ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดลำปาง ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2544 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง : หมายรับสั่งและใบบอก ในรัชกาลที่ 5 ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประจักษ์วิทยา จำนวนหน้า : 102 หน้า สาระสังเขป : หมายรับสั่งและใบบอก ในรัชกาลที่ 5 เล่มนี้ ประกอบด้วยหมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายใน และหนังสือรายงานเหตุการณ์ทางราชการ ตัวอย่างเช่น หมายรับสั่ง เรื่อง การพระราชพิธีคเชนทรสนาน หมายรับสั่ง เรื่อง พระราชทานเพลิงศพหลวงราชมานู หมายรับสั่งเรื่อง เสด็จทรงลอยพระประทีป หมายรับสั่ง เรื่อง กำหนดพระราชทานและเปลี่ยนที่รับเบี้ยหวัด เป็นต้น เอกสารเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นเอกสารประกอบการศึกษาประวัติศาสตร์ได้


ชื่อผู้แต่ง        พระมหาเขียว ธมฺมทินฺโน ชื่อเรื่อง         แนะวิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเดิม    ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   พระนคร สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์วัฒนาพานิช ปีที่พิมพ์        2501 จำนวนหน้า    112 หน้า หมายเหตุ       แนะวิธีบรรพชาอุปสมบทแบบเดิมทั้งพระสงฆ์มหานิกายและธรรมยุตเล่มนี้เขียนจากพระสงฆ์ที่มีประสบการณ์โดยตรงและอ้างอิงจากตำราต่างๆหลายเล่มเพื่อใช้เป็นคู่มือในการบรรพชาอุปสมบทตั้งแต่สมัยก่อนเนื้หาประกอบด้วย วิธีนับอายุ คนที่ควรบวช อธิบายตามวินัยมุข บุคคลต้องห้าม ๘ จำพวก สมบัติ ๔ การผิดพลาดทำให้เสียกรรม ๔ สถาน การบรรพชาแบบมหานิกาย การอุปสมบทแบบมหานิกาย พิธีอุปสมบทแบบธรรมยุทธนิกาย พิธีลาสิกขา แบบตั้งฉายาตามอักษรประจำวัน


บรรณานุกรม  หนังสือหายาก ชื่อหนังสือ  ความหมายของคำ




จารึกนายศรีโยธาออกบวช   หินชนวน พุทธศักราช ๒๐๗๑ เจดีย์วัดโบสถ์ (วัดร้าง) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย   ศิลาจารึกนายศรีโยธาออกบวช เป็นแผ่นหินชนวน ลักษณะรูปใบเสมา จารึกอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี และภาษาไทย จารึกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๐๗๑ ศิลาจารึกหลักนี้พบที่วัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย   ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ นายจิตร พ่วงแผน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย   ข้อความที่จารึกกล่าวถึง นายศรีโยธาถูกแมงคาเข้าหู แล้วป่วยจนไม่สามารถรับราชการต่อไปได้ จึงได้อำลาพระญาศรีไสยรณรงค์สงครามออกจากราชการ แล้วออกบวชเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๘๖๘ และได้กล่าวถึงมหาสัทธาปุญโญขอทีดินจากพระญาศรีไสยรณรงค์สงคราม เพื่อสร้างอารามในตำบลพระศรีมหาโพธิ์ ต้นศรีมหาโพธิ์ดังกล่าวนี้ พระมหาสวามีอนุราชได้อัญเชิญมาแต่ลังทวีป ซึ่งปลูกไว้ในระหว่างกลางบ้านอ้ายรอกและบ้านมตเพ็ง นอกจากนี้แล้วยังได้กล่าวถึงการบำเพ็ญกุศลอื่นๆ อีก   ที่มาของข้อมูล : https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/228   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓


          เมืองโบราณฟ้าแดดสงยางเริ่มต้นการอนุรักษ์มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๑ และได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งในด้านการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ การขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี รวมถึงการบูรณะและปรับสภาพภูมิทัศน์           ๒๔๘๑ พระพาหิรัชต์พิบูล ข้าราชการสรรพากรจังหวัดนครราชสีมา ได้เข้าไปสำรวจและถ่ายภาพใบเสมา รวมทั้งพระพุทธรูปและโบราณสถาน ส่งให้นายฟรานซิส เฮนรีไกส์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นอธิบดีกรมสรรพากร และเป็นกรรมการบริหารของสยามสมาคม พระพาหิรัชต์พิบูลได้บันทึกเรื่องตำนานเมือง และร่างแผนผังของเมืองโดยสังเขป พร้อมกับรายงานว่ามีใบเสมาปักเป็นแถวและเป็นวงกลม รวมทั้งใบเสมา ที่ชาวบ้านช่วยกันนำมารวมไว้ที่เมืองโบราณระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙ ประมาณ ๒,๐๐๐ แผ่น           พุทธศักราช ๒๔๙๗ นายอิริค ไชเดนฟาเดน ซึ่งเคยรับราชการเป็นพันตรีแห่งกองทัพไทย เขียนบทความเกี่ยวกับเมืองโบราณแห่งนี้ลงพิมพ์ในวารสารวิชาทางการเมือง เรียกชื่อเมืองนี้ว่าเมืองกนกนคร และได้กล่าวถึงแผนผังของเมืองและรูปสลักใบเสมา ตลอดจนได้กล่าวว่าเมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองสมัยทวารวดี           พุทธศักราช ๒๔๙๙ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิส ดิศกุล นำเสนอการศึกษาใบเสมาที่เมือง ฟ้าแดดสงยางในวารสารทางวิชาการว่า สามารถแบ่งกลุ่มใบเสมาตามลักษณะของการสลักภาพเล่าเรื่องออกเป็น ๓ กลุ่ม และได้กำหนดอายุของใบเสมาที่เมืองฟ้าแดดสงยางว่า มีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕           พุทธศักราช ๒๕๐๖ กรมศิลปากร โดย นายมานิต วัลลิโภดม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์เอก และนายจำรัส เกียรติก้อง ช่างศิลปกรรมเอก หัวหน้าแผนกสำรวจและคณะ ได้ทำการสำรวจทำแผนผัง และบันทึกภาพ           พุทธศักราช ๒๕๐๙ ศาสตราจารย์บวรเซอนิเยร์ แห่งมหาวิทยาลัยเซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางมาสำรวจเมืองฟ้าแดดสงยางและให้ความเห็นว่า เมืองฟ้าแดดสงยางยังมีโบราณสถานที่สมบูรณ์ อยู่อีกจำนวนมากควรที่จะทำการสำรวจขุดแต่ง เพื่อศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีต่อไปก่อนที่จะถูกทำลายเสียหายไปจนหมดสิ้น และในปีเดียวกัน อธิบดีกรมศิลปากรกับคณะได้เดินทางไปสำรวจโบราณสถานเมืองฟ้าแดดสงยาง และมีบัญชาให้หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ทำการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถานภายในเมืองฟ้าแดดสงยาง           พุทธศักราช ๒๕๑๐ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น โดยนายหวัน แจ่มวิมล พร้อมด้วยคณะ ได้ทำการ ขุดแต่งโบราณสถานภายในเมืองฟ้าแดดสงยาง จำนวน ๙ แห่ง           พุทธศักราช ๒๕๑๑ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ทำการขุดแต่งต่อจากปี ๒๕๑๐ จำนวน ๕ แห่ง รวมที่ทำการขุดแต่งทั้งหมดเป็น ๑๔ แห่ง นำไปสู่ข้อสรุปว่า เมืองฟ้าแดดสงยาง เคยเป็นชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ และอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๓ โดยการสร้างเจดีย์แบบอยุธยาซ้อนทับเจดีย์แบบทวารวดีหลายแห่ง ที่เห็นได้ชัดคือ พระธาตุยาคู ซึ่งฐานล่างสุดเป็นฐานแบบทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานแบบอยุธยา และบนสุดเป็นเจดีย์ทรงเรียวสูงแบบรัตนโกสินทร์           พุทธศักราช ๒๕๒๒ กรมชลประทานได้ขุดรื้อดินดำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ เพื่อนำดินไปถมคัดคลองน้ำชลประทาน มีความยาวประมาณ ๔๐ เมตร แล้วสร้างคลองส่งน้ำจากเขื่อนลำปาวตัดผ่าน ทำให้ คูเมืองกำแพงเมืองขาดหายไปส่วนหนึ่ง           พุทธศักราช ๒๕๒๖ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ได้รับงบประมาณดำเนินการบูรณะเสริม ความมั่นคงพระธาตุยาคูในส่วนที่เป็นฐานแปดเหลี่ยมและตัวองค์พระธาตุจนแล้วเสร็จ           พุทธศักราช ๒๕๓๓ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ได้รับงบประมาณจากโครงการฟื้นฟูและบูรณะโบราณสถานเพื่อพัฒนาในเขตพื้นที่อีสานเขียว ได้ทำการขุดลอกคูเมืองฟ้าแดดสงยางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่ชาวบ้านเรียกว่า หนองบัวยาว มีขนาดความกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๔๘๐ เมตร พร้อมทั้งถมดินเสริมกำแพงเมืองชั้นนอกและชั้นในโดยมีความกว้าง ๖ เมตร สูง ๒ เมตร           พุทธศักราช ๒๕๓๔ หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น ได้รับงบประมาณจัดสรรโครงการอีสานเขียว ดำเนินการขุดลอกคูเมืองเป็นระยะทาง ๒,๗๕๐ เมตร มีความกว้าง ๓๐ เมตร และปรับปรุงกำแพงเมืองชั้นใน กว้าง ๖ เมตร สูง ๒ เมตร ยาวตลอดรอบกำแพงเมือง พร้อมทั้งปลูกหญ้าพื้นเมืองและต้นไม้ตามแนวกำแพงเมือง รวมทั้งได้นำเนินงานด้านโบราณคดีโดยการขุดค้นและออกแบบเพื่อบูรณะโบราณสถานจำนวน ๑๐ แห่ง และได้บูรณะโบราณสถานหมายเลข ๓๐๒ ที่เรียกว่า โนนวัดสูง           ในปีเดียวกัน กรมศิลปากรได้ขอความร่วมมือคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การนำของศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข อินทราวุธ เพื่อทำการขุดค้นหาคำตอบเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณอื่น ๆ โดยเน้นไปยังจุดที่เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งทำการขุดค้น ๕ หลุม ขนาดหลุมละ ๔ x ๔ เมตร โดยหลุมที่ ๑, ๒ และ ๓ ขุดบริเวณโนนเมืองเก่า หลุมที่ ๔ ขุดบริเวณนอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า โนนฟ้าแดด หลุมที่ ๕ ขุดค้นบริเวณดอนงิ้วซึ่งอยู่ใกล้กับคูเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตก และยังทำการขุดหลุมทดสอบขนาด ๒ x ๒ เมตร อีกจำนวน ๔ หลุม ภายในเมืองฟ้าแดดสงยาง           พุทธศักราช ๒๕๓๗ ได้รับงบประมาณปรับปรุงกำแพงเมืองชั้นนอก อันเนื่องมาจากได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยทำการถมบดอัดดินลูกรังหน้า ๐.๐๓ เมตร กว้าง ๖ เมตร มีความยาวทั้งสิ้น ๒,๑๐๐ เมตร           พุทธศักราช ๒๕๓๙ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี ได้รับงบประมาณเพื่อพัฒนาปรับปรุงกำแพงเมืองชั้นในต่อจากปี ๒๕๓๗ ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัยเช่นเดียวกัน โดยทำการบดถมอัดดินลูกรังหนา ๐.๐๓ เมตร กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒,๖๐๐ เมตร //ในปีเดียวกันได้รับงบประมาณดำเนินการขุดแต่งบูรณะเสริมความมั่นคงโบราณสถานพระธาตุยาคู (หมายเลข ๑๐๑) และเจดีย์บริวาร (หมายเลข ๑๐๒, ๑๐๓ และ ๑๐๔) รวมทั้งได้ดำเนินการขุดแต่งบูรณะเสริมความมั่นคงโบราณสถานโนนฟ้าแดด (หมายเลข ๗) โบราณสถานกลุ่มโนนศาลา (หมายเลข ๘๐๑ และ ๘๐๒)           พุทธศักราช ๒๕๔๑ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี ได้รับงบประมาณบูรณะเสริมความมั่นคงโบราณสถานหมายเลข ๔, ๙ และ ๘๐๓           พุทธศักราช ๒๕๕๔ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด ร่วมกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการศึกษาเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง และจัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง           ปัจจุบันชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามาใช้ประโยชน์เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ในรูปแบบแหล่งท่องเที่ยว ทางวัฒนธรรมส่งผลให้เป็นที่รู้จักของสาธารณชนมากยิ่งขึ้น แนวทางการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นและการอนุรักษ์โบราณสถานให้คงคุณค่าอย่างสมดุล ยังคงต้องถอดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันต่อไป ------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ------------------------------------------------------อ้างอิงจากจังหวัดกาฬสินธุ์. แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔. ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. รายงานการขุดค้นเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๓๔. (เอกสารอัดสำเนา) หวัน แจ่มวิมล. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. กรมศิลปากร : หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น, ๒๕๑๑. (เอกสารอัดสำเนา)


เลขทะเบียน : นพ.บ.68/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4.5 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.100/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  68 หน้า ; 5.4 x 48 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 9 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.130/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


การแสดงพระหัตถ์ของเทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร เทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรหล่อด้วยสำริด ทรงยืน หันฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองข้างออกด้านนอก เหยียดนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วก้อยออก งอนิ้วกลางและนิ้วนาง มีชื่อเรียกว่า “กฏกมุทรา” หรือ “สิงหะกรรณะ” ซึ่งการแสดงพระหัตถ์ในลักษณะเช่นนี้เพื่อให้ผู้บูชาสามารถเสียบดอกไม้สดลงไปในช่องพระหัตถ์ได้ และยังเป็นท่าพระหัตถ์สำหรับการถือสิ่งของอีกด้วย  ข้อมูลจาก  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


           พระพุทธรูปสำคัญองค์แรกประจำพระนครคีรีที่จะนำเสนอคือ “พระพุทธสุวรรณเขต” (จำลอง) เป็นพระพุทธรูปที่จัดสร้างขึ้นใหม่ ที่ฐานด้านหน้ามีจารึกข้อความ “พระพุทธสุวรรณเขต” ซึ่งทางจังหวัดเพชรบุรี ได้มอบให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ เป็นปีเดียวกับที่มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี โดยพระพุทธสุวรรณเขต (จำลอง) แต่เดิมประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาด้านข้างพระปรางค์แดง ปัจจุบันย้ายมาประดิษฐาน ณ หอพิมานเพชรมเหศวร์ ด้านหลังพระพุทธรูปศิลปะล้านนา (จำลอง) ณ หอพิมานเพชรมเหศวร์ (อาคารหลังกลาง) ซึ่งเป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงใช้บรรทมในวันธรรมสวนะ ซึ่งทรงถืออุโบสถศีลเช่นเดียวกับหอเสถียรธรรมปริตในพระบรมมหาราชวัง            สำหรับพระสุวรรณเขตองค์จริงนั้นปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ด้านหลังพระพุทธชินสีห์ ณ อุโบสถ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประวัติพระสุวรรณเขต แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีชื่อว่า “พระศรีสรรเพชญสัตตพันพาน” เป็นพระประธานประดิษฐาน ณ วัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว ตำนานปรัมปราเล่าสืบต่อกันว่า ในอดีตการแปรสภาพพระพุทธรูปโลหะให้กลายเป็นพระพุทธรูปทองคำ นั้นสามารถทำได้โดยการฝังแร่กายสิทธิ์ที่ชื่อ สุวรรณเขต หรือ สุวรรณขีด ลงไปในเม็ดพระศก (ผม) ขององค์พระพุทธรูป จะทำให้โลหะนั้นกลายเป็นทองคำทันที และเชื่อกันว่าน่าจะมีแร่สุวรรณเขตอยู่ในเม็ดพระศกของพระศรีสรรเพชรสัตตพันพาน และพระพุทธรูปองค์นี้ได้อยู่คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรีมาโดยตลอด            จนกระทั่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ประมาณพุทธศักราช ๒๓๖๗(ตรงกับรัชกาลที่ ๓) กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ได้ทรงอัญเชิญ โดยชะลอจากวัดสระตะพาน เมืองเพชรบุรี มาเป็นพระประธานในอุโบสถวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร (การเคลื่อนย้ายครั้งนั้นได้รื้อออกเป็นท่อนๆแล้วนำมาประกอบที่กรุงเทพฯ) และมีชื่อเรียกต่อมากันว่า “พระสุวรรณเขต” หรือ “หลวงพ่อโตวัดบวร” หรือที่เป็นรู้จักกันว่า “หลวงพ่อเพชร” อันเนื่องจากเคยเป็นพระพุทธรูปที่มาจากเมืองเพชรบุรี เมื่อพระพุทธรูปองค์นี้มาเป็นพระประธาน ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่มีความนิยมทำเม็ดพระศกพระพุทธรูปขนาดเล็ก ดังนั้นพระยาชำนิหัตถการช่างวังหน้าของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ จึงได้ทำพระศกพระสุวรรณเขตเสียใหม่ กล่าวคือจากเดิมที่มีพระศกขนาดใหญ่ (เช่นเดียวกับพระพุทธชินสีห์) กลายเป็นมีพระศกขนาดเล็กแทนตามความนิยมในช่วงเวลานั้น วิธีการทำพระศกคือการทำด้วยดินเผาและลงรักปิดทอง อย่างไรก็ตามยังคงเห็นเค้าลางของรูปแบบศิลปกรรมเดิมที่สะท้อนให้เห็นว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีความเก่าแก่ อาทิ ขอบไรพระศก และ พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม เป็นต้น            พระพุทธรูปสำคัญองค์ที่สองประจำพระนครคีรีที่จะนำเสนอคือ “พระไพรีพินาศ” (จำลอง) ประดิษฐาน ณ พระปรางค์แดง พระนครคีรี เมืองเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อม หน้าตักกว้าง ๓๓ ซม. และมีความสูงถึงปลายรัศมี ๕๓ ซม. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้มีพระวินิจฉัยในสาสน์สมเด็จว่า “พระไพรีพินาศเป็นพระพุทธรูปแบบมหายานปางประทับ นั่งประทานอภัย กล่าวคือ มีพระพุทธลักษณะเหมือนพระปางมารวิชัยหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุขี้น”            เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช มีเรื่องเล่าปรากฏในเอกสารต่าง ๆ ว่ามีผู้ไม่หวังดีกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา โดยเจตนาจะไม่ให้ได้รับราชสมบัติ ที่เห็นชัดก็คือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยใกล้จะเสด็จสวรรคตมีผู้ไปทูลอ้างรับสั่งให้ไปเฝ้า เมื่อเสด็จไปก็ถูกกักบริเวณให้อยู่ใน พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถึง ๗ วัน ผู้ที่ต้องสงสัยว่าเป็นคนวางแผน ก็คือ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งแสดงตนเป็นหัวเรือใหญ่ กีดกันไม่ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้ราชสมบัติ ท่านผู้นี้เคยแกล้ง พระธรรมยุติที่เข้าไปรับบาตรในวัง โดยแกล้งเอาข้าวต้มร้อน ๆ ใส่บาตร บาตรเหล็กถูกของร้อนก็ร้อน ไปด้วยพระทนความร้อนไม่ได้ก็ต้องโยนบาตรทิ้ง และกรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง จนถึงคิดจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเองถ้ารัชกาลที่ ๓ สวรรคต ทั้งยังเคยเจรจามั่นหมายไว้ว่า ถ้ามีวาสนาใหญ่โตจะมีสิทธิ์ขาดในแผ่นดินแล้ว ก็จะทำลายล้างสิ่งที่สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทำไว้จนหมดสิ้น            เผอิญมีผู้ทำฎีกากล่าวโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศด้วยข้อหาร้ายแรงหลายเรื่อง โปรดให้ชำระมีความผิดฉกรรจ์ จึงโปรดให้ลงพระราชอาญาแล้วให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๓๙๑ กล่าวกันว่าในเวลาใกล้เคียงกับที่กรมหลวงรักษ์รณเรศถูกสำเร็จโทษนั้นมีคนอัญเชิญพระพุทธรูปศิลาแบบมหายาน ปางนั่งประทานอภัย มาถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดถวายพระนามว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นนิมิตหมายว่าหมดศัตรูแล้ว ต่อมาเมื่อเสวยราชสมบัติได้ประมาณ ๒ ปี คือ พุทธศักราช ๒๓๙๖ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “ผ่องพ้นไพรี” เนื่องจากทรงหลุดพ้นจากการเบียดเบียนของศัตรูเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงนับถือกันว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อาจบันดาลให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปในที่สุด ซึ่งพระนามของพระพุทธรูปองค์สำคัญนี้ว่า “พระไพรีพินาศ” มีหลักฐานเป็นกระดาษซึ่งพบในพระไพรีพินาศเจดีย์ มีอักษรเขียนว่า “พระสถูปเจดียสิลาบัลลังองค์ จงมีนามว่า พระไพรีพินาศเจดียเทิญ” และอีกด้านเขียนว่า “เพราะตั้งแต่ทำแล้วมา คนไพรีก็วุ่นวายยับเยินไปโดยลำดับ” หลักฐานดังกล่าวได้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ ระหว่างการซ่อมแซม พระเจดีย์ ๙๖ ปี วัดบวรนิเวศวิหาร            พระพุทธรูปสำคัญองค์สุดท้ายประจำพระนครคีรีที่จะนำเสนอคือ “พระนิรันตราย” (จำลอง) ประดิษฐาน ณ วิหารวัดพระแก้วน้อย พระนครคีรี เมืองเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปนั่ง ปางสมาธิ หล่อด้วยทองคำ เบื้องหลังมีเรือนแก้วเป็นพุ่มพระมหาโพธิ มีอักษรขอมจำหลักลงในวงกลีบบัวเบื้องหน้า ๙ เบื้องหลัง ๙ ยอดเรือนแก้วมีรูปพระมหามงกุฎตั้งติดอยู่กับฐานชั้นล่างรองฐานพระซึ่งเป็นที่สำหรับรับน้ำสรงพระ มีท่อเป็นศีรษะโคแสดงเป็นที่หมายพระโคตรซึ่งเป็นโคตมะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริแบบสร้างขึ้น จากเหตุการณ์เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๙๙ กำนันอินและนายยังบุตรชาย ขุดพบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำเนื้อหก น้ำหนัก ๘ ตำลึง ที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรีห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณสามเส้น ในขณะที่กำลังขุดมันนกกันอยู่ โดยก่อนหน้านั้น ฝันว่าจับช้างเผือกได้ จึงให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พาเข้ามา ณ กรุงเทพฯ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในวันพระฤกษ์เฉลิมพระราชมณเฑียรสีตลาภิรมย์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานที่หอเสถียรธรรมปริตร ครั้นเมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ มีผู้ร้ายลักพระกริ่งองค์น้อยซึ่งตั้งอยู่กับพระทองคำองค์นี้ไป แต่พระทองคำองค์นี้ผู้ร้ายควรที่จะลักไปด้วย ก็เผอิญแคล้วคลาด เรื่องทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระนิรันตราย” แล้วทรงพระราชดำริแบบให้เจ้าพนักงานหล่อพระพุทธรูปปางสมาธิ ตามพุทธลักษณะ ครอบพระพุทธรูปองค์เดิมมาจนถึงทุกวันนี้---------------------------------------------------สามารถอ่านต่อเพิ่มเติมได้จาก พนมกร นวเสลา. พระพุทธรูปจำลองบนพระนครคีรี . ใน www.phranakhonkhiri.com หัวข้อ คลังความรู้---------------------------------------------------ข้อมูลจาก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี---------------------------------------------------อ้างอิง : กรมศิลปากร. พระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2545. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และ ขจร สุขพานิช. พระเกียรติประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2547. ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยา. ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ.กรมศิลปากร,2496. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสิทร์ รัชกาลที่ ๔. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2558.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.4/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประโยคสำคัญในธรรมบท คู่มือนักเรียนผู้จะสอบประโยค ป.ธ.3 ชื่อผู้แต่ง : สงัด ญาณพโล, พระมหา ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : ธนบุรี สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ประยูรวงศ์ จำนวนหน้า : 70 หน้า สาระสังเขป : พระมหาสงัด ญาณพโล ได้รวบรวมประโยคเก็งในการสอบบาลีประโยค 3 จากการสอบครั้งเก่าที่เคยออกมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2458 - 2509 ประกอบด้วย ประโยคบุรพาจารย์ 32 ประโยค [ของเก่า] ธัมมปทัฏฐกถา รวม 27 ประโยค ประโยคสนามหลวง ป.ธ.3 รวม 53 ปี และอนุประโยค 108 ประโยค


Messenger