ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
วันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ที่จังหวัดภูเก็ต ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ติดตามผลการดำเนินงานการสร้างความเข้มแข็งของพลังบวร เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “บวร On Tour” ณ ชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม (วัดในยาง) ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายกิตติกร ประทีป ณ ถลาง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสาคู หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา หน่วยงานในพื้นที่และคณะกรรมการชุมชนคุณธรรมฯ ให้การต้อนรับ โดยนางเจียมจิตต์ ศิริสวัสดิ์ ผู้นำชุมชนคุณธรรมวัดมงคลวราราม กล่าวรายงาน ผลการดำเนินงานของชุมชนคุณธรรม หลังจากนั้นได้นำชมการแสดงทางวัฒนธรรม การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ชุมชน
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มอบให้
พระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดาน ๓ ขา ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์เรียวเล็กบาง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย รัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง พระอังสากว้าง บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบตามรูปแบบพระพุทธรูปสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท
นอกจากนั้นบริเวณฐานหน้ากระดานยังมีจารึกอักษรที่กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ กล่าวถึงผู้สร้างพระพุทธรูปโดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาและเพื่อได้ผลบุญ ให้เกิดมาได้พบ พระศรีอริยเมตไตรย์ความว่า… “พระเจ้านายญี่บุญแลแม่จันแลนางเริ่มนางไรแล้วเจ้าไสอานนท์ลูกชายสายใจชื่อนางยอด
ตูทั้งหลายขอพบพระศรีอาริยไมตรีเจ้าหั้น”
ที่มาของข้อมูล :
แผ่นพับนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ คืออักษรที่ย่อจากพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ให้เหลือเพียง ๓ อักษร สำหรับอักษรพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มาจากคำว่า “มหาจุฬาลงกรณ์ปรมราชาธิราช” จึงมีอักษรพระปรมาภิไธยว่า "จ.ป.ร.”
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปตามสถานที่ต่างๆ ได้ทรงจารึกอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร ไว้ อันเป็นเครื่องหมายการเสด็จเยือนของพระองค์ ซึ่งได้เดินทางไปในที่นั้นๆ
ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินเมืองราชบุรีถึง ๑๐ ครั้ง โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบพระราชกรณียกิจและเป็นการเสด็จประพาสต้น มีการพบจารึกอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ซึ่งนับเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่จังหวัดราชบุรีนี้เช่นกัน จารึกอักษรพระปรมาภิไธยย่อ จปร ในจังหวัดราชบุรีพบทั้งหมด ๕ แห่ง ดังนี้ ๑. ถ้ำจอมพล ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี พบจารึกอักษร จปร ๑๑๔ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๒๑ ในรัชกาลที่ ๕
อักษรพระปรมาภิไธยย่อที่จารึกไว้ ณ ถ้ำจอมพล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประทับบนแคร่ไม้ บริเวณถ้ำจอมพล
๒. ถ้ำจระเข้ ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี พบจารึกอักษร จปร ๑๑๔ (ปัจจุบันยังสำรวจหาถ้ำไม่พบ สันนิษฐานว่าปากถ้ำได้ถูกปิดทับไปแล้ว) นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๒๒ ในรัชกาลที่ ๕ ๓. ถ้ำระฆัง(ถ้ำค้างคาว) ในเขตพื้นที่ค่ายบุรฉัตร ต.เกาะพลับพลา อ.เมือง จ.ราชบุรี พบจารึกอักษร จปร ๑๑๘ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๓๓ ในรัชกาลที่ ๕
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ที่จารึกไว้ ณ ถ้ำระฆัง
๔. เขาวังสะดึง ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี พบจารึกอักษร จปร ๑๑๘ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๓๔ ในรัชกาลที่ ๕
อักษรพระปรมาภิไธยย่อที่จารึกไว้ ณ เขาวังสะดึง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเขาวังสะดึง เมื่อวันที่ ๑๒ ต.ค. พ.ศ. ๒๔๔๒
๕. ถ้ำสาริกา ต.ธรรมเสน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พบจารึกอักษร จปร ๑๑๘ นับเป็นอักษรพระปรมาภิไธยที่ ๓๕ ในรัชกาลที่ ๕
ในการเสด็จพระราชดำเนินแต่ละครั้งจะมีพระราชหัตถเลขาบรรยายไว้ทุกครั้ง ดังเช่น การเสด็จพระราชดำเนินประพาสมณฑลราชบุรี เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๒
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ที่จารึกไว้ ณ ถ้ำสาริกา
“...วันที่ ๑๒ ตุลาคม...ครั้นเสวยเครื่องว่างเวลาเช้าแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปตามทางบนเขาวังสดึง ถึงที่ไหล่เขาแห่งหนึ่ง ซึ่งผู้จัดการรับเสด็จได้จัดเปนที่ทรงจารึกพระบรมนามาภิไธย ได้ทรงจารึกพระบรมภิไธยโดยย่อ จ ป ร แลเลข ๑๑๘ ที่น่าผา แห่งเขาวังสดึงด้านตะวันตกแล้วเสด็จพระราชดำเนินต่อไป...”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่องราวของอักษรพระปรมาภิไธยย่อที่ทรงได้พบอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ในรายงานเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรี เมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ.๒๔๔๑ ร.ศ. ๑๑๗ เมื่อครั้งเสด็จถ้ำห้วยตะแคง ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเขางู ถ้ำนี้ไม่สามารถพายเรือเข้าไปได้ พระองค์ทรงพบรอยถ่านไฟ เขียนอักษรพระนาม จปร. ความว่า "... เข้าไปพบของประหลาด คือมีรอยถ่านไฟเขียนไว้บนเพดานถ้ำเปนอักษรพระนาม จ.ป.ร. รูปอย่างที่ทรงจำหลักศิลาในสถานที่ต่างๆ แลมีตัวเลข ๑๑๔ อยู่ใต้นั้นด้วย เปนที่ฉงนสนเท่ห์ใจเปนอย่างยิ่ง ด้วยเมื่อศก ๑๑๔ เสด็จประพาศเมืองราชบุรี ฉันก็ตามเสด็จในเที่ยวนั้น จำได้ว่าทรงอักษรพระนามจำหลักไว้แต่ปากถ้ำจอมพลที่เขากลางเมือง ถึงว่าเมื่อเสด็จกลับจากจอมบึงได้ทรงม้าเลียบเขางูมาทางนี้ก็ไม่ปรากฏว่าได้เสด็จประพาศถ้ำห้วยตะแคง เหตุใดจึงมีอักษรพระนามเขียนไว้ที่หลังถ้ำนี้ แลเหตุใดจึงไม่มีจำหลัก แปลไม่ออกเกิดเปนความสงไสยว่าจะเปนลายพระราชหัตถเลขาแท้หรือใครไปแลเห็นที่ปากถ้ำจอมพลแลลองเอามาเขียนไว้ที่นี้ เพื่อบูชาหรือประการใด มีความสงสัยอยู่ดังนี้ จึงยังไม่กล้าสั่งให้จำหลักรอยลงในศิลา...”
อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วโปรดให้จารึกไว้ในสถานที่ต่างๆ นี้ ถือเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่สำคัญ ที่แสดงให้เห็นถึงพระราชกรณียกิจทรงเยี่ยมทุกข์สุขของราษฎรถึงแม้จะอยู่ในถิ่นทุรกันดารเพียงใด พร้อมกับทอดพระเนตรโบราณสถานต่างๆ ความประทับใจในความงามของธรรมชาติที่ได้เสด็จไปทั่วทุกแห่งหนบนผืนแผ่นดินของพระองค์ และแสดงให้เห็นถึงความสนพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ที่ทรงถ่ายทอดเหตุการณ์และทรงสร้างสรรค์หลักฐาน จารึกเรื่องราวให้คนรุ่นหลังได้สามารถศึกษาอดีตได้
เรียบเรียง : นางสาวปราจิน เครือจันทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
อ้างอิง
กรมศิลปากร, พระปรมาภิไธยที่พบในประเทศไทย, กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๔. มโน กลีบทอง,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี,สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด,พ.ศ.๒๕๔๔.
สถาบันดำรงราชานุภาพ “รายงานการเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรี เมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ.๒๔๔๑ ร.ศ.๑๑๗” การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ,๒๕๕๕.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 126/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/4ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4.8 x 51.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.100/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 13 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.130/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 8 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร เรื่อง ประติมากรรมดินเผารูปหงส์จากโบราณสถานวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร
ประติมากรรมดินเผารูปหงส์พบจากการขุดแต่งโบราณสถานวัดช้างรอบ เขตอรัญญิก นอกเมืองกำแพงเพชรทางด้านเหนือ ใช้ประดับอยู่ที่ส่วนฐานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมบนชั้นลานประทักษิณของเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ ปัจจุบันได้หลุดร่วงไปเกือบหมด หงส์บางส่วนที่หลุดร่วงได้ถูกเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
หงส์ที่ประดับบนโบราณสถานวัดช้างรอบแต่ละตัวที่พบมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปหงส์ด้านข้าง ยืนเรียงรายเป็นแถว ส่วนหัวมีหงอนเป็นลายกระหนก คอยาว หางเป็นรูปลายกระหนก ลักษณะเลียนแบบตามธรรมชาติ แต่มีการประดิษฐ์ลวดลายให้สวยงามมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะส่วนหัว คอ และหาง ซึ่งอาจเทียบได้กับรูปหงส์ปูนปั้นที่ประดับบนชั้นเชิงบาตรของปรางค์วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑
หงส์ถือเป็นสัตว์ชั้นสูงที่ปรากฏในคติความเชื่อทั้งในศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ชาวฮินดูถือว่าหงส์เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นพาหนะของพระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญของศาสนาฮินดู ส่วนในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าหงส์เป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ นอกจากนี้ยังเชื่อกันอีกว่าเป็นเจ้าแห่งนกทั้งปวง เป็นผู้พิทักษ์รักษาท้องฟ้า และเป็นพาหนะที่นำวิญญาณของผู้ตายไปสู่สวรรค์
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๗.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.5/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ข้าว (ตอนที่ ๓ : ข้าวพันธุ์พระราชทาน )
พันธุ์ข้าวพระราชทานในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์จนมีคุณภาพดี มีทั้งข้าวนาสวนและข้าวไร่ เช่น
“ข้าวพันธุ์ปทุมธานี ๑”
เป็นข้าวหอมนุ่ม คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ให้ผลผลิตสูง
“ข้าวสังข์หยดพัทลุง”
เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมที่ปลูกใน จ.พัทลุง โดยปลูกได้ปีละ ๑ ครั้ง นิยมกินแบบข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือทั่วไป
“ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕”
เป็นข้าวที่มีคุณภาพการหุงต้มดี สุกแล้วหอม นุ่ม เหนียว
“ข้าว กข ๔๑”
เป็นข้าวเจ้าที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพการสีดีได้ข้าวเต็มเมล็ด
“ข้าว กข ๖”
เป็นข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ หุงสุกแล้วมีกลิ่นหอม
“ข้าวดอกพะยอม”
เป็นข้าวไร่ ข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกแซมกับต้นยางพาราได้
“ข้าวลืมผัว”
เป็นข้าวเหนียวที่โดดเด่นด้านรสชาติ มีกลิ่นหอม หากสีเป็นข้าวกล้อง เมื่อหุงสุกแล้วจะเคี้ยวกรุบ หนึบ ภายในนุ่มเหนียว อุดมไปด้วยสารอาหาร
#ข้าวพันธุ์พระราชทาน
ข้อมูล : มูลนิธิมั่นพัฒนา http://www.tsdf.nida.ac.th/th/royally-initiated-projects
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ร.๙
โบราณสถานปราสาทโคกงิ้ว ตั้งอยู่ภายในวัดโคกงิ้ว บ้านโคกงิ้ว ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทโคกงิ้ว เป็นศาสนสถานประจำสถานพยาบาล หรือ อโรคยศาล ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างขึ้นในดินแดนของพระองค์ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 แผนผังของตัวโบราณสถานประกอบด้วยปราสาทประธานตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานเป็นที่ตั้งของวิหาร หรือบรรณาลัย ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีประตูเข้าออกด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีซุ้มประตูทางเข้าหรือโคปุระอยู่ทางด้านทิศตะวันออก นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทประธานเป็นสระน้ำประจำศาสนสถาน พ.ศ.2554 สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา ในขณะนั้น ได้ดำเนินโครงการขุดแต่งโบราณสถานแห่งนี้ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลจากการดำเนินการขุดแต่งโบราณสถาน พบโบราณวัตถุสำคัญหลายประเภท เช่น ทับหลังสลักภาพคชลักษมี ศิลปะคลัง – บาปวนตอนต้น, เสาประดับกรอบประตู ,ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ และภาชนะดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง ทับหลังหินทรายสลักภาพคชลักษมี ชิ้นนี้ พบจากการขุดแต่งบริเวณบรรณาลัย หรือ วิหาร ลักษณะองค์พระลักษมีประทับนั่งขัดสมาธิบนฐานดอกบัว พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างถือดอกบัว ด้านข้างทั้งสองของพระองค์มีช้างยืนสองขาชูงวงเหนือพระเศียร ใต้ฐานพระลักษมีเป็นรูปเกียรติมุขหรือหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย มือของหน้ากาลยึดชายท่อนพวงมาลัยไว้ พวงอุบะเป็นลายใบไม้ม้วน เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ ขอบด้านข้างทั้งสองด้านของทับหลังมีรูปสิงห์ยืนจับปลายท่อนพวงมาลัยไว้ ลักษณะดังกล่าวเป็นศิลปะขอมแบบคลังหรือแบบบาปวน อายุสมัยประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีอายุเก่ากว่าปราสาทโคกงิ้ว จึงสันนิษฐานว่าในช่วงเวลาก่อสร้างมีการเคลื่อนย้ายทับหลังจากปราสาทหลังอื่นมาประดับตกแต่ง ณ ปราสาทโคกงิ้ว จากรูปแบบของโบราณสถานที่ปรากฏ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศาสนสถานประจำสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724 – 1761) แต่ลักษณะทางศิลปกรรมของทับหลังชิ้นนี้แสดงในรูปแบบขอมแบบคลังหรือแบบบาปวน อายุสมัยประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่า ทับหลังชิ้นนี้เป็นทับหลังที่ไม่ใช่ของที่นี่โดยตรง อาจนำมาจากปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอื่นที่อยู่ใกล้ หรือ อาจนำมาใช้ประดับสถาปัตยกรรมในโบราณสถานแห่งนี้ ปี 2563-2564 สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กำลังดำเนินงานบูรณะปราสาทโคกงิ้ว ประกอบด้วย บูรณะปราสาทประธาน บรรณาลัยหรือวิหาร กำแพงแก้ว ด้วยวิธีอนัสติโลซิส--------------------------------------------------ข้อมูลโดย : นางสาวสุภาวดี อินทรประเสริฐ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา--------------------------------------------------
องค์ความรู้ เรื่อง กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
กระเบื้องเชิงชาย คือ กระเบื้องแผ่นปลายสุดของชายคา เป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องมุงหลังคาสถาปัตยกรรมโบราณ ใช้ประดับเรียงรายโดยอุดชายคากระเบื้องลอน เพื่อให้เกิดความงามของแนวชายคา ป้องกันฝนสาดเข้าไปตามช่องของลอนกระเบื้องมุง รวมทั้งป้องกันสัตว์ไม่ให้เข้าไปทำรังและทำลายโครงสร้างภายในอาคารได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระเบื้องหน้าอุด
กระเบื้องเชิงชายโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วหรือสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเดือยออกทางด้านหลังเพื่อเสียบเข้าไปในลอนกระเบื้องมุง ทำด้วยดินเผา สันนิษฐานว่าช่างโบราณเลือกเทคนิคการทำด้วยวิธีการพิมพ์จากแบบ ซึ่งลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายเป็นลายนูนต่ำ ตัวลายมีความกลมมน ละเว้นรายละเอียดที่มากเกินไป เพราะสะดวกต่อการถอดพิมพ์ นอกจากนี้การทำลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายที่จะประดับบนหลังคาเดียวกันให้เหมือนและเท่ากันนั้นยากด้วยวิธีการปั้นแบบอิสระ
สิ่งก่อสร้างในสมัยอยุธยาที่ใช้กระเบื้องเชิงชายสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้ ๒ ประเภท คือ ประเภทศาสนสถาน ได้แก่ อุโบสถ วิหาร กุฏิ ซุ้มประตู และประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ พระมหาปราสาท พระที่นั่ง ตำหนัก ซึ่งกระเบื้องเชิงชายใช้กับอาคารของชนชั้นสูง สอดคล้องกับการตกแต่งลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายด้วยรูปภาพที่มีความหมายทางประติมานวิทยา เช่น รูปเทพนม รูปดอกบัว ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากระเบื้องเชิงชายแต่ละชิ้นน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของวิมานที่สถิตของเทวดา เป็นการส่งเสริมความสำคัญของอาคารนั้น ๆ และแสดงฐานะของผู้ใช้อาคารให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ลวดลายที่ปรากฏบนกระเบื้องเชิงชาย ได้แก่ ลายดอกบัว ลายเทพนม ลายหน้ากาล ลายพันธุ์พฤกษา ลายครุฑยุดนาค จากการสำรวจกระเบื้องเชิงชายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร พบกระเบื้องเชิงชายลวดลายดอกบัว โดยดอกบัวเป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ ความสมบูรณ์ ในพุทธศาสนาใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการกำเนิดขององค์พระศาสดา ดังความในพระไตรปิฎกว่า “...สีเส ปฐวิ โปกขเร อภิเลเก สพพพุทธานํ...” หมายความว่า แผ่นดินคือดอกบัว เป็นที่อุบัติตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จึงนิยมสร้างงานศิลปกรรมเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับอยู่เหนือดอกบัว ต่อมาลายดอกบัวได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นลายลายกระหนก
ลายเทพนมที่ตกแต่งบนกระเบื้องเชิงชายเป็นภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือเสมอพระอุระอยู่เหนือดอกบัว เป็นลวดลายที่พบในงานศิลปกรรมไทยทั่วไป เช่น ในงานจิตรกรรม ลายพุ่มหน้าบิณฑ์เทพนม ลายก้านขดเทพนม ลายเทพนมบนเครื่องถ้วยเบญจรงค์ ในงานประติมากรรม พบที่กระเบื้องเชิงชาย หน้าบัน บันแถลงประตูหน้าต่างของโบสถ์หรือวิหาร เป็นต้น ซึ่งกระเบื้องเชิงชายที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๓
บรรณานุกรม
- ประทีป เพ็งตะโก. “กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๐.
- วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙.
- สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗