ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
นักโบราณคดีทำงานอะไร? สนใจไปดูนักโบราณคดีทำงานขุดค้นในแหล่งโบราณคดีได้หรือไม่?
ตอบ นักโบราณคดีทำงานศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยการค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี เช่น โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผา ภาพเขียนสี ฯลฯ ด้วยวิธีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ซึ่งเป็นวิธีการเฉพาะในการทำงานของนักโบราณคดี แล้วนำมาวิเคราะห์ ตีความ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับมนุษย์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในอดีต
งานหลักของนักโบราณคดี คือ
๑. สำรวจและขุดค้นเพื่อหาหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ โครงกระดูก เศษภาชนะดินเผา ฯลฯ
๒. นำหลักฐานทางโบราณคดีมาศึกษาวิเคราะห์ และตีความ โดยประมวลความรู้จากหลากหลายสาขาทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ มานุษวิทยา ฯลฯ เพื่อให้ทราบถึงเรื่องราวในอดีตของมนุษย์
๓. เผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางวิชาการด้านโบราณคดี ทั้งการเขียนเป็นรายงานการสำรวจ ขุดค้น บทความทางวิชาการ จัดแสดงเป็นนิทรรศการหรือจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ
ผู้สนใจสามารถขอเข้าชมการทำงานของนักโบราณคดีได้ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะการทำงานในหลุมขุดค้น ซึ่งบางครั้งจะมีการจัดกิจกรรมให้เยาวชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้เรียนรู้การทำงานของนักโบราณคดี โดยให้ทดลองฝึกฝนในพื้นที่จริงร่วมกับนักโบราณคดี
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ติดต่อสอบถามล่วงหน้าที่สำนักโบราณคดี โทร.๐ ๒๒๘๒ ๔๘๐๑.๐ ๒๒๘๒ ๔๘๔๖ ส่วนภูมิภาค ติดต่อสำนักศิลปากรในพื้นที่รับผิดชอบ
การขุดค้นทางโบราณคดี
๑. วางผังหลุมขุดค้น โดยตีตารางกำหนดพิกัด เลือกพิกัดที่จะทำการขุดค้น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ขุดค้นครั้งต่อไป
๒. ลงมือขุดค้นทีละชั้น โดยอาจกำหนดตามชั้นสมมุติ เช่น ขุดชั้นละ ๑๐ เซนติเมตร หรือขุดตามชั้นดินวัฒนธรรม (ชั้นดินที่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์) ทีละชั้นจนสิ้นสุดที่ชั้นดินธรรมชาติ (ชั้นดินที่ไม่มีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์)
๓. เมื่อพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เศษภาชนะดินเผา แกลบข้าว ฯลฯ หรือ ร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ ได้แก่ หลุมเสาบ้าน ฯลฯ ก็จะทำการบันทึกโดยวาดผังตำแหน่งและลักษณะที่พบ พร้อมถ่ายภาพจากนั้นเก็บขึ้นมาเพื่อศึกษาโดยละเอียด
๔. เก็บข้อมูลร่องรอยชั้นดินบริเวณผนังหลุม ซึ่งทำให้สามารถกำหนดชั้นดินวัฒนธรรมได้ชัดเจน
๕. กลบหลุม
๖. นำหลักฐานโบราณคดีที่ได้ มาศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียด เมื่อศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำส่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเก็บรักษาในคลังวัตถุ หรือนำออกจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๗. เขียนรายงานการสำรวจและขุดค้น เพื่อเป็นหลักฐานและข้อมูลสำหรับผู้ที่จะทำการศึกษาต่อไป
***บรรณานุกรม***
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
อสุเรนทรจารีตคำพากย์ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปภัมถ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณฌวดีทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2516ครบ 48 ปี
กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย
2516
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. นักเรียนชั้นอนุบาล ๑ - ๓ โรงเรียนอนุบาลอรศิริ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๗๘ คน คุณครูจำนวน ๑๕ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนางสาวอาภาภรณ์ เปล่งปลั่งศรี นักวิชาการวัฒนธรรม ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย
อายุสมัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18
สถานที่พบ นายวีระ วุฒิจำนงค์ มอบให้เมื่อ 11 เมษายน 2538
กระดิ่งหล่อจากสำริด ตัวกระดิ่งและด้ามแยกออกจากกันได้ ตัวด้ามทำเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดทำเป็นแฉก 3 แฉก ยอดกลางเป็นแท่งสามเหลี่ยมมีรูปบุคคลนั่งอยู่ในกรอบ ขนาบข้างด้วยยอดโค้งลักษณะคล้ายปลายธงสะบัด ด้านในร้อยแท่งเหล็กกลม เวลาสั่นจะเกิดเสียง
กระดิ่ง (ฆัณฏา) เป็นเครื่องมงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เช่น ใช้ร่วมกับวัชระในพิธีทำวัตรในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยาน
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา
เข้าร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลหุ่นร่วมสมัย เยาวชนนานาชาติ 2018
(Korat International Youth Puppet Fostival 2018)
ในวันที่ 13 มกราคม 2561
ณ ลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ที่ตั้ง : อุทยาน ร.2 ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอาคารทรงไทย จำนวน 4 หลัง พื้นที่รวม 600 ตารางเมตร จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้หอกลาง ภายในประดิษฐ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และจัดศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เครื่องเบญจงรค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่ ห้องชาย ทางปีกขวา จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ห้องหญิง ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น ชานเรือน จัดตามแบบไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว ห้องครัวและห้องน้ำ จัดไว้ที่ชั้นล่างอาคารปีกซ้าย แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของคนชั้นกลาง มีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชาม สำหรับอาหาร เป็นต้น ตำแหน่งศิลาฤกษ์ แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ มีสิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นอาคาร ทรงไทย 4 หลัง จัดแสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 มีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ หอกลาง ประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 2 และโบราณวัตถุ หอนอนชาย แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทย หอนอนหญิง แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ ชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณ ห้องครัว และห้องน้ำ แสดงลักษณะครัวไทย และห้องน้ำของชนชั้นกลาง นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้ง สวนพฤกษ-ชาติ เป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด