เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมศิลปากรปรับโฉมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต พร้อมรับแผนเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน
วันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง โดยมีนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ให้การต้อนรับและรายงานความคืบหน้าของโครงการ
นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้สำคัญบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมากรมศิลปากรได้ดำเนินการทางโบราณคดีบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก มีข้อมูลวิชาการ ตลอดจนโบราณวัตถุที่ค้นพบใหม่จำนวนมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของนิทรรศการถาวรชุดเดิมที่ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ ประกอบกับอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์มีอายุ การใช้งานมากว่า ๓๐ ปี สมควรได้รับการซ่อมแซม กรมศิลปากรจึงได้จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและพัฒนารูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการถาวรให้มีความสวยงามทันสมัย เน้นการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ๆ ซึ่งพบในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน อาทิ กลุ่มเทวรูปวิษณุมัธยโยคสถานกะมูรติ จากแหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ จังหวัดพังงา เป็นเทวรูปพระวิษณุ หนึ่งในสองชิ้นที่พบในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน ศิลปะอินเดียแบบหลังปัลลวะอายุกว่าหนึ่งพันปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยช่างชาวอินเดียใต้ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ และยังมีพระพิมพ์ดินดิบศิลปะศรีวิชัย จากแหล่งโบราณคดีเขานุ้ย จังหวัดตรัง กลุ่มลูกปัดโรมันจากแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด จังหวัดกระบี่ และข้อมูลที่พบใหม่จากการดำเนินงานของกรมศิลปากร ที่จะนำเสนอโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เช่น พระพิมพ์ดินดิบเขานุ้ย จังหวัดตรัง ภาชนะดินเผานำเข้าจากอินเดีย แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ จังหวัดระนอง และข้อมูลการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีในช่วง ๑๐ – ๒๐ ปีที่ผ่านมา เช่น แหล่งเรือจมปากคลองกล้วย จังหวัดระนอง ที่เป็นร่องรอยเรือที่มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๖ ข้อมูลแหล่งภาพเขียนสีที่สำรวจพบใหม่ในพื้นที่จังหวัดพังงาและกระบี่ เป็นต้น โดยการปรับปรุงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ซึ่งในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ สามารถดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ ๑,๒๕๑ ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๔ จากพื้นที่ทั้งหมด ยังคงเหลือพื้นที่รอรับการปรับปรุง จำนวน ๗๓๐ ตารางเมตร สามารถเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารจัดแสดง ๑ และ ๒
ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินงานระยะสุดท้าย ที่มีแผนการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการถาวรภายในอาคารนิทรรศการ ๔ ซึ่งจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนปรับปรุงอาคารนิทรรศการ ๓ อาคารโถงต้อนรับ และส่วนบริการนักท่องเที่ยว ในวงเงินงบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดทำรูปแบบรายการแล้วเสร็จประมาณ ร้อยละ ๗๐ เน้นการนำโบราณวัตถุ และข้อมูลใหม่ ๆ เผยแพร่สู่สาธารณชน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ สามารถดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ ๑,๒๕๑ ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๔ จากพื้นที่ทั้งหมด ยังคงเหลือพื้นที่รอรับการปรับปรุง จำนวน ๗๓๐ ตารางเมตร สามารถเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารจัดแสดง ๑ และ ๒ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินงานระยะสุดท้าย ที่มีแผนการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการถาวรภายในอาคารนิทรรศการ ๔ ซึ่งจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนปรับปรุงอาคารนิทรรศการ ๓ อาคารโถงต้อนรับ และส่วนบริการนักท่องเที่ยว ในวงเงินงบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดทำรูปแบบรายการแล้วเสร็จประมาณร้อยละ ๗๐
อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวอีกว่า จากการเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ใน อาคารนิทรรศการ ๑ และ ๒ ที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้เข้าชมทั้งจากชาวไทยและต่างชาติ ทั้งในด้านรูปแบบการจัดแสดง และความน่าสนใจของโบราณวัตถุที่ไม่เคยนำออกจัดแสดงมาก่อน นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจจากชุมชนท้องถิ่น ที่มีแผนจะบรรจุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เข้าเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน นับเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้สร้างคุณประโยชน์ ทั้งในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตลอดจนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่นได้ในอนาคต
(จำนวนผู้เข้าชม 920 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน