ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ


เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี


          โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา และได้พยายามรักษาโรคภัยเหล่านั้นมาตั้งแต่ในอดีต ในช่วงวัฒนธรรมเขมรโบราณ ในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔ – ๑๗๖๑) พระองค์โปรดให้สร้างสถานพยาบาลขึ้นเพื่อให้การดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วย จำนวน ๑๐๒ แห่ง ทั่วดินแดนในพระราชอำนาจของพระองค์           จารึกปราสาทตาพรหม ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างขึ้น กล่าวถึงสถานพยาบาลจำนวน ๑๐๒ แห่ง ประจำในแต่ละวิษัย (จังหวัด) และจารึกประจำอโรคยศาลหลาย ๆ หลัก ที่มีการค้นพบ กล่าวถึงพระประสงค์ของพระองค์ในการสร้างสถานพยาบาลว่า“โรคทางร่างกายของประชาชนนี้ เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะความทุกข์ ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นความทุกข์ของเจ้าเมือง พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลและรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วย พระชิโนรสทั้งสองโดยรอบเพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป”           โบราณสถานกุฏิฤษี อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่นอกเมืองพิมายทางทิศใต้ซึ่งเป็นด้านหน้าของเมือง เป็นอโรคยศาลหรือศาสนสถานประจำสถานพยาบาลของเมืองพิมาย ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างขึ้น           จากการศึกษาอโรคยศาลแห่งต่าง ๆ พบว่าจะสร้างขึ้นบริเวณชุมชนเดิม โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกชุมชน เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างและอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม           อโรคยศาลประกอบด้วยอาคาร ๒ ส่วน ได้แก่           สถานพยาบาลที่เป็นอาคารเครื่องไม้ ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานให้เห็นแล้ว นักวิชาการชาวฝรั่งเศส โคล์ด ชาร์ค เสนอว่า อาคารส่วนนี้น่าจะตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศาสนสถานใกล้กับสระน้ำ ซึ่งจากการขุดค้นบริเวณอโรคยศาลหลาย ๆ แห่ง พบหลักฐานของเศษภาชนะดินเผา กระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ทำให้สันนิษฐานได้ว่า อาคารสถานพยาบาลที่สร้างด้วยไม้ อาจตั้งอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก           ปราสาทซึ่งเป็นศาสนสถาน อาคารส่วนนี้เรียกว่า “สุคตาลัย” ตามที่ปรากฏในจารึกทรายฟอง ก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก ประกอบด้วย ปราสาทประธาน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บรรณาลัยหรือวิหาร ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วที่มีประตูซุ้ม(โคปุระ)เป็นทางเข้า และสระน้ำตั้งอยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ           จากการศึกษาอโรคยศาลในหลาย ๆ แห่ง พบว่า ปราสาทประธานเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา พระพุทธเจ้าทางการแพทย์ พระโพธิสัตว์พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และพระโพธิสัตว์พระศรีจันทรไวโรจนโรหิณีศะ           วิหารหรือบรรณาลัย ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร ประทับนั่ง พระโพธิสัตว์วัชรปราณี? และพระยมทรงกระบือ และโคปุระ ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร ประทับยืน           จารึกเมืองพิมาย ตามประวัติกล่าวว่าพบบริเวณเมืองพิมาย เมื่อพิจารณาจากเนื้อความในจารึกที่มีข้อความเหมือนกับจารึกที่พบที่อโรคยศาลหลังอื่น ๆ ทำให้เชื่อได้ว่า เป็นจารึกประจำโบราณสถานหลังนี้           จารึกมีสภาพชำรุด ข้อความที่ปรากฏกล่าวถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงนมัสการพระไภษัชยคุรุไวทูรยะ พระศรีสูรยไวโรจนจันทโรจิ และพระศรีจันทรไวโรจนโรหิณีศะผู้ขจัดโรคภัย ทรงดูแลรักษาประชาชนผู้เจ็บป่วย เจ้าหน้าที่ประจำในสถานพยาบาล สมุนไพรและสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผลตำลึง กฤษณา ขี้ผึ้ง น้ำผึ้ง การบูร ผักทอดยอด ข้าวสาร ภาชนะดีบุก เป็นต้น           ประติมากรรมสำคัญที่พบจากการขุดแต่งกุฏิฤษีพิมาย ได้แก่ รูปเคารพประทับนั่งประคองวัชระทั้งสองพระหัตถ์ ซึ่งส่วนพระหัตถ์แตกหักไปแล้ว ลักษณะทางประติมานวิทยาเป็นพระวัชรธร แต่เมื่อพิจารณาจากข้อความที่ปรากฏในจารึกประจำอโรคยศาล และการนับถือพุทธศาสนา นิกายมหายานในกลุ่มประเทศจีน ทิเบต และญี่ปุ่น ทำให้นักวิชาการเชื่อว่า ประติมากรรมรูปนี้ คือ พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภา           ชิ้นส่วนพระหัตถ์ขวาถือพวงลูกประคำ ท่อนพระกรขวาถือดอกบัว ท่อนพระกรซ้ายถือหัตถ์ถือคัมภีร์ คงจะเป็นชิ้นส่วนของพระโพธิสตว์อวโลกิเตศวรสี่กร พบภายในโคปุระ           กุฏิฤษี เป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองพิมาย เป็นสถานพยาบาลที่เก่าแก่ของชุมชนแห่งนี้ เมื่อราว ๘๐๐ ปีมาแล้ว ------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีชำนาญการ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย------------------------------------------------------บรรณานุกรม กรมศิลปากร. จารึกในประเทศไทย เล่ม ๔ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ , ๒๕๒๙. กรมศิลปากร. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๓๒. ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์. “การศึกษาร่องรอยของบ้านเมืองโบราณบริเวณใกล้เคียงศาสนสถานประจำ โรงพยาบาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ และบุรีรัมย์.” วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕ รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “ประติมานวิทยาของรูปเคารพในสุคตาลัย ศาสนาสถานประจำอโรคยศาล,” เมือง โบราณ ๔๐, ๓ (กรกฎาคม – กันยายน, ๒๕๕๗). ศิริพันธ์ ตาบเพ็ชร์. รายงานเบื้องต้น ทำเนียบอโรคยศาลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๕๕. Bhari, K.M. trans., “Ta Prohm Inscription.” in Ta Prohm A Glorious Era in Angkor Civilization. Bangkok : White Lotus, 2007.


เชื่อหรือไม่? คนสุโขทัยก็เล่นหมากรุก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีการดำเนินงานขุดแต่งทางโบราณคดีที่พระราชวังโบราณ เมืองศรีสัชนาลัย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย) ในการทำงานคราวนั้น นักโบราณคดีได้พบโบราณวัตถุต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ หมากรุกสังคโลก ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก เชื่อกันว่าหมากรุกของไทยพัฒนามาจากเกมกระดานของอินเดียที่ชื่อว่า จตุรงค์ (Chaturanga) ซึ่งกำเนิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ก่อนจะแพร่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงดินแดนสุวรรณภูมิ สันนิษฐานว่าหมากรุกน่าจะเข้ามาพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เป็นอย่างน้อย โดยระยะแรกอาจเป็นเกมการละเล่นในราชสำนัก ดังที่พบตัวหมากรุกที่พระราชวังโบราณ เมืองศรีสัชนาลัย รวมถึงการพบหลักฐานอื่น ๆ เช่น ข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุมที่สร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไทย) มีใจความว่า “...เมืองอันใดก็รู้สิ้นอันรู้ศาสตร์...อ...อยูกต สกาจตุรงค์กระทำยนตร์ขี่ช้าง...” ซึ่งคำว่า จตุรงค์ ในที่นี้หมายถึงหมากรุกนั่นเอง ไม่เพียงเท่านั้นยังพบหมากรุกที่ผลิตจากแหล่งเตาเวียงกาหลงของอาณาจักรล้านนาอีกด้วย หมากรุกที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จึงเป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นว่าการเล่นหมากรุกในดินแดนไทยปรากฏมีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย และยังคงเป็นการละเล่นที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน



พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางมนัศมานิต (ชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๙


         มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๕ พฤษภาคม ๒๔๒๗ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา          พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๔๕ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๒๗ แรกประสูติดำรงพระอิสริยยศที่พระองค์เจ้าหญิง ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๓๑เฉลิมพระยศเป็นพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี          มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระชนนี คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๓๒ สิริพระชันษา ๖ ปี         พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ   ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดา








กระเบื้องมุงหลังคาแบบลอน พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          กระเบื้องดินเผาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าโค้งงอเล็กน้อย ขนาดกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ด้านบนตกแต่งเป็นสันนูนทำให้เกิดลอน ๓ ลอน ขนานกันตามแนวยาวของตัวกระเบื้อง คั่นด้วยร่องเว้าลงไป ๒ ร่อง สำหรับเป็นทางระบายน้ำฝน ด้านล่างมีผิวแบนเรียบ ปลายด้านหนึ่งมีเดือยทรงสามเหลี่ยมปลายงอ ใช้สำหรับเป็นตะขอเกี่ยวยึดกับโครงสร้างซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นระแนงไม้ เนื้อกระเบื้องมีเม็ดกรวดทรายปนอยู่ค่อนข้างมาก          นอกจากกระเบื้องชิ้นนี้แล้ว ที่เมืองโบราณอู่ทอง ยังมีการค้นพบชิ้นส่วนกระเบื้องมุงหลังคาแบบลอนอีกจำนวนหนึ่ง จากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๔ (โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมประเภทวิหาร มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงสร้างผนังก่ออิฐและเสาซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นไม้ รองรับน้ำหนักส่วนโครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ทั้งนี้ยังพบกระเบื้องรูปแบบคล้ายคลึงกันนี้จากโบราณสถานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ทราบรูปแบบและหน้าที่การใช้งานอาคารอย่างแน่ชัด ตั้งอยู่บริเวณคันดินมุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของเมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี อีกด้วย          นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีหลักฐานทางเอกสารที่กล่าวถึงกระเบื้องในสมัยทวารวดี ได้แก่ จดหมายเหตุทงเตี่ยน ซึ่งเป็นเอกสารจีนที่รวบรวบขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ มีเนื้อหาที่กล่าวถึงดินแดนโถวเหอ (นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตรงกับคำว่า “โตโลโปตี้” ที่หมายถึง “ทวารวดี”) ซึ่งเป็นที่รู้จักในสมัยราชวงศ์สุย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ว่ามีบ้านเรือนหรือวังของกษัตริย์ที่มีหลายชั้นและมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคาด้วย           กระเบื้องชิ้นนี้เป็นกระเบื้องรูปแบบหนึ่งที่ชาวพื้นเมืองสมัยทวารวดี ใช้สำหรับมุงหลังคาซึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่า เนื่องจากมีการค้นพบกระเบื้องดังกล่าวปริมาณไม่มากนัก อาจใช้สำหรับมุงหลังคาอาคารประเภทวิหาร มณฑป ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนา หรือที่อยู่อาศัยของบุคคลชั้นสูง ก็เป็นได้---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/Uthongmuseum/posts/1604825466381866---------------------------------------------------อ้างอิง :เด่นดาว ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพฯ : อรุณการ พิมพ์, ๒๕๕๙. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. “กระเบื้องดินเผาสมัยทวารวดี : ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ”. หน้า จั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. ๙ (กันยายน ๒๕๕๕ – สิงหาคม ๒๕๕๖), ๓๐๒ – ๓๑๔.



ล้อวัวล้อ ในสารพจนานุกรมล้านนาให้ความหมายว่า เกวียน วงล้อ แหว้นล้อ ภาคกลางเรียก เกวียนวัว ภาคอีสานเรียก ระแทะหรือเกียน ซึ่งเป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งในการเดินทาง มีสองล้อ เทียมด้วยวัวหรือควาย ใช้บรรจุพืชผลต่างๆ เรียก ล้อวัวหรือล้อควาย ประกอบไปด้วยล้อไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่จำนวนสองล้อ ล้อจะหมุนรอบเพลาที่มีดุมเป็นแกนกลาง โดยมีกำหรือโครงสร้างล้ออยู่ในกรอบไม้ฝักมะขาม และมีแม่แปลกเป็นไม้ประกบบังคับให้ล้อเกวียนหมุน ตัวเกวียนมีลักษณะโปร่งๆ มีไม้ซี่เล็กๆ เรียงคล้ายกรง ด้านล่างตั้งอยู่บนไม้คาน ในอดีตใช้เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกข้าวเปลือกและพืชผลต่างๆ อาจะมีประทุนหรือกูบไว้กันฝนกันแดดด้วยภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด การประกวดภาพเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน (เจ้าของภาพ อนงค์ศิลป์ ด่านไพบูลย์)อ้างอิง๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.๒. พิชชา ทองขลิบ. ๒๕๖๔. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (Online). https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php.... สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๔.


นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)  ชบ.บ.75/1-1ฌ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger