ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ไปรษณียบัตรจดหมายเหตุ ผู้แต่ง : สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด ปีที่พิมพ์ : 2558 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขหมู่ : 383.122 ห192ป


            สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมโครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๗ “เหมันต์สุขศรี สุนทรีย์สังคีต” วันอาทิตย์ที่ ๑๗ มีนาคม  ๒๕๖๗ เวลา  ๑๗.๓๐  น. ณ  สังคีตศาลา  บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร             พบกับการบรรเลง - ขับร้องดนตรีไทย  ชุด “ขับเพลงบรรเลงนาฏ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” มีรายการบรรเลง ดังนี้            ๑. การบรรเลงโหมโรงเพลงขับไม้บัณเฑาะว์            ๒. การบรรเลง - ขับร้อง เพลงตับเรื่องนางซินเดอร์เรลลา            ๓. การบรรเลง - ขับร้อง เพลงตับแม่ศรีทรงเครื่อง            ๔. การบรรเลง - ขับร้อง ประกอบการแสดงตาโบลวิวังต์ (Tableaux Vivants) จากบทคอนเสิร์ต เรื่องรามเกียรติ์ ตอนอินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์ ควบคุมการบรรเลงโดย  เลอเกียรติ  มหาวินิจฉัยมนตรี / กำกับการแสดงโดย หัสดินทร์ ปานประสิทธิ์ / อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต            บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑


วันเนา (วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า) ในปี พ.ศ.2567 วันเนามี 2 วัน คือวันที่ 14-15 เมษายน 2567 วันเนา ซึ่งชาวล้านนานิยมเรียกว่า วันเน่า วันที่อยู่ระหว่างวันสงกรานต์อันเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่าและวันพระญาวันหรือวันเถลิงศกในศักราชใหม่ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ แม้จะเข้าสู่ราศีเมษบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่สถิตเต็มราศีจึงเป็นระยะที่ยัง "เนา" ไว้ก่อน แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก "วันเน่า" โดยปกติแล้วแต่ละปีจะมีวันเนาเพียงวันเดียว แต่ในบางปีก็อาจจะมีวันเนาถึงสองวันก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่ผลของการคำนวณวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์ ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่าและหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ "เน่า" และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว นอกจากนี้ยังต้องระวังเนื้อระวังตัว อย่าให้เกิดบาดแผลขึ้นได้ เพราะจะเกิดเน่ารักษาให้หายได้ยาก วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน จัดเตรียมสิ่งของต่างๆ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ รวมไปถึงของที่นำไปทำบุญในวันพระญาวัน ขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลสงกรานต์นี้มีหลายชนิด เช่น เข้าหนมจ็อก คือขนมใส่ไส้อย่างขนมเทียน เข้าหนมปาดหรือศิลาอ่อนคือขนมอย่างขนมถาดของภาคกลาง เข้าวิทู คือข้าวเหนียวแดงเข้าแดนคือขนมนางเล็ด เข้าแตบ คือข้าวเกรียบซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือ เข้าตวบ คือข้าวเกรียบว่าว เข้าพอง คือขนมอย่างข้าวพองของภาคกลาง เข้าหนมตายลืม คือข้าวเหนียวคนกับกะทิและใส่น้ำอ้อยแล้วนึ่งแต่ไม่ให้สุกดีนัก เข้าต้มหัวหงอก คือข้าวต้มมัดที่โรยด้วยฝอยมะพร้าวขูด เข้าหนมวงคือขนมกง เข้าหนมเกลือ คือขนมเกลือ แต่ทั้งนี้ ขนมที่นิยมทำมากที่สุดในช่วงสงกรานต์คือ เข้าหนมจ๊อก มีการขนทรายจากแม่น้ำไปก่อเจดีย์ทรายกันที่วัด ปกติทรายที่นำเข้าวัดนั้นมักกองรวมกันทำเป็นเจดีย์ซึ่งบางครั้งจะมีกระบะไม้หรือไม้ไผ่สานสำหรับกั้นขอบทรายเพื่อให้สามารถกองต่อเนื่องกันสูงขึ้นไปเป็นรูปเจดีย์การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ดิดเท้าของตนออกจากวัด ซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด จัดเตรียมตัดกระดาษสีต่างๆ มาทำ ทุง หรือธงอย่างธงตะขาบหรืออาจจะทำช่อซึ่งเป็นธงรูปสามเหลี่ยมบ้างก็ได้ คันทุงมักทำด้วยก้านของต้นเขือง ชาวบ้านจะนำทุงที่ตัดเป็นลวดลายจำนวนหลายตัวมาแขวนไว้กับก้านเขืองเตรียมไว้สำหรับนำไปปักที่เจดีย์ทรายในวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวัน พระญาวัน เริ่มมีการเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานเอกสารอ้างอิงอุดม รุ่งเรืองศรี. "ปีใหม่ (สงกรานต์)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 8. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 3834-3841. "วันเนา (ก่อนวันเถลิงศก)." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 12. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6226-6226.


วันเสาร์ที่ 29 เมษายน 2566 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี จัดกิจกรรม "Art Kids Summer Camp" ครั้งที่ 2 กิจกรรมปั้นดินเบาเสริมสร้างจินตนาการและพัฒนาการทางกล้ามเนื้อ วิทยากรโดย อาจารย์โดม คล้ายสังข์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ,พี่ฟ้าและพี่ตุ๊กตา นักศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี


วันที่ 10 เมษายน 2567 ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี หัวหน้าส่วน นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย นายปฏิพัทธ์พงษ์ ภุมรินทร์ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ และ นางสาวทิพย์สุดา อาจดี เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน เข้าร่วมพิธีบวงสรวงโบราณสถานวัดสนามชัย ประจำปี 2567 โดยมีนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี


เกษตรพันธุ์๙ นำเสนอเรื่องราวในแวดวงเกษตรกรรม วันนี้เสนอเรื่อง "มารู้จักมะละกอกันเถอะ" แนะนำโดย นางสาวเสาวลักษณ์ เที่ยงธรรม เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน





ผู้แต่ง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านปีที่พิมพ์ : 2550 สถานที่พิมพ์ : น่าน สำนักพิมพ์ : องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน      น่านเป็นจังหวัดหนึ่งในล้านนาตะวันออก มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้คนได้อาศัยบนผืนแผ่นดินน่าน ได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจนเกิดเป็นลักษณะเฉพาะที่โดเด่นหลายประการ รวมทั้งรู้จักปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ให้ยั่งยืน จนกลายเป็นมาดกอันทรงคุณค่าสำคัญอย่างยิ่งของจังหวัด



ประชุมสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ประจำเดือนกันยายน ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๘ วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี




โครงการออกแบบศาลาไทย ณ เกาะผู่โถวซาน มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี ร้านขายกาแฟ โครงการพัฒนาโรงละครแห่งชาติ โครงการออกแบบหอพระประจำกรมป่าไม้ กรุงเทพมหานคร โครงการก่อสร้างเจดีย์วัดป่าศรัทธาธรรม จังหวัดนครราชสีมา ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV) พร้อมอุปกรณ์ 1 ระบบ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โครงการก่อสร้างหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา โครงการออกแบบก่อสร้างศาลาไทย ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โครงการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โครงการปรับปรุงห้องน้ำ-ห้องสุขา-ห้องซักล้าง วนศ.พัทลุง ออกแบบแท่นฐานพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โครงการโรงละครกลางแจ้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จ.สุโขทัย โครงการออกแบบตกแต่งภายในอาคารกรมหม่อนไหม กรุงเทพมหานคร


วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของพิพิธภัณฑสถานแ่หงชาติ พระปฐมเจดีย์


Messenger