ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายแมนฟุ้ง เนียวกุล ณ เมรุวัดมกุษัตริยาราม ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๐
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๕ กรกฎาคม ๒๔๓๕ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑาธุชธราดิลก เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระนามลำลองว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" ประสูติเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๔๓๕ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๘
พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนนี ๗ พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
- จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
- พลเรือเอก สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ แล้วเสด็จกลับ พุทธศักราช ๒๔๖๑
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี เป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงธรรมการ ตำแหน่งศาสตราจารย์ และเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเพาะช่าง พุทธศักราช ๒๔๖๓ เป็นกรรมการพิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ปัจจุบันคือ วชิราวุธวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๕
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๖๖ พระชันษา ๓๒ ปี เป็นต้นราชสกุล จุฑาธุช
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยนับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายทั้งจากพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี
ภาพ : ศาสตราจารย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
รายงานผลการสำรวจแหล่งโบราณคดีเพิงผาเขียน เขาพนมดบ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี เรื่อง ตราอาร์มเมืองสิงห์บุรี
ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุงหลังจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาในพื้นที่ห่างไกล ทรงพบว่าชาวไทยภูเขาดำรงชีพในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ตัดไม้ทำลายป่า ทำลายต้นน้ำลำธาร เผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ปลูกฝิ่น เมื่อดินจืดก็ย้ายถิ่นไปเรื่อย ๆ จนดอยต่าง ๆ มีสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น พื้นที่ดอยตุง เป็นพื้นที่หนึ่งที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชปรารภว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” พระองค์มีพระราชดำริให้บูรณาการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนชาวไทยภูเขาในบริเวณนั้น เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเริ่มต้นขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ภายใต้แนวพระราชดำริ “ปลูกป่า ปลูกคน” เพื่อพัฒนาพื้นที่ดอยตุง ๙๓,๕๑๕ ไร่ (ประมาณ ๑๕๐ ตารางกิโลเมตร) ในเขตอำเภอแม่จัน กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมีมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นผู้ดูแลโครงการ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาล องค์กรเอกชน รวมถึงมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีด้วย โครงการดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของคนและป่าควบคู่กัน นำไปสู่การพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถเปลี่ยนแปลงชุมชนที่ต้องพึ่งพาการปลูกพืชเสพติดและตัดไม้ทำลายป่าเพราะจำเป็นต้องอยู่รอด ให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักดิ์ศรี มีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของการพัฒนาชุมชนของตนเองได้วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ขอร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการและเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง :๑. มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์. ม.ป.ป. โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (Online). https://www.maefahluang.org/doitung-development-project/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๔. ๒. อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. ม.ป.ป. พระราชกรณียกิจสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (Online). http://www.theprincessmothermemorialpark.org/page.php?id=7, สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๔.๓. อุษณีย์ เกษมสันต์, พ.อ. หญิง. ๒๕๔๓. “๑๐๐ ปี สมเด็จย่า : เพ็ญพระกรุณา เพื่อประชาไทย.” วารสารห้องสมุด. ๔๔ (๔): ๑-๘.
ชื่อเรื่อง ทิพฺพมนต์ (ทิพพมนต์)
สพ.บ. 305/1ก
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 12 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.308/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 4ก (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ภูริทัสต์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง พระองค์เจ้าศรีเสาวภาวงค์ และ พระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรี
ชื่อเรื่อง ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๔ : เรื่องวิชาแพทย์ไทย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ บริษัทวัฒนการพิมพ์ จำกัด
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๑
จำนวนหน้า ๓๔ หน้า
รายละเอียด หนังสือที่ขออนุญาตจัดพิมพ์ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพนายเล็ก วัฒนวรางกูร ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ภาคที่ ๔ เรื่องวิชาแพทย์ไทยเล่มนี้มีเรื่องวิชาแพทย์ไทย ๒ เรื่องเรื่องแรก คือ เรื่องแพทย์หมอซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔ พระองค์เจ้าศรัเสาวรางค์ทรงนิพนธ์ ส่วนเรื่องที่ ๒ เรื่อง เวปุจฉา พระเจ้าราชวงศ์เธอ ชั้น๔ กรมหมื่นจรัสพรปฎาณ แต่ขณะแต่งดำรงพระยศเปฌนพระองค์เจ้าจรูญโรจน์เรืองศรีทรงนิพนธ์ทั้ง ๒ เรื่อง แต่งถวายร.๕ พ.ศ.๒๔๓๒
แผ่นไม้แกะสลักเล่าเรื่อง ทศชาติชาดกพระครูสิริปุญญากร (คำปัน อนาลโย ป.ธ.๔) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘แผ่นไม้ทศชาติชาดกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ได้รับมอบมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นแผ่นภาพที่อยู่ในสภาพชำรุด พบว่าเป็นแผ่นไม้แกะสลักปิดทอง มีตัวละครสำคัญที่ปรากฏในทศชาติชาดก ซึ่ง ทศชาติชาดกนี้ คือ ๑๐ พระชาติ สำคัญของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระชาติสุดท้ายคือพระเวสสันดรชาดกเป็นพระชาติสุดท้ายที่มีความนิยมแพร่หลายผ่านงานวรรณกรรม จิตรกรรมฝาผนังและบนผืนผ้าที่เรียกว่าพระบฏ หรือตุงค่าวธรรมในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ สุวรรณสามชาดก เป็นชาดกในพระชาติที่ ๓ ของพระพุทธเจ้าที่ประสูติเป็นพระสุวรรณสามซึ่งคอยปรนนิบัติดูแลบิดามารดาตาบอดจากการถูกพิษงู ในระหว่างที่ออกบวชในป่า ขณะที่พระสุวรรณสามออกไปหา พระเจ้ากบิลยักขราช กษัตริย์เมืองพาราณสี เสด็จออกล่าสัตว์ยิงศรอาบยาพิษต้องพระสุวรรณสามบาดเจ็บสาหัส เมื่อสอบถามเรื่องราวจึงทราบเรื่องราวของพระสุวรรณสามทั้งหมดและนำไปพบบิดามารดา บิดามารดาจึงอธิษฐานขอให้พระสุวรรณสามหายจากการต้องศรนี้ เมื่อพระสุวรรณสามฟื้นขึ้นมาจึงได้เทศนาโปรดแก่พพระเจ้ากบิลยักขราชและกลับไปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข ภาพแกะสลักไม้เป็นภาพของพระสุวรรณสามขณะทูนหม้อน้ำนำไปให้บิดามารดาพร้อมกับฝูงกวางในป่านั้นเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นภาพแกะสลักรูปพระเจ้ากบิลยักขราชขณะกำลังแผลศร ซึ่งเป็นฉากที่พบได้ทั่วไปในงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีการวาดภาพทศชาติชาดก อ้างอิง ชาญคณิต อาวรณ์. จิตรกรรมล้านนา : พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๓.นิดดา หงส์วิวัฒน์. ทศชาติชาดกกับจิตรกรรมฝาผนัง : มโหสถชาดก เตมิยชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก. กรุงเทพฯ : แสงแดดเพื่อนเด็ก, ๒๕๔๘.