ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
องค์ความรู้เรื่อง วัดเหนือคู่บ้าน วัดกลางคู่เมือง จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด
คณะกรมอากาศยาน. กองบินช่วยทำการปราบกบฏระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม ถึง 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2476. พระนคร: วัฒนะผล, 2476. 43 หน้า.พิมพ์ในงานปลงศพนักบินผู้เสียชีวิตในหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2476 รวบรวมสำเนาคำสั่งสำหรับกองผสมกรุงเทพฯ เรื่องกำหนด แผนการปราบกบฏที่ 3/76 ลงวันที่ 21 ต.ค.76 ซึ่งสำเนาคำสั่งนี้ เป็นเครื่องแสดงว่าการปราบกบฏต้องให้เสร็จโดยเร็วในวันนั้น จำเป็นต้องใช้ทหารพื้นดิน และทางอากาศผสมกัน นอกจากนี้ยังมีสำเนาหนังสือ บ.ก.กองผสมสระบุรี ลว. 22 ต.ตค.76 เรื่องพฤติการณ์ของกองบินน้อยผสม ซี่งทำการปราบกบฏโดยย่อ ท้ายเล่ม มีชีวประวัตินักบินผู้เสียชีวิตในหน้าที่ราชการ จำนวน 3 ราย คือ นายสิบตรีไสว สังข์ประไพ นายสิบตรีสำเภา จารุสิงห์ และพลทหารแถม กระหม่อมทอง นักบินประจำกอง ซึ่งได้ปลงศพใน พ.ศ.2476358.42อ587ก
วันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง โดยมีนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ให้การต้อนรับและรายงานความคืบหน้าของโครงการ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้สำคัญบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมากรมศิลปากรได้ดำเนินการทางโบราณคดีบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก มีข้อมูลวิชาการ ตลอดจนโบราณวัตถุที่ค้นพบใหม่จำนวนมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของนิทรรศการถาวรชุดเดิมที่ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ ประกอบกับอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์มีอายุ การใช้งานมากว่า ๓๐ ปี สมควรได้รับการซ่อมแซม กรมศิลปากรจึงได้จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและพัฒนารูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการถาวรให้มีความสวยงามทันสมัย เน้นการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ๆ ซึ่งพบในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน อาทิ กลุ่มเทวรูปวิษณุมัธยโยคสถานกะมูรติ จากแหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ จังหวัดพังงา เป็นเทวรูปพระวิษณุ หนึ่งในสองชิ้นที่พบในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน ศิลปะอินเดียแบบหลังปัลลวะอายุกว่าหนึ่งพันปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยช่างชาวอินเดียใต้ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ และยังมีพระพิมพ์ดินดิบศิลปะศรีวิชัย จากแหล่งโบราณคดีเขานุ้ย จังหวัดตรัง กลุ่มลูกปัดโรมันจากแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด จังหวัดกระบี่ และข้อมูลที่พบใหม่จากการดำเนินงานของกรมศิลปากร ที่จะนำเสนอโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เช่น พระพิมพ์ดินดิบเขานุ้ย จังหวัดตรัง ภาชนะดินเผานำเข้าจากอินเดีย แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ จังหวัดระนอง และข้อมูลการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีในช่วง ๑๐ – ๒๐ ปีที่ผ่านมา เช่น แหล่งเรือจมปากคลองกล้วย จังหวัดระนอง ที่เป็นร่องรอยเรือที่มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๖ ข้อมูลแหล่งภาพเขียนสีที่สำรวจพบใหม่ในพื้นที่จังหวัดพังงาและกระบี่ เป็นต้น โดยการปรับปรุงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ซึ่งในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ สามารถดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ ๑,๒๕๑ ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๔ จากพื้นที่ทั้งหมด ยังคงเหลือพื้นที่รอรับการปรับปรุง จำนวน ๗๓๐ ตารางเมตร สามารถเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารจัดแสดง ๑ และ ๒ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินงานระยะสุดท้าย ที่มีแผนการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการถาวรภายในอาคารนิทรรศการ ๔ ซึ่งจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนปรับปรุงอาคารนิทรรศการ ๓ อาคารโถงต้อนรับ และส่วนบริการนักท่องเที่ยว ในวงเงินงบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดทำรูปแบบรายการแล้วเสร็จประมาณ ร้อยละ ๗๐ เน้นการนำโบราณวัตถุ และข้อมูลใหม่ ๆ เผยแพร่สู่สาธารณชน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ สามารถดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ ๑,๒๕๑ ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๔ จากพื้นที่ทั้งหมด ยังคงเหลือพื้นที่รอรับการปรับปรุง จำนวน ๗๓๐ ตารางเมตร สามารถเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารจัดแสดง ๑ และ ๒ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินงานระยะสุดท้าย ที่มีแผนการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการถาวรภายในอาคารนิทรรศการ ๔ ซึ่งจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนปรับปรุงอาคารนิทรรศการ ๓ อาคารโถงต้อนรับ และส่วนบริการนักท่องเที่ยว ในวงเงินงบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดทำรูปแบบรายการแล้วเสร็จประมาณร้อยละ ๗๐ อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวอีกว่า จากการเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ใน อาคารนิทรรศการ ๑ และ ๒ ที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้เข้าชมทั้งจากชาวไทยและต่างชาติ ทั้งในด้านรูปแบบการจัดแสดง และความน่าสนใจของโบราณวัตถุที่ไม่เคยนำออกจัดแสดงมาก่อน นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจจากชุมชนท้องถิ่น ที่มีแผนจะบรรจุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เข้าเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน นับเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้สร้างคุณประโยชน์ ทั้งในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตลอดจนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่นได้ในอนาคต
รอยพระพุทธบาทสี่รอย
ศิลา ศิลปะสุโขทัย พุทธศตววษที่ ๒๐
ได้จากวัดเขาพระบาทน้อย
เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
พระพุทธบาทสี่รอย สลักจากแผ่นหินชนวนขนาดกว้าง ๔๖ เซนติเมตร ยาว ๒๐๕ เซนติเมตร
ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยทำเส้นขอบพระบาทซ้อนกันส่วนรอยที่สี่หรือรอยในสุดจะทำเต็มฝ่าพระบาทและมีรอยเส้นทำเป็นลายฝ่าพระบาทแต่ลบเลือนจนแทบมองไม่เห็น พระพุทธบาทสี่รอยนี้ หมายถึง พระพุทธกกุสันธะ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป และพระสมณโคดม
คตินิยมในการสร้างรอยพระพุทธบาทและการนับถือรอยพระพุทธบาทในสมัยสุโขทัยเป็นคติที่สืบทอดมาจากลังกาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๘ หรือจารึกเขาสมนกูฏว่าพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดฯให้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาแห่งหนึ่งของเมืองสุโขทัยและตั้งชื่อเขาแห่งนี้ว่า “เขาสมนกูฏ” ตามชื่อภูเขาที่มีรอยพระพุทธบาทในลังกา สำหรับภูเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในเมืองสุโขทัย คือ เขาพระบาทใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเก่าสุโขทัย
ที่มาของข้อมูล :
แผ่นพับนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
ชื่อเรื่อง เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ. 193/1กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 55.7 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
วัดช่องลม พระอารามหลวงชั้นสามัญ ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๘๐ ตารางวา ลักษณะพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมคางหมู กว้างทางทิศตะวันตก และแคบทางทิศตะวันออก พื้นที่แบ่งเป็นเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาสโดยถนนสายเล็ก ๆ ที่วัดบริจาคเป็นทางสาธารณะแก่ชุมชน ภายในเขตสังฆาวาสพบหลักฐานบ้านเรือนของชาวจีนที่มีอายุเก่าแก่ เจ้าของได้ถวายที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้กับวัดช่องลม สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในบ้านถูกปรับเปลี่ยนเป็นกุฏิสงฆ์และหอฉันท์ของทางวัด และหลักฐานที่สำคัญที่ยังคงอยู่คือ ซุ้มประตูทางเข้าบ้าน บ้านจีน ตั้งอยู่ภายในเขตสังฆาวาสของวัดช่องลม วางตัวแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก หน้าบ้านหันสู่แม่น้ำแม่กลอง จากคำบอกเล่าของพระครูโสภณปัญญาวัตน์ เจ้าอาวาสวัดช่องลม ว่า “บ้านคนจีนบริเวณนี้น่าจะเป็นบ้านที่เก็บภาษีอากรบ่อนเบี้ย (อาจจะเป็นเรือ ไม้ หรือหวย) มีฐานะดีระดับเศรษฐีและมีข้าทาสบริวารมากมาย ภายในบริเวณบ้านมีสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สมัยที่ท่านเจ้าอาวาสอุปสมบทใหม่ ๆ ยังคงมีอาคารอีกหลายหลังภายในบริเวณนี้ ได้แก่ ๑) อาคารแบบจีนใต้ถุนสูงพื้นทำจากปูนขาวสอด้วยกาวหนังวัวและปูไม้กระดานทับ ผนังหนา เสาทำจากไม้สัก และหลังคาใช้กระเบื้องที่นำเข้ามาจากเมืองจีนถูกดัดแปลงให้เป็นที่อยู่ของเด็กวัด ๒) อาคารตรงกลางที่มี ๘ ห้องต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นอาคารเรียนนักธรรม (โรงเรียนพระปริยัติธรรม) ๓) ศาลาริมน้ำมีชานยื่นออกไปสำหรับขึ้นเรือกว้างประมาณ ๒ เมตร ซึ่งปัจจุบันศาลาท่าน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่เหลือร่องรอยแล้ว ๔) ซุ้มประตูแบบจีนที่ยังหลงเหลือหลักฐานค่อนข้างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาแต่ก็ยังคงรูปแบบศิลปะแบบจีนที่สวยงาม สาเหตุที่เจ้าของยกบ้านและที่ดินให้เป็นสมบัติของวัด เนื่องจากเกิดอหิวาตกโรคข้าทาสบริวารในบ้านเสียชีวิต จึงย้ายครอบครัวไปตั้งรกรากที่อื่น” บ้านหลังนี้เป็นบ้านเศรษฐีหรือคหบดีมีหน้าที่เก็บส่วยและภาษี (ไม้/เรือ/ฝิ่น) จากเรือบรรทุกสินค้าในแม่น้ำแม่กลอง สอดคล้องกับสถานที่ตั้งที่อยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง และชื่อบ้านบริเวณนั้นว่า บ้านท่าเสา ภายในบ้านพบสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ๑) เรือนประธานจำนวน ๘ ห้อง ๒) เรือนบริวารขนาบเรือนประธาน 2 ด้าน ซ้ายและขวา มีลักษณะเป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง ๓) ศาลาท่าน้ำ ๔) ซุ้มประตู จากหลักฐานของสิ่งก่อสร้างที่พบมีลักษณะแผนผังเหมือนกับบ้านคหบดีจีนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ เช่น บ้านหวั่งหลี บ้านโปษ์กี่ เป็นต้น อาคารวางตัวโดยคำนึงถึงแม่น้ำซึ่งถือเป็นมงคล หรือถนนที่ตัดผ่านมากกว่าการคำนึงถึงทิศทาง บ้านมีการวางผังแบบซานเหอเอี้ยน คือการนำอาคาร ๓ อาคารมาประกอบเข้ากันเป็นรูปตัว U ประกอบด้วย เรือนประธานมีลักษณะเป็นตึกขนาดใหญ่วางตัวขนานกับแม่น้ำ สำหรับเป็นห้องบูชาบรรพบุรุษหรือห้องรับแขก และตึกยาวขนาบเรือนประธานทั้งสองข้าง ตึก ๓ หลังมีลักษณะชั้นเดียวหรือสองชั้น มีบันไดทางขึ้นจากด้านนอก สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย พื้นที่ตรงกลางระหว่างตึกทั้ง ๓ เป็นลานโล่ง (open court) ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูแบบจีน มีหลังคาคลุมและป้ายชื่อบ้าน บริเวณผนังเขียนภาพเล่าเรื่อง ซุ้มประตูจีน มีลักษณะตัวซุ้มประตูก่ออิฐถือปูน ประตูทางเข้าและเครื่องบนทำจากไม้ หลังคา มุงกระเบื้องดินเผาสีแดง สันหลังคาประดับลวดลายกระเบื้องเคลือบ ในการศึกษานี้แบ่งศึกษาเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้ ส่วนหลังคา หลังคาแบบซานเหมินติ่ง หมายถึง หลังคาสำหรับซานเหมิน ซานเหมิน คือชื่อเรียกอาคารหรือซุ้มด้านหน้าของบริเวณหนึ่ง โดยปกติอาคารซานเหมินจะทำหลังคาลดหนึ่งชั้นหรือซ้อนชั้น สันหลังคามีลักษณะแอ่นตรงกลาง ปลายสันหลังคาทั้ง ๒ ด้านจะเชิดหัวขึ้น ส่วนปลายสุดทำเป็นรูปหางนกนางแอ่น บนหางนกนางแอ่นเป็นมังกรพ่นน้ำลายเครือเถาหรือใบไม้ม้วนสะบัดปลายทั้งสองด้าน ส่วนกลางของสันหลังคาประดับปูนปั้นรูปกิเลน และหงส์ชูดอกโบตั๋นและดอกเบญจมาศตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางสีแดงที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนโค้งหงาย ตอนบน คือ ส่วนตั้งแต่เหนือขอบประตูจรดใต้หลังคา ส่วนนี้ประกอบด้วย ป้ายชื่อบ้าน และภาพเล่าเรื่อง ฮก ลก ซิ่ว ป้ายชื่อบ้านเป็นตัวอักษรจีน 2 ตัว 合芳 สีเหลืองบนพื้นสีแดง อ่านว่า “ฮวง ฮะ” (แต้จิ๋ว, อ่านจากหลังมาหน้า) เป็นชื่อเจ้าของบ้าน สอดคล้องกับหลักฐานการสร้างศาลเจ้าพ่อกวนอูว่า สมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดศรีสุริยวงศ์ จำนวน ๒ ไร่ ๓๗ ตารางวา ให้แก่ชาวราชบุรีสร้างศาลเจ้าโดยการนำของนายฮวงฮะ แซ่อึ้ง นายเซียมง้วน แซ่เตียว ร่วมกันสละทรัพย์สินตามจิตศรัทธา หรืออ่านว่า “ฟาง เหอ” (จีนกลาง) แปลว่า กลิ่นหอม บรรยากาศดี ตอนกลาง คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างฐานถึงตอนบน เหนือกรอบประตูมีตัวอักษรจีนอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเขียนด้วยสีเขียวคู่กัน กรอบทางขวาอ่านว่า “ปู่” แปลว่า ร่ำรวย กรอบทางซ้ายอ่านว่า “กุ้ยหรือกุ่ย”แปลว่า ยศศักดิ์ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายมงคล และลวดลายต่าง ๆ ในกรอบกระจกเป็นภาพบุคคลและนก ตอนล่าง ส่วนที่เป็นฐานของอาคาร ระบบโครงสร้างรับน้ำหนัก ระบบโครงสร้างรับน้ำหนักของซุ้มประตูของศาลเจ้าหรือบ้านมีระบบที่เหมือนกันทุกสกุลช่าง ประกอบจากคานหน้าตัดสี่เหลี่ยม ด้วยขนาดที่เล็กของซุ้มประตูนี้ทำให้มีคานแค่คานเดียว และใช้โครงสร้างทางตั้งมารับที่เรียกว่า เสาดั้ง รองรับแปกลม และมีไม้กลอนวางขวางแป เสาดั้งจะตั้งอยู่บนเสาอีกทีหนึ่ง โดยซุ้มประตูนี้มีด้านละ ๒ เสา มีขื่อพาดระหว่างเสาทั้งสองต้น การถ่ายน้ำหนักของหลังคาจะถ่ายลงบนแปกลมไปสู่เสาดั้งและเสา เสาทุกต้นทำหน้าที่รับแปโดยตรง จากหลักฐานมีชื่อเจ้าของบ้านเป็นผู้บริจาคทรัพย์สร้างศาลเจ้าพ่อกวนอู ในสมัยรัชกาลที่ ๕ รูปแบบของแผนผังบ้านที่คล้ายคลึงกับบ้านจีนในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ และรูปแบบศิลปกรรมหลังคาแบบซานเหมินติ่ง การตกแต่งลวดลายสันหลังคาโดยใช้กระเบื้องตัดหลากหลายสีสันเป็นที่นิยมทำในสกุลช่างแต้จิ๋ว สันนิษฐานว่าบ้านและซุ้มประตูเป็นศิลปะจีนสกุลช่างแต้จิ๋วที่เข้ามาตั้งรกรากในจังหวัดราชบุรีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภาพที่ ๑ แสดงที่ตั้งวัดช่องลม และซุ้มประตูจีน (ที่มา: ดัดแปลงจาก Google Earth) ภาพที่ ๒ ซุ้มประตูจีน ภาพที่ ๓ ซุ้มประตูด้านใน หันสู่แม่น้ำแม่กลอง ภาพที่ ๔ บ้านหวั่งหลี https://www.triptravelgang.com/travel-thailand/43662ภาพที่ ๕ ส่วนสันหลังคา ภาพที่ ๖ ป้ายชื่อบ้าน ภาพที่ ๗ ระบบโครงสร้าง ---------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวสุกัญญา เรือนแก้ว ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ---------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ชูพงษ์ ทองคำสมุทร , ฮวงจุ้ยกับการออกแบบสถาปัตยกรรม , (ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น , ๒๕๕๕) , ๑๖. ผุสดี ทิพทัส , บ้านในกรุงรัตนโกสินทร์ ๒ : รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๙๔ - พ.ศ.๒๔๕๓) , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ๒๕๔๕) , ๖๙. พรพรรณ จันทโรนานนท์ , วิถีจีน , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แปลน พริ้นติ้ง , ๒๕๔๖) , ๙๗ _______. ฮก ลก ซิ่ว โชคลาภอายุยืน , (กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ , ๒๕๔๙) ,๒๕๓. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มุจลินทร์, โครงการบูรณะซ่อมแซมซุ้มประตูเก๋งจีนวัดช่องลม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ๒๕๕๙, (ม.ป.ท. : ๒๕๕๙), หน้า ๑-๒. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. ศาลเจ้าในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๖๑. //สัมภาษณ์ พระครูโสภณปัญญาวัฒน์, เจ้าอาวาสวัดช่องลม //ที่มาของภาพ Google Earth https://www.triptravelgang.com/travel-thailand/43662/
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.8 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.100/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 12 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.130/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 82 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.5/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ศัพท์ช่าง อังกฤษ-ไทย ชื่อผู้แต่ง : คณะอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคฯ ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มหารัชตะการพิมพ์ จำนวนหน้า : 284 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมคำศัพท์ที่เป็นภาษาช่าง ได้แก่ ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องยนต์ ช่างกลโลหะ ที่ผู้รวบรวมได้ทำการแปล และดัดแปลง แก้ไขเพื่อให้ข้อความชัดแจ้ง และเพิ่มเติมศัพท์ใหม่ ๆ ขึ้นอีกหลายคำ รวมทั้งศัพท์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์ด้วยเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้