ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)  ชบ.บ.96/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.308/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 66 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ภูริทัสต์)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



ชื่อผู้แต่ง                  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อเรื่อง                   พระราชนิพนธ์บางเรื่อง ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์             พระนคร สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์                  ๒๕๐๑ จำนวนหน้า              ๘๘     หน้า รายละเอียด              หนังสือที่ขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพเสวกตรี พระราชเสวกสมบุญ จารุตามระ)เป็นพระราชนิพนธ์ใน ร.๖ จำนวน ๘ เรื่อง                           ประกอบด้วย ๑. พระราชานุศาสนนีย์แสดงคุณานุคุณ ๒. ความเรียงเรื่องคำใช้แทนคำเอดิเตอร์ ๓. ความเรียงเรื่องตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ                     ๔. ความเรียงเรื่องความเป็นชาติโดยแท้จริง ๕. นิทานเรื่องทำคุณบูชาโทษ ๖. นิทานเรื่องขาดรองไหวพริบ ๗. นิทานเรื่องต้นหมาปลายหมา และ ๘. สุภาษิตต่างๆบางบท




#ภาพเก่าเล่าเรื่อง ตอน เรือหางแมงป่อง เรือหางแมงป่องหรือเรือแม่ปะ คนเชียงใหม่เรียกเรือสีดอ เป็นเรือแบบชนิดเรือขุด คือเรือที่มนุษย์สร้างขึ้นจากไม้ขนาดใหญ่และสามารถลอยน้ำได้ เช่น ไม้สัก ไม้ตะเคียน แล้วใช้แรงงานคนขุดด้วยเครื่องมือจำกัด เช่น ขวาน ผึ่ง ค้อน สิ่ว ในการตัดและขุดเรือมาใช้งาน  ลักษณะของเรือหางแมงป่อง คือ ลำเรือขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ ๑๖–๑๘ เมตร ด้านหน้าเรือกว้างกว่าท้ายเรือ โขนเรือด้านหลังต่อให้แบนและโค้งงอนขึ้นจนคล้ายหางของแมงป่อง ส่วนหัวเรือต่อให้ยาวยื่นออกมา ประมาณ ๓๐ เซนติเมตร เพื่อให้ลูกเรือขึ้นไปยืนถ่อเรือ (การใช้ไม้ค้ำให้เรือเดินต่อ) มีประทุนค่อนไปด้านหลังสำหรับบรรทุกสินค้า ส่วนท้ายต่อประทุนยกสูง ตัวประทุนใช้ไม้ไผ่สานแบบโค้ง ส่วนหลังคามีหลังคาอีกชั้นเพื่อเลื่อนไปมากันแดดกันฝน ในอดีตชาวล้านนาใช้เป็นเรือสำหรับขนส่งสินค้าจากเชียงใหม่ส่งไปถึงกรุงเทพฯ สินค้าที่สำคัญ คือ น้ำผึ้ง น้ำมันยาง ของป่าอื่น ๆ แล้วขนสินค้าจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาขายที่เชียงใหม่ สลับกันไปมา อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะของเรือที่เหมาะแก่การใช้ล่องแม่น้ำแม่ปิง นอกจากใช้ในการบรรทุกสินค้าแล้ว ยังพบการใช้เรือหางแมงป่อง เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจากกรุงเทพฯ ไปถึงเมืองกำแพงเพชร ปรากฏในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้น พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการเสด็จประพาสในครั้งนั้นว่าใช้เรือแม่ปะ เจ้าของเรือ คือ พระยาสุรสีห์ ตั้งชื่อให้ว่า “สุวรรณวิจิก” เป็นพาหนะในการเดินทาง ต่อมาการล่องเรือหางแมงป่อง ได้ถูกแทนที่ด้วยการสร้างทางรถไฟสายเหนือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ซึ่งได้มีการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้ทำพิธีเปิดสถานีรถไฟเชียงใหม่ การดำเนินชีวิตและวิถีการเดินทางของชาวไทยถิ่นเหนือจึงเปลี่ยนแปลงไป มีความสะดวกมากขึ้นและการค้าทางเรือจึงหมดไปอย่างสิ้นเชิง เพราะต้นทุนในการขนส่งสินค้าทางบกถูกกว่าทางเรือมากผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.อ้างอิง : ๑. พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๕๐. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ – ๒๕๔๙.จังหวัดกำแพงเพชร : พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ. (ที่ระลึกพระโสภณคณาภรณ์ (สมจิตต์ อภิจิตฺโต) ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐)๒. ชูสิทธิ์ ชูชาติ.๒๕๔๙. พ่อค้าเรือหางแมงป่อง นายฮ้อยหลวงลุ่มแม่น้ำปิง (พ.ศ.๑๘๓๙ - ๒๕๐๔). พิมพ์ครั้งที่ ๒. ลานาการพิมพ์: ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น.๓. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๒. “สถานีรถไฟเชียงใหม่ ความเจริญเติบโตทางคมนาคมที่มาสู่การเปลี่ยนแปลงเชียงใหม่ (Online).”. https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1066909/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕.๔. มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. ม.ป.ป. “ชนิดของเรือขุด.” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ ๓๙ (online). https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php..., สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๕.


ชื่อเรื่อง                                    มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(สุวรรณสาม)สพ.บ.                                       420/1กหมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                    พระพุทธศาสนา                                               ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                               58 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


           วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ : เรียนรู้เรื่องท้องฟ้า ศึกษาพระจันทร์ในสมุดไทย “จันทสุริยคติทีปนี” และ “จันทคาธ”           ด้วยวันนี้เมื่อ ๑๕๔ ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช ได้แสดงพระปรีชาสามารถด้านดาราศาสตร์ ด้วยทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงล่วงหน้าถึง ๒ ปี จึงถือให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินั้น วันนี้ เพจคลังกลางฯ ขอเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับท้องฟ้าในตำราสมุดไทย เล่มหนึ่งคือ “จันทคาธ เล่ม ๓” วรรณกรรมพื้นบ้านที่แพร่หลายอยู่ในดินแดนล้านนา - ล้านช้าง ส่วนอีกเล่มเป็นวรรณกรรมศาสนา เรื่อง “จันทสุริยคติทีปนี” ว่าด้วยเรื่องการศึกษาขนาดและสัณฐานของจักรวาล           สมุดไทยเล่มแรก เป็นนิทานธรรมจากปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ทางภาคเหนือเรียกว่า “จันต๊ะคาปูจี่” หรือค่าวธรรมจันทคาธชาดก โดย “คาธ” เป็นคำโบราณ มีความหมายเช่นเดียวกับ “คราส” ที่แปลว่า จับ หรือกิน ทั้งนี้ ฉบับที่เก็บรักษาอยู่ในคลังกลางฯ เป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยอักษรหมึกสีดำ เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ สำหรับใช้เป็นกลอนสวด กล่าวถึงสามีภรรยาแห่งนครจัมปากะ มีบุตร 2 คน คนพี่ชื่อ “สุริยคาธ” เพราะในวันเกิดเป็นวันที่อสุรินทราหูจับพระอาทิตย์ ส่วนคนน้องชื่อ “จันทคาธ” เพราะเกิดในวันอสุรินทราหูจับพระจันทร์ วันหนึ่งสองพี่น้องต้องออกเดินทางเข้าไปในป่าได้เก็บเปลือกไม้สำหรับชุบชีวิต จึงมีโอกาสได้ช่วยเหลือคน สั่งสมวิชาความรู้ จนต่อมาทั้งคู่ได้เป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง ชาดกเรื่องนี้จึงเป็นวรรณกรรมที่สอนให้มีความกตัญญู ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละเพื่อส่วนรวมและเมตตากรุณา โดยชีวิตของตัวละครดำเนินไปตามสัจธรรมของมนุษย์ มีช่วงเวลามืดมนและเจิดจ้า คล้ายปรากฏการณ์ข้างขึ้นและข้างแรมตามการกระทำของตัวละคร           ส่วน “จันทสุริยคติทีปนี” เป็นวรรณกรรมทางศาสนาว่าด้วยเรื่องการโคจรของดวงดาว หน้าต้นระบุนาม พระอุดมมังคลาจารย์ ศิษย์ของพระอุทุมพรมหาเถระ สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ มีพื้นฐานมาจาก “จันทิมสุริยคติกถา” ในคัมภีร์โลกสัณฐานโชรตนคัณฐี ปัจจุบันมีฉบับสำนวนภาษาไทยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้พระธรรมอุดม (มี) แปลอรรถาธิบายเรียงความถวายในพุทธศักราช ๒๓๔๖ โดยฉบับที่เก็บรักษาอยู่ในคลังกลางฯ เชื่อว่าเป็นเล่มสำเนาของฉบับดังกล่าว           เนื้อหาในจันทสุริยคติทีปนี แบ่งออกเป็น 8 มาติกา (หมวด) เป็นความรู้พื้นฐานเรื่องสัณฐานของจักรวาล มีวิธีการวัดขนาดอย่างการกำหนดมาตร ‘ศอก’ โดยใช้ประมาณของบุรุษ การกำหนดความยาวของหน่วย ‘โยชน์’ ก่อนจะเข้าสู่การบรรยายเกี่ยวกับรูปสัณฐานของโลก การโคจรของพระจันทร์พระอาทิตย์ และดาวนักขัตฤกษ์ดังนี้            “...ว่าเมื่อกาลปักษอุโบสถนั้น พระอาทิตยไปในราษรีเดียวกันกับด้วยพระจันทรก็กลบมณฑลพระจันทรเสียมิให้ปรากฏ เบื้องหน้าแต่นั้นจำเดิมแต่วันชาติบทขึ้นคำหนึ่งเข้าเดือนไหม่ พระอาทิตยก็มละพระจันทรมณฑลเสียไกลออกไปได้แสนโยชน พระจันทรก็ปรากฎดุจหนึ่งรอยเลขะ จำเดิมแต่ขึ้นสองคำไปก็หนีไกลได้วันแสนโยชน ๆ ฝ่ายพระจันทรมณฑลก็มีเงาดำนั้นเปลื้องไปๆ ปริมณฑลก็วัฒนาจำเริญออก ๆ ตราบเท้าถึงวันเพญอุโบสถก็บริบูรรณเตมที่ เพราะเหตุไกลจากพระอาทิตย...”           อนึ่ง เชื่อว่าหลายท่านคงมีข้อสังเกตว่าเหตุใดในชาดกจึงมีตัวละครที่มีนามเกี่ยวกับ “จันท-” ไม่ว่าจะเป็นจันทกุมาร จันทกินรี จันทเทพบุตร ฯลฯ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าพระจันทร์มักใช้เป็นสื่อแนวคิดทางศาสนา เปรียบเหมือนแสงที่ก่อให้เกิดปัญญา อีกทั้ง “จนฺท” ในภาษาบาลียังหมายถึง ผู้ยังสัตว์โลกให้พอใจ, ผู้ยังความพอใจให้เกิดและผู้รุ่งเรืองด้วยสิริ เปรียบดั่งพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีและใช้ธรรมะขจัดอวิชชา ทำให้ชาดกและอรรถกถามีนามพระจันทร์ปรากฏ หรือตัวละครนั้นอาจเกิดใน “จันทรวงศ์” คือเชื้อพระวงศ์อันเนื่องมาจากพระจันทร์ก็เป็นได้               ภาพประกอบ : ภาพส่วนหนึ่งในจิตรกรรม เรื่อง จันทคาธ จากวัดหนองบัว จังหวัดน่าน, หนังสือสมุดไทย เรื่อง “จันทคาธ เล่ม ๓” และ “จันทสุริยคติทีปนี” อาคารคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร           เผยแพร่และเทคนิคภาพโดย พลอยไพลิน ปุราทะกา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร



          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ร่วมกับ เล่ากาแฟ: Laow Kafae : Specialty Coffee and Creative Cafe ชวนคนรักกาแฟทุกท่านไปร่วมกิจกรรม Coffee Cupping เนื่องในนิทรรศการพิเศษ “จากอาระเบียสู่สงขลา : การเดินทางของกาแฟ” ระหว่างวันที่ 18 กันยายน - 18 ธันวาคม 2565 (ทุกวันเสาร์ – อาทิตย์) โดยคัดสรรเมล็ดกาแฟชั้นยอด มาให้ชาวสงขลาได้ร่วมชิมถึงที่ โดยในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ขอเชิญร่วมสนุกกับกิจกรรม Coffee Cupping | กาแฟโรบัสต้าช้างเผือกจากบันนังสาเรง และบาโงยซิแน จังหวัดยะลา โดย นายฮัมบัล หมัดสุวรรณ ผู้จัดการ Fatoni Roastery โรงคั่วกาแฟ ฟาฏอนี จังหวัดปัตตานี           ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม  หรือสแกนคิวอาร์โค้ดในภาพ           นอกจากนี้ ในงานเดียวกัน ยังจะได้พบกับกิจกรรม Coffee Cupping | Aek Suwanno, The first valley coffee academy 2022 โดย เอก สุวรรณโณ นักพัฒนากาแฟ และผู้บริหาร The first valley coffee academy บ้านแม่ตอนหลวง ตำบลเทพเสด็จ จังหวัดเชียงใหม่ สงขลาลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมและกาแฟโรบัสต้าอันดับ 3 ของประเทศ ในงานประกวดสุดยอดกาแฟไทย ประจำปี 2565 โดย มุจรินทร์ โอภาโส ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนากาแฟนครเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม           พบกับ Museum Cafe’ ได้ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 11.00 น. - 15.30 น. ในนิทรรศการที่มีกลิ่นและกินได้ “จากอาระเบียสู่สงขลา : การเดินทางของกาแฟ” ติดตามข่าวสารกิจกรรมเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก: Songkhla National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันลอยกระทง” วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2565 หลายจังหวัดมีการจัดงานอย่างสนุกสนานหลังจากว่างเว้นกันมาจากการระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ลอยกระทง หมายถึง ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำตรงกับคืนวันเพ็ญ เดือน 12 มีการจุดธูปเทียนปักลงบนสิ่งที่ไม่จมน้ำที่ประดิษฐ์เป็นรูปร่างต่างๆ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตามลำน้ำ ประเพณีลอยกระทงมีมานานตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณ พ.ศ. 1800 นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 พระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติกันมาจนกระทั่งทุกวันนี้ การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยสุโขทัย กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลากพอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ แต่ควรเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ใบตอง กาบกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ ประดับด้วยดอกไม้ จุดธูปเทียนปักที่กระทง แล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปในแม่น้ำลำคลอง ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน การละเล่นพื้นเมือง เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อเรื่อง                             สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)         อย.บ.                                 24/1ประเภทวัสดุ/มีเดีย          คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                          พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                     44 หน้า : กว้าง 5.2 ซม.  ยาว 55.2 ซม.หัวเรื่อง                             พระพุทธศาสนา                                          ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



          กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ขอเชิญชมรายการปี่พาทย์เสภา ครั้งที่ ๑๙ ในวันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ บริเวณลานหน้าพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ เพื่อน้อมรำลึกพระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว             เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๖ กรมศิลปากร กำหนดจัดการแสดงรายการปี่พาทย์เสภา ครั้งที่ ๑๙ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรมและการดนตรีไทย เปิดให้ประชาชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ณ บริเวณลานหน้าพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ รายการบรรเลงและการแสดง ประกอบด้วย            - การบรรเลงโหมโรงเย็น โดย ศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต           - การบรรเลงเพลงช้าเรื่องแขกมอญ           - การบรรเลงโหมโรงเพลงจีนโล้            - การขับเสภาและการแสดงรำอาศิรวาทราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว           - การบรรเลง - ขับร้อง ประกอบการแสดงละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง โดย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร           - การบรรเลง - ขับร้อง ประกอบการแสดงรำเชิดจีน โดย วงดุริยางค์สี่เหล่าทัพ           - การบรรเลง - ขับร้อง เพลงทยอยเขมร เถา โดย วงสำนักวัฒนธรรม ฯ กรุงเทพมหานคร และวงกรมประชาสัมพันธ์            - การบรรเลงเดี่ยวเพลงนกขมิ้น ๓ ชั้น โดย วงดุริยางค์สี่เหล่าทัพ และวงสำนักวัฒนธรรม ฯ กรุงเทพมหานคร           - การบรรเลง - ขับร้องเพลงอกทะเล ๓ ชั้น โดย วงกรมประชาสัมพันธ์ ขับร้องโดย ครูสมชาย ทับพร           ผู้สนใจสามารถเข้าชมการแสดงรายการปี่พาทย์เสภา ครั้งที่ ๑๙ โดยไม่เสียค่าเข้าชม ในวันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ บริเวณลานหน้าพระบวรราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงละครแห่งชาติ   


Messenger