ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
วันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดและแถลงข่าวโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร กิจกรรมสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บเอกสารโบราณ และกิจกรรมกรมศิลป์ร่วมมือคณะสงฆ์ร่วมใจ อนุรักษ์ สืบสาน อ่านแปล ใบลาน ณ วัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เอกสารโบราณเป็นองค์ความรู้ที่บรรพชนได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่หลากหลาย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ ตลอดจนสรรพวิทยาการด้านต่าง ๆ เช่น พงศาวดาร ตำราเวชศาสตร์ ตำราไสยศาสตร์ ตำราโหราศาสตร์ และวรรณคดี อีกทั้งเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนได้เป็นอย่างดี การดูแลรักษาเอกสารโบราณ นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการแล้ว สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ วัดและองค์กรท้องถิ่น ตลอดจนประชาชน จำเป็นต้องเห็นคุณค่าของเอกสารโบราณ และมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา รวมเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
โครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร เป็นการดำเนินการต่อเนื่องมาจากการดำเนิน การโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดไก่เตี้ย ซึ่งเป็นวัดต้นแบบในการอนุรักษ์ที่เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กร กรมศิลปากรกับคณะสงฆ์ และประชาชน สร้างการรับรู้อย่างเป็นรูปธรรม เกิดภาคีเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชน คณะสงฆ์ตระหนักรู้ และสอดรับนโยบายอนุรักษ์ สืบสาน มรดกภูมิปัญญาของบรรพชนจากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งมีผลโดยตรงต่อการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะเอกสารโบราณ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนที่เรียกว่าพระไตรปิฎก ดังนั้นองค์กรคณะสงฆ์จึงถือเป็นภาคีเครือข่ายอันดับแรกในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติอันสำคัญนี้
การเปิดโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร จึงเป็นก้าวต่อไปที่มั่นคงยิ่งขึ้นอันเกิดจากต้นแบบวัดไก่เตี้ยที่สามารถสร้างการรับรู้และเกิดภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรดังที่กล่าวแล้ว และสิ่งที่คาดว่าจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
๑. การทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงเอกสารโบราณได้อย่างง่ายและใช้เอกสารโบราณอย่างถูกวิธี อันเกิดจากการจัดระบบตามหลักวิชาการ และอาจให้บริการในแหล่งเอกสารโบราณได้โดยตรง เนื่องจากวัดเบญจมบพิตรมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระวิหารสมเด็จ ส.ผ.(เสาวภา ผ่องศรี) และมีศักยภาพในการเป็นคลังปัญญาของผู้คน อันเป็นการสนองพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานนามพระวิหารสมเด็จฯ ไว้แต่แรกว่า “หอพุทธสาสนสังคหะ”
๒. คาดว่า มีคัมภีร์ใบลานฉบับหลวงที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ชนชั้นสูงในราชสำนักที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งนิยมการสร้างคัมภีร์ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ถือเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและปรารถนาพระนิพพานในอนาคตกาล ตามคติความเชื่อของผู้คนในยุคสมัย
๓. เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติไทยจากเอกสารหลักฐานชั้นต้นได้อย่างตรงไปตรงมา และชัดเจนโดยลายลักษณ์อักษร โดยเฉพาะคัมภีร์ใบลานเป็นหลักฐานที่จารสืบต่อกันมา ถึงจะมีความคลาดเคลื่อนโดยกาลเวลา แต่เนื้อหามิได้เปลี่ยนแปลง เป็นที่คาดหวังว่าคัมภีร์ใบลานวัดเบญจมบพิตรจะเป็นคัมภีร์ที่ตกทอดมาอย่างสมบูรณ์ มีการชำรุดเสียหายเป็นส่วนน้อย เนื่องจากมีพระวิหารเป็นที่เก็บรักษาและได้รับการดูแลอยู่เนืองๆ
๔. จากการประเมินคาดว่ามีปริมาณคัมภีร์ใบลานอยู่ในพระวิหารสมเด็จ ส.ผ.(เสาวภา ผ่องศรี) ไม่ต่ำกว่า ๓๒๐ มัด มีตู้พระธรรมอยู่ ๒๙ ตู้ ส่วนที่ใส่คัมภีร์ใบลานไว้ในตู้พระธรรมมีประมาณ ๙ ตู้ ข้อมูลดังกล่าว อาจประเมินการดำเนินงานได้ว่า ปริมาณคัมภีร์ใบลานวัดเบญจมบพิตรมีมากกว่าคัมภีร์ฯ วัดไก่เตี้ย ถึง ๘ เท่า ถ้าเทียบการทำงานวัดไก่เตี้ยแล้วเสร็จ ใช้เวลา ๙ วัน ดังนั้นวัดเบญจมบพิตรจะใช้เวลาในการทำงาน คำนวณแบบคณิตศาสตร์ ต้องใช้เวลาถึง ๗๒ วัน จึงแล้วเสร็จ โดยมีกำลังพลในการทำงานเท่ากัน ทั้งนี้ยังไม่รวมอุปสรรคปัญหาหน้างาน และปัจจัยภายนอกอีกด้วย
๕. ท้ายที่สุดสร้างการรับรู้ให้ผู้คนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนให้ความสนใจ และมาใช้ประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้า ต่อยอด องค์ความรู้ในเอกสารโบราณ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด คือต้องการดูต้องได้ดู ต้องการใช้ต้องได้ใช้ เพื่อความสุขใจของทุกๆ คน
การดำเนินโครงการอนุรักษ์เอกสารโบราณวัดเบญจมบพิตร โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ ประกอบด้วย การแนะนำ สาธิตการอนุรักษ์ใบลานเบื้องต้น การอนุรักษ์ทำความสะอาดใบลาน อ่านปกใบลาน ตามหาชื่อเรื่อง ศึกษาฉบับใบลานสืบสานพวกพ้อง เปลี่ยนสายสนอง และการห่อผ้าคัมภีร์ใบลาน ซึ่งการดำเนินโครงการนอกจากจะสามารถสร้างการรับรู้และเกิดภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรแล้ว ยังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากพระวิหารสมเด็จ ส.ผ. (เสาวภา ผ่องศรี) วัดเบญจมบพิตร เป็นคลังปัญญาที่เก็บคัมภีร์ใบลานและตู้พระธรรมจำนวนมาก โครงการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนเข้าถึงเอกสารโบราณได้ง่ายและใช้เอกสารโบราณอย่างถูกวิธี อันเกิดจากการจัดระบบตามหลักวิชาการ สร้างการรับรู้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประชาชนให้ความสนใจ และมาใช้ประโยชน์จากการศึกษาค้นคว้าต่อยอดองค์ความรู้ในเอกสารโบราณได้เป็นอย่างดี
กรมศิลปากร กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ วัดชุมพลนิกายาราม ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. และขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศลได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากร ตามที่ขอพระราชทานไปทอดถวายที่ชุมนุมสงฆ์ ณ วัดชุมพลนิกายาราม ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. โดยจะมีพิธีสมโภชองค์กฐิน ในวันศุกร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๘.๐๐ น. และการแสดงโขน เรื่อง “รามเกียรติ์ ตอนศึก โรมคัลทศกัณฐ์พ่าย” ในเวลา ๑๙.๐๐ น. ณ โรงเรียนวัดชุมพลนิกายาราม
กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ โดยเสด็จพระราชกุศลในการ ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้ที่ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร (ชั้น ๓) เลขที่ ๘๑ /๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารออมสิน สาขาหน้าพระลาน เลขที่บัญชี ๐ ๕ ๐ ๕ ๗ ๐ ๓ ๔ ๕ ๕ ๙ ๐ ชื่อบัญชี การกุศลกรมศิลปากร ประเภทเงินฝากออมทรัพย์ ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะได้รวบรวมนำเข้าสมทบถวายบำรุงพระอารามหลวงวัดชุมพลนิกายาราม ต่อไป สอบถามเพิ่มเติมโทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ ต่อ ๓๐๕๕ , ๓๐๖๓
วัดชุมพลนิกายาราม เดิมชื่อว่าวัดชุมพล สันนิษฐานว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๑๗๕ สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระบรมราชชนนี เพื่อเป็นพระอารามสำหรับพระราชวังบางปะอิน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผาติกรรมพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พร้อมกับปฏิสังขรณ์วัดเสนาสนาราม วัดกวิศราราม และวัดชุมพล พร้อมทั้งพระราชทานนามพระอารามเสียใหม่ว่า “วัดชุมพลนิกายาราม” และอัญเชิญพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ประดิษฐาน ณ หน้าบันพระอุโบสถ หน้าบันวิหาร และเบื้องหลังพระประธานในพระอุโบสถ ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดระเบียบพระอารามหลวงเสียใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ วัดชุมพลนิกายารามถูกจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดชุมพลนิกายารามเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๘ และได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน วัดชุมพลนิกายารามและสะพานข้ามคลองบ้านเลน จำนวน ๒๐ไร่ ๒ งาน ๙๑ ตารางวา เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๗
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. อย.บ.4/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ วันปิยมหาราชน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระปิยมหาราช (รัชกาลที่ ๕).พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๐ พุทธศักราช ๒๔๔๔ เพื่อทรงตรวจราชการทอดพระเนตรสภาพบ้านเมือง และพระราชทานพระแสงศัสตราประจำเมือง เพื่อใช้ในการพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปี เสด็จโดยเรือพระที่นั่งจากพระราชวังบางปะอินล่องตามลำน้ำเจ้าพระยาต่อด้วยลำน้ำน่าน แวะประทับและปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามหัวเมืองรายทางสองฝั่งลำน้ำอันได้แก่ เมืองอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สรรพยา สรรคบุรี ชัยนาท มโนรมย์ อุทัยธานี พยุหคีรี นครสวรรค์ บางมูลนาค บ้านขะมัง พิจิตร พิษณุโลก พิชัย ตรอนตรีสินธุ์ อุตรดิตถ์ สุดทางเสด็จที่เมืองฝาง แล้วเสด็จกลับโดยเรือพระที่นั่งตามเส้นทางเดิมจนถึงพระราชวังบางปะอิน.ระหว่างประทับหัวเมืองต่าง ๆ ได้มีพระราชหัตถเลขาพระราชทานแก่ที่ประชุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ความในพระราชหัตถเลขาบอกเล่าถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติและเส้นทางการเสด็จในสถานที่ต่าง ๆ วิถีชีวิตของราษฎร และพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่องต่าง ๆ ความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า.(ฉบับที่ ๑๗) เมืองอุตรดิฐ วันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ “...คั่น ได้มาถึงพลับพลาเมืองอุตรดิฐเวลาบ่าย ๑ โมงเศษ เจ้านครน่าน๒ซึ่งลงมาโดยทางเรือ เจ้านครลำปาง๓ เจ้านครเมืองแพร่๔ซึ่งมาทางบก แลข้าราชการหัวเมืองคอยรับอยู่ที่ตพานน้ำ พลับพลานี้ตั้งอยู่ที่ใต้วัดเตาหม้อริมทางที่จะขึ้นพระแท่น ปลูกบนฝั่งซึ่งมีต้นไม้ร่มรื่นล้วนแต่ไม้ผล ต้นส้มโอใหญ่ซึ่งกำลังมีลูกติด ต้นลำไยแลมะม่วงเปนต้น พื้นดินทำเปนถนนสวนสนุก ที่พลับพลาก็ทำเปนที่สบายตกแต่งพร้อมด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ มีรูปภาพซึ่งทำด้วยกล้วยไม้แลเห็ดตะไคร่น้ำหญ้า เปนรูปแผนที่แลรูปพระต่าง ๆ พอดูได้ช่างคิดดี เจ้านายเมืองข้างเหนือได้นำบุตรหลานมาหา บัวไหลภรรยาเจ้าเมืองแพร่ได้นำแพรปักดิ้นสำหรับคลุมพระราชยาน แลผ้าสำหรับคลุมพระแท่นศิลาอาศน์ ซึ่งเขาได้วัดไปเย็บไว้แต่เมื่อลงไปกรุงเทพ ฯ ครั้งก่อน เพื่อจะคอยให้เวลาที่จะขึ้นมานมัสการพระแท่นซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว ๆ ได้ถ่ายรูปพร้อมพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าราชการทั้งในกรุงแลหัวเมือง พวกจีนที่ท่าอิฐแห่เครื่องบูชาอันตกแต่งด้วยกิมฮวยแลธูปเทียนเปนอันมากมาให้ ครั้นเวลาบ่าย ๕ โมง ได้ลงเรือเล็กขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งเรือลูกค้าจอดเรียงรายขึ้นไปเกือบ ๒๐๐ ลำ จนสุดหัวหาดข้างเหนือ แล้วขึ้นตพานอันใช้ไม้ขอนสักเปนทุ่นรับขึ้นไปจนถึงหาด ตั้งแต่ต้นตพานนั้น พวกจีนเรี่ยรายกันดาดปรำตลอดถนนตลาดยาว ๓๐ เส้น ใช้เสา ๓ แถวกว้างใหญ่เต็มถนน ในตลาดนั้นมีเรือนแถวฝากระดาน ๒ ชั้น แต่ใหญ่ ๆ กว่าที่กรุงเทพฯ ที่แล้วก็มาก ที่ยังทำอยู่ก็มี เปนร้านขายของอย่างครึกครื้น ที่เปนบ้านเรือนแลห้างก็มีบ้าง เขาว่าตลาดบกที่นี่ดีกว่าที่ปากน้ำโพซึ่งฉันยังไม่ได้เห็น แต่ตลาดเรือนั้น ที่นี่สู้ปากน้ำโพไม่ได้ การซึ่งตลาดติดได้ใหญ่โต เพราะพวกเมืองแพร่มาลงที่ท่าเสาเหนือท่าอิฐขึ้นไปคุ้งหนึ่ง พวกเมืองน่านลงมาทางลำน้ำ พวกข้างเหนือแลตวันออกลงข้างฟากตวันออก แต่มาประชุมกันค้าขายแลกเปลี่ยนอยู่ที่หาดนั้น แต่ก่อนมาสินค้าข้างล่างขึ้นมายังไม่สดวกดังเช่นทุกวันนี้ แต่บัดนี้พวกลูกค้ารับช่วงกันเปนตอนๆ พวกที่นี่ลงไปเพียงปากน้ำโพ พวกปากน้ำโพรับสินค้าจากกรุงเทพ ฯ เปนการสดวกดีขึ้น เมื่อเดินไปสุดตลาดแล้วลงเรือกลับมาพลับพลา เวลาค่ำแต่งประทีปสว่างทั่วไปตามฝั่งน้ำแลถนน ได้มีการเลี้ยงเจ้านายแลข้าราชการทั้งในกรุงแลหัวเมืองที่พลับพลา...”.ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานสัญญาบัตรและเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการและเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ด้วย.วันที่ ๒๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับพลับพลาที่ประทับแรมเมืองอุตรดิตถ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ คือช้างเผือกชั้นที่ ๒ จุลวราภรณ์ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครเมืองน่าน (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๒ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช. (จุลวราภรณ์))วันที่ ๒๕ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๐ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครเมืองน่าน (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า ท.จ.).ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉายพระรูปร่วมกับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและเจ้าเมืองประเทศราช เจ้าเมืองล้านนาที่มาเฝ้ารับเสด็จ ณ พลับพลาที่ประทับเมืองอุตรดิตถ์ หน้าพลับพลารับเสด็จหน้าวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ โดยแถวหน้านับจากซ้าย-ขวา คนที่ ๕ คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่คนที่ ๖ คือ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางคนที่ ๗ คือ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อครั้งเป็นเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชคนที่ ๘ คือ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาคนที่ ๙ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คนที่ ๑๐ คือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชคนที่ ๑๑ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.เอกสารอ้างอิงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ ๕. กรมศิลปากร : พระนคร. ๒๕๐๘. เข้าถึงได้โดย https://www.finearts.go.th/nakhonsithammaratlibrary/view/20146-พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ-ในรัชกาลที่-5?fbclid=IwAR0M7HhbFRgghWJIx4ICjK3PNl75d2abptShtkH6dW2kEC3SIV55mS-bVgkราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๑ หน้า ๖๑๙ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๑๒๐ เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/032/618.PDFสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ตามรอยเสด็จประพาสเมืองอุตรดิตถ์ จากพระราชหัตถเลขาคราวเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือครั้งแรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. เข้าถึงได้โดย https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand/posts/pfbid02Qn8z5boRWiqbDXTRFJVYWBJXrH6eeqFptYs5aGyL1gxk8UbGzzUPJ5MgDsPV5EhLlhttps://commons.wikimedia.org/.../File:King_chula_Utt...
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 49/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 98 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต (ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสูตร) ชบ.บ 114/1ก
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 159/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดอบรมศิลปะในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนผู้สนใจ ใน 3 ทักษะ ได้แก่ การวาดการ์ตูน วาดสีน้ำ และวาดเส้น ระหว่างวันที่ 19 – 30 เมษายน 2566 วันพุธ – อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์ – อังคาร) โดยจัดอบรม 3 หลักสูตร ได้แก่
1. การวาดการ์ตูน เรียนพื้นฐานการวาดการ์ตูน โดยฝึกการสังเกต และนำเอาลักษณะเด่นของสิ่งต่างๆ มาถ่ายทอดลงในผลงานศิลปะสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างและต่อยอดจินตนาการ
ป.1 – ป.3
(รอบเช้า) เวลา 9.00 – 12.00 น. ครูอุ๋ง สุธีรา รุ่งเรืองเสาวภาคย์ ครูจิว ดินหิน รักพงษ์อโศก
(รอบบ่าย) เวลา 13.00 – 16.00 น. ครูกอล์ฟ สุทธาสินีย์ สุวุฒโฑ
ป.4 – ป.6
(รอบเช้า) เวลา 9.00 - 12.00 น. ครูลี่ ศันสนีย์ รุ่งเรืองสาคร
(รอบบ่าย) เวลา 13.00 – 16.00 น. ครูเบศร์ ภูเบศร์ สินอำพล
2. การวาดสีน้ำ เรียนพื้นฐานการวาดภาพสีน้ำ ตั้งแต่การผสมสี การวางโครงร่างของภาพ โดยสอดแทรกการลงสีด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การระบายสีเปียกบนเปียก เปียกบนแห้ง และการระบายเคลือบ
ป.4 – ป.6 (รอบบ่าย) เวลา 13.00 – 16.00 น. ครูเล็ก ณรงค์เดช ศุขสายชล
ม.1 ขึ้นไป – บุคคลทั่วไป (รอบบ่าย) เวลา 13.00 – 16.00 น. ครูเก๋ พัชรินทร์ อนวัชประยูร
3. การวาดเส้น พื้นฐานการวาดภาพลายเส้นแบบต่างๆ การวาดเส้นจากหุ่นนิ่ง การให้น้ำหนักและแสงเงา
ม.1 ขึ้นไป – บุคคลทั่วไป (รอบเช้า) เวลา 9.00 - 12.00 น. ครูบี อัจจิมา เจริญจิตร ตนานนท์
เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2566 (การรับสมัคร สมัครและชำระค่าลงทะเบียนได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร ** ไม่รับโอนเงิน ไม่รับสมัคร หรือรับจองทางออนไลน์ใดๆ ทั้งสิ้น **)
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร
1. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เข้ารับการอบรม
3. ค่าลงทะเบียนคนละ 1,700 บาท ต่อคอร์ส (รวมอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมแล้ว)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร โทร. 085 205 9740 หรือที่ Facebook: The National Gallery Thailand
ชื่อผู้แต่ง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อเรื่อง วิศวกรรมสาร ( ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๙)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๙
จำนวนหน้า ๕๖ หน้า
รายละเอียด
จัดพิมพ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็น และเผยแพร่ข่าวสารทางวิศวกรรมศาสตร์ เนื้อหาประกอบด้วย บทบรรณาธิการ ความแตกต่างของตัวอักษรไทย เป็นต้น พร้อมภาพประกอบ
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
44/2553
(20/2549)
หินลับ เนื้อสีขาว ลักษณะแบน ขัดผิว 4 ด้าน ด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนบ่า
ย.10.6
ก.6.2
หนา 3.1
หิน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.426/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153 (109-119) ผูก 6 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.570/2 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186 (347-356) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : ลำปาฏิโมกข์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. พระปฐมสมโพธิกถา. พระนคร: โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร, ๒๕๑๕.
พระปฐมสมโพธิกถา เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ว่าด้วยเรื่องประวัติพระพุทธเจ้าโดยละเอียด ตั้งแต่ปฐมกำเนิดของพระพุทธเจ้า จนถึงท้ายที่สุดแห่งการดับขันธ์ปรินิพพาน โดยปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอนๆ เรียกว่า “ปริจเฉจ” รวมทั้งสิ้น ๒๙ ตอน ดังนี้ ปริจเฉจที่ ๑ วิวาหมงคลปริวัตต์
ปริจเฉจที่ ๒ ดุสิตปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๓ คัพภานิกกมนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๔ ลักขณปริคคาหกปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๕ ราชาภิเษกปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๖ มหาภินิขมนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๗ ทุกกรกิริยาปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๘ พุทธบูชาปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๙ มารวิชัยปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๐ อภิสัมโพธิปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๑ โพธิสัพพัญญูปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๒ พรหมัชเฌสนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๓ ธัมมจักกปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๔ ยสบรรพชาปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๕ อุรุเวลคมนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๖ อัครสาวกพรรพชาปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๗ กบิลวัตถุคมนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๘ พิมพาพิลาปปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๑๙ สักกยบรรพชาปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๐ เมตไตยพยากรณปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๑ พุทธปิตุนิพพานปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๒ ยมกปาฏิหาริยปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๓ เทศนาปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๔ เทโวโรหนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๕ อัครสาวกนิพพานปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๖ มหานิพพานปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๗ ธาตุวิภัชนปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๘ มารพันธปริวัตต์ ปริจเฉจที่ ๒๙ ธาตุอันตรธานปริวัตต์
กรมศิลปากรจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของกรมศิลปากร "เปิดพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน" โดยเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันเทศกาลสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00 - 18.30 น.
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ...ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา อัตราค่าเข้าชมชาวไทย 30 บาท / ชาวต่างชาติ 150 บาท นักเรียน นักศึกษา เด็ก ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0 3524 1587
“๙ โบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดภูเก็ต”
จังหวัดภูเก็ตนั้นถือเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สวยงามเป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจและชื่นชมธรรมชาติ ทะเล ภูเขา อีกทั้งยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่มี ความหลากหลายทางด้านศิลปวัฒนธรรมและเชื้อชาติ เนื่องจากเคยมีบันทึกและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รวมถึงหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงถึงวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของจังหวัดภูเก็ต โบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และศึกษาดังต่อไปนี้
เรียบเรียง/กราฟฟิก
นางสาวศิริวรรณ ทองขำ นักโบราณคดีชำนาญการ
นายพิทักษ์ภูมิ อาการส นักวิชาการวัฒนธรรม
บรรณานุกรม
๑.ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์. ๒๔๗ โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา , สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๖๑.
๒.นภัคมน ทองเฝือ. โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนในเขตพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๖๓.