ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
"หงส์หิน" เป็นคร่าวซอที่ประพันธ์ขึ้นในล้านนา เรื่องหงส์หินนี้ไม่ทราบความเป็นมาว่านำเนื้อหามาจากคัมภีร์ทางศาสนาเล่มใด แต่คร่าวซอฉบับที่แพร่หลายแต่งโดยพระยาโลมานิสัย ชาวเชียงรายที่ได้เข้ารับราชการในราชสำนักลำปาง โดยประพันธ์ขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ภายหลังถูกใช้เป็นต้นแบบของคร่าวซอของเจ้าสุริยวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔
เรื่องราวเริ่มจากนางวิมาลา มเหสีเอกของพระเจ้าปุรันตปะ กษัตริย์แห่งกรุงพาราณสีถูกขับออกจากเมือง เนื่องจากถูกเหล่ามเหสีรองทั้ง ๖ นางใส่ร้าย แอบเอาลูกสุนัขมาสับเปลี่ยนกับโอรสของนางวิมาลาตอนคลอด นางวิมาลาจึงมาอาศัยอยู่ในบ้านพ่อเฒ่าแม่เฒ่าหลังหนึ่ง ส่วนโอรสของนางนั้นพระอินทร์นำไปเลี้ยงบนสวรรค์เมื่อเติบใหญ่ขึ้นพระอินทร์ก็เนรมิตหินคำก้อนหนึ่งให้กลายเป็นหงส์พาโอรสมาอยู่กับนางวิมาลาผู้เป็นมารดา นางวิมาลาจึงตั้งชื่อให้บุตรของนางว่าเจ้าทุตคตขัตติวงศ์
วันหนึ่งกุมารทั้งหกของเหล่าชายารองจัดการเล่นสะบ้าทองคำ เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ออกไปเล่นด้วยแล้วชนะได้ลูกสะบ้าทองคำนั้นไป แถมขากลับออกจากเมืองยังสามารถปราบยักษ์ที่มาคอยจับผู้คนในเมืองกินเป็นอาหารได้ด้วย เหล่ากุมารทั้งหกเมื่อรู้ข่าวก็ไปบอกพระเจ้าปุรันตปะว่าพวกตนสังหารยักษ์ได้ พระเจ้าปุรันตปะไม่เชื่อ เนื่องจากผู้ที่จะปราบยักษ์ได้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น พระเจ้าปุรันตปะจึงให้หกกุมารออกไปตามหาพระอัยยิกาของตนที่ถูกเหล่าผีดิบจับไปเมื่อนานมาแล้ว กุมารทั้งหกก็ไปขอให้เจ้าทุตคตขขัตติวงศ์มาช่วยตามหาพระอัยยิกา เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ให้เหล่ากุมารทั้งหกและกองทัพรออยู่ที่ชายฝั่งน้ำ ส่วนเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็ขี่หงส์ออกไปตามหาพระอัยยิกา
เจ้าทุตคตขัตติวงศ์เดินทางไปถึงเมืองยักษ์สามเมือง แต่ละเมืองก็ได้ธิดาของเจ้าเมืองนั้นๆเป็นชายา (หนุ่มเนื้อหอมที่พ่อตารักใคร่จริงๆ)
เจ้าทุตคตขัตติวงศ์เข้าไปพบพระอัยยิกาในเมืองผีดิบซึ่งขณะนั้นเหล่าผีดิบไม่อยู่ในเมือง เมื่อพาพระอัยยิกาออกจากเมืองเหล่าผีดิบก็ไล่ตาม แต่เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็สามารถพาพระอัยยิกาหนีพ้นไปได้
เมื่อเดินทางมาถึงเมืองผีดิบเจ้าทุตคตขัตติวงศ์เข้าไปพบพระอัยยิกาในเมืองผีดิบซึ่งขณะนั้นเหล่าผีดิบไม่อยู่ในเมือง เมื่อพาพระอัยยิกาออกจากเมืองเหล่าผีดิบก็ไล่ตาม แต่เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็สามารถพาพระอัยยิกาหนีพ้นไปได้
ในขากลีบเมืองเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ให้ชายาทั้ง ๓ คอยที่ริมฝั่งน้ำ โดยตนจะพาพระอัยยิกาไปส่งก่อน เมื่อโอรสทั้ง ๖ ของมเหสีรองเห็นเจ้าทุตคตขัตติวงศ์พาพระอัยยิกากลับมาได้สำเร็จก็ทำร้ายเจ้าทุตคตขัตติวงศ์จนตาย พวกตนก็พาพระอัยยิกากลับเมืองไปรับความดีความชอบจากพระเจ้าปุรันตปะ หลังจากที่เหล่าโอรสทั้ง ๖ พาพระอัยยิกากลับเมืองแล้ว พระอินทร์ก็ลงมาช่วยชุบชีวิตเจ้าทุตคตขัตติวงศ์
เรื่องราวไม่ได้จบอย่าง happy ending lesiy[Fvilmyh ๖ เมื่อพระเจ้าปุรันตปะทราบจากพระอัยยิกาว่าคนที่ช่วยพระองค์คือเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ เมื่อเจ้าทุตคตขัตติวงศ์มาร่วมงานฉลองในเมือง พระเจ้าปุรันตปะได้ไต่ถามจนทราบความจริง รับสั่งให้นำโอรสและชายารอทั้ง ๖ ไปประหารชีวิต แล้วแต่งขบวนไปรับนางวิมาลา และพ่อเฒ่าแม่เฒ่ากลับวัง
อ้างอิง :
จิราวดี เงินแถบ, “หงส์หิน : การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและล้านนา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร. ๒๕๓๗.
เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๖.๓๐ น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และ กรมศิลปากร ร่วมสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ประจำปี ๒๕๖๕ เป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ได้จัดกิจกรรม พิเศษ สักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล ๒๕๖๕ โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่ง พุทไธสวรรย์ เป็นประธาน พร้อมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปมงคลโบราณอีก ๙ องค์ ซึ่งมีตำนานการสร้างและนามอัน เป็นสิริมงคล มาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา เพื่ออำนวยความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ รวมทั้งจัดนิทรรศการพิเศษขนาดเล็กให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและรูปแบบทางศิลปกรรม ของพระพุทธรูปทั้ง ๑๐ องค์ ประกอบด้วย พระพุทธสิหิงค์ ศิลปะสุโขทัย - ล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ พระพุทธรูปปางประทานพร ศิลปะอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาละ พุทธศตวรรษที่ ๑๔ พระไภษัชยคุรุ ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระอมิตายุส ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ พระพุทธรูปปางฉันสมอ ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ พระหายโศก ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ (ปางประทานอภัย) ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ พระชัยเมืองนครราชสีมา ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ พระชัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ขอเชิญพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวร สถานพุทธปฏิมามงคล ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) โดยตรวจวัดอุณหภูมิผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆ ที่มีการสัมผัสบ่อย พร้อมทั้งขอความร่วมมือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA และ Covid Free Setting
ชื่อเรื่อง ทิพฺพมนต์ (ทิพพมนต์)
สพ.บ. 305/1
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 10 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.2 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.308/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทศชาติ) ชาตกฎฐกถา,ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (ภูริทัสต์)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ทำความรู้จักกับ ขบถผู้มีบุญ หรือ ขบถผีบุญ ผ่าน องค์ความรู้ เรื่อง "ขบถผู้มีบุญ ร.ศ. ๑๒๐ พลังอนุรักษ์นิยมในกระแสปฏิรูป"
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี
องค์ความรู้ เรื่อง "...ขบถผู้มีบุญ ร.ศ. ๑๒๐ พลังอนุรักษ์นิยมในกระแสปฏิรูป..."
สวัสดีครับ กลับมาพบกับ #พี่นักโบ อีกครั้ง ซึ่งตั้งใจจะมาเผยเเพร่องค์ความรู้ด้านโบราณคดี เเละประวัติศาสตร์ ในภูมิภาคอีสานของเรา ให้กับทุก ๆ ท่าน ได้เรียนรู้กันอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ... สำหรับวันนี้ พี่นักโบ ขอพาทุกท่าน มารู้จัก #ขบถผีบุญ หรือ #ขบถผู้มีบุญ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของภาคอีสาน อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านคงเริ่มตั้งคำถามกันแล้วว่า ... ขบถผู้มีบุญ เป็นใคร ? เกิดขึ้นจากเหตุใด? รวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ใด ? มีกี่ก๊กกี่เหล่า ? และมีอะไรตามมาหลังเหตุการณ์นี้? ตามไปอ่านในบทความกันเลยครับ
การปฏิรูปการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาลที่เกิดขึ้นใน #รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายขึ้นในประเทศไทย จากประเทศซึ่งใช้ ระบบกินเมือง รัฐบาลมีอำนาจอย่างเด็ดขาดในบริเวณราชธานีและหัวเมืองใกล้เคียง โดยหัวเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปถูกปกครองอย่างหลวมๆค่อนข้างเป็นอิสระ เจ้าเมืองแต่ละคนได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองอยู่ในเขตเมืองของตนซึ่งสืบตระกูลกันมา และมีผลประโยชน์จากอภิสิทธิ์ของการเป็นชนชั้นปกครอง มีหน้าที่เก็บส่วยอากรและผลประโยชน์อื่นๆ ส่งให้รัฐบาลหลังจากหักส่วนของตนไว้แล้ว โดยไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐบาล สภาพการณ์เช่นนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อรัฐบาลสยาม ขยายการปฏิรูปออกสู่หัวเมืองในภูมิภาค โดยเฉพาะหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตที่มีการปกครองอย่างเบาบางมากจากส่วนกลาง
การปกครองหัวเมืองโดยระบบรวมศูนย์อำนาจ หรือที่เรียกว่าเทศาภิบาล รัฐบาลสยามได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพการปกครองและสภาพความเป็นอยู่ ทำให้ราษฎรไม่เคยชินต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจอันมีมาแต่เดิม และแรงกระตุ้นจากสถานการณ์ในดินแดนปกครองของฝรั่งเศสที่ชนพื้นถิ่นมักจะต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส และคอยความหวังให้ผู้มีบุญมาแก้ไขให้กลับไปอยู่ในลักษณะเดิม เมื่อเกิดข่าวลือเกี่ยวกับผู้มีบุญขึ้นในมณฑลอีสาน จึงลุกลามอย่างรวดเร็ว จนรัฐบาลสยามไม่อาจควบคุมได้ ผลก็คือเกิดขบถผู้มีบุญหรือขบถผีบุญ ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันตามท้องที่ต่างๆ ในภาคอีสาน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องขบถผีบุญนี้ ไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดีว่า ในประมาณปีชวด ( พ.ศ.๒๔๓๓ ) เกิดลายแทงที่มีลักษณะเป็นคำพยากรณ์ขึ้นกล่าวว่า
“... ถึงกลางเดือน ๖ ปีฉลู (พ.ศ.๒๔๔๔) จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง เงินทองจะกลายเป็นกรวดทราย ก้อนกรวดในหินแลง จะกลายเป็นเงินทอง หมูจะกลายเป็นยักษ์ขึ้นกินคนแล้วมีท้าวธรรมมิกราชผีบุญจะมาเป็นใหญ่ในโลก ใครอยากพ้นภัยให้คัดลอกบอกตามลายแทงกันต่อๆไป ใครอยากมั่งมีก็ให้เก็บหินกรวดแลงไว้ให้ท้าวธรรมมิกราชชุบเป็นเงินเป็นทอง...”
ข่าวลือนี้สร้างความตื่นตระหนก และมีราษฎรเชื่อถือปฏิบัติตามกันอย่างแพร่หลาย จนมีผู้ฉวยโอกาสตั้งตัวเป็นท้าวธรรมมิกราชผีบุญหลายคน พวกผีบุญได้ชักชวนผู้คนเข้าเป็นพรรคพวกอยู่ประมาณปีกว่าๆ มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลไม่กล้าเข้าไปจับกุมเพราะไม่แน่ใจว่าเป็นความผิดหรือไม่ทำให้เกิดผีบุญกว่าร้อยคนเกิดกระจายกันอยู่ในบริเวณซึ่งเป็นจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น นครพนม มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และสุรินทร์ ที่สำคัญมีอยู่ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ อ้ายบุญจันที่เมืองขุขันธ์ (อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) กลุ่มที่ ๒ อ้ายเล็กที่เมืองสุวรรณภูมิ (อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน) และ กลุ่มที่ ๓ อ้ายมั่นที่แขวงเขมราฐ (อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน)
เมื่อฝ่ายรัฐบาลเริ่มดำเนินการปราบปรามในชั้นแรกก็ไม่จริงจังเด็ดขาด โดยส่งกำลังเพียงเล็กน้อยเข้าไปจับหัวหน้าพวกผีบุญได้รับความเลื่อมใสศรัทธามีคนเข้าด้วยมากขึ้นจนถึงขั้นจะยึดเมืองอุบลราชธานีเป็นที่ตั้งตัวหลังจากยึดเมืองเขมราฐได้แล้ว รัฐบาลต้องทุ่มเทกำลังเข้าปราบปรามอย่างเต็มที่ โดยระดมกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมา อุดร อีสาน และบูรพาเข้าปราบพวกผีบุญที่กระจายอยู่ตามท้องที่ต่างๆ ในการรบครั้งสำคัญที่บ้านสะพือเขตเมืองอุบลราชธานี ต้องใช้ทหารจากกรุงเทพกว่า ๑๐๐ นายเศษ จากที่มีอยู่ในเมืองอุบลในขณะนั้นกว่า ๒๐๐ นาย เนื่องจากทหารพื้นเมืองไม่กล้าเข้ารบกับพวกผีบุญ แต่ก็ปราบปรามพวกผีบุญได้อย่างราบคาบในเวลาอันรวดเร็ว เพราะพวกผีบุญทำการต่อสู้ซึ่งหน้า ทำให้ทหารมีโอกาสใช้อาวุธทันสมัยอย่างเต็มที่
ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญจะถูกปราบปรามได้อย่างรวดเร็วในระหว่างเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ – เดือนพฤษภาคม ๒๔๔๕ โดยใช้มาตรการทางทหารและการปกครองอย่างเฉียบขาดและรุนแรง ออกประกาศห้ามไม่ให้ราษฎร กรมการเมืองต่างๆ ให้ความช่วยเหลือหรือแอบซ่อนพวกผีบุญ และยังต้องจับส่งมายังข้าหลวงหรือกกองทหารที่ขึ้นไปตั้งกองอยู่ และคาดโทษประหารสำหรับผู้ฝ่าฝืน ตลอดจนห้ามการทรงเจ้าเข้าผีหรือการนับถือผีใดๆ แต่ความสำเร็จของรัฐบาลก็ไม่ได้แก้ไขสาเหตุของการเกิดขบถแต่อย่างใด กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงมณฑลอีสานเองมีรับสั่งว่า การเพาะพวกจลาจลนี้ เข้าใจว่ามันยังพวกฉลาดๆ ซึ่งไม่ออกน่า เที่ยวเพาะไปเงียบ ๆ อีกหลายพวก ซึ่งหมายความว่าการขบถก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกตราบใดที่สภาพแวดล้อมยังเอื้ออำนวย
ที่กล่าวว่า #สภาพแวดล้อมที่ยังเอื้ออำนวย นั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายๆ ด้านประกอบกันซึ่งต่างก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ได้แก่ ๑) สถานการณ์ทางด้านการเมือง ๒) สภาพเศรษฐกิจ และ ๓) สภาพสังคม มีรายละเอียด ดังนี้
ใน #ด้านการเมือง นั้น เมื่อไทยต้องเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายให้กับฝรั่งเศสทำให้สถานภาพของความเป็นผู้นำของรัฐบาลสยามสั่นคลอน ซ้ำยังมีข่าวลือว่า ผู้มีบุญจะมาทางตะวันออก เจ้าเก่าหมดอำนาจ ศาสนาก็สิ้นแล้ว... บัดนี้ฝรั่งเข้าไป เต็มกรุงเทพฯแล้ว กรุงจะเสียแก่ฝรั่งแล้ว... ทำให้สถานการณ์เกิดความไม่แน่นอน บุคคลบางกลุ่มจึงก่อการจลาจล ประกอบกับในการปฏิรูปไม่ได้ดึงกรมการเมืองทั้งหมด เข้าสู่ระบบใหม่ทำให้ผู้ไม่พอใจตั้งตนเป็นผีบุญ โดยอาศัยสถานการณ์ตามลายแทง เช่น ผีบุญที่ขุขันธ์ โขงเจียม เป็นต้น
ใน #ด้านเศรษฐกิจ โดยปกติแล้วราษฎรในภาคอีสานมีสภาพความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างแร้นแค้นอยู่แล้ว เมื่อต้องมาเสียเงินส่วยให้กับราชการจึงเป็นภาระที่ค่อนข้างหนัก บางครั้งยังถูกกรมการเมืองที่สูญเสียผลประโยชน์จากระบบเดิมฉ้อโกงอีก โดยเฉพาะตามหัวเมืองที่อยู่ไกลข้าหลวง เช่น การออกตั๋วพิมพ์รูปพรรณการซื้อขายโคกระบือ ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของภาคอีสาน จากความขัดสนที่ได้รับทำให้ราษฎรหันมายึดมั่นในลายแทงที่บอกว่าค่าครองชีพจะลดลง หินกรวดทรายจะกลายเป็นเงินทอง เหล่านี้เป็นความหวังของคนยากจนจริงๆ ที่ไม่มีหวังว่าสภาพของตนจะดีขึ้นได้
และ #สภาพสังคม ในภาคอีสานขณะนั้นราษฎรดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นของตัวเองอันเกิดจากความเชื่อทางศาสนาและไสยศาสตร์ปะปนกัน ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ลักษณะโดยทั่วไปเป็นคนไว้ใจคนง่าย หูเบา เชื่อถือโชคลาง ซื่อสัตย์ และไม่เดียงสา ประกอบกับราษฎรโดยทั่วไปยังคงยึดมั่นในประเพณีเก่าขาดการศึกษาจึงชอบมีชีวิตอยู่ตามแบบดั่งเดิมของตนเมื่อเกิดความยากจนและถูกบีบคั้นทางจิตใจมากขึ้น ตลอดจนความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในคำอวดอ้างของพวกผีบุญ ทำให้ราษฎรเกิดความหวังและหันไปยึดมั่นกับพวกผีบุญเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นต้นมา รัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิรูปหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งกองตำรวจภูธรเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ดียิ่งขึ้น ประกาศห้ามราษฎรนับถือผีสางและไสยศาสตร์ต่างๆ จัดตั้งศาลยุติธรรม ควบคุมการเก็บส่วยให้รัดกุมขึ้นปรับปรุงระบบคมนาคม โดยเฉพาะการจัดการศึกษา เนื่องจากสภาพไร้การศึกษาของประชาชนที่ผ่านมาเป็นอุปสรรคสำคัญในการปรับปรุงประเทศตามแบบแผนใหม่ โดยจัดการศึกษาผ่านทางคณะสงฆ์ด้วยความคิดที่ว่าหากราษฎรมีความรู้มากขึ้น คงมีความคิดตริตรองมากขึ้น ไม่หลงเชื่อการหลอกลวงในสิ่งที่ผิดอย่างง่ายๆ เช่นที่ผ่านมา ทั้งข้าราชการ บ้านเมืองที่ทำอยู่ก็จะเจริญขึ้น ตลอดจนพัฒนาสิ่งก่อสร้างถนนหนทางโดยจ้างงานคนพื้นถิ่นของรัฐบาลอันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคอีสาน และขจัดเงื่อนไขในการก่อการจลาจลที่จะมีมาในอนาคต
อาจกล่าวได้ว่าการเกิดขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญของภาคอีสานใน ร.ศ.๑๒๐ ถึงแม้จะมีลักษณะเป็นขบถมวลชนที่ไม่พอใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่รัฐบาลกลางนำมาใหม่เพราะดูเป็นการแทรกแซงความเป็นอิสระที่มีมาแต่เดิม แต่ก็เป็นปฏิกิริยาอนุรักษ์นิยมที่แสดงออกเพื่อการต่อต้านของกลุ่มที่ถูกลิดรอนอำนาจหรือสูญเสียผลประโยชน์อันเนื่องมาจากปฏิรูปการปกครองให้เหมาะสมกับกาลสมัย สภาพอันแร้นแค้นของราษฎร ตลอดจนตัวข้าราชการกรมการเมืองอันเป็นกลไกลของรัฐบาลก็มีส่วนผลักดันให้เกิดขึ้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าการปฏิรูปการปกครองระบบมณฑลในอีสานในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๔๕ ยังไม่ประสบผลสำเร็จอย่างแท้จริง นอกจากจะเป็นเพราะขาดกำลังพลอย่างเพียงพอในการเป็นกลไกของรัฐบาลในการปฏิรูปแล้ว สภาพด้อยการศึกษาทำให้ราษฎรไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการปฏิรูป และความล้าหลังทางเศรษฐกิจยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จอีกด้วย รัฐบาลสยามจึงได้ดำเนินการเพื่อขจัดเงื่อนไขต่างๆ ที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะนำมาใช้จนไม่เปิดโอกาสให้ฟื้นฟูอิทธิพลได้อีก การปฏิรูปการปกครองมาสู่ระบบเทศาภิบาลจึงประสบความสำเร็จในบั้นปลายนั่นเองครับ
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)สพ.บ. สพ.บ.421/11ขหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 58 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
จารึกอักษรฝักขาม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ในโอกาสเดือนมหามงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สิริพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา ทางเพจคลังกลางฯ ขอเสนอจารึกทรงใบเสมาในห้องคลังหิน ไม่มีประวัติระบุแน่ชัด โดยเนื้อหาเป็นการกล่าวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์นั้น ด้วยอักษรฝักขาม ความว่า
“สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ชาติแลประชาชนไทย ด้วยทรงไปบำเพ็ญพระราชกรณียกิจคราเสด็จฯ ตามติดเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้านวมินทร ได้ทรงยลยินทุกข์สุขปวงประชา จึงทรงพระเมตตาดับทุกข์ ช่วยปลดชีวิตให้สดใสตามนัยวิวิธประสงค์จำนงฉะนี้
ทรงช่วยให้ราษฎรมีอาชีพเสริมเพิ่มเติมรายได้ไม่ขาด ชาวนาชาวไร่สามารถทางหัตถกิจ สิ่งประดิษฐ์ในครัวเรือน
ทรงช่วยคนยากไร้ไข้เจ็บเหมือนพี่น้องปกป้องรักษาพยาบาลจนอาการโรคหายไม่วายอาทร
ทรงช่วยแนะนำพร่ำสอนให้บิดามารดาที่ลูกมาก ยากเข้ารับการศึกษามีวิชาความรู้ พระราชทานทุนแก่ผู้ใฝ่ดี
เพียงสามข้ออ้างนี้เหลือหลาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ มุ่งหมายช่วยไทยตลอดกาลนาน ไซร้พิสูจน์ชาวไร่ชาวนาพูดทั่วหล้า อบอุ่นพระคุณปกฟ้า ราษฎรซร้อง สุขเกษม ฯ”
อนึ่ง อักษรฝักขามถือเป็นอักษรที่ใช้กันในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยดัดแปลงไปจากอักษรสุโขทัย และถูกลดบทบาทลงภายหลังอักษรสยามขึ้นไปมีอิทธิพลในช่วงรัชกาลที่ ๕ ทำให้อักษรฝักขามไม่เป็นที่นิยมใช้
แต่อย่างไรก็ดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ยังมีการใช้อักษรฝักขามในงานจารึกอยู่บ้าง เช่น จารึกบนฆ้องที่วัดพระธาตุหริภุญไชย จังหวัดลำพูน (พ.ศ. ๒๔๐๓) และจารึกวัดเชตุพน จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๔๕๙) ดังนั้น จารึกหลักนี้จึงเป็นการนำรูปแบบอักษรฝักขามกลับมาใช้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๖
นอกจากนี้ ยังมีความน่าสนใจในส่วนของศักราชที่ระบุอยู่บริเวณส่วนบนของจารึกที่จารข้อความว่า “๑๙๐๑ ศก” ซึ่งหากตีความว่าตัวเลขดังกล่าวหมายถึงปีมหาศักราช เมื่อแปลงเป็นพุทธศักราชแล้วจะตรงกับปีพ.ศ. ๒๕๒๒ แตกต่างไปจากขนบจารึกอักษรฝักขามที่นิยมระบุศักราชด้วยปีจุลศักราช
ภาพที่ ๑ จารึกอักษรฝักขามในห้องคลังหิน คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภาพที่ ๒ จารึกระบุปีศักราช ๑๙๐๑ ภาพที่ ๓ เนื้อหาในจารึก เน้นข้อความคำว่า “เหมือน” แสดงลักษณะการจาร “หม” ติดกันตามขนบอักษรฝักขาม
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / ภาพ-เทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร