวศร์ฝั่งทางเข้าวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร เพื่อดำเนินงานก่อสร้างกำแพงสถานี บริเวณสถานีหอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2566 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีผลให้ถนนสามเสนบริเวณปิดเบี่ยง ฝั่งมุ่งหน้าแยกสี่เสาเทเวศร์ เหลือ 2 ช่องจราจร และถนนศรีอยุธยา ฝั่งทางเข้าวัดเทวราชกุญชร เหลือ 1 ช่องจราจร ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าออกที่พักอาศัยได้ตามปกติ
ทั้งนี้ การปิดเบี่ยงจราจรเพื่อดำเนินงานดังกล่าว อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจมีเสียงดังรบกวนในวันเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง และ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ โดยผู้ใช้เส้นทางสามารถสอบถามรายละเอียดการเบี่ยงจราจรได้ที่หมายเลข 08 4438 3943 และติดตามข้อมูลโครงการฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.mrta-purplelinesouth.com Facebook โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ และ Line @mrtpurpleline
สวัสดีเดือนแห่งความรัก วันนี้มีเกร็ดความรู้เรื่องการอู้บ่าว อู้สาว หรือการจีบกันของหนุ่มสาวล้านนาในสมัยก่อนมาฝาก สามารถอ่าน e-book เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/19143-โวหารโบราณ--เพลงละอ่อน--ปริศนา-คำทาย--คำอู้บ่าว-อู้สาว--สุภาษิต-เรียบเรียงโดย นางสาวพิมพา สุธัญญาวัชชัย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#อู้บ่าวอู้สาว#ล้านนา#บรรณารักษ์ชวนรู้
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พุทธศักราช ๒๕๓๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่ ๑๙ กันยายนของทุกปี เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และใน ปีนี้ กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศ จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในหมู่นักวิชาชีพพิพิธภัณฑ์ในการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานให้สามารถตอบสนองต่อสังคมในมิติของความยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” โดยแนวคิดหลักที่นำมาสู่หัวข้อการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากแนวทางการทำงานพิพิธภัณฑ์สากลของสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM ที่ได้ประกาศไว้ในวันพิพิธภัณฑ์สากล ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา ว่า “Museums, Sustainability and well-being: พิพิธภัณฑ์เป็นสถาบันที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดี พร้อมการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน” ด้วยเล็งเห็นว่า “คลังพิพิธภัณฑ์” และ “วัตถุพิพิธภัณฑ์” เป็นหัวใจสำคัญของพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นการดูแลบริหารคลังพิพิธภัณฑ์และวัตถุพิพิธภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างความยั่งยืนแก่มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป
กิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย จำนวน ๒๐ แห่ง และหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร จำนวน ๙ แห่ง มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนที่ ๑ กิจกรรมการนำเสนอผลงานความก้าวหน้าทางวิชาการพิพิธภัณฑสถานวิทยา โดยเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ นำเสนอข้อมูลและมุมมองที่แตกต่างในการทำงานเกี่ยวกับคลังพิพิธภัณฑ์ การนำเทคโนโลยีปัจจุบันเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ การดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการถอดบทเรียนจากงานทำงานคลังพิพิธภัณฑ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
ส่วนที่ ๒ การจัดนิทรรศการแสดงผลงานร่วมกันของเครือข่าย ในหัวข้อ “Museum Unveiling: เรื่องลึก เบื้องหลังพิพิธภัณฑ์ไทย” นำเสนอเรื่องราวความรู้ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ผ่านโบราณวัตถุในคลังที่หลายคนอาจยังไม่เคยเห็น
ส่วนที่ ๓ การจัดกิจกรรม Workshop ด้านการอนุรักษ์วัตถุพิพิธภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน
ส่วนที่ ๔ งานออกร้านแสดงผลงานหรือสินค้าต่อยอดกิจการพิพิธภัณฑ์
นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เปิดการนำชมพิเศษ “ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน” (Night at the Museum) ภายในหมู่พระวิมาน จำนวน ๒ รอบ เวลา ๑๗.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐ น. (เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าเวลา ๑๖.๑๕ น.) และกิจกรรม “มหาคณปติบูชา” เนื่องในเทศกาลคเณศจตุรถี ร่วมสักการะขอพรพระคเณศ ณ เทวาลัยชั่วคราว ห้องศรีวิชัย อาคารมหาสุรสิงหนาท และนำชมรอบพิเศษ “กำเนิดพระคเณศ” วันละ ๑ รอบ ในเวลา ๑๘.๐๐ น. (เปิดลงทะเบียนล่วงหน้าเวลา ๑๗.๓๐ น.)
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
นิทรรศการหมุนเวียน
"Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ประจำเดือน "สิงหาคม" ระหว่าง
วันที่ ๑ - ๓๑ ส.ค. ๒๕๖๖ เชิญพบกับ
"มีดตัดหวายลูกนิมิต"
มีดสำคัญที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงใช้ประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตอุโสถวัดดอนเจดีย์
ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ.๒๕๓๙
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
มะโรงนักษัตรชมโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับนาคในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านมะโรง ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา คือ น. ชื่อปีที่ ๕ ของรอบปีนักษัตร มีงูใหญ่เป็นเครื่องหมาย ในวรรณกรรม “เฉลิมไตรภพ” กล่าวว่า “ที่ห้าพระยาภุชงค์ เจ็ดเศียรหนึ่งองค์ นามปีมะโรงวาสุกี” ทางจีน ปีมะโรง คือ เซิน/เฉิน หรือ หลง/เล้ง เป็นมังกร มังกรเป็นสัตว์ที่สัมพันธ์กับฤดูกาล เทพเจ้าแห่งฟ้าฝน การเปลี่ยนแปลงของวันเวลามีความสำคัญต่อการทำเกษตรของคนจีน. งูใหญ่ มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามจินตนาการของกลุ่มชนต่างๆ คนไทยรับคติความเชื่อจากศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู งูใหญ่ จึงมีลักษณะอย่างนาค เป็นงูใหญ่ที่มีหงอน นาคเป็นสัตว์วิเศษ มีฤทธิ์ และเชื่อว่ามีอำนาจเหนือธรรมชาติ สัมพันธ์กับปรากฎการณ์ฝนตก ความอุดมสมบูรณ์ ทั้งนาคมีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดูอย่างแน่นแฟ้นปีมะโรง ล้านนา คือ “สี” ตัวเปิ้งหรือนักษัตร คือ งูใหญ่ . การบูชาพระธาตุประจำปีเกิด หรือการ “ชุธาตุ” เป็นความเชื่อเรื่องการบูชาพระธาตุองค์เจดีย์สำคัญในวัฒนธรรมล้านนา ๑๒ องค์ ตามปีนักษัตร ชาวล้านนามีความเชื่อว่าบุคคลใดๆ ก่อนที่จะมาเกิดเป็นชีวิตช่วงก่อนการปฏิสนธิจะก่อรูปเป็นภาวะจิตที่นิ่งสถิตอยู่ ณ องค์พระธาตุที่สำคัญที่ประจำในแต่ละรอบปี แล้วนำดวงจิตนั้นมาอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งที่มีสัตว์อยู่เฝ้ารักษาแต่ละปีเกิด เมื่อครบวาระแล้วดวงจิตนั้นจะเปลี่ยนรูปเป็นลักษระของดาวกลายเข้าสู่ช่วงแห่งการปฏิสนธิก่อเกิดเป็นมนุษย์นั่นเอง โดยในปี “สี” หรือมะโรง บูชาพระธาตุวัดพระสิงห์หลวง จังหวัดเชียงใหม่. คติความเชื่อเรื่องงู หรือนาค ปรากฏในงานศิลปกรรมต่างๆ เช่น ราวบันได หน้าบัน ช่อฟ้า หงหงส์ คันทวย ฐานชุกชี ภาพจิตรกรรม ธรรมาสน์ สัตภัณฑ์ หรือตกแต่งในเครื่องพุทธบูชาต่างๆ ตัวอย่างงานศิลปกรรมที่โดดเด่น อาทิ บันไดนาคทางเข้าวิหารวัดภูมินทร์ จ.น่าน บันไดนาควัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน ฐานชุกชีนาคบัลลังก์วิหารวัดหนองแดง จ.น่าน นาคปูนปั้นเกี้ยวกระหวัดทางเข้าวิหาร วัดพระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน เป็นต้น. สะพานนาคราชค่อยๆ เลื้อยคดเคี้ยวสู่อาคาร แสดงวัดหรืออาคารเป็นโลกสมมติของชาวพุทธ นาคคือรุ้ง โดยมีนาคราชเป็นสะพานเชื่อม ระหว่างเบื้องล่างคือโลกมนุษย์ กับเบื้องบนคือสวรรค์ ยังแสดงถึงทางเชื่อมของโลกียะ สู่โลกุตระ หรือให้พญานาคเป็นสะพานนำมาเข้าสู่โพธิญาณ. เมืองน่านกับความเชื่อเรือนาค เชื่อว่าคำว่า “น่าน” คือ “นาคนาม” ตามระบบภูมิทักษา เมืองน่านขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “น” จากตำนานวังนาคินทร์คำชะโนดแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับล้านช้าง โดนปรากฏตำนานการสร้างแม่น้ำโขง และแม่น้ำน่านโดยพญานาค บางคนเชื่อว่า “ขุนนุ่น” และ “ขุนฟอง” ราชบุตรบุญธรรมของพญาภูคา ปฐมกษัตริย์เจ้าผู้ครองน่าน ถือกำเนิดมาจากไข่ โดยไข่นั้นเป็นไข่พญานาค ราชบุตรทั้งสองจึงมี “เชื้อสายนาคเป็นปฐม” ทั้งนี้ “หัวเรือแข่งเมืองน่าน” มีการแกะสลักเป็นรูปนาค ซึ่งมีความเชื่อว่าถ้าหากปีใดแห้งแล้งจะนำเรือแข่งมางเล่นน้ำน้ำเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งแสดงโลกทัศน์และความเชื่อของชาวน่านที่ผูกแน่นกับศาสนา และเชื่อว่านาคเป็นผู้มีอำนาจ สามารถให้คุณและโทษได้ เกี่ยวข้องกับน้ำ มีอิทธิฤทธิ์บันดาลให้ฝนตกได้.เอกสารอ้างอิงยุทธพร นาคสุข. ประวัติเรือแข่งเมืองน่าน จากเอกสาร ตำนาน และเรื่องเล่า. เชียงใหม่ : มรดกล้านนา. ๒๕๕๒.ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. พุทธศิลป์ล้านนา รูปแบบ แนวคิด และการวิเคราะห์. เชียงใหม่ : เชียงใหม่สแกนเนอร์. ๒๕๖๖.
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 36.3 เซนติเมตร ปากกว้าง 44 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้น 4,500 - 3,000 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง ทรงกระบอก ปากแตร มีการตกแต่งด้วยลาย เชือกทาบ ขูดขีด ปั้นแปะ และรมควันให้เป็นสีดำสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง :พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/08/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
พิพิธ(สาระ)ภัณฑ์ ตอน ครุฑที่เมืองคูบัว
ครุฑ (garuda) หมายถึง อมนุษย์หรือพญานกในเทพนิยาย มีลักษณะผสมระหว่างมนุษย์กับนก เป็นพาหนะของพระวิษณุ และใช้เป็นตราแผ่นดิน และเครื่องหมายทางราชการ
ตามคัมภีร์ฤคเวท กล่าวถึงกำเนิดครุฑว่า ครุฑเป็นโอรสองค์ที่สองของพระกัศยปะกับนางวินตา โดยนางวินตาขอพรให้โอรสสองคนที่มีความเก่งกล้าและมีอำนาจมากกว่านาคทั้งหลายซึ่งเป็นโอรสของนางกัทรุชายาอีกนางหนึ่ง พระกัศยปะจึงประทานพรเป็นไข่สองฟอง นางวินตาใจร้อนฟักไข่ใบแรกก่อนเวลา โอรสองค์แรกจึงมีร่างกายเพียงครึ่งองค์ส่วนบน นามว่า “อรุณ” อรุณโกรธมารดามากจึงสาปให้เป็นทาสรับใช้นางกัทรุจนกว่าไข่อีกฟองจะฟักออกมาช่วยให้พ้นความเป็นทาส เมื่อถึงเวลาไข่อีกฟองก็ฟักมาเป็นโอรสที่มีส่วนศีรษะ จะงอยปาก ปีกและเล็บเหมือนนกอินทรีย์ และมีร่างกายเหมือนมนุษย์ หน้าขาว ปีกสีแดง ลำตัวทอง
นามว่า “ครุฑ“
ต่อมานางวินตาแพ้พนันตกเป็นทาสของนางกัทรุ ครุฑจึงเดินทางไปขโมยน้ำอมฤต เพื่อไถ่ตัวมารดาจากความเป็นทาส และต้องรบกับพระอินทร์ พระวิษณุประทับใจในความแข็งแรงและกตัญญูของครุฑ จึงประทานพรแก่ครุฑ ครุฑขอพรว่า ขอให้อยู่สูงกว่าพระองค์ ขอเป็นผู้ไม่มีเวลาตาย ไม่มีเวลาเจ็บแม้ไม่ได้กินน้ำอมฤต และกินนาคได้พระวิษณุประธานพรตามที่ครุฑขอด้วยการให้ครุฑเป็นพาหนะและให้อยู่ที่เสาธงของพระองค์ จึงได้นามว่า “วิษณุวาหนะ” แปลว่า พาหนะของพระวิษณุ
ในพุทธศาสนาครุฑมีลักษณะเป็นอมนุษย์ มีจำนวนมากและหลายประเภท ตามคติไตรภูมิพบครุฑอาศัยอยู่บนต้นงิ้วที่เชิงเขาพระสุเมรุชั้น ๒ จึงพบการประดับครุฑแบกที่ฐานของเจดีย์ซึ่งเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุ
พบหลักฐานของครุฑในประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ในรูปแบบตราประทับดินเผาและประติมากรรมประดับโบราณสถาน เช่น ตราประทับดินเผารูปครุฑ พบที่เมืองจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ประติมากรรมรูปครุฑดินเผา พบที่เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี ประติมากรรมรูปครุฑที่พบในเมืองโบราณคูบัวมีลักษณะใบหน้าเป็นมนุษย์มากกว่านก ไม่มีจะงอยปากแหลม โดยรวมมีลักษณะใบหน้ากลม ผมหยักศกเกล้าเป็นมวย มีเครื่องประดับรัดที่ยอดมวยทรงกรวยแหลม คิ้วต่อเป็นรูปปีกกา ตาโปน จมูกโด่ง ปากหนาและยิ้มเล็กน้อย ลำตัวอ้วนพุงพลุ้ย สวมเครื่องประดับ ได้แก่ ต่างหูรูปวงกลมแบน สร้อยคอลูกประคำ และกำไลต้นแขน มีปีกและกรงเล็บเหมือนนก นอกจากนี้ยังพบครุฑจำหลักจากหิน ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี มีลักษณะใบหน้าและร่างกายเป็นมนุษย์ มือทั้งสองข้างถือดอกบัวข้างละ ๑ ดอก
ครุฑในศิลปะอินเดีย มีลักษณะเป็นมนุษย์ มีปีก ไม่มีจะงอยปาก หรือมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งนก มีนาคพันที่คอเป็นสัญลักษณ์
สมัยพระเวท พระวิษณุเคยเป็นผู้ช่วยพระสูรยะ (พระอาทิตย์) ในการโคจรเพื่อส่องแสงให้จักรวาล จึงมีความสัมพันธ์กับพระอาทิตย์ พระองค์ทรงครุฑซึ่งเป็นนกแห่งแสงอาทิตย์ ครุฑจึงกลายเป็นพาหนะของพระวิษณุ
ในศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครุฑมีลักษณะเป็นนกมากกว่าศิลปะอินเดีย โดยมีจะงอยปากแหลม มีปีก และกรงเล็บ แต่ครุฑที่พบในสมัยทวารวดี มีลักษณะศีรษะและลำตัวเป็นมนุษย์ ไม่มีจะงอยปาก มีปีกและกรงเล็บ ซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับศิลปะอินเดียต้นแบบ แต่ครุฑสมัยต่อมามีลักษณะเหมือนนกมากกว่ามนุษย์
วันพุธ ที่ 18 ตุลาคม 2566 ( เวลา 12.00 - 00.00 น. )เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ ศาลาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
ชื่อเรื่อง ศัพท์เข้ากรรม (สับเข้ากรรม)สพ.บ. 456/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาหัวเรื่อง พุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 60 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 39 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี