ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ




วัสดุ สำริด อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สังคมเกษตรกรรม (ประมาณ 2,500–1,800 ปีมาแล้ว) สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอกล้ำ อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด กระดึง คงใช้ผูกคอสัตว์หรือประดับอยู่กับเครื่องผูกบนคอสัตว์ เช่นเครื่องผูกบนหลังช้าง ม้า วัว สำหรับยึดสัปคับหรือที่วางสัมภาระ ค้นพบตามแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยค้นพบกระดึงอยู่กับโครงกระดูกสัตว์ประเภทใช้งานดังกล่าว จึงอาจใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น เช่น เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรมเป็นต้น จากลักษณะรูปทรง สันนิฐานว่ามีเทคนิคการหล่อแบบไล่ขี้ผึ้ง (lost wax casting) โดยปั้นหุ่นรูปกระดิ่งแล้วแกะหรือปั้นลายรูปคล้ายจั่วบนขี้ผึ้ง แล้วหุ้มด้วยดินหุ่น เมื่อเทสำริดแทนขี้ผึ้ง แล้วปล่อยให้เย็นตัว จึงทุบดินหุ่นออก แล้วขัดแต่งผิวให้สวยงาม นับว่าเป็นกระดึงที่มีลวดลายเรียบง่าย แต่วางจังหวะของลวดลายได้เหมาะสมลงตัว



วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ นางกันยา แต้เจริญวิริยะกุล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา







          นับแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยา มีการสร้างบ้านแปลงเมือง ขุดคูเมือง สร้างกำแพง ป้อม ค่าย มีประตูเข้าออกโดยรอบกำแพงพระนคร มีผู้คนต่างบ้าน ต่างเมือง ต่างชาติ ต่างภาษา เข้ามาค้าติดต่อราชการ การค้าขาย อีกทั้งโดยตลอดวันยังมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย ในสมัยที่การส่งข่าวสารต่างๆมิได้สะดวกรวดเร็วดังเช่นปัจจุบัน หอกลอง จึงทำหน้าที่สำคัญในการส่งสัญญาณบอกแก่ผู้คนในพระนครถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยหอกลองของกรุงศรีอยุธยานั้น อยู่ในความดูแลของกรมพระนครบาล อยู่บริเวณตลาดหน้าคุก แถววัดเกตุ เป็นหอกลองสูง3ชั้น แขวนกลองขนาดต่างกันจำนวน3 ใบ ภาพ : วัดเกตุ จาก https://www.bloggang.com/m/mainblog.php…           ชั้นล่างสุดนั้นเป็นกลองมีชื่อว่า พระทิวาราตรี เป็นกลองใบใหญ่สุดในจำนวนกลอง3ใบ ใช้ตีเวลาย่ำเที่ยง ย่ำสันนิบาต เวลาย่ำรุ่ง(ตอนเช้า) ย่ำค่ำ (ตอนเย็น) เป็นการตีสัญญาณบอกเวลาเป็นประจำทุกวัน           ชั้นกลางแขวนกลอง มีชื่อว่าพระมหาระงับดับเพลิง ตีเฉพาะเมื่อเกิดเหตุเพลิงใหม้ หากเกิดเพลิงไหม้นอกพระนครนับแต่ตลิ่งแม่น้ำออกไปด้านนอกคาดกลองเป็นสัญญาณ 3 ครั้ง แต่หากเพลิงนั้นเกิดไหม้ในเกาะพระนคร อันเป็นที่มีสถานที่สำคัญทั้งพระราชวัง วัด ตลาด บ้านเรือนราษฎร จะเกิดเพลิงลุกลามไวทำให้ต้องคาดกลองตลอดจนกว่าจะดับเพลิงได้           ชั้นบนสุด แขวนกลองมีชื่อว่า พระมหาฤกษ์ หากได้ยินเสียงกลองใบนี้ เป็นอันว่าคงต้องเตรียมตัวโดยเร่งด่วนเพราะจะคาดกลองนี้ก็ต่อเมื่อมีศึกมาประชิดติดพระนครเท่านั้น เมื่อเป็นหอกระจายสัญญาณสำคัญของพระนครย่อมต้องมีการดูแลเข้มงวดแต่มักเกิดปัญหาด้วยสัตว์ตัวน้อยคือมุสิกะ(หนู)ชอบกัดหนังหน้ากลองให้ได้รับความเสียหาย ในแต่ละวันเจ้าพนักงานพระนครบาลผู้ดูแลหอกลองจึงต้องเรี่ยไรเก็บเงินจากร้านค้าตลาดหน้าคุกร้านละ 5 เบี้ย เพื่อนำมาซื้อปลาย่างเลี้ยงวิฬาร์ (แมว) ไว้คอยกัดหนู ถึงแม้ปัจจุบันจุบันหอกลองนั้นจะไม่หลงเหลืออยู่แล้ว แต่ก็ยังคงสะท้อนถึงวิถีชีวิตผู้คนในอดีตที่ล่วงมาแล้ว           เรียบเรียงโดย นายปวิตร ใจเสงี่ยม นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา



หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  


สาระสังเขป     :  พระประวัติของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาชุ่มเป็นพระมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวังหลวง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405ผู้แต่ง             :  พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิงโรงพิมพ์         :  พระจันทร์ปีที่พิมพ์         :  2505ภาษา             :  ไทยรูปแบบ           :  PDFเลขทะเบียน    :  น.32บ.2403จบเลขหมู่           :  923.2593                        ด227พ


เลขทะเบียน : นพ.บ.12/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 11หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger