ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
ตราประทับงาช้างรูปนาคเกี้ยววัสดุ : งาช้างแบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะรัตนโกสินทร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)ประวัติ : เดิมเป็นสมบัติของเจ้าผู้ครองนครน่าน ต่อมาเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย เจ้านายบุตรหลานได้มอบให้เป็นสมบัติของจังหวัดพร้อมกับคุ้มหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ตราประทับทำมาจากงาช้าง หัวตราประทับกลึงเป็นวงกลม เจาะรูตรงกลาง ส่วนด้ามจับหรือส่วนยอดกลมมน ส่วนที่เป็นเครื่องหมายหรือบริเวณด้านหน้าสัมผัสของตราเป็นรูปวงกลม แกะสลักเป็นลวดลายเส้นนูนรูปพญานาคสองตัวเกี้ยวกระหวัดหันหน้าชนกัน บนฐานสิงห์ ล้อมรอบลายช่อกนกเปลวประกอบพื้นช่องไฟตราประทับนี้ใช้เป็นตราสำหรับประทับบนใบบอกที่ส่งเข้ามาสยาม
องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๒ : สารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๒ เป็นรายการสารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย ซึ่งผลิตขึ้นในนาม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ในปีนี้ทางรายการได้จัดทำไว้เป็น ๑๒ ตอน ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งจักรีวงศ์), สุนทรภู่ (กวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์), มนตรี ตราโมท (ปรมาจารย์ดุริยางคศาสตร์ไทย), เฟื้อ หริพิทักษ์ (ครูใหญ่ในวงการศิลปะ), เจริญใจ สุนทรวาทิน (ครูดนตรีไทยสี่แผ่นดิน), หวังดี นิมา หวังเต๊ะ (ไม้ใหญ่แห่งวงการศิลปะพื้นบ้านไทย), สวัสดิ์ ตันติสุข (ศิลปินอาวุโสผู้ไม่เคยหยุดการศึกษาและสร้างสรรค์), อังคาร กัลยาณพงศ์ (ปณิธานแห่งกวี), พินิจ สุวรรณะบุณย์ (ผู้ฝากผลงานไว้ในแผ่นดิน), อาจินต์ ปัญจพรรค์ (ร่ายยาวแห่งชีวิต), เรืออากาศตรีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ดุริยางคศิลปินแผ่นดินสยาม) และดร.ประเวศ ลิมปรังษี (ผู้สืบสานงานสถาปัตยกรรมไทยแห่งสยาม)นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จากสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (รวบรวมและเรียบเรียง) : ๑. นางสาว ณัฐธิดา สถาอุ่น ๒. นาย ตนุภัทร กิจชัยเจริญพร ๓. นาย ภิญณกาญจ์ ปินตามาผู้ควบคุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่แหล่งอ้างอิง :สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๒ [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=z1Z5DtZnTaE..., ๒๕๕๘.
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ : ๕๘ ปี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เป็นพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งอยู่ที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นิทรรศการภายในนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองโบราณอู่ทองและพื้นที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ กระทั่งเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในประเทศไทย เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยมที่มีคุณค่าทางวิชาการจำนวนมาก เช่น เหรียญมีจารึก“ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺย” แผ่นดินเผารูปพระภิกษุอุ้มบาตร ธรรมจักรพร้อมแท่นและเสา เป็นต้น ถือเป็นพิพิธภัณฑสถานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่จัดแสดงและเก็บรักษาโบราณวัตถุวัฒนธรรมทวารวดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของกรมศิลปากร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง สร้างขึ้นครั้งแรกเป็นอาคารชั่วคราว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุที่พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง ต่อมากรมศิลปากรดำเนินการสำรวจ ขุดแต่ง บูรณะโบราณสถานที่เมืองโบราณอู่ทอง พบโบราณวัตถุจำนวนมาก จึงมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารถาวรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๐๙ เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุได้จากการดำเนินการทางโบราณคดีที่เมืองโบราณอู่ทอง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๐๙
เป็นเวลาล่วงมา ๕๘ ปี นับตั้งแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เปิดให้บริการ กรมศิลปากรได้มีการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑ์เพื่อให้มีมาตรฐานตามแต่ละยุคสมัย กระทั่งปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ดำเนินโครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง ๕ ระยะ (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘) โดยได้ดำเนินการซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารจัดแสดงซึ่งเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และปรับปรุงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจัดแสดงให้มีความทันสมัย มีเทคนิคการจัดแสดงสมัยใหม่ที่น่าสนใจดึงดูดผู้เข้าชม และมีการเพิ่มเติม ปรับปรุงข้อมูลการจัดแสดงโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พิพิธภัณฑ์มีมาตรฐานการจัดแสดงระดับสากล นำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณอู่ทองและวัฒนธรรมทวารวดีที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพื่อให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติต่อไป
เอกสารอ้างอิง
พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เปิดให้เข้าชมอาคารจัดแสดง ๒ ชั้นล่างและห้องนิทรรศการพิเศษตามปกติ
อาคารจัดแสดง ๒ ชั้นบนปิดปรับปรุง
อาคารจัดแสดง ๑ เปิดให้เข้าชมวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
เปิดทำการวันพุธ – อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
วันที่ 30 ตุลาคม 2566 นายทรงวุฒิ สุตตะภวานนท์ เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน เข้าร่วมกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566 ภายใต้โครงการป้องกันและปราบรามการตัดไม้ทำลายป่าระดับจังหวัด โดยมีนายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี
ชื่อเรื่อง ปัญญาปารมี (ปัญญาปารมี)สพ.บ. 457/1หมวดหมู่ พุทธศาสนาหัวเรื่อง พุทธศาสนา--ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 36 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง นนทบุรีศรีมหานครผู้แต่ง พิศาล บุญผูกประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่ ประวัติศาสตร์เอเชีย โลกตะวันออก เลขหมู่ 959.312สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สายธุระกิจโรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์หริ๊นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด (มหาชน)ปีที่พิมพ์ 2560ลักษณะวัสดุ 388 หน้า หัวเรื่อง ประวัติศาสตร์--นนทบุรีภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกนำเสนอเกี่ยวกับจังหวัดนนทบุรี ความเป็นมาและภาพรวมของจังหวันนทบุรี
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคการบริหารจัดการหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางราชการ
รายการโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
คัดสรรทั้งสิ้น ๑๕ รายการ ดังนี้
กลุ่มประติมากรรมใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดี
๑.
ใบเสมาหินทรายจำหลัก
จำหลักภาพพุทธประวัติ ตอน พิมพาพิลาป
ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖
ทำจากหินทราย สูง ๑๙๐ ซม. กว้าง ๖๘ ซม. หนา ๒๓.๕ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สลักภาพเล่าเรื่องไว้ที่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว จำหลักภาพนูนต่ำ เรื่องราวของพุทธประวัติ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระบิดาและประยูรญาติ เหตุการณ์ในภาพสันนิษฐานว่าเป็นเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธองค์เทศนาโปรดพระนางยโสธราหรือพระนางพิมพาที่พระตำหนัก พระนางยโสธราได้แสดงความเคารอย่างสูงด้วยการสยายพระเกศาเช็ดพระบาทพระพุทธองค์ โดยการสยายพระเกศารองรับพระบาทของพระพุทธเจ้านั้น คือการแสดงความเคารพสูงสุดในวัฒนธรรมอินเดียโบราณ เป็นโบราณวัตถุชิ้นเยี่ยม(Master piece) ชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
๒.
ใบเสมาหินทรายจำหลัก
จำหลักภาพพุทธประวัติ ตอน ราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติ
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖
ทำจากหินทราย สูง ๑๖๐ ซม. กว้าง ๗๔ ซม. หนา ๒๔ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ สันนิษฐานว่าเป็นพุทธประวัติ ตอน พระราหูลทูลขอพระราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า ลักษณะพระพุทธรูปยืนในท่าตริภังค์ (ยืนเอียงตน) แสดงความอ่อนช้อยอันเป็นลักษณะที่ได้แรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดีย
๓.
ใบเสมาหินทรายจำหลัก
จำหลักภาพชาดก ตอน กุลาวกชาดก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖
ทำจากหินทราย สูง ๘๓ ซม. กว้าง ๙๒ ซม. หนา ๒๑ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ ชาดก ตอน พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นมาฆะมานพ ชายหนุ่ม ผู้หมั่นสร้างบุญกุศลร่วมกับภรรยา คือ นางสุจิตรา สุธรรมมา สุนันทา ส่วนนางสุชาดา ภรรยาอีกนางหนึ่ง ไม่ได้ร่วมสร้างกุศลใดๆเมื่อนางสิ้นชีวิตจึงไปเกิดเป็นนกยาง ในขณะที่มาฆะมานพพร้อมภรรยาทั้งสามเมื่อสิ้นชีวิตได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์และเทพธิดาบนสวรรค์
๔.
ใบเสมาหินทรายจำหลัก
จำหลักภาพชาดก เรื่อง เวสสันดรชาดก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖
ทำจากหินทราย สูง ๑๕๐ ซม. กว้าง ๘๐ ซม. หนา ๒๔ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ หนึ่งในทศชาติชาดก พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะบรรลุเป็นพระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นเจ้าชายเวสสันดรและได้ทรงบำเพ็ญทานบารมี ใบเสมาสลักเป็นตอนที่พระเวสสันดรชาดกทรงสนทนากับพระนางมัทรี โดยมีกัณหาและชาลีบรรทมอยู่
๕.
ใบเสมาหินทรายจำหลัก
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖
ทำจากหินทราย สูง ๑๖๙ ซม. กว้าง ๘๕ ซม. หนา ๒๐ ซม.
พบได้จากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
จำหลักภาพนูนต่ำ พุทธประวัติ ตอน โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้าคา โสตถิยพราหมณ์เป็นชายตัดหญ้า ได้พบกับพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความศรัทธา จึงถวายหญ้าคาจำนวน ๘ กำ และพระพุทธเจ้าได้ทรงปูรองเป็นอาสนะประทับบำเพ็ญเพียรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
กลุ่มประติมากรรมพระโพธิสัตว์และเทวรูปในวัฒนธรรมขอม
๑.
พระวัชรธร
ศิลปะลพบุรี แบบบายน พุทธศตวรรษที่ ๑๘
ทำจากหินทราย หน้าตักกว้าง ๓๗ ซม. สูง ๕๗ ซม.
พบจากการขุดแต่งกู่สันตรัตน์ บ้านกู่โนนเมือง ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระวัชรธรเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในบางนิกายของมหายาน ถือว่าเป็นองค์อาทิพุทธหรือผู้ให้กำเนิดพระพุทธเจ้าองค์อื่น สลักเป็นรูปเทพบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานกลีบบัว พระหัตถ์ขวาทรงถือวัชระพระหัตถ์ซ้ายถือกระดิ่ง โดยหันทางส่วนด้ามที่ทำเป็นรูปกลีบบัวออกมาข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันอยู่ระดับพระนาภี(สะดือ) สวมกุณฑล(ตุ้มหู) และศิราภรณ์ทรงมงกุฎมีกระบังหน้า มักพบประดิษฐานอยู่ใน
อโรคยศาลหรือโรงพยาบาลสมัยโบราณ ร่วมสมัยกับศิลปะเขมรแบบบายน
๒.
พระพุทธรูปนาคปรก
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘
ทำจากหิทราย หน้าตักกว้าง ๔๖ ซม. สูง ๑๐๐ ซม.
พบจากการขุดแต่งกู่สันตรัตน์ บ้านกู่โนนเมือง ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระพุทธรูปนาคปรกประทับนั่งบนขนดนาค ๓ ชั้น ปลายสอบเข้าหากันด้านล่าง ด้านหลังเศียรพระพุทธองค์มีนาคแผ่พังพาน ๗ เศียร พระพุทธรูปสวมเทริดกระบังหน้าลายพรรณพฤกษา มีทรงกรวยทรงสูงครอบอุษณีษะ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ (พระหัตถ์ทั้งสองข้างหักหายไป แต่ยังมีร่องรอยของการประสานพระหัตถ์อยู่เหนือพระเพลา) ลักษณะศิลปะขอมแบบบายน
๓.
เทวรูปพระศิวะ
ศิลปะลพบุรี แบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ ๑๗
ทำจากหินทราย สูง ๑๗๕ ซม. ฐาน ๓๘ ซม.
พบจากการขุดแต่งกู่น้อย เมืองนครจำปาศรี บ้านโพธิ์ทอง ตำบลพระธาตุ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระศิวะหรือพระอิศวร เป็นเทพของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ผู้มีหน้าที่ทำลายโลกเพื่อให้เกิดการสร้างขึ้นใหม่ เป็นเทพสูงสุดในลัทธิไศวนิกาย มีพระเนตรที่สามกลางพระนลาฏ พระพักตร์ขรึม มีไรพระมัสสุ สวมกุณฑล(ตุ้มหู) สวมกรองศอ สวมเทริดกรอบกระบังหน้าลายพรรณพฤกษา มีกรวยทรงกระบอกครอบอุษณีษะ ลักษณะการนุ่งผ้าสั้น มีชายห้อยรูปคล้ายหางปลา ๒ ชั้น ร่วมสมัยกับศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบนครวัด
๔.
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ศิลปะแบบคลังร่วมสมัยบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
ทำจากสำริด สูง ๓๐ ซม.
พบที่กู่น้อย เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นประติมากรรมรูปบุคคล ถือดอกบัว หรือหม้อน้ำ มีรูปพระพุทธเจ้าอมิ-ตาภะอยู่บนมุ่นมวยผม เป็นพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแห่งความเมตตากรุณา เป็นผู้คุ้มครองพระพุทธศาสนาอยู่ในยุคปัจจุบัน
๕
พระนารายณ์ทรงครุฑ
ศิลปะแบบคลังร่วมสมัยบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๘
ทำจากหินทราย สูง ๕๕ ซม. กว้าง ๒๘ ซม.
พบที่กู่แก้ว บ้านหัวสระ ตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
เทวรูปพระนารายณ์ เป็นเทพของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทพผู้มีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองโลก เป็นเทพสูงสุดในลัทธิไวษณพนิกาย จะอวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญเมื่อยามโลกเดือดร้อน ประทับนั่งบนหลังครุฑซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์
กลุ่มพระพิมพ์ในวัฒนธรรมทวาราวดี
๑.
พระพิมพ์ดินเผา
ศิลปะทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
ทำจากดินเผา สูง ๑๕ ซม. กว้าง ๗.๕ ซม.
พบจากการขุดแต่งโบราณสถาน ในบริเวณที่ดินของนายทองดิน ปะวะภูตา บ้านนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าทำเป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนฐานบัวคว่ำบัวหงายเหนือบัลลังก์รูปสี่เหลี่ยม แผ่นหลังทำเป็นรูปซุ้มบัลลังก์ สันนาฐานว่าเป็นพระพิมพ์ดินเผาที่แสดงภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอน ยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งเป็นปาฏิหาริย์ตอนหนึ่งที่นิยมทำเป็นพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวาราวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะที่เมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เดิมสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการไปสักการะสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ในประเทศอินเดีย ภายหลังมีการสร้างขึ้นเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
๒.
พระพิมพ์ดินเผา
ศิลปะทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
ทำจากดินเผา สูง ๘.๓ ซม. กว้าง ๑๓.๕ ซม.
พบจากการขุดแต่งโบราณสถาน ในบริเวณที่ดินของนายทองดิน ปะวะภูตา บ้านนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าทำเป็นภาพพระพุทธองค์ประทับยืนเอียงพระวรกายเล็กน้อยบนฐานบัว พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระเกศาขมวดเป็นรูปวงกลม รัศมีทรงบัวตูม ประภามณฑลมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ พระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) มีใบไม้แทรกเป็นลายอยู่บนพื้นหลัง ด้านข้างมีรูปบุคคล ๒ คน แต่งกายคล้ายบุคคลชั้นสูงยืนพนมมือหันหน้าเข้าหาพระพุทธองค์ เหนือรูปบุคคลทั้งสองทำเป็นรูปสถูปจำลอง ด้านบนสุดเหนือสถูปทำเป็นรูปวงกลม มีรัศมีโดยรอบ พระพิมพ์ดินเผานี้เป็นรูปแบบหนึ่งที่พบในวัฒนธรรมทวาราวดีในโบราณสถานในเขตอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
๓.
พระพิมพ์ดินเผา
ศิลปะทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
ทำจากดินเผา สูง ๗.๗ ซม. กว้าง ๗.๓ ซม.
พบจากการขุดแต่งโบราณสถาน ในบริเวณที่ดินของนายทองดิน ปะวะภูตา บ้านนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
พระพิมพ์ดินเผารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำเป็นภาพพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิในแนวตั้งเรียงกัน จำนวน ๙ แถว แถวละ ๖ องค์ รวมทั้งหมด ๕๔ องค์ สร้างขึ้นตามคติเกี่ยวกับพระอดีตพุทธเจ้า
๔.
พระพิมพ์ดินเผา
ศิลปะทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
ทำจากดินเผา สูง ๒๒.๕ ซม. กว้าง ๑๔ ซม.
พบที่โบราณสถานอุ่มญาคู เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
พระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร อยู่บนฐานบัวหงายที่มีกลีบซ้อนกัน ๒ ชั้น พระองค์ประทับนั่งหลับพระเนตร พระเศียรก้มลงเล็กน้อย พระองค์มีประภามณฑลล้อมรอบคล้ายเปลวไฟมีขอบจีวรพาดผ่านข้อพระกรและพระโสภี ลักษณะทางศิลปะแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะปาละแบบอินเดียที่อาจส่งผ่านเข้ามาทางพม่า
๕.
พระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ
ศิลปะทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕
ทำจากดินเผา สูง ๑๔.๑ ซม. กว้าง ๘.๘ ซม.
พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงโค้งมน ตอนกลางเป็นภาพพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัว ครองจีวรห่มเฉียงคลุมพระอังสาซ้าย ทาสีแดงบนส่วนที่เป็นจีวรให้เห็นเด่นชัด พระพักตร์มีลักษณะเป็นแบบพื้นเมือง ลักษณะพระพักตร์และพุทธสรีระที่สันทัดสูงโปร่งแสดงถึงความเป็นพื้นเมืองอย่างขัดเจน อาจเป็นรูปแบบพระพิมพ์ดินเผาที่นิยมผลิตขึ้นเฉพาะที่เมืองฟ้าแดดสงยาง เนื่องจากไม่ปรากฏพระพิมพ์ดินเผาลักษณะเดียวกันที่เมืองโบราณแห่งอื่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงการหอสมุดแห่งชาติสู่สถานศึกษาและชุมชน ครั้งที่ ๑
ณ โรงเรียนวิเชียรมาตุ ๒ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง
เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓