ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


“สักการะ ๙ โบราณสถานจังหวัดพังงา”          จังหวัดพังงา ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย ด้านชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาในอดีตที่สำคัญหลายประการ ในพื้นที่จังหวัดพังงา พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏตามหลักฐานทางโบราณคดีที่นักโบราณคดีได้ค้นพบตามถ้ำ หรือเพิงผาเขาหินปูนจำนวนมาก ต่อมาในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานการมารวมตัวกันเป็นแหล่งชุมชนโบราณตะกั่วป่า คือแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าทางทะเล และมีประวัติความเป็นมาสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน ดังนั้น เรื่องราวของวิวัฒนาการก่อนที่จะมาเป็นจังหวัดพังงา ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆ อันเกี่ยวกับจังหวัดพังงา จึงนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง . โบราณสถานทั้ง ๙ แหล่งที่นำเสนอในองค์ความรู้ชุดนี้ ได้แก่ โบราณสถานเขาพระเหนอ วัดคงคาพิมุข วัดคีรีเขต วัดหน้าเมือง วัดสราภิมุข วัดมงคลสุทธาวาส โบราณสถานถ้ำสุวรรณคูหา วัดมาตุคุณาราม และวัดลุมพินี ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ซึ่งเป็นเครื่องแสดงประวัติความเป็นมาอันเก่าแก่ของชุมชนของชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต . เรียบเรียง/กราฟฟิก : นางสาวอนุธิดา ส่งบำเพ็ญ และ นางสาวลัดดาวัลย์ สุวรรณคีรี นักวิชาการวัฒนธรรม  กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช . #อ้างอิง :  นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๓. กรมศิลปากร. สำนักศิลปากรที่ ๑๕ ภูเก็ต. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. (กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๐) น.๑๑ - ๒๕


          พระพุทธรูปนาคปรก           แบบศิลปะ : ลพบุรี           ชนิด : สำริด            ขนาด : สูง 30.30 เซนติเมตร ตักกว้าง 10 เซนติเมตร           ลักษณะ : พระพุทธรูปนาคปรกประทับนั่งเหนือขนดนาคด้านหน้ามีผ้าทิพย์ เหนือพระเศียรมีเศียรนาค 7 เศียรแผ่พังพาน พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แบะแย้มพระสรวล สวมเครื่องทรงแบบกษัตริย์ได้แก่ เทริดแบบกะบังหน้า พระรัศมีทรงกรวย กุณฑลรูปตุ้ม กรองศอ ครองจีวรห่มเฉียงสังฆาฏิปลายตัดตรงเหนือพระนาภี พระหัตถ์แสดงมุทรามารวิชัย พระหัตถ์ขวาคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/04/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ปลาหมำ อาหารขึ้นชื่ออำเภอสองพี่น้อง ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ





           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี  ชวนเรียนรู้เรื่องเมืองสุพรรณ ขอเชิญเที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี ที่เดียวครบทุกเรื่องเมืองสุพรรณ โดยมีบริการนำชมพิพิธภัณฑ์เป็นหมู่คณะ บริการร้านกาแฟและเครื่องดื่ม บริการให้ยืมนิทรรศการเคลื่อนที่ บริการสถานที่จัดอบรม ประชุม สัมมนาฯ และห้องกิจกรรมพิเศษ จัดทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ รวมทั้งยังมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก              พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี เปิดทำการวันพุธ - วันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ปิดทำการวันจันทร์ - วันอังคาร


วันพระญาวัน (วันพญาวัน) ในปี พ.ศ. 2567 นี้ ตรงกับวันที่ 16 เมษายน 2567 เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นศักราชใหม่วันนี้ ประชาชนจะตื่นแต่เช้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด พร้อมกับนำช่อทุงไปปักที่เจดีย์ทรายที่ได้ร่วมกันทำไว้ในวันก่อน การถวายภัตตาหารหรือที่เรียกว่า ทานขันเข้า (อ่าน "ตานขันเข้า") นี้ บางคนก็จะทำบุญกันหลายสำรับ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือโดยความเคารพอย่างการถวายให้แก่พระสงฆ์ด้วย ซึ่งการทำบุญเช่นนี้ เรียกว่า ทานขันเข้าคนเฒ่าคนแก่ ฟังพระธรรมเทศนา เช่น เทศน์อานิสงส์ปีใหม่ ๑ กัณฑ์ เสร็จแล้วโอกาสเวนทานและเวนทานต่างๆ ตลอดถึงเวนทานเจดีย์ทรายด้วย เตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพธิ์ ไม้ง่ามนี้จะมีกรวยดอกไม้ธูปเทียนและกระบอกบรรจุน้ำและทรายผูกติดกับไม้ง่ามไปด้วย การทานไม้ง่ามนี้ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป นำเอาน้ำเข้าหมิ่นส้มป้อย คือน้ำอบน้ำหอม ซึ่งปรุงด้วยฝักส้มป่อยและดอกไม้หอมที่ตากแห้งเช่น ดอกสารภีที่เตรียมมาด้วยนั้น สรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์ รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุเจ้าอาวาสด้วย มีการไปดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษอันเนื่องจากที่อาจได้ประพฤติในสิ่งที่ไม่สมควรต่อท่านเหล่านั้น การดำหัวนี้ก็อาจกระทำแก่ครูบาอาจารย์ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลสำคัญในชุมชนนั้นๆเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้นเอกสารอ้างอิง"วันพระญาวัน (๑) (วันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6231-6232.อุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841..


 ชื่อเรื่อง                     ตำราอาหารว่างและอาหารพิเศษผู้แต่ง                       ปอง  มาลากุล, หม่อมหลวง.ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   อาหารและเครื่องดื่มเลขหมู่                      641.53 ป511ตสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์พระจันทร์ปีที่พิมพ์                    2498ลักษณะวัสดุ               198 หน้า หัวเรื่อง                     ตำราอาหารภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกตำรากับข้าว “ทำแล้วกินได้” และคัดอาหารที่เคยทำได้ผลปรากฏว่าดีมารวบรวมไว้ โดดยมากเป็นประเภทอาหารว่าง แล้วมีตัวอย่างอาหารต่างประเทศไว้บ้างตามสมควร  



วันที่ 18-19 เมษายน 2567 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ อุทยานการเรียนรู้ ( TK park ) จัดโครงการนิทานผลิบาน : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ การใช้นิทานสร้างกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็ก วิทยากรโดย ครูเจ อุษา ศรีนวล นักจัดการความรู้อาวุโส ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์ โดยมีผู้เข้าร่วมจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนี้ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดดอนสุทธาวาส - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดห้วยสุวรรณวนาราม - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโพธิ์นฤมิตร - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสามจุ่น - โรงเรียนเทศบาล 6 ร่วมพัฒนาคณูปถัมภ์


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : 7 คน 5 วาระ -- ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน โรงเรียนแห่งหนึ่งในตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา จัดการประชุมประจำเดือน โดยมีคณะครูและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 7 คน ครบถ้วน น่าสนใจว่า "เค้าหารือเรื่องอะไร" เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยา มีรายงานการประชุมสามัญครั้งที่ 6/2527 ของโรงเรียนบ้านแม่อิง ตำบลแม่อิง ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอภูกามยาวนั้น ระบุว่า เริ่มการประชุมเวลา 13.55 น. - 15.10 น. วาระการประชุมถูกแบ่งออกเป็น 5 วาระ ได้แก่ วาระแรก เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทักท้วงใบเสร็จทุกอย่างส่งล่าช้า, การปรับเงินเดิมตามวุฒิ, โรงเรียนที่มีความพร้อมให้เปิดชั้นเด็กเล็กได้, ความดีความชอบปีงบประมาณ 2528 และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู วาระที่สอง ทบทวนรายงานการประชุมครั้งก่อน วาระที่สาม เรื่องที่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแจ้ง อาทิ อบรมทันตอนามัย, ส่งรายงานวินัยนักเรียน, ให้ผู้บริหารกระตุ้นครูผู้สอน, โครงการอาหารกลางวัน, รายได้จากการจำหน่ายผลไม้ที่ปลูกในโรงเรียน และมติคณะรัฐมนตรีให้สมรสกับผู้อพยพได้ วาระที่สี่ เรื่องเพิ่มเติม ได้แก่ กิจกรรมในรอบเดือน, ข้อคิด, การนัดประชุมครั้งหน้า และ . . . วาระที่ห้า การปรับปรุงห้องเรียน ทั้งนี้ จากทุกวาระการประชุมไม่มีการบันทึกการสนทนา แสดงความคิดเห็น หรือชี้แจงรายละเอียดใดๆ เป็นแต่จดหัวข้อการประชุมตามลำดับจนสิ้นสุดการประชุม หากอย่างไรก็ดี รายงานการประชุมประจำเดือนดังกล่าว ทำให้ทราบ " ภารกิจ " ที่โรงเรียนบ้านแม่อิงต้องดำเนินการขณะนั้น สะท้อนภาพการบริหารและการจัดการภายใน - ภายนอกหน่วยงาน ซึ่งบางเรื่องอาจจะมีหลายโรงเรียนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมติผู้บังคับบัญชาระดับจังหวัดเช่นกัน  นอกจากนี้ หากสังเกตการจัดลำดับความสำคัญของวาระการประชุมในแต่ละประเด็นแล้วมีความชัดเจนยิ่ง เช่น วาระที่ 1 การแจ้งเรื่องของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หรือวาระที่ 3 ลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดี เป็นต้น และสิ่งที่น่าสังเกตประการสุดท้าย อาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า การประชุมครั้งนี้มีความรีบเร่งหรือไม่ เพราะรายงานการประชุมจำเป็นต้องเขียนส่งสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองพะเยาด้วยลายมือ " ไม่มีฉบับพิมพ์ " หรือว่ายังมีฉบับสมบูรณ์ยิ่งกว่านี้ เนื้อความละเอียดมากขึ้นอยู่กับสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ . . . ซึ่งผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสามารถสืบค้นต่อยอดได้ต่อไปผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา (5) ศธ 3.1.2.2/1 เรื่อง รายงานการประชุมประจำเดือนคณะครูโรงเรียนบ้านแม่อิง [ 2 ก.ค. 2527 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุเอกราช จันทร์กลับ. (๒๕๖๓). แนวทางการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].Bourdieu, Pierre. (1986). The Forms of Capital. in Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education (P 241-258). Greenwood.




             อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ขอเชิญชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู ณ ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 8 - 10 กันยายน 2567  เวลา 05.30 น. เป็นต้นไป บริเวณลานด้านหน้าโคปุระ ทิศตะวันตก ปราสาทพนมรุ้ง (นำรถเข้าลานจอด ประตู 3 ได้) สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 4466 6251 หรือ Inbox facebook : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์ Phanom Rung Historical Park   *หมายเหตุ : ปรากฏการณ์พระอาทิตย์ขึ้นตรง 15 ช่องประตู เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละวัน หากมีฝนตก หมอก เมฆเยอะ หรือเมฆลงต่ำ จะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้


Messenger