ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

แผ่นไม้แกะสลักเล่าเรื่อง ทศชาติชาดกพระครูสิริปุญญากร (คำปัน อนาลโย ป.ธ.๔)                                                                                                 อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘แผ่นไม้ทศชาติชาดกที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ได้รับมอบมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นแผ่นภาพที่อยู่ในสภาพชำรุด พบว่าเป็นแผ่นไม้แกะสลักปิดทอง มีตัวละครสำคัญที่ปรากฏในทศชาติชาดก ซึ่ง ทศชาติชาดกนี้ คือ ๑๐ พระชาติ สำคัญของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระชาติสุดท้ายคือพระเวสสันดรชาดกเป็นพระชาติสุดท้ายที่มีความนิยมแพร่หลายผ่านงานวรรณกรรม จิตรกรรมฝาผนังและบนผืนผ้าที่เรียกว่าพระบฏ หรือตุงค่าวธรรมในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ สุวรรณสามชาดก เป็นชาดกในพระชาติที่ ๓ ของพระพุทธเจ้าที่ประสูติเป็นพระสุวรรณสามซึ่งคอยปรนนิบัติดูแลบิดามารดาตาบอดจากการถูกพิษงู ในระหว่างที่ออกบวชในป่า ขณะที่พระสุวรรณสามออกไปหา พระเจ้ากบิลยักขราช กษัตริย์เมืองพาราณสี เสด็จออกล่าสัตว์ยิงศรอาบยาพิษต้องพระสุวรรณสามบาดเจ็บสาหัส เมื่อสอบถามเรื่องราวจึงทราบเรื่องราวของพระสุวรรณสามทั้งหมดและนำไปพบบิดามารดา บิดามารดาจึงอธิษฐานขอให้พระสุวรรณสามหายจากการต้องศรนี้ เมื่อพระสุวรรณสามฟื้นขึ้นมาจึงได้เทศนาโปรดแก่พพระเจ้ากบิลยักขราชและกลับไปกครองบ้านเมืองอย่างสงบสุข ภาพแกะสลักไม้เป็นภาพของพระสุวรรณสามขณะทูนหม้อน้ำนำไปให้บิดามารดาพร้อมกับฝูงกวางในป่านั้นเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นภาพแกะสลักรูปพระเจ้ากบิลยักขราชขณะกำลังแผลศร ซึ่งเป็นฉากที่พบได้ทั่วไปในงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีการวาดภาพทศชาติชาดก อ้างอิง                ชาญคณิต อาวรณ์. จิตรกรรมล้านนา : พุทธประวัติ ทศชาติ ชาดกนอกนิบาต. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๓.นิดดา หงส์วิวัฒน์. ทศชาติชาดกกับจิตรกรรมฝาผนัง : มโหสถชาดก เตมิยชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก. กรุงเทพฯ : แสงแดดเพื่อนเด็ก, ๒๕๔๘.



เครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรมตอน ขันแก้วทั้งสาม ขัน ในภาษาล้านนา หมายถึง พาน ในภาษาภาคกลาง ขันเป็นภาชนะที่ใช้บรรจุสิ่งของในแง่ของความเชื่อ ความศักดิ์สิทธิ์ และถูกใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ขันแบ่งออกเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการใช้งานและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน ขันแก้วทั้งสาม (ขันแก้วตังสาม) หรือ ขันแก้ว คือ พานใส่ดอกไม้ของชาวล้านนาเพื่อบูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีใช้ทั่วไปในภาคเหนือ ลักษณะคือ เป็นกระบะทรงสามเหลี่ยม ที่มีขาตั้งสามขา ปากพานเป็นรูปสามเหลี่ยม บ้างเป็นทรงกลม นิยมทาด้วยรักและสีชาด ปิดทองและเขียนด้วยลายรดน้ำให้สวยงาม ลักษณะทรงสูง มักสูงจากพื้นประมาณ ๓๐ นิ้ว  การทำขันแก้วทั้งสามขึ้นนั้น ในสมัยโบราณชุมชนต้องการให้ชาวบ้านร่วมใจกันนำดอกไม้และธูปเทียนมาถวายรวมกันในที่เดียวกันเพื่อความสามัคคีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยวิธีการใส่ดอกไม้ต้องให้รู้ความหมายและลำดับวิธีใส่จึงจะเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ขั้นตอนแรก เตรียมธูปสามดอกใส่ลงมุมที่สมมติว่าถวายบูชาแก่พระพุทธเจ้าก่อนจะวางธูปลงไปให้กล่าวว่า พุทธคุณัง ปูเชมิ. แปลว่า ข้าพเจ้าขอบูชาคุณของพระพุทธเจ้า จากนั้นวางเทียนสองเล่มที่อีกมุมหนึ่ง แทนการบูชาพระธรรมกับพระวินัย และกล่าวว่า ธัมมคุณัง ปูเชมิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม จากนั้น วางดอกไม้ในมุมสุดท้ายเพื่อถวายบูชาคุณพระสงฆ์ และกล่าวว่า สังฆคุณัง ปูเชมิ. แปลว่า ข้าพเจ้าขอบูชาคุณพระสงฆ์ ขันแก้วทั้งสามที่ใช้ประเคนเมื่อถึงเวลาไหว้พระรับศีลหรือสวดมนต์ถวายไทยทานนั้น ผู้รับหน้าที่ของทายิกาคนใดคนหนึ่งจะยกขันแก้วทั้งสามไปไว้หน้าพระพุทธรูปประธาน โดยการประเคนคือ ยกขันแก้วไปบริเวณฐานชุกชีหรือแท่นแก้ว แล้ววางไว้บริเวณนั้น กราบ ๓ หน จึงเสร็จพิธีผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ชุดพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการามอ้างอิง :๑. ยุทธภูมิ นามวงศ์. ๒๕๖๒ ต.ค. ๒๘. นักข่าวพลเมือง (คนเหนือ), พบกันเช้าวันใหม่ จันทร์ ๒๘ ต.ค. ๒๕๖๒ – ขันแก้วตังสามของชาวพุทธล้านนา. [ไฟล์วิดิโอบนสื่อออนไลน์]. https://www.youtube.com/watch?v=QMAqUDMCBjQ&ab_channel=ยุทธภูมินามวงศ์.๒. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๖๑. “เครื่องใช้ในพิธีกรรม...ของคนล้านนา.” เชียงใหม่นิวส์ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/664587/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔.๓. พระครูมหาสิงค์. ๒๕๕๕. เก่าดี. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.




ชื่อเรื่อง                                    มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(สุวรรณสาม)สพ.บ.                                       420/1หมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                    พระพุทธศาสนา                                               ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                               46 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 59 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



          นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” The Endless Epic of Japanese -Thai Ceramic Relationship in the World’s Trade and Culture โดยมีนายกิตติพันธ์ พานสุวรรณอธิบดีกรมศิลปากร และ Dr. Ayako Yamamoto, Curator of the Kyushu Ceramic Museum ร่วมแถลงข่าว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร            รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ประเทศไทย โดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา     ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงอนุรักษ์ ฟื้นฟู และส่งเสริมงานหัตถกรรมไทยจากวิถีพาณิชยวัฒนธรรมพื้นบ้านสู่ระดับประเทศและสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซรามิกหรือเครื่องปั้นดินเผา และฉลองวาระครบรอบ ๑๓๕ ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น โดยนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบเซรามิกจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น และเครื่องปั้นดินเผาของไทยจากหลากหลายแหล่ง มาจัดแสดงร่วมกัน ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เพื่อให้ชาวไทยได้รับความรู้ ความเข้าใจด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะของญี่ปุ่นโดยเฉพาะช่วงสมัยเอโดะ และสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นและไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น            อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวถึงรายละเอียดของการจัดนิทรรศการพิเศษในครั้งนี้ว่า กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น ในการแลกเปลี่ยนกิจกรรมทางวัฒนธรรม และได้มีการเตรียมการจัดทำนิทรรศการร่วมกันกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดซากะ และพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๖๑ ปัจจุบันสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดซากะ และพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู  ได้อนุญาตให้กรมศิลปากรนำโบราณวัตถุเครื่องเคลือบดินเผา (porcelain) สำคัญจากจุดกำเนิดที่เมืองอาริตะ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๘๒ รายการ ๙๗ ชิ้น มาจัดแสดงร่วมกับเครื่องปั้นดินเผาไทย จำนวน ๙๐ รายการ  จากแหล่งโบราณคดี-ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย และได้รับความร่วมมือนำโบราณวัตถุมาร่วมจัดแสดงจาก     วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้อำนวยการโรงเรียนถนอมบุตร และนายวราห์ โรจนวิภาต   ซึ่งรังสรรค์พัฒนาสืบมาในประวัติศาสตร์จวบจนปัจจุบัน แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น ๖ หัวเรื่อง คือ             ๑. น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง: เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕            ๒. วิวัฒนาการเซรามิกแห่งสองสายใย (ญี่ปุ่น-ไทย) ในโลกพาณิชยวัฒนธรรม            ๓. ภูมิปัญญาชาวแหลมทองและชาวอาทิตย์อุทัย ในดิน-น้ำ-ลม-ไฟ: “ปั้นดินทราย ฉาบไล้ด้วยน้ำ นำผึ่งลม โหมฟืนไฟในเตาเผา” บอกเล่าเรื่องราวภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของญี่ปุ่นและไทย           ๔. สูงสุดแห่งภูมิปัญญา: ภาพฉายาในพาณิชยวัฒนธรรมโลก สะท้อนเรื่องราวการค้า ศิลปะและวัฒนธรรมผ่านเครื่องปั้นดินเผาญี่ปุ่นและไทยที่ไปไกลยังต่างแดน           ๕. แรงบันดาลใจไม่หยุดยั้งคือพลังสร้างสรรค์ใหม่ โดยสืบทอดวัฒนธรรมและพัฒนากระบวนการผลิตสู่ความคิดใหม่           ๖. สำรับคาวหวาน อาหารญี่ปุ่น – ไทย ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสถึงวัฒนธรรมอาหารควบคู่กับภาชนะ ที่มีบทบาทสำคัญมาแต่อดีต           โบราณวัตถุเครื่องปั้นดินเผาอาริตะชิ้นสำคัญจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ที่นำมาจัดแสดง อาทิ เด็กชายจับปลาดุกด้วยน้ำเต้า ตกแต่งด้วยการเขียนสีบนเคลือบ พุทธศักราช ๒๒๑๓ – ๒๒๕๒ จานลายครามแบบคารากขนาดใหญ่เขียนลายนกฟินิกซ์และตราวีโอซี พุทธศักราช ๒๒๓๓ – ๒๒๖๒ ขวดทรงแปรงตีชาเขียนลายบนเคลือบ เป็นลายดอกโบตั๋น พุทธศักราช ๒๑๙๓ – ๒๒๐๓ สำหรับโบราณวัตถุของไทย   ที่นำมาจัดแสดง อาทิ ชุดชามเบญจรงค์ พุทธศตวรรษที่ ๒๔ กระปุกสังคโลกสองหู พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๑ จากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กุณฑีสังคโลก พุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ ได้จากการขุดค้นที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย           นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ให้ผู้เข้าชมนิทรรศการได้ร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. การบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ โรงละครแห่งชาติ (โรงเล็ก) วันที่ ๑๔ – ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕ กิจกรรมจากจังหวัดซากะ ได้แก่ เวิร์คช็อป (Workshop)           กิจกรรมลงสีเครื่องปั้นดินเผาอาริตะยากิ ทดลองลงสีบนจานอาริตะยากิ  ผู้ร่วมกิจกรรม ๒๐ ท่านต่อวัน ซึ่งจานที่ลงสีแล้วจะนําไปเผาอบให้สีอยู่ตัวก่อนจะมอบให้ผู้ร่วมกิจกรรมต่อไป กิจกรรมทําเครื่องประดับจากเศษกระเบื้องที่เกิดจากกระบวนการเผาเครื่องปั้นดินเผาอาริตะยากิ ผู้ร่วมกิจกรรม ๖๐ ท่านต่อวัน โดยสามารถเข้าร่วมในแต่ละกิจกรรมท่านละ ๑ ครั้งเท่านั้น และยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโบราณที่สืบทอดกันมาของญี่ปุ่น การจัดแสดงและจําหน่ายของดีจังหวัดซากะอีกด้วย            กิจกรรมเวิร์คช็อป (Workshop) จากสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้แก่ การขึ้นรูปชิ้นงานจาน ๓  ครั้งๆ ละ ๔ รอบ ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๕ วันที่ ๙ และ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ และการเขียนสีใต้เคลือบ ๓ ครั้งๆ ละ ๔ รอบ ในวันที่ ๖ และ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ และ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ ผู้ร่วมกิจกรรมรอบละ ๓๐ ท่าน           นิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” เปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน ถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร finearts.go.th  


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๕ เรื่อง “ชวนอ่านเรื่องเมืองถลาง” หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองถลางในช่วงกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๕ เป็นต้นไป          นิทรรศการนี้จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับการค้าของเมืองถลาง และสำเนาจดหมายการติดต่อกันระหว่างเจ้าเมืองและขุนนางเมืองถลางและเมืองใกล้เคียง กับพระยาราชกปิตันผู้สำเร็จราชการเกาะปีนัง หรือกัปตันฟรานซิสไล้ท์ กัปตันเรือสังกัดบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการค้าในพื้นที่ทะเลอันดามัน และเป็นผู้บุกเบิกการตั้งอาณานิคมบนเกาะปีนัง ในช่วงกรุงธนบุรีถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จดหมายได้รับการรวบรวมโดยนายวิลเลียม มาร์สเดน (William Marsden) ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออก และได้ถูกส่งให้วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา (SOAS) มหาวิทยาลัยลอนดอน ใน ค.ศ.๑๙๑๖           ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ชวนอ่านเรื่องเมืองถลาง” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต เปิดทุกวันพุธ - อาทิตย์ ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๗๖๓๗ ๙๘๙๕


ชื่อเรื่อง                               สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  อย.บ.4/6ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก             บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร.สถิตกลางใจประชาราษฎร์ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์.พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ณ จังหวัดน่าน เป็นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๑.เสด็จฯ ไปยังศาลากลางจังหวัดน่าน (ปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) แล้วเสด็จฯ ขึ้นที่ประทับบนศาลากลางจังหวัดน่าน เสวยพระกระยาหารกลางวัน บริเวณท้องพระโรง .จากภาพด้านหลังโต๊ะเสวยจะเห็นแท่นแก้วหรือสัตภัณฑ์ ด้านหน้ามีงาช้างดำ ของคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน ปัจจุบันจัดแสดง ณ อาคารหอคำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน บริเวณท้องพระโรง


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           49/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              80 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺต (ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสูตร) ชบ.บ 114/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 159/3 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันศิลปินแห่งชาติ 24 กุมภาพันธ์” วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านดนตรี และประติมากรรม และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ จึงถือเอาวันพระราชสมภพ (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310) เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ" เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ ผู้มีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขาทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม (ปัจจุบันบานประตูนี้ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์) ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน นายชวน หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งในเวลานั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันหน่วยงานนี้คือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) จัดตั้ง "โครงการศิลปินแห่งชาติ" ใน พ.ศ. 2527 ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ได้จัดทำโครงการศิลปินแห่งชาติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เพื่อสรรหา ส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์ ผลงาน ศิลปะล้ำค่า อันทรงคุณค่าของแผ่นดิน ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณา ความสำคัญของศิลปินแห่งชาติ ที่นับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ. 2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบัน มีศิลปินสาขาต่าง ๆ มาแล้วหลายคน ศิลปินแห่งชาติ สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในอดีต ให้มีความรุ่งโรจน์สืบไปยังอนาคตข้างหน้า เป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติให้เชื่อมโยงจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มโครงการ ศิลปินแห่งชาติ มาเมื่อปี พ.ศ.2527 และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบัน ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


Messenger