ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร. ความรู้เกี่ยวกับเพลงไทย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร โปรดให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายศุข ดุริยประณีต นายสืบสุด (ไก่) ดุริยประณีต ณ เมรุวัดสังเวชวิศยาราม วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗. พระนคร : โรงพิมพ์ศรีการช่าง, ๒๕๐๗.
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
มาตรการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ COVID-19 สำหรับการเปิดให้บริการแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ประเภทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภายหลังมาตรการผ่อนปรนของรัฐบาล
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลีหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนา—เทศนาลักษณะวัสดุ กว้าง 5.5 ซม. ยาว 57 ซม.; 28 หน้า บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา บทสวดมนต์ ธรรมจักรประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.11/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 7 (74-82) ผูก 7หัวเรื่อง : จูฬวคฺคปาลิ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
จารึกกลุ่มอักษรมอญโบราณ
สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว พบในพื้นที่จังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่เดิมของแคว้นหริภุญไชย มีทั้งจารึกด้วยภาษามอญโบราณ ภาษาบาลี และจารึกด้วยภาษามอญกับภาษาบาลีร่วมกัน
จารึกของอาณาจักรหริภุญไชย กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก “มรเจดีย์” (Mayazedi) ของพระเจ้าจันสิตถา (Kyanzittha) กษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (พม่า) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๖๒๘ และ ๑๖๓๐ อันได้รับอิทธิพลด้านตัวอักษรไปจากมอญ แต่ครั้งเมื่อพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) ได้ทรงยกทัพไปตีเมืองสะเทิม (ถะทนหรือสุธรรมวดี) ซึ่งเป็นราชธานีของหัวเมืองมอญฝ่ายใต้สำเร็จ มีการกวาดต้อนผู้คน ช่างฝีมือ ตลอดจนภิกษุสงฆ์และคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ในเมืองสะเทิมไปสู่พุกามทำให้วัฒนธรรมมอญแพร่หลายในพุกาม รวมไปถึงการใช้ตัวอักษรด้วย
จากหลักฐานตำนาน “จามเทวีวงศ์” ซึ่งเป็นพงศาวดารของเมืองลำพูน ระบุไว้ว่าในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เมืองหริภุญไชยได้เกิดเหตุการณ์โรคระบาดที่มีคนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงได้อพยพผู้คนจากเมืองหริภุญไชยไปพำนักที่เมืองสะเทิมเป็นเวลา ๖ ปี สันนิษฐานได้ว่าคนมอญหริภุญไชยจะถูกกวาดต้อนจากเมืองสะเทิมไปยังพุกามในคราวนี้ ทำให้อักษรมอญแบบหริภุญไชย มีความคล้ายคลึงกับอักษรมอญโบราณที่ปรากฏบนศิลาจารึก “มรเจดีย์” (Mayazedi) นั้นเอง
ศาสตราจารย์ เรอชินาล์ด เลอเมย์ (Reginald Le May) อดีตรองกงสุลอังกฤษประจําเชียงใหม่ระหว่างปี ค.ศ.๑๘๘๕-๑๙๗๒ กล่าวว่า พม่ารับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือไปจากมอญ เมื่อราว พ.ศ. ๑๖๐๖ ตรงกับช่วงสมัยที่อาณาจักรพุกามถูกปกครองโดยพระเจ้าอนิรุทธ (อโนรธามังฉ่อ) ระหว่าง พ.ศ.๑๕๘๗ – ๑๖๒๐ นั้นเอง
หลักฐานข้อมูลจากศิลาจารึกแสดงให้เห็นว่า กลุ่มชนที่สร้างจารึกเหล่านี้นับถือพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาบาลีเป็นหลักมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นกลุ่มชนที่มีอิสรภาพหรือเป็นเอกราช ด้วยเนื้อหาในจารึกบ่งบอกถึงพฤติการณ์ของกษัตริย์ที่ทรงดำเนินแบบอย่างทางพระพุทธศาสนาและเป็นชุมชนที่ใช้ภาษามอญเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร หลังจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานอักษรมอญโบราณในศิลาจารึกช่วงระยะต่อมาอีกเลย สันนิษฐานว่ากลุ่มชนที่ใช้อักษรมอญและภาษามอญในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ นี้ได้สูญหายไป และมีกลุ่มชนที่ใช้อักษรไทยและภาษาไทยแบบต่างๆ เกิดขึ้นมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือ พ.ศ.๑๙๑๓ จากหลักฐานศิลาจารึกวัดพระยืนปรากฏขึ้นแทน
ชื่อผู้แต่ง สุนทรโวหาร(ภู่)
ชื่อเรื่อง นิราศเมืองเพชร
ครั้งที่พิมพ์
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม
ปีที่พิมพ์ 2504
จำนวน 22 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเล็ก จินดาสิริ
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเขียนประวัติสุนทรภู่พิมพ์แจกในงานทำบุญอายุครบ 60 ปี ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ ตั้งแต่สมัย ร.1 ถึง ร.4 ส่วนนิราศเมืองเพชร สุนทรภู่แต่งในสมัย ร.3 ขณะที่อยู่กับสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชวังเดิม ตอนนั้นรับสั่งให้สุนทรภู่ ไปหาสิ่งของที่เมืองเพชรบุรี สุนทรภู่จึงแต่งนิราศเมืองเพชรในช่วงเวลานั้น
นายสันต์ ท. โกมลบุตร แปลกรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่
พ.ศ.๒๕๒๖
ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากร,กรม
ชื่อเรื่อง : งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๘
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : อมรินทร์การพิมพ์
จำนวนหน้า : ๔๕๑ หน้า
หมายเหตุ : รัฐบาลในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯถวายสนอง
พระมหากรุณาธิคุณในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๗
หนังสือเรื่อง “งานพระเมรุมาศสมัยกรุงรัตนโกสินทร์” ได้ค้นคว้ารวบรวมจากเอกสารอันเกี่ยวกับงานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งกรุงรัตนโกสิทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ เช่น จากจดหมายเหตุเก่า จากหมายกำหนดการงานพระบรมศพในแต่ละรัชสมัย เดิมผู้ค้นคว้ารวบรวมให้ชื่อเรื่องว่า “จดหมายเหตุงานพระบรมศพ” เคยนำออกพิมพ์เผยแพร่แล้วในหนังสือวารสารศิลปากร ของกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๔๙๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๗ จัดว่าเป็นเรื่องที่ประมวลพิธีการต่างๆ ในงานพระบรมศพไว้ค่อนข้างจะสมบูรณ์ เป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้ที่สนใจศึกษาทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และขนบธรรมเนียมราชประเพณีเป็นอย่างมาก ทั้งจะเป็นประดุจตำราคู่มือสำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการรักษาและปฏิบัติการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามราชประเพณี และพระราชนิยม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาลได้มีพระบรม
ราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งไว้ ในการพระบรมศพครั้งนี้ หาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติที่รอบรู้ขนบประเพณีได้น้อย และในจำนวนน้อยนี้เองก็แก่เฒ่ามากแล้วด้วย จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะป้อนความรู้ให้แก่ผู้ปฏิบัติรุ่นหลังไว้บ้าง
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ชื่อเรื่อง : พระบรมราโชวาท และโคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระผจงธนสาร (สิงยุวชิต) ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2505สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์ จำนวนหน้า : 92 หน้า สาระสังเขป : พระราชนิพนธ์ที่พิมพ์ในเล่มนี้ มี 2 เรื่อง คือ พระบรมราโชวาท พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 องค์ และพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต นับว่าเป็นคำสั่งสอนทั้ง 2 เรื่อง จะต่างกันก็เพียงแต่พระบรมราโชวาทนั้นเป็นคำสอนสำหรับผู้อยู่ในวัยเล่าเรียนศึกษา ส่วนโคลงสุภาษิตเป็นคำสอนสำหรับบุคคลทุกวัย และพระบรมราโชวาทเป็นคำร้อยแก้ว ส่วนโคลงสุภาษิตเป็นคำร้อยกรอง แต่ก็ไพเราะและเป็นคติจับใจผู้อ่านผู้ฟังทั้ง 2 เรื่อง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงขวนขวายให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนพลเมือง ตลอดมา ดังจะเห็นได้จากที่ได้โปรดให้จัดดตั้งโรงเรียนขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งในเวลานั้นยังเรียกว่า “โรงสอน” แล้วโปรดให้ประกาศชักชวนข้าราชการส่งลูกหลานเข้าเรียน เมื่อพ.ศ.2417