ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
พระพุทธรูป
แบบศิลปะ : อยุธยา
ชนิด : สำริด
ขนาด : สูง 13.50 เซนติเมตร กว้าง 7.50 เซนติเมตร
ลักษณะ : พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานสูง 4 ขา แสดงปางมารวิชัย พระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม เม็ดพระศกกลมเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่งต่อเป็นปีกกา พระนาสิกโด่งแหลมเป็นสัน พระโอษฐ์แย้มพระสรวล พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียงสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายตัดตรง มีร่องรอยปิดทอง
สภาพ : ค่อนข้างสมบูรณ์ มีรอยแตกร้าวบริเวณพระศอ ข้อพระกรทั้ง 2 ข้าง และพระชานุซ้าย
ประวัติ :พบที่วัดท่าไชย อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี พระปลัดบุญทรง มีเนตรทิพย์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์คลานมอบให้เมื่อ พุทธศักราช 2505 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544
สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/05/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง วัดไผ่โรงวัว พระพุทธโคดม พระพุทธรูปหล่อโลหะที่ใหญ่ที่สุด
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉายพระรูปร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและเจ้าเมืองประเทศราช เจ้าเมืองล้านนาที่มาเฝ้ารับเสด็จ ณ พลับพลาที่ประทับเมืองอุตรดิตถ์ หน้าพลับพลารับเสด็จหน้าวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ โดยแถวหน้านับจากซ้าย-ขวาคนที่ ๕ คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่คนที่ ๖ คือ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางคนที่ ๗ คือ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อครั้งเป็นเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชคนที่ ๘ คือ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาคนที่ ๙ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕คนที่ ๑๐ คือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชคนที่ ๑๑ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
วันพุธที่ ๒๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๐๗.๓๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๑๓ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร จากนั้นในเวลา ๑๐.๑๕ น. ร่วมพิธีทำบุญถวายเพลพระเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและแขกผู้มีเกียรติ ณ กรมศิลปากร ถนนหน้าพระธาตุ
วันสังขารล่อง เทศกาลสงกรานต์ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่ หรือปาเวณีปีใหม่เมือง ในปี พ.ศ. 2567 นี้ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2567 คำว่า “ส์กุรานส์ขาน สังขาน สังกราน หรือ สังขราน” ในล้านนาหมายความตรงกันกับ "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สงกรานติ" แปลว่า เคลื่อนไป อันหมายถึง ดวงอาทิตย์ย้ายราศีจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่ง ในแต่ละปีจะมี "สังกรานต์-สงกรานต์" ๑๒ ครั้ง แต่ครั้งที่มีความหมายที่สุด คือการที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งปัจจุบันตกประมาณวันที่ ๑๓ เมษายน การเข้าสู่ราศีดังกล่าวถือเป็นการเริ่มปีใหม่ ทางล้านนาเรียกวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนว่า วันสังกรานต์ล่อง (อ่าน "วันสังขานล่อง") ในตอนเช้ามืดของวันสังกรานต์ล่องนี้ จะมีการจุดสะโพก (สะโป้ก) จุดพลุ จุดประทัด ยิงปืนขึ้นฟ้า ผู้มีปืนจะต้องยิงกระสุนที่ค้างในลำกล้องออกไป เชื่อว่าปืนที่ยิงในวันนี้จะแม่นฉมังนัก ในอดีตทางวัดจะมีการเคาะระฆังเป็นสัญญาณ บางแห่งก็จะหาค้อนหาไม้ไปเคาะตามต้นไม้ ต้นดอก โดยถือว่าถ้าได้เคาะแล้วในปีนั้นต้นไม้ดังกล่าว จะมีลูกดกจะมีดอกบานงามตามความเชื่อแบบเรื่องเล่ากันว่าตอนเช้ามืด "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์" จะแต่งตัวนุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าสีแดง สะพายย่ามขนาดใหญ่ ปากคาบกล้องยาเส้น ถ่อแพล่องไปตามน้ำ ปู่ย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืน จุดประทัด หรือทำให้เกิดเสียงดังต่าง นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์แล้วนั้นจะมีความขลังมาก ในวันนี้ตั้งแต่เช้าตรู่จะมีการทำความสะอาด ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ซักเสื้อผ้าที่สามารถซักได้ ส่วนที่นอนหรือสิ่งที่ชักล้างไม่ได้ก็จะนำออกไปตากหรือปัดฝุ่นเสีย ในบริเวณบ้านก็จะเก็บกวาดใบไม้ และเผาขยะมูลฝอยต่างๆ ทำความสะอาดหิ้งพระ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ สรงด้วยน้ำอบน้ำหอม หรือน้ำเข้าหมิ่นส้มป่อย ส่วนดอกไม้บูชาพระซึ่งมักจะเป็นยอดของต้นหมากผู้-หมากเมียใน หม้อไหดอก หรือแจกันนั้นก็จะเปลี่ยนใหม่ด้วย บางพื้นที่จะมีการไปซักผ้าริมน้ำ เตรียมหาน้ำพุทธมนต์ หรือน้ำส้มป่อยน้ำอบน้ำหอมไว้เช็ดพรมตามเนื้อตามตัวหรือใช้สระหัวเป็นพิธี ที่เรียกว่าดำหัวเรื่องนี้มีตำราอีกต่างหาก เรียกว่าเช็ดกาลกิณีออกทิ้งไป เช็ดจัญไรออกทิ้งไป สตรีก็จะมีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ และทัดดอกไม้ (ดอกพระยา) ที่เป็นนามของปีของแต่ละปี เสื้อผ้าที่นุ่งห่มก็จะเป็นเสื้อผ้าใหม่ นอกจากนี้แล้วตามวัด หมู่บ้าน ชุมชน จังหวัด นิยมนำพระพุทธรูปสำคัญ และจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง ไปตามถนนสายต่างๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดังกล่าวเพื่อความเป็นศิริมงคลต้อนรับปีใหม่ในเมืองน่านจะมีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล เสามิ่งเมือง (เสาหลักเมือง) วัดมิ่งเมือง และมีขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญ และยังมีการจุดบอกไฟด้วยเอกสารอ้างอิง มน บำรุง บารมี. "สังกรานต์ล่อง (วันสงกรานต์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6724-6726. "สังกรานต์ (สงกรานต์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 13. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 6723-6723.
วันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2566 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี จัดกิจกรรม "Art Kids Summer Camp" ครั้งที่ 1 กิจกรรมปั้นดินเบาเสริมสร้างจินตนาการและพัฒนาการทางกล้ามเนื้อ วิทยากรโดย อาจารย์โดม คล้ายสังข์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ,พี่ต้นข้าวและพี่ไวน์ นักศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
วันที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 07.00 น. นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ไทย ประจำปี พ.ศ.2567 โดยมี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี ณ บริเวณพิธีหน้าศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี
กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญร่วมกิจกรรมชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำเนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย “NIGHT AT THE MUSEUM” ในงาน 150 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย สยามซิวิไลซ์ A PASSAGE TO WISDOM ระหว่างวันที่ 18 - 22 กันยายน 2567 เวลา 08.30 - 20.00 น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
กำหนดการจัดกิจกรรมมีดังนี้
- วันที่ 19 - 21 กันยายน 2567 เชิญร่วมชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย 2567 และบูธกิจกรรมต่าง ๆ จากพิพิธภัณฑ์เครือข่าย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- วันที่ 18 - 22 กันยายน 2567
- ร่วมสนุกกับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์เพลิดเพลินกับกิจกรรมเช่น ร้านมุม หัด-ทำ-มือ โดยศิลปินและนักศึกษาเวิร์คชอป "DIY Curio Box" กิจกรรม "ตามลายแทงกรุพิศวง"และกาซาปอง "NMB Cabinets of Curiosities"
- กิจกรรมนำชมพิพิธภัณฑ์ รอบเวลา 18.00 น. เพียงวันละ 1 รอบ กิจกรรมนำชมหัวข้อ "เปิดกรุพิศวง : ปริศนาที่มาโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ Cabinets of Curiosities" ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมนำชม สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ ณ จุดลงทะเบียนศาลาลงสรง (อาคารหมายเลข 13) ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ของแต่ละวัน *ไม่รับลงทะเบียนล่วงหน้า
- วันที่ 19 - 22 กันยายน 2567 กิจกรรมเสวนาทางวิชาการ Museum Talk ร่วมฟังเสวนาทางวิชาการ Museum Talk บอกเล่าเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์ ผ่าน คน ของ และพื้นที่ ภายใต้โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ประจำปี 2567
---------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โทร. 0 2224 1402 และ 0 2224 1333 (วันพุธ - อาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น.)
ผู้แต่ง : ม.จ.จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ปีที่พิมพ์ : 2535 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ ในพระราชทานเพลิงศพหม่อนเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2535 ผู้จัดทำหนังสือที่ระลึกได้พยายามรอบรวมงานนิพนธ์และข้อเขียนจากพระญาติ พระสหาย และบุคคลที่เคารพรักท่าน รวมทั้งบทความจากหนังสือพิมพ์ที่เขียนถึงท่านและผลงานของท่านในแง่มุมต่างๆมาจัดพิมพ์เป็น 6 หมวด ได้แก่ 1.อาลัยท่านจันทร์ 2.วรรณคดี-กวีนิพนธ์ 3.ประวัติศาสตร์-ศิลปะ-โบราณคดี 4.กีฬา 5.ศาสนา 6.ท่านจันทร์ในบรรณพิภพ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักท่าน “พ.ณ ประมวญมารค” ดียิ่งขึ้น