ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           49/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              76 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต (ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสูตร) ชบ.บ 114/1ข เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 159/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


          สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชม รายการ“เหมันต์เบิกบาน สุขสราญสังคีต” โครงการดนตรีสำหรับประชาชน ปีที่ ๖๖ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ สังคีตศาลา บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           การบรรเลงดนตรีสากล “คีตทัศน์อัตลักษณ์ดารา” รายการแสดงประกอบด้วย ๑. การบรรเลง – ขับร้องดนตรีสากล ๒. ละครประกอบเพลง เรื่องจุฬาตรีคูณ  ออกแบบรายการและกำกับการแสดงโดย ดวงดาว เถาว์หิรัญ  อำนวยเพลงโดย ธนู รักษาราษฎร์  อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต           บัตรราคา ๒๐ บาท (จำหน่ายบัตรก่อนการแสดง ๑ ชั่วโมง) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑


ชื่อผู้แต่ง          วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชื่อเรื่อง           วิศวกรรมสาร (ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๒  เมษายน  ๒๕๒๐) ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์       วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่พิมพ์          ๒๕๒๐ จำนวนหน้า      ๔๘  หน้า รายละเอียด                    จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ข่าวสารทางวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย บทบรรณาธิการแถลงและบทความการวิเคราะห์หาค่า Ultmate Load ของโครงสร้างโดยเทคนิคของโปรแกรมเชิงเส้นตรง ความประหยัดของเครื่องทำน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์ฯลฯ พร้อมภาพประกอบ


เลขวัตถุ ชื่อวัตถุ ขนาด (ซม.) ชนิด สมัยหรือฝีมือช่าง ประวัติการได้มา ภาพวัตถุจัดแสดง 45/2553 (13/2549) ขวานหินขัด มีบ่า เนื้อสีแดงปนดำ ย.7 ก.5.7 หิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว   ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539


เลขทะเบียน : นพ.บ.427/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 154  (120-128) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : มาลาวิภักค์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.571/2                             ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 4 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186  (347-356) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : โลกคดีธรรม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


วันฉัตรมงคล 4 พฤษภาคม วันสำคัญในเดือนพฤษภาคมวันหนึ่ง คือ วันฉัตรมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม ต่อมารัชกาลที่ 10 ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4 พฤษภาคม จึงถือเอาวันนี้เป็นวันฉัตรมงคล พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นพระราชพิธีที่กำหนดให้มีขึ้น โดยถือวันครบรอบปีแห่งการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์แต่ละรัชกาล ถือเป็นวันมหามงคลสมัย ในการพระราชพิธีนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศล สมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ เป็นการฉลองครบรอบปีที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษก และเพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่ราชสมบัติ และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน เพื่อทรงอุทิศกุศลสนองพระเดชพระคุณให้เป็นการเชิดชูพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ และพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยโดยทั่วไป พระราชพิธีฉัตรมงคลนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 4 ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงการสมโภชเครื่องราชูปโภค และเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระราชทานนามว่า พระราชพิธีฉัตรมงคล มีงาน 4 วัน ในเดือน 6 ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชพิธีนี้ยังคงทำในเดือนหก ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2417 จึงเปลี่ยนมาทำในเดือน 12 อันเป็นเดือนที่ได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 การพระราชพิธีฉัตรมงคลได้เพิ่มการพระราชกุศลทักษิณานุประทาน ซึ่งเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ถึงสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ยังทรงพระเยาว์และยังมิได้ทรงรับพระบรมราชาภิเษก การพระราชพิธีจึงคงทำในนามพระราชพิธีรัชมงคล ต่อมาเมื่อได้รับพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทย ได้น้อมเกล้าฯ จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทยได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก สำหรับในรัชกาลปัจจุบัน วันฉัตรมงคล ถูกกำหนดวันขึ้นตามวันบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 4 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ดังนั้น วันฉัตรมงคลในปัจจุบัน จึงตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม ของทุกปี


ศิลปอักษร.  แบบเรียนลูกคิดโดยตนเอง.  พิมพ์ครั้งที่ ๘.  พระนคร: เขษมบรรณกิจ, ๒๔๙๖.           ว่าด้วยความรู้และเรื่องราวของแบบเรียนลูกคิดโดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่การปูพื้นฐานและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลูกคิด และหลักการสำคัญของการศึกษาลูกคิดจีน เช่น หลักการบวก ลบ คูณ หาร พร้อมคำอธิบาย เป็นต้น


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” แหล่งรวบรวมโบราณวัตถุเพื่อการศึกษาค้นคว้าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย วิทยากร นางสาวนิตยา กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, นางสาวกัญณศมนต์ ภู่ธรรม ผู้อำนวยการกลุ่มคลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.             ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


“สักการะ ๙ โบราณสถานจังหวัดสุราษฎร์ธานี”  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ ๖ ของประเทศไทย และอันดับ ๑ ของภาคใต้ มีพื้นที่ด้านตะวันออกติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทยยาวถึง ๑๕๖ กิโลเมตร มีเกาะขนาดใหญ่ที่โดดเด่น ได้แก่ เกาะสมุย และเกาะพะงัน พื้นที่ด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นแนวเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาบรรทัดที่กั้นเขตระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับจังหวัดระนอง และจังหวัดพังงา แบ่งพื้นที่คาบสมุทรตอนบนออกเป็นฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันอย่างชัดเจน โดยมีเส้นทางบริเวณเขาสกเป็นเส้นทางเชื่อมการเดินทางระหว่างสองฟากเข้าด้วยกัน พื้นที่ตอนกลางและตะวันออกมีพื้นที่ราบ กอปรกับเป็นพื้นที่แหล่งกำเนิดลุ่มน้ำถึง ๑๔ ลุ่มน้ำ โดยเส้นทางน้ำทุกสายล้วนไหลลงสู่อ่าวไทย เกิดเป็นเส้นทางเดินทางธรรมชาติไปยังพื้นที่อ่าวไทยอันกว้างใหญ่ ทำให้สุราษฎร์ธานีเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งในช่วงต้นประวัติศาสตร์เป็นต้นมา  โบราณสถานทั้ง ๙ แห่ง ได้แก่ วัดพระบรมธาตุไชยา ราชวรวิหาร โบราณสถานวัดแก้ว วัดถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม โบราณสถานเขาพระนารายณ์ (เขาศรีวิชัย) อำเภอพุนพิน เมืองโบราณเวียงสระและวัดเวียงสระ อำเภอเวียงสระ วัดถ้ำคูหา วัดเขาพระนิ่ม อำเภอกาญจนดิษฐ์ วัดหน้าพระลาน และวัดสำเร็จ อำเภอเกาะสมุย . . เรียบเรียง  ๑. นางสาวสิริยุพน ทับเป็นไทย นักโบราณคดีปฏิบัติการ  ๒. นายทัศพร  กั่วพานิช  นักวิชาการวัฒนธรรม กราฟฟิค  นายทัศพร กั่วพานิช นักวิชาการวัฒนธรรม แหล่งข้อมูลอ้างอิง กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (๒๕๖๖). บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒๕๖๖. หน้า ๒ - ๓. เข้าถึงเมื่อ ๕ พฤศจิกายน. เข้าถึงได้จาก https://anyflip.com/rjfkz/bgip จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๗ แล ๑๐๘. (๒๔๖๗). พิมพ์พระราชทานในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสิมา เสด็จทิวงคตมาถึงสัตตมวาร ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๓. จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสแหลมมลายู คราว ร.ศ. ๑๐๙ ร.ศ. ๑๑๗ ร.ศ. ๑๑๙ ร.ศ. ๑๒๔ ร.ศ.๑๒๘. (๒๔๖๗). พิมพ์พระราชทานเนื่องในการบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครราชสิมา เสด็จทิวงคตมาถึงปัญญาสมวาร ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗. ม.ป.ป., ๙๐. นภัคมน ทองเฝือ. (๒๕๖๓). โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. พ่อเฒ่าขรัวพุดสอน เทพเจ้าแห่งเกาะสมุย. ม.ป.ป. สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. (๒๕๖๖). เอกสารประกอบการอบรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายอนุรักษ์ดูแลมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เขตภาคใต้ตอนบน ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๖๖. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์. วันที่ ๒๖ - ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดโดย สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช  กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.


          พระพุทธรูปทรงเครื่อง           แบบศิลปะ : อยุธยา           ชนิด : สำริดลงรักปิดทอง           ขนาด : สูง 12 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร           อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 21 - 23           ลักษณะ : พระพุทธรูปทรงเครื่องประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเกลี้ยง แสดงปางสมาธิ พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่งต่อเป็นปีกกา พระเนตรปิด พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์แย้มพระสรวล สวมเทริดแบบกะบังหน้า และมงกุฎยอดแหลมทรงกรวย           สภาพ : ชำรุด มีรอยแตกร้าวที่ฐานด้านขวา, ทองที่ปิดไว้หลุดลอก           ประวัติ : พระปลัดบุญทรง มีเนตรทิพย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์คลาน มอบให้เมื่อ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2505 ย้ายจากคลังฝ่ายทะเบียนฯ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/06/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง พระปรางค์ วัดพระธาตุศาลาขาว ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดพื้นที่การเรียนรู้เนื่องในเทศกาลตรุษจีน วันแห่งความรัก และเทศกาลหยวนเซียว ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ณ หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี) ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้            ๑. แปดมงคล บนเส้นทางความรักและโชคลาภในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร                - รับพาสปอร์ตตามหาสิ่งมงคล ระหว่างวันที่ ๓ - ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗            ๒.  เช็คอินและรับยันต์ผูกวาสนา                 - สะสมแต้มแปดมงคลให้ครบ ระหว่างวันที่ ๓ - ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗            ๓. เปิดตลาดอาร์ตทอยในสวน                - ขอเชิญเลือกซื้อของขวัญงานศิลปหัตถกรรมและอาร์ตทอย และกาชาปองชุดพิเศษ “ตำนานลูกมังกร” ชุดที่สอง ร้านน้ำชาและอื่น ๆ อีกมากมาย วันเสาร์ - อาทิตย์ที่ ๓ - ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. - ๑๖.๐๐ น.            ๔. เปิดร้านชา “ชาเมเลีย”  ฟังการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ปั้นชาจีนสยาม” วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๕.๓๐ น. โดยมีวิทยากร ๓ ท่าน ได้แก่               - นายแพทย์วรวิทย์ วรภัทรากุล ผู้เขียนหนังสือ ”ปั้นอี๋ซิง จากจีนสู่สยาม“               - นางสาวนพพร ภาสะพงศ์ ผู้สืบทอดร้านใบชาอ๋องอิวกี่ รุ่นที่ ๓ และผู้เขียนหนังสือ ”ระบำชา“               - นายธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญเครื่องกระเบื้อง               - ดำเนินรายการ นายสมิทธิ โชติศรีลือชา นักกำหนดอาหารและผู้ร่ำรินชา               ผู้สนใจสามารถสำรองที่นั่งล่วงหน้าทางโทรศัพท์ หมายเลข ๐ ๘๐๒๓๙ ๔๙๕๓ (คุณปิง) ทั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายสำหรับเข้าร่วมกิจกรรม "ปั้นชาจีนสยาม" ท่านละ ๖๕๐ บาท เริ่มลงทะเบียนเวลา ๑๒.๐๐ น. - ๑๓.๓๐ น. ณ หออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)               สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ (วันพุธ - วันอาทิตย์  เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. ) ติดตามรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ทาง Facebook  : Education.National Museum Bangkok เที่ยวพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


Messenger