ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “เที่ยวหาดคุ้งวิมาน จันทบุรี”
หาดคุ้งวิมาน เป็นหาดที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี อยู่ในท้องที่ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม ถ้ามาจากระยองจะแยกเข้าทางขวามือของเส้นทางถนนสุขุมวิท ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 301-302 ก่อนถึงตัวเมืองจันทบุรี ประมาณ 28 กิโลเมตร เข้าไป 27 กิโลเมตร ก็จะถึงชายหาดคุ้งวิมาน
ก่อนถึงชายหาดคุ้งวิมานประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือขึ้นไปบนภูเขาเตี้ยๆ คือ จุดชมวิวเนินนางพญา มีจุดชมวิวทิวทัศน์ มีมุมสวยๆ บนเขาและทางลาดที่มองออกไปทะเล มีถนนเลียบทะเลที่สวยที่สุดในภาคตะวันออก สมกับชื่อที่เป็นวิมานของคุ้งแห่งนี้
เมื่อไปจนสุดเส้นทางจะเห็นเจดีย์กลางน้ำ จุดชมวิวบ้านหัวแหลม เมื่อมองออกไปอีกฝั่ง จะเห็นภูเขาที่เป็นจุดที่ตั้งของแหลมเสด็จ
หาดคุ้งวิมานเป็นหาดทรายสีทอง ที่จุดชมวิวหินโคร่ง มีโขดหินผุดโผล่เป็นแห่งๆแต่งแต้มชายหาดให้สวยงามยิ่งขึ้นยามที่คลื่นถาโถมซัดเข้าหาโขดหินตามกำลังแรงของลม ทำให้น้ำแตกกระเซ็นเป็นฟองฝอยขาวพร่างตาตัดกับสีฟ้าสดใสของน้ำทะเล ไกลออกไปในยามเย็น จะเห็นเรือประมงอยู่ลิบๆ ฝูงนกนางนวลและนกทะเลบางชนิดบินฉวัดเฉวียนอย่างร่าเริงน่ามอง
หลายคนอาจไม่รู้ว่า ใกล้ ๆ กับจุดชมวิวเนินนางพญา ถนนบูรพาชลทิต หาดคุ้งวิมาน มีลานกางเต็นท์อยู่ เพียงขับรถเลยจุดชมวิวเนินนางพญาไป ประมาณ 100 เมตร ลงเนินไป จะสังเกตเห็นลานหินที่เป็นลานจดรถ ติดกับลานจอดรถนี้เอง ที่เป็นที่ตั้งของลานกางเต็นท์ที่กำลังพูดถึง เป็นลานเล็ก ๆ กางเต็นท์ได้ประมาณ 10-15 เต็นท์
ลักษณะลาน เป็นลานดินลูกรังปรับให้ราบเรียบ แล้วปลูกหญ้าไว้ ดินค่อนข้างแข็ง สูดบรรยากาศกับลมทะเลใน ยามค่ำคืน สามารถถ่ายรูปในเวลากลางคืนได้อย่างสวยงาม จึงอยากเชิญชวนให้มาท่องเที่ยวกันที่หาดคุ้งวิมาน
อ้างอิง : ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533.
มัทธิว เจ. (2542, เมษายน). “เที่ยวทะเลจันท์.” Trips Magazine. ปีที่ 3 ฉบับที่ 30 : หน้า 44-65.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ตราสัญลักษณ์ ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
ลักษณะและความหมายของตราสัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์ประกอบด้วย ตราประจำกรมศิลปากรอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยแพรแถบพื้นเขียวขลิบทอง บนแพรแถบซ้าย - ขวา มีตัวเลขปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ และ ๒๕๖๖ เป็นปีแรกเริ่มการสถาปนาจวบจนถึงปีปัจจุบัน ด้านล่างมีข้อความ "กรมศิลปากร" ด้านบนมีตัวเลข ๑๑๒ อยู่ภายในกรอบ หมายถึง การครบรอบ ๑๑๒ ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร
ผู้ออกแบบ : นายปัญญา โพธิ์ดี นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ
สังกัด : กลุ่มศิลปประยุกต์และเครื่องเคลือบดินเผา สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
เนื่องด้วยวันที่ 13 มีนาคม คือ "วันช้างไทย" หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ช้างมงคล" ที่ปรากฏในเอกสารโบราณ โดยเนื้อหานิทรรศการประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 นำเสนอความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในสมัยโบราณที่ใช้เรียกอวัยวะส่วนต่างๆ ของช้าง ส่วนที่ 2 จะเป็นความรู้เกี่ยวกับการกำเนิดของช้างมงคลตามตำราคชศาสตร์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณว่า “ช้างศุภลักษณ์” หรือช้างที่มีลักษณะมงคล พร้อมทั้งมีภาพประกอบจากเอกสารโบราณ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ตระกูล คือ ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ ช้างตระกูลพรหมพงศ์ ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ และช้างตระกูลอัคนิพงศ์ ส่วนที่ 3 กล่าวถึงช้างหลวงประจำรัชกาลในราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 พร้อมเอกสารโบราณที่บันทึกทำเนียบนามช้างสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการออนไลน์ เรื่อง "ช้างมงคล" ได้ที่ https://www.nlt.go.th/service/1565
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
46/2553
(14/2549)
ชิ้นส่วนขวานหินขัด เนื้อสีดำ
ย.5.4
ก.4.5
หิน
ก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.427/2กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 154 (120-128) ผูก 2ก (2566)หัวเรื่อง : มาลาวิภักค์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.571/8 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186 (347-356) ผูก 8 (2566)หัวเรื่อง : เวสฺสนฺตรชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม ”
วันสำคัญในเดือนพฤษภาคมวันหนึ่ง คือ วันฉัตรมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ต่อมารัชกาลที่ 10 ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4 พฤษภาคม จึงถือเอาวันนี้เป็นวันฉัตรมงคล
พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีที่กำหนดให้มีขึ้น โดยถือวันครบรอบปีแห่งการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์แต่ละรัชกาล ถือเป็นวันมหามงคลสมัย
ในการพระราชพิธีนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศล สมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นการฉลองครบรอบปีที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก และเพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เพื่อทรงอุทิศกุศลสนองพระเดชพระคุณให้เป็นการเชิดชูพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ และพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป
พระราชพิธีฉัตรมงคลนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 4 ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงการสมโภชเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระราชทานนามว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล มีงาน 4 วัน ในเดือน 6 ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชพิธีนี้ยังคงทำในเดือนหก ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2417 จึงเปลี่ยนมาทำในเดือน 12 อันเป็นเดือนที่ได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช
ถึงสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ยังทรงพระเยาว์และยังมิได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก การพระราชพิธีจึงคงทำในนามพระราชพิธีรัชมงคล
ต่อมาเมื่อได้รับพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทย ได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทยได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก
สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน วันฉัตรมงคล ถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น วันฉัตรมงคลในปัจจุบัน จึงตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม ของทุกปี
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
อัมพร วีรวัฒน์. วิธีใช้ห้องสมุด (Use of Libraries). [กรุงเทพฯ]: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๑๔. เป็นคู่มือการเรียนวิชาวิธีใช้ห้องสมุดสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแห่ง ซึ่งเน้นเนื้อหาวิชาทางปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ประกอบด้วย เนื้อหาและความรู้เกี่ยวกับ ๑. ห้องสมุดทั่วไป ๒. หอสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง ๓. หนังสือ ๔. การจัดหมวดหมู่หนังสือ ๕. วิธีใช้บัตรรายการ ๖. หนังสืออ้างอิง ๗. วิธีค้นคว้าเพื่อทำภาคนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ ๘. วิธีจดโน้ต ๙. เชิงอรรถ และ ๑๐. วิธีรวบรวมบรรณานุกรม พร้อมแบบฝึกหัด
องค์ความรู้ : สำนักการสังคีต
เรื่อง ตามรอยครูดูโขน ละคร อยุธยา
ในบรรดามหรสพของไทยที่มีอยู่มากมายหลายอย่าง “โขน” นับเป็นนาฏกรรมชั้นสูงและเก่าแก่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ มีแบบแผนสืบมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อเกิดขึ้นเริ่มแรกเป็นการเล่นมหรสพกึ่งพิธีกรรม แล้วพัฒนาจนกลายมาเป็นการเล่นมหรสพที่นิยมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยหลักฐานทางวิชาการ “โขน” คือแหล่งรวมศิลปะที่ปรับปรุงมาจากการเล่นโบราณ ๓ ประเภท คือ หนังใหญ่ กระบี่กระบอง และชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษก
การแสดงหนังใหญ่ เป็นมหรสพเก่าแก่ที่เคยขึ้นชื่อลือชามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย จากศิลาจารึกหลักที่ ๘ ในสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ได้กล่าวถึงมหรสพสมโภชในงานเทศกาลไหว้พระพุทธบาทบนเขาสุมนกูฏ พ.ศ.๑๙๐๓ ความว่า
“มีระบำ (รำ) เต้นเล่นทุกฉัน..ด้วยเสียงอันสาธุการบูชา อีกด้วยดุริยพาทย์ พิณฆ้องกลอง เสียงดังสีพอันดินจักหล่มอันใส”
จากข้อความดังกล่าว จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการเต้นก็คือหนังใหญ่นั่นเอง หนังใหญ่นั้นจะแสดงโดยการเต้นและดำเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา โขนจึงได้รับอิทธิพลบางส่วนปรับปรุงมาจากหนังใหญ่ ดังที่ในหนังสือปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย แต่งขึ้นในราว พ.ศ. ๒๒๙๔ ถึง ๒๓๐๑ เป็นระยะเวลา ๗ ปี ปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้กล่าวไว้ว่า
“มหรสพที่แสดงฉลองพระพุทธบาทในตอนกลางคืนว่ามีการเล่นหนังใหญ่อยู่ด้วย ”
เมื่อแสดงหนังใหญ่กันนาน ๆ เข้า ทั้งผู้ชมและผู้แสดงคงเกิดความเบื่อหน่าย สำหรับผู้ชมคงเบื่อในเรื่องตัวหนังเคลื่อนไหวอิริยาบถไม่ได้ ฉลุสลักเป็นรูปอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น ส่วนผู้แสดงคงเบื่อหน่ายที่จะนำตัวหนังออกไปเชิด เพราะตัวหนังบางตัวมีขนาดใหญ่สูงถึง ๒ เมตร เช่น หนังเมือง หนังปราสาท จึงมีผู้คิดจะออกไปแสดงแทนตัวหนังแต่ไม่รู้ว่าจะแต่งตัวอย่างไร ขณะที่ในอยุธยาช่วงยุคสมัยนั้นมีการเล่นในพระราชพิธีอินทราภิเษกอย่างหนึ่ง คือ ชักนาคดึกดำบรรพ์ การแสดงแบบนี้ต้องใช้ผู้แสดงจำนวนมาก แต่งกายเป็นเทวดา ยักษ์ ลิง มีสุครีพ พาลี เป็นตัวเอก ผู้ที่คิดจะออกแสดงแทนหนังใหญ่ จึงเอาเครื่องแต่งกายการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์มาแต่ง เมื่อมีเครื่องแต่งกายแล้วก็ยึดเอาเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้แสดงหนังใหญ่มาเป็นเรื่องแสดง และใช้การดำเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา มีปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง ส่วนจอหนังหนังใหญ่ต่อมาโขนก็ได้ปรับปรุงนำเอามาใช้กับโขนเรียกว่า “โขนหน้าจอ”
ครั้งสมัยอยุธยาก่อนถึงรัชสมัยพระเจ้าบรมโกศ พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย ละครในจะเล่นเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์กับเรื่องอุณรุทเพียง ๒ เรื่องเท่านั้น ยังไม่ปรากฏว่าเล่นเรื่องอิเหนา เพราะเรื่องรามเกียรติ์กับเรื่องอุณรุทเป็นพงศาวดารอินเดียที่ชนชาวอินเดีย มีความเชื่อและถือเป็นคติมาแต่โบราณ ให้ความนับถือในลัทธิไสยศาสตร์ว่าพระนารายณ์เสด็จอวตาร ลงมาบำรุงมนุษย์โลกให้เกิดความสุข จึงยึดถือว่าการเล่นหรือแสดงเรื่องตำนาน เช่น เรื่องรามเกียรติ์หรือเรื่องมหาภารตะ เป็นการเฉลิมพระเกียรติยศพระเป็นเจ้า ก่อให้เกิดสวัสดิมงคลแก่ผู้เล่น และผู้ดู
ในสมัยโบราณคงเป็นเพราะพวกพราหมณ์ชาวอินเดีย ที่เป็นครูบาอาจารย์ในด้านพิธีกรรม ซึ่งเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา สอนให้คนไทยเล่นแสดงตำนาน เช่น เล่นเรื่องรามเกียรติ์ หรือเรื่องกฤษณาวตาร คือ เรื่องอุณรุท จึงได้เกิดมีประเพณีการเล่นโขนเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องตำนานการเล่นโขนของไทย มีเค้ามูลอยู่ในกฎมนเทียรบาลในตอนตำราพระราชพิธีอินทราภิเษก (อินทราภิเษก หมายถึง การสถาปนาขึ้นเป็นพระราชา โดยลักษณะ ๓ ประการ ตามความเชื่อคติโบราณว่า ๑.พระอินทร์นำเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย ๒.เสี่ยงเอาราชรถมาเกยที่ฝ่าพระบาท ๓.เอาฉัตรทิพย์มากาง) โดยมีเนื้อความบันทึกไว้กระบวนเล่นไว้ว่า “ให้ปลูกสร้างเขาพระสุเมรุสูงเส้น ๑ กับ ๕ วา ที่ท้องสนามหลวงและที่เชิงเขาทำเป็นรูปนาค ๗ เศียรเกี้ยวพันเขาพระสุเมรุ แล้วให้ “เลก” (หมายถึงกรม) ตำรวจแต่งเป็นรูปอสูร ๑๐๐ ตน มหาดเล็กเป็นเทวดา ๑๐๐ องค์ และเป็นพญาวานร อาทิ พาลี สุครีพ ท้าวมหาชมพู และไพร่พล บริวารอีก ๑๐๐ ตัว รวมวานรทั้งหมด ๑๐๓ ตัว โดยให้ทำการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ให้อสูรเป็นฝ่ายชักด้านหัว ส่วนเทวดาชักหางและวานรชักปลายหาง ซึ่งการพระราชพิธีอินทราภิเษกจะมีกำหนดชักนาคดึกดำบรรพ์ในวันที่ ๕ ของพระราชพิธี” ลักษณะที่ทำการชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษกดังที่กล่าวมานี้ คือการแสดงตำนานในไสยศาสตร์เพื่อความสิริสวัสดิมงคล อันมีมูลเหตุอันเดียวกันกับที่เล่นโขนเรื่องรามเกียรติ์ หลักฐานครั้งแรกที่เล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ เกิดขึ้นหลังจากตั้งกรุงศรีอยุธยาได้เพียง ๘ ปี ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ครั้งที่ ๒ มีหลักฐานในหนังสือพระราชพงศาวดาร ได้กล่าวถึงการเล่นดึกดำบรรพ์หรือชักนาคดึกดำบรรพ์ของกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาบางพระองค์ไว้ว่า ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ๒ ว่าเมื่อศักราช ๘๓๘ ปีวอกอัฐศก (พ.ศ. ๒๐๑๗) พระองค์ประพฤติการเบญจาเพส จะประกอบพระราชพิธีอินทราภิเษก จึงทรงให้เล่นดึกดำบรรพ์ อีกครั้งในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงประกอบพระราชพิธีลบศักราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๘๑ ทรงเอาแบบอย่างมาทำอีกครั้งหนึ่ง ตามที่กล่าวมานี้บางทีที่เกิดตั้งกรมโขนขึ้น อาจจะมาแต่การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในพระราชพิธีอินทราภิเษกก็ได้และโดยทำนองจะมีพระราชพิธีอื่น ๆ อันมีการเล่นการแสดงตำนานซึ่งมี เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ จึงเป็นเหตุให้มีการฝึกฝัดโขนหลวงขึ้นไว้สำหรับเล่นในพระราชพิธี โดยเอามหาดเล็กหลวงมาหัดโขนเป็นแบบแผน ซึ่งมีปรากฏข้อมูลอยู่ในตำราอินทราภิเษกตามที่กล่าวมาแล้ว เหตุเพราะ พวกมหาดเล็กหลวงเป็นลูกผู้ดี ฉลาดเฉลียวฝึกหัดเข้าใจง่าย การฝึกฝัดโขนหากใครได้รับเลือกก็จะมีความยินดี ถือว่าได้รับการยกย่องอย่างหนึ่ง จึงเป็นประเพณีสืบมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พวกโขนหลวงนับว่าอยู่ในหมู่พวกผู้ดีที่เป็นมหาดเล็ก สมัยนั้นจึงมีบุตรหลานข้าราชการผู้ใหญ่มากมายไปฝึกโขน โขนสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นการเล่นสำหรับพระราชพิธีที่สำคัญ เช่น พิธีอินทราภิเษกหรือราชาภิเษก จึงเป็นข้อห้ามมิให้ผู้อื่นเล่นแต่ปรากฏเป็นความนิยมในชั้นหลังต่อมาว่า การฝึกหัดโขนนั้นทำให้ชายหนุ่มที่ได้รับการฝึกหัดแคล่วคล่องว่องไวในกระบวนการรบพุ่ง เป็นประโยชน์ไปจนถึงการรบสู้ข้าศึก จึงโปรดพระราชทานอนุญาตให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ ตลอดจนผู้ว่าราชการเมืองหัดโขนได้โดยไม่ห้ามปรามเหมือนเมื่อแรก ด้วยเห็นเป็นประโยชน์แก่ราชการแผ่นดิน ดังนั้นเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แต่ก่อนใครมีสมพลบ่าวไพร่มาก จึงมักนิยมหัดโขนขึ้นเพื่อสำหรับประดับเกียรติยศ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า เมื่อมีการนำทหารมหาดเล็กและตำรวจหลวง เข้ามาฝึกโขน ท่วงท่าการรบในโขนน่าจะเกิดขึ้นจากท่าอาวุธโบราณที่ใช้เล่นกระบี่กระบอง ผสมผสานกับท่าขึ้นลอยที่นำรูปแบบมาจากหนังใหญ่ เมื่อโขนมีขึ้นแพร่หลายการเล่นโขนก็เล่นไปจนในการมหรสพซึ่งเป็นการใหญ่ เช่น การฉลองพระอาราม ตลอดจนนิยมเล่นในงานศพผู้มีบรรดาศักดิ์สูงมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
โขนและละครสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นการเล่นหรือการแสดงของผู้ชาย แต่การเล่นโขนและละครสมัยโบราณนั้นต่างกันมาก เพราะโขนเป็นการเล่นของผู้ดีมีบรรดาศักดิ์ เล่นในพระราชพิธีตามที่กล่าวมาแล้ว ส่วนละครเป็นการเล่นของราษฎรที่รับจ้างหาเลี้ยงชีพ ส่วนผู้หญิงก่อนที่จะมาหัดละครในนั้น เล่นเพียงแค่เป็นนางรำหรือนางระบำ หาได้เล่นเป็นเรื่องเหมือนอย่างโขนหรือละครไม่ ในด้านการแสดงโขนจะเริ่มมีการแสดงมาแต่ยุคสมัยใดในเมืองไทย ไม่ปรากฏหลักฐานไว้เป็นที่แน่ชัด แต่เริ่มมีการกล่าวถึงหลักฐานการแสดงนาฏกรรมประเภทนี้ไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกษัตริย์พระองค์ที่ ๒๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยบันทึกของ มองสิเออ เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเมืองไทยเพื่อเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาขณะนั้น ได้จดบันทึกเล่าเรื่องว่าได้ดูทั้งโขน ละคร และระบำ โดยกล่าวว่าโขนและละครนั้นผู้ชายเล่น จึงน่าเชื่อว่าในสมัยนั้นละครผู้หญิงยังไม่มีเล่น สำหรับการแสดงโขนมองสิเออ เดอ ลา ลูแบร์ ได้บันทึกเรื่องราวกล่าวไว้ว่า
“เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่น ผู้แสดงสวมหน้ากาก (หัวโขน) และถืออาวุธ ฯ ” เหตุนี้จึงเชื่อถือได้ว่าโขนนับเป็นมหรสพอย่างหนึ่งของไท ที่น่าจะมีการแสดงแพร่หลายมาก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยนำวิธีการแสดงและเนื้อเรื่องมาจากหนังใหญ่อันเป็นต้นกำเนิดของโขนอย่างหนึ่ง ซึ่งมีการแสดงมาก่อนและเล่นเรื่องรามเกียรติ์เช่นกัน แล้วนำเครื่องแต่งกายและศิราภรณ์มาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาโขนจะไม่นิยมแสดงเพียงเรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น แต่ยังมีเรื่องอุณรุท อีกเรื่องหนึ่งที่แสดง แต่ต่อมาเมื่อมีละครในหรือละครหลวงผู้หญิงเกิดขึ้น จึงเลือกเอาเรื่องโขนบางตอนที่เหมาะแก่กระบวนร่ายรำ เช่น ในเรื่องอุณรุทหรือเรื่องกฤษณาวตาร มาคิดปรุงกับกระบวนฝึกซ้อมละครให้พวกนางรำของหลวงเล่น ครั้นเล่นก็เห็นว่าดีจึงให้มีละครผู้หญิงของหลวงขึ้น และในชั้นแรกจะเล่นแต่เรื่องอุณรุท บางทีจะเป็นเพราะเหตุที่ละครในหรือละครหลวงผู้หญิงได้นำเรื่องอุณรุทไปเล่นหรือแสดงนั่นเอง โขนจึงไม่ได้เล่น เรื่อง อุณรุทหรือกฤษณาวตาร จะนิยมเล่นแต่เรื่องรามเกียรติ์เท่านั้น ต่อมาเมื่ออิเหนาเกิดขึ้นอีกเรื่องหนึ่งจึงนำมาเล่นเป็นละครในอีกเรื่องหนึ่ง
---------------------------------------
แหล่งข้ออ้างอิง
- เด่นดวง พุ่มศิริ. ศิลปะการแสดงของไทย. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพรองศาสตราจารย์ เด่นดวง พุ่มศิริ. กรุงเทพมหานคร : กองโรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ, ๒๕๒๘.
- ธนิต อยู่โพธิ์. โขน. พระนครนคร : โรงพิมพ์ศิวพร, ๒๕๑๑.
- สุรพล วิรุฬห์รักษ์. วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกลินทร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
- เสรี หวังในธรรม. ละครผู้ชาย. นาฎศิลป์และดนตรีไทย. ศูนย์สังคีตศิลป์ครั้งที่ ๕๔, ๒๕๒๓.
---------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายจรัญ พูลลาภ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการพิเศษ สำนักการสังคีต
๑๔๕ ปี ชาติกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๖ ครูบา ส่วนใหญ่มักเป็นคำเรียกพระสงฆ์ที่มีผู้คนในพื้นที่นั้นๆให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาของชุมชนและผู้คน(ณัฐพงษ์ ดวงแก้ว, ๒๕๕๙, ๔๓) ครูบาศรีวิชัย หรือพระศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑ ปีขาล เป็นบุตรของนายควายกับนางอุสา ที่บ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อคลอดมานั้นเกิดเหตุกาณ์ฝนตกฟ้าคะนอง มีเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า จึงได้ตั้งชื่อบุตรชายนั้นว่า “เฟือน” เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ มีความหมายว่าสะเทือนเลื่อนลั่น เมื่อครั้งเจริญวัย ขณะนั้นครูบาขัตติยะ หรือครูบาแข้งแคระ เดิมจำพรรษาในวัดที่อยู่ในตัวเมืองลำพูนในปัจจุบัน ได้ธุดงค์ไปพำนักยังวัดบ้านปาง เป็นโอกาสอันดีที่นายเฟือน ได้ศึกษาหลักธรรมตลอดจนวัตรปฏิบัติต่างๆ จนเมื่ออายุครบ ๑๘ ปี ทางบิดามารดาจึงจัดให้มีการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านปาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ สามเณรเฟือน ได้มีอายุครบกำหนดอุปสมบท โยมบิดามารดา จึงได้พาไปอุปสมบทยังอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ได้รับฉายาว่า “สิริวชโยภิกฺขุ” เมื่อครูบาแข้งแคระ ได้มรณภาพลง พระศรีวิชัย ก็ได้บูรณะซ่อมแซมวัดบ้านปางให้สะดวกต่อการจำพรรษาของพระภิกษุและการประกอบศาสนกิจ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองของคณะสงฆ์ อันเป็นผลมาจากการตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้น แต่เดิมการปกครองคณะสงฆ์ล้านนานั้น จะปกครองในระบบ “หมวดอุโบสถ” ในขณะที่การปกครองแบบใหม่นั้นขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีระบบการบริหารที่ลดหลั่นกันตามลำดับ โดยต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางทั้งสิ้น หนึ่งในนั้นคือการอนุญาตให้บวช ซึ่งผู้ที่จะอนุญาตให้บวชได้นั้นต้องมีตราตั้งก่อน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับส่วนกลางเป็นเวลายาวนานหลายปี(สุวพันธุ์ จันทรวรชาติ, ๒๕๕๙, ๗)ครูบาเจ้าศรีวิชัยเริ่มการบูรณะศาสนสถานต่างๆ ในวัดบ้านปางและศาสนสถานที่ทรุดโทรมในจังหวัดลำพูน เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี(กู่กุด) และแห่งอื่นๆในภาคเหนือ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีรูปแบบเฉพาะในยุคนั้น ๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑ ครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพ ณ วัดบ้านปาง อันเป็นวัดเดิมที่ท่านจำพรรษา สิริอายุ ๖๐ปี ต่อมาได้เชิญศพมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดจามเทวี ในตัวเมืองลำพูน พระราชทานเพลิงศพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดจามเทวี และได้สร้างกู่อัฐิสำหรับเป็นที่สักการะของประชาชน ณ วัดแห่งนี้ด้วย อ้างอิง ณัฐพงษ์ ดวงแก้ว. การศึกษากระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทย พุทธศตวรรษ ๒๕๓๐ - ๒๕๕๐" วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๙.สิงฆะ วรรณสัย. สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสงาน ๑๑ รอบครูบาฯ ๑๑ มิถุนา ๕๓ ไหว้สาปารมี ๑๓๒ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ร่วมกันกับสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองลำพูน ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓. บวรวรรณพริ้นติ้ง: ลำพูน, ๒๕๕๓.สุวพันธุ์ จันทรวรชาติ. "วิหารล้านนาในงานบูรณปฏิสังขรณ์ของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๘๑" วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๙
สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบงานวิจัยเรื่องนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้มรดกโลกทางวัฒนธรรมในบริบทพระพุทธศาสนาให้กับกรมศิลปการมุ่งหวังเป็นสื่อการเรียนรู้หลักฐานทางโบราณสถาน ผ่านปรัชญาความคิดในแง่ของบริบทพระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก สกสว.
เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากรรับมอบงานวิจัยจาก คณะวิจัยนำโดย ผศ.ดร.แม่ชีกฤษณารักษาโฉม อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับงานวิจัยดังกล่าวเป็นงานวิจัยผ่านโบราณสถานที่สำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ทั้งสี่แห่งของประเทศไทย ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยศึกษาแนวคิดหลักพุทธปรัชญา ในบริบทพระพุทธศาสนา ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็น E-Book รูปเล่มการวิจัยที่เป็นเอกสารตลอดจนถึงคลิปวิดีโอในรูปแบบสารคดีจำนวน 27 ตอน โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาให้กับประชาชนนักเรียนนักศึกษาตลอดถึงผู้ที่สนใจได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
#พระราชพิธีสิบสองเดือน หรือ พระราชพิธีทวาทศมาส มีการบันทึกเป็นโคลงโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ เรียกว่า โคลงทวาทศมาส ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยเป็นหนังสือที่อธิบายถึงพระราชพิธี และขนบธรรมเนียมในพระราชวัง มีทั้งพระราชพิธีและพระราชกุศลต่างๆ ในแต่ละเดือน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นหลังให้ได้ทราบถึงความสำคัญและรักษาไว้ซึ่งพระราชพิธีอันดีงามสามารถอ่าน e-book เพิ่มเติมได้ตามลิงก์ด้านล่างโคลงพระราชพิธีทวาทศมาสhttps://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/15787-โคลงพระราชพิธีทวาทศมาศพระราชพิธีสิบสองเดือนhttps://vajirayana.org/พระราชพิธีสิบสองเดือนพระราชพิธีสิบสองเดือน ฉบับการ์ตูนhttps://www.2ebook.com/new/library/book_detail/nlt/02001943#พระราชพิธีสิบสองเดือน#ทวาทศมาส#บรรณารักษ์ชวนอ่าน
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนทำความรู้จัก "เมืองโบราณศรีเทพ" ให้มากขึ้น ผ่านหนังสือ 3 เล่ม โดยแนะนำให้ทุกท่านได้อ่าน ก่อนออกเดินทางไปยลโฉมมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของประเทศไทยในสถานที่จริง ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้สนใจสามารถ Scan QR Code เพื่ออ่านและดาวน์โหลดหนังสือแต่ละเล่มได้ หรือเข้าไปอ่านที่ห้องสมุดดิจิทัล D-Library ตามลิงก์ ต่อไปนี้
- ศรีเทพ เมืองศูนย์กลางความเจริญแห่งลุ่มน้ำป่าสัก http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/19326
- นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/19327
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ http://digital.nlt.go.th/dlib/items/show/19325