ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
กุหลาบจุฬาลงกรณ์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงเป็นสมาชิกสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษ ทรงได้กุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ จากสมาคมมาทดลองปลูกมากมายหลายพันธุ์ พันธุ์ที่โปรดที่สุดเป็นกุหลาบดอกใหญ่สีชมพู ทรงตั้งชื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า “กุหลาบจุฬาลงกรณ์” กุหลาบจุฬาลงกรณ์ เป็นกุหลาบพันธุ์ไฮบริดเพอร์เพทชวล (Hybrid Perpetual) อยู่ในกลุ่มกุหลาบสมัยเก่าที่มีปลูกกันก่อน ค.ศ. ๑๘๖๗ มีลักษณะเป็นกุหลาบดอกใหญ่ สีชมพู มีกลิ่นหอมเย็น ขนาด ๕-๖ นิ้ว จำนวนกลีบประมาณ ๔๕ กลีบ เรียงซ้อนกัน ลำต้นสูง เป็นพุ่ม ออกดอกเดี่ยว ไม่มีหนาม ชอบอากาศเย็นหลังจากพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เสด็จมาประทับที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นการถาวร ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้เสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปลายพระชนม์ชีพ โปรดให้ปลูกกุหลาบจุฬาลงกรณ์โดยรอบพระตำหนักดาราภิรมย์ปัจจุบันจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงพระตำหนักให้เป็นพิพิธภัณฑ์ บริเวณด้านหน้าพระตำหนักประดิษฐานพระอนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี รอบฐานที่ตั้งพระอนุสาวรีย์มีการจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับไว้โดยรอบและเน้นปลูกต้นกุหลาบจุฬาลงกรณ์ร่วมด้วย ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง : ๑. จิรชาติ สันต๊ะยศ. ๒๕๕๑. พระราชชายาเจ้าดารารัศมี. กรุงเทพฯ: มติชน.๒. นงเยาว์ กาญจนจารี. ๒๕๓๙. ดารารัศมี. พิมพ์ครั้งที่ ๓. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซ็นเตอร์.๓. สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย. ม.ป.ป. กุหลาบจุฬาลงกรณ์ ROSA HYBRID “CHULALONHKORN” (Online). http://hsst.or.th/articles.../rosa-hybrid-chulalonhkorn/, สืบค้นวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕.๔. พระตำหนักดาราภิรมย์. ๒๕๖๒. กุหลาบจุฬาลงกรณ์ (Online). https://www.facebook.com/359143954696532/posts/359775537966707/, สืบค้นวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๕.
สู่ดินแดนโพ้นทะเล
ก า ร เ ดิ น ท า ง จ า ก
นิวยอร์ก
ถึง
บางกอก ประเทศสยาม
แ ล ะ ก า ร เ ดิ น ท า ง ก ลั บ
บางเรื่ องราวในความทรงจำ
โดย
โทมัส มิลเลอร์ (Thomas Miller)
นิวยอร์ก:
บร ิษัทอัลเบิร์ตเมตส์ เลขที่ ๒๒ ถนนเเพลตต์
พ.ศ. ๒๔๓๗
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(สุวรรณสาม)สพ.บ. 420/1ขหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พระพุทธศาสนา ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 55 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๖
โครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ยืม
ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
เคียวเหล็ก ตกแต่งด้วยเทคนิคการคร่ำ คือการนำเงินฝังลงไปในเนื้อโลหะ (ซึ่งเรียกวิธีเช่นนี้ว่า “คร่ำเงิน”) ตกแต่งลวดลายตั้งแต่ด้ามจับจรดปลายใบมีด ลักษณะเป็นลายพันธุ์พฤกษาลวดลายอย่างเทศ
เทคนิคการคร่ำของช่างไทย เป็นการตกแต่งโลหะประเภทเครื่องใช้ หรือเครื่องอาวุธ เช่น กรรไกร ตะบันหมาก ดาบ ง้าว ปืน ฯลฯ ด้วยการทำผิวโลหะให้เป็นรอย ด้วยการตอกสิ่วสับลายตัดกันจนผิวโลหะมีลักษณะขรุขระ จากนั้นจึงใช้เส้นทอง หรือ เงิน ตอกลงบนผิวโลหะ เป็นลวดลายตามที่ต้องการแล้วจึงกวด*ผิวให้ลายคมชัด ทั้งนี้ช่างที่ทำการคร่ำต้องทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้เหงื่อโดนผิวโลหะ เพราะจะทำให้เกิดสนิมขึ้นที่เนื้อโลหะและทำให้ตอกเส้นทองหรือเงินไม่ติดกับผิวโลหะ
งานคร่ำ เป็นงานหัตถกรรมที่แพร่หลายในตะวันออกกลาง ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ต่อมาแพร่เข้าสู่กลุ่มประเทศทางยุโรปหลายแห่ง ได้แก่ ประเทศอิตาลีในพุทธศตวรรษ ๒๑ ประเทศสเปนและฝรั่งเศสในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกเทคนิคคร่ำว่า “Damascne” น่าจะมีที่มาจากเทคนิคการทำโลหะของช่างจากเมืองดามัสกัส (Damascus) เมืองหลวงของประเทศซีเรีย* ต่อมาวิธีดังกล่าวคงแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางชาวอินเดียหรือชาวตะวันตก และเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงการใช้ “ปืนจ่ารงคร่ำทอง” เมื่อครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถยกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี พ.ศ. ๒๑๒๙ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “ให้ฝรั่งแม่นปืน จุดจ่ารง คร่ำทองท้ายที่นั่ง ๓ บอกไล่กันเป็นสำคัญ” ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ปรากฏตำแหน่ง “ช่างคร่ำ” ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๔๒ หมู่งานช่างในพระราชบัญญัติเรื่องการไถ่ตัวไพร่หลวงที่เป็นทาส (พ.ศ. ๒๓๙๕) และในสมัยรัชกาลที่ ๕ หนังสือ “อักราภิธานศรับท์” ของ หมอแดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley) ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้นิยามคำว่า “คร่ำ” ไว้ว่า
คร่ำ คืออาการช่างอย่างหนึ่ง, เหมือนคนเอาเงินบ้าง, ทองบ้าง, ตอกลงไปที่มีดบ้าง, ของคนอื่นบ้าง, ให้ติดเปนรูปต่าง.
กรรมวิธีการคร่ำโลหะนั้นนับว่ามีกรรมวิธีที่ซับซ้อน และต้องอาศัยทักษะเชิงช่างชั้นสูงเพื่อให้ได้ลวดลายที่งดงาม สมดุลกับชิ้นงาน ดังนั้นงานคร่ำจึงเป็นหนึ่งในงานประณีตศิลป์ที่ทำขึ้นได้ยาก จบแทบจะสูญหายไปจากสังคมไทย กระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเห็นคุณค่าของงานช่างแขนงนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้นายสมาน ไชยสุกุมาร เจ้าพนักงานภูษามาลา กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง มาสอนวิชาการทำคร่ำแก่นักเรียนศิลปาชีพ เสมือนเป็นการต่อลมหายใจกับงานช่างแขนงนี้ได้คงอยู่คู่กับสังคมไทยมาถึงปัจจุบัน
*กวด (กริยา) หมายถึง ทําให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็กเครื่องมือสําหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด
[ที่มา: ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. หน้า ๘๓]
**ปัจจุบันในกลุ่มประเทศแถบตะวันออกกลาง ยังคงมีการคร่ำโลหะอยู่เช่นกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือไฟฟ้าแทนการคร่ำด้วยมือแบบโบราณ
อ้างอิง
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. โลหศิลป์ ณ พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๐.
กรมศิลปากร ขอแนะนำ “ระบบศูนย์ข้อมูลงานศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร” ซึ่งเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีองค์ความรู้เกี่ยวกับงานศิลปะไทย ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) อาทิ งานช่างปิดทองประดับกระจก การสร้างลวดลายในงานโลหะ การจัดสร้างหุ่นหลวง การเขียนภาพจิตรกรรมไทย การตอกกระดาษตอกฉลุหนัง การแกะแม่พิมพ์หินสบู่ การประดับมุกแบบญี่ปุ่น ฯลฯ และชมผลงานของสำนักช่างสิบหมู่ได้อีกมากมาย
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้งานด้านศิลปกรรม ของสำนักช่างสิบหมู่ ผ่านทางเว็บไซต์ https://datasipmu.finearts.go.th
อาทิตย์นี้พบกับ สาระน่ารู้ : บราลี (บะ-รา-ลี)
จากอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ไปชมกันได้เลยค่ะ
บราลี (Barali) หรือ ปราลี เกิดจากการนำคำ ๒ คำ ในภาษาสันสกฤตมาประกอบกัน คือคำว่า ปร + อาลี = ปราลี ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ติดตั้งให้ชูขึ้นไป” โดยบราลีเป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมมีลักษณะยอดแหลมขนาดเล็ก หรือมีรูปทรงเป็นกรวยกลมคล้ายดอกบัวตูม โดยประดับเรียงรายอยู่บนสันหลังคาของอาคาร บราลีสามารถพบเห็นได้ในปราสาทวัฒนธรรมเขมร
โดยประดับตกแต่งอยู่บนสันหลังคาของซุ้มโคปุระ สันหลังคาปราสาท หรือสันหลังคาระเบียงคต
บราลีของปราสาทสด๊กก๊อกธม
สำหรับปราสาทสด๊กก๊อกธมพบหลักฐานจากกระบวนการทางโบราณคดีว่า มีการใช้บราลีประดับบนสันหลังคาในอาคารต่างๆของปราสาท ได้แก่
ระเบียงคต ซุ้มโคปุระ และบรรณาลัย
อ้างอิง
- กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (๒๕๕๐). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า ๕๒๑.
- กรมศิลปากร. (๒๕๖๕). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ : หน้า ๓๐๓,๓๒๒.
- วสุ โปษยะนันทน์, อนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) หน้า ๔๕.
- องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เรื่อง : บราลี เครื่องประดับสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ณ ปราสาทพนมรุ้ง. Access 15 November https://www.facebook.com/Ensemble.of.Phanom.Rung
/posts/pfbid02VGqaVqP5kjkWwcAYxF8hjnhSzFbbj3piKnTwtANqXuHwUizGrYL82krhR9bTCdXJl.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)อย.บ. 24/2ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 55.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ไดรับมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
วันฮาโลวีน (Halloween) ตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม ของทุกปีเชื่อว่า เป็นวันที่มิติคนตายและคนเป็นจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน วิญญาณคนตายจะมายังโลกมนุษย์ และคนเป็นจะติดต่อกับคนตายได้ นอกจากนี้คืนดังกล่าวยังเป็นคืนเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวก่อนเข้าฤดูหนาว .ผี ในนรกภูมิจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน จากชาดกเรื่อง เนมิราชชาดก ในตอนที่พระเนมิราชเสด็จโดยราชรถมาทอดพระเนตรนรกก่อนจะไปยังสวรรค์.ในภาพจะเห็นผลที่สัตว์นรกกระทำบาป โดยเกิดเป็นเปรตรูปแบบต่างๆ ตามที่ได้ทำความชั่วหรือบาปมาเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ และการลงทัณฑ์จากนายนิรยบาล อาทิ-เปรตที่กำลังกินอุจจาระ อันเนื่องมาจากบวชแล้วทำผิดวินัยแอบไปฉันข้าวที่บ้าน-เปรตอัณฑะโต อันเนื่องจากเป็นตุลาการตัดสินคดีความไม่เที่ยวธรรม-เปรตกินถ่านไฟแดง อันเนื่องจากไม่แบ่งข้าวเช้าสำหรับพระภิกษุหรือไปวัดแต่ให้ลูกกินก่อน-เปรตมีกงจักรปั่นบนศีรษะปากเท่ารูเข็ม อันเนื่องจากตีพ่อตีแม่-เปรตโดนกรอกน้ำร้อนแดง อันเนื่องจากปลอมแปลงเงินยักยอกทรัพย์เป็นของตน-เปรตโดนมัดกำลังโดนฟันจากขวาน อันเนื่องจากคดโกงไม่ซื่อสัตย์เป็นต้นอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/posts/pfbid0rKh1dyfne37oYXNUX2QzXVwWctZEdG4tqqEohsAGjy6sVXCGA32hb1XvepZZzXcUl
ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ กรมศิลปากรมีนโยบายปรับปรุงและพัฒนา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา โดยการจัดสร้างอาคารหลังใหม่ สำหรับจัดแสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องทองอยุธยาที่ค้นพบในแหล่งโบราณคดีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้อยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ ทันสมัย และได้มาตรฐานตามหลักพิพิธภัณฑสถานสากล เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของพิพิธภัณฑ์ในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางมรดกศิลปวัฒนธรรมแก่สถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นการสร้างภาพจำและความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ในฐานะพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่ยิ่งใหญ่ในอดีตของไทย
อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในขณะนั้น ลักษณะเป็นอาคารไทยประยุกต์ ๒ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ ๓,๒๗๕ ตารางเมตร แบ่งเนื้อหาการจัดแสดง ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ ๑ จัดแสดงเครื่องทองจากวัดราชบูรณะ ประเภทเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องสูง เครื่องราชูปโภคและเครื่องถนิมพิมพาภรณ์
ส่วนที่ ๒ จัดแสดงเครื่องทองจากวัดราชบูรณะ ประเภทเครื่องพุทธบูชา เครื่องอุทิศ และพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงกรุจำลองวัดราชบูรณะ
ส่วนที่ ๓ จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับคติการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุที่พบในโบราณสถานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ พระปรางค์วัดพระราม พระปรางค์วัดมหาธาตุ เจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ และเจดีย์ศรีสุริโยทัย
จำนวนโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในอาคารเครื่องทอง มีจำนวนทั้งสิ้น ๒,๒๔๔ รายการ มีโบราณวัตถุชิ้นเด่น อาทิ
พระแสงขรรค์ชัยศรี
ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐
เหล็ก หินเขี้ยวหนุมาน และทองคำประดับแก้วสี
พบในกรุประธานชั้นที่ ๒ พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระสุวรรณภิงคาร
ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ทองคำบุขึ้นรูป ตกแต่งด้วยการสลักดุนลาย
พบในกรุประธานชั้นที่ ๒ พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระคชาธารจำลอง
ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ทองคำประดับอัญมณีและแก้วสี
พบในกรุประธานชั้นที่ ๒ พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จุลมงกุฎ
ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ทองคำประดับแก้วสี
พบในกรุประธานชั้นที่ ๒ พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระสุวรรณมาลา
ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐
เส้นลวดทองคำถักขึ้นรูปและตกแต่งลาย
พบในกรุประธานชั้นที่ ๒ พระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา
สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ศิลปะอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ทองคำประดับอัญมณี
พบในกรุประธาน พระปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรจุอยู่ภายในสถูปชั้นที่ ๕
ตลับรูปสิงโต
ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๐
ทองคำประดับอัญมณี
พบในกรุเล็กใต้พื้นพระปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณใต้ฐานเจดีย์หรือฐานมณฑป
บัดนี้ อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา พร้อมเปิดให้บริการแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เปิดทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐น. – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์) อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๑๕๐ บาท ทั้งนี้ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเครื่องทองอยุธยามากยิ่งขึ้น ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจและความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของประเทศชาติต่อไป
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 49/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 82 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ปริวาสกมฺมวิตฺถาร (ปริวาสฺสกมฺมพิษษดาร) ชบ.บ 115/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 159/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ศิลปะธนบุรี ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ (๒๐๐ ปีมาแล้ว)
เดิมอยู่ในหอทะเบียนพลแต่โบราณ กระทรวงกลาโหม ส่งมา
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องศัสตราวุธ พระที่นั่งบูรพาภิมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมพระสุรัสวดี เทวดาผู้รักษากรมพระสุรัสวดี เดิมอยู่ในหอทะเบียนพลแต่โบราณ สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงธนบุรี กระทรวงกลาโหมมอบให้พิพิธภัณฑสถาน โดยหอทะเบียนพล หรือที่เรียกว่า “ศาลาสารบาญชี” เป็นอาคารสำหรับเก็บบัญชีสมุดทะเบียนพลเมือง ที่บันทึกจำนวนเลกไพร่หลวง ไพร่ราบ ไพร่สม พันทนาย ขุนหมื่นต่างๆ อยู่ในความดูแลของกรมพระสุรัสวดี สำหรับหอทะเบียนพลของกรุงเทพฯ เดิมตั้งอยู่ใกล้ศาลหลักเมือง และรื้อลงในต้นรัชกาลที่ ๕
กรมพระสุรัสวดี ปรากฏมาแต่ครั้งรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีหน้าที่บันทึกทะเบียนไพร่พลและเตรียมกำลังพลสำหรับยามศึกสงคราม รวมทั้งลงทะเบียนคนเกิดและจำหน่ายทะเบียนเมื่อมีคนตาย คติแบบแผนนี้สืบทอดมาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๙ โปรดให้ย้ายกรมสุรัสวดีจากเดิมที่ขึ้นกับกระทรวงเมือง มาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๑ ได้เปลี่ยนชื่อ “กรมสุรัสวดี” เป็น “กรมสัสดี”
ชื่อเรื่อง การระวังรักษาและซ่อมหนังสือผู้แต่ง แม้นมาส ชวลิตประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์เลขหมู่ 025.7 ม875กสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ กรุงเทพการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2516ลักษณะวัสดุ 100 หน้า หัวเรื่อง หนังสือ – การซ่อมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการซ่อมแซม และเก็บรักษาหนังสือ ประกอบด้วย การระวังรักษาหนังสือ หนังสือที่ควรซ่อม เตรียมการซ่อมหนังสือ การซ่อมหนังสือ การเข้าเล่ม และนิตยสาร และอนุสาร