ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,814 รายการ

ผู้แต่ง : พระราชสิทธาจารย์ ปีที่พิมพ์ : 2516 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : มงคลการพิมพ์      หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับภาษิตเมืองเหนือ ซึ่งภาษิตเมืองเหนือเป็นหลักฐานที่แสดงถึงมรดกตกทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง ได้เริ่มเขียนประมาณ 5 - 6 ปี มาแล้ว โดยมีภาษิตกว่า 300 กว่าภาษิต แต่ไม่ได้บรรยายความหมายเป็นภาษาไทยกลางไว้ ภายหลังได้ปรับปรุงมาหลายเล่มและได้เขียนความหมายภาษาไทยการเอาไว้ เพื่อท่านที่สนใจในทุกจังหวัด ทุกภาค อ่านเข้าใจง่าย มีความอรรถรสและความหมายอันกว้างขวางลุ่มลึก อาจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้



รายละเอียด : กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว ตำแน่ง  นายช่างเขียนแบบ  จำนวน ๑ อัตรา อัตราค่าจ้าง ๗,๑๐๐ บาท/เดือน - เพศชาย- วุฒิ ปวส. ทาง ช่างเขียนแบบ สถาปัตยกรรม ช่างสำรวจ ช่างก่อสร้าง ช่างโยธา- สามารถใช้โปรแกรม Auto Cad ได้ดี ***ลักษณะงาน****- ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ เขียนแบบอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง เขียนรูปแบบ รายการและรายการประกอบแบบ ทั้งอาคารสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย แบบวิศวกรรมแบบมัณฑนศิลป์ แบบภูมิสถาปัตยกรรม และหรือตามแบบที่สถาปนิก วิศวกร หรือมัณฑนากรกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายสนใจติดต่อ ขอและยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่สำนักงานศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี ถนนพระยากำจัด ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ภายในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.๐๓๖๔๑๒๕๑๐ ต่อ ๑๑๒


ที่ตั้ง              บ้านจีต  ตำบลบ้านจีต  กิ่งอำเภอกู่แก้ว  จังหวัดอุดรธานี พิกัดแผนที่       แผนที่ระวาง  5643  III  มาตราส่วน  1: 50,000                    พิมพ์ครั้งที่  1 -RTSD  ลำดับชุด  L  7017                    พิกัดกริด  48  QUE  041998                    เส้นรุ้ง  ๑๗  องศา  ๑๐  ลิปดา  ๓๕  ฟิลิปดา  เหนือ                    เส้นแวง  ๑๐๓  องศา  ๐๙  ลิปดา  ๑๘  ฟิลิปดา  ตะวันออก   สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน                    ๑.เจดีย์ ( อิฐ )                    ๒.โคปุระ  หรือ  ประตูซุ้ม                    ๓.กำแพงแก้ว                    ๔.ซากโบราณสถาน                    ๕.ศาลา ( สร้างทับโบราณสถาน )   ประวัติสังเขป                    กู่แก้วตั้งอยู่ในบริเวณวัดกู่แก้วรัตนาราม  ชาวบ้านเรียกว่าวัดกู่แก้ว  เดิมชื่อวัดกู่  เพราะมีกู่โบราณ ( ปราสาทศิลาแลง ) เป็นที่เคารพของชาวบ้านจึงช่วยกันทำนุบำรุงวัดตลอดมา  วัดกู่แก้วได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่  ๑  พฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๖๗   ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม                    ประกอบด้วยแนวกำแพงแก้วศิลาแลง  ด้านหน้าคือด้านทิศตะวันออกเป็นประตูซุ้มหรือ  โคปุระก่อด้วยศิลาแลง  โบราณสถานแห่งนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นศาสนสถานประจำสถานพยาบาล  หรือที่เรียกว่า  อโรคยศาล  ซึ่งโดยทั่วไป  ภายในกำแพงแก้วมักจะประกอบด้วยปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง  และมีบรรณาลัยอยู่ที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้  แต่ทั้งนี้โบราณสถานได้ถูกดัดแปลงรบกวนสภาพมานานแล้ว  โดยมีการก่อสร้างอาคารโถง ( ศาลา ) ทับซากโบราณสถานเดิมจนไม่เห็นร่องรอยของปราสาทประธาน  หรือบรรณาลัยด้านหลัง  หรือด้านทิศตะวันตกของศาลา  มีธาตุเจดีย์ก่อด้วยอิฐลักษณะศิลปกรรมแบบล้านช้างสร้างทับโบราณสถานอยู่  ๑  องค์  สภาพปัจจุบันส่วนยอดพังทลาย   อายุสมัย          ราวพุทธศตวรรษที่  ๑๘  สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่  ๗  แห่งอาณาจักรเขมร  ในช่วงสมัยวัฒนธรรมเขมร   ประเภทโบราณสถาน                    อโรคยศาล  หรือศาสนสถานประจำสถานพยาบาล  ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน   ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน                    โบราณสถานที่ถูกดัดแปลงใช้งานเป็นศาลาและสถานที่เคารพสักการะของท้องถิ่นอยู่ในบริเวณวัด   การดำเนินงาน   -   การขึ้นทะเบียน                    ๑.กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ  ในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๕๒  วันที่  ๘  มีนาคม  ๒๔๗๘  ระบุชื่อ “ วัดโบราณราษฎรเรียกว่ากู่  อำเภอหนองหาร  ตำบลบ้านจิด “                    ๒.กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน  ในราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๙๙  ตอนที่  ๑๗๒  วันที่  ๑๘  พฤศจิกายน  ๒๕๒๕  ฉบับพิเศษ  ระบุว่า “ โบราณสถานวัดโบราณ  ตำบลจีด  อำเภอหนองหาร  จังหวัดอุดรธานี  ปัจจุบันคือวัดกู่แก้ว  ตำบลจีด  อำเภอหนองหาร  จังหวัดอุดรธานี “ มีพื้นที่ประมาณ  ๑  ไร่  ๒  งาน   ที่มาของข้อมูล                    ๑.ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๕๒  วันที่  ๘  มีนาคม  ๒๔๗๘                    ๒.ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม  ๙๙  ตอนที่  ๑๗๒  วันที่  ๑๘  พฤศจิกายน  ๒๕๒๕  หน้า  ๓๒  ฉบับพิเศษ.                    ๓.สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่  ๗  ขอนแก่น , ทำเนียบโบราณสถานอีสานบน , เอกสารอัดสำเนา , ๒๕๔๒.   หมายเหตุ    ชื่อเขตการปกครองในปัจจุบัน กิ่งอำเภอกู่แก้ว ตั้งเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายนพ.ศ.๒๕๓๗



ผู้แต่ง : กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ 2560


เกมพระรามจองถนน        รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่ไทยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณอินเดีย ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์มาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ สันนิษฐานว่าเรื่องรามเกียรติ์มีการถ่ายทอดให้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันได้ในรูปแบบมุขปาฐะ หรือการบอกเล่าต่อๆ กันมาโดยไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในแต่ละท้องถิ่นก็มีรามเกียรติ์ซึ่งมีเนื้อความเฉพาะของตน ตีความตามรสนิยมแต่ละถิ่น แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้         เกม "พระรามจองถนน"ได้เลือกวรรณคดีรามเกียรติตอนพระรามจองถนนมาจัดทำเป็นเกม Action 3D  มีเป้าหมายให้เยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปีขึ้นไป รูปแบบการเล่นเกมคือ ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นได้สองฝั่ง 1.พระราม 2.ฝั่งยักษ์ทศกัณฐ์ โดยฝั่งพระรามจะมีทหารเอกหนุมานรับหน้าที่หลักในการสร้างถนนไปยังกรุงลงกา และฝั่งทศกัณฐ์มียักษ์ทำหน้าที่สกัดกั้นไม่ให้ฝั่งพระรามสร้างถนนได้สำเร็จ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับวรรณคดีรามเกียรติในตอนพระรามจองถนนโดยสามารถใช้งานกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ(Desktop) และคอมพิวเตอร์พกพา(Laptop)โดยสามารถดาวโหลดเกมได้จาก  Link : https://goo.gl/pS7vUn     เกมวิ่ง วิ่ง ลิง เจี๊ยก เจี๊ยก         ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติมีตัวละครอยู่สองฝ่ายคือ ฝ่ายของพระรามและฝ่ายของทศกัณฑ์ เรื่องราวในเกมจะเป็นการพูดถึงทหารเอกวานรของฝ่ายพระราม และตัวละครหลักอีก 4 ตัว คือ สุครีพ องคต นิลพัท ชมพูพาน โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกตัวละครของตนเองได้ โดยในขณะที่เลือกตัวละคร ก็จะมีการนำเสนอข้อมูลของตัวละคร เช่น สี ประวัติ ความสามารถ อาวุธ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยเกมจะแบ่งออกเป็น 3 ตอน ทุกตอนจะมีการนำเสนอเนื้อเรื่องย่อของตัวละคร และเรื่องรามเกียรติสั้นๆ ก่อนการเข้าเล่นเกม ความยากจะเริ่มจากง่ายไปหายาก อุปสรรคคือ จำนวนของสิ่งกีดขวาง และความเร็วของเกม         โดยตัวเกมสามารถเล่นได้บนมือถือทั้ง Android และ IOS สามารถดาวน์โหลดได้จาก QR Code ที่แนบมานี้                                                                                      ตัวอย่าง Gameplay เกมพระรามจองถนน     เกมวิ่ง วิ่ง ลิง เจี๊ยก เจี๊ยก  


กรมศิลปากรชี้แจงประเด็นข่าวกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ กรมศิลปากรแถลงข่าวชี้แจงประเด็นกุฏิพระโบราณที่วัดสิงห์ จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหาย โดยนายเอนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร นายประทีป เพ็งตะโก ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี นายช่างโยธาและวิศกรควบคุมงาน เป็นผู้แถลงข่าว ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ตามที่รายการเรื่องเล่าเสาร์ – อาทิตย์ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ประจำวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ และหนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับกุฏิพระโบราณ ที่วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พังทลายเสียหายทั้งหมด สาเหตุจากช่างที่กรมศิลปากรจ้างมาซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ นั้น   กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ขอชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ ๑. วัดสิงห์ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษา ที่วัดสิงห์ บนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ด้านหน้าวัดสิงห์มีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง ซึ่งถือ เป็นหลักฐานของการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรกในบริเวณนี้นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๐๙   ๒. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้รับการจัดสรรงบประมาณโครงการฟื้นฟูบูรณะโบราณสถานที่ประสบอุทกภัย โครงการบูรณะโบราณสถานวัดสิงห์ จำนวน ๑๒,๐๒๐,๐๐๐ บาท โดยแบ่งเป็น ๒ โครงการ - โครงการงานบูรณะโบราณสถาน จำนวนเงิน ๔,๔๕๐,๐๐๐ บาท - โครงการงานปรับยกระดับ (ปรับดีด) วงเงินสัญญาจ้าง ๗,๕๓๙,๐๐๐ บาท ดำเนินการว่าจ้างบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน ตามสัญญาจ้างเลขที่ ๑๒/๒๕๕๕ เริ่มสัญญาวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ สิ้นสุดวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๕ โดยมีนายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เป็นผู้ควบคุมงาน   ๓. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๒๑.๓๐ น. นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา ได้รับแจ้งจากตัวแทนบริษัทกันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ในเวลาประมาณ ๑๖.๓๐ น. ขณะที่คนงานอยู่ในช่วงพัก ไม่มีใครอยู่ภายในบริเวณอาคารกุฏิโบราณ ได้ยินเสียงพร้อมทั้งปูนฉาบของตัวอาคารกะเทาะหลุดร่วงลงมา แล้วมุมอาคารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เกิดการทรุดตัวลง ทำให้กระเบื้องหลังคาและโครงสร้างหลังคาทั้งหมด ทรุดลงมากองอยู่บริเวณพื้นไม้ชั้นสองของอาคาร ทำให้น้ำหนักบรรทุกของพื้นมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากนั้นผนังด้านทิศใต้ ก็ได้พังทลายตามลงมาเนื่องจากรับหนักของหลังคาที่ทรุดลงมาไม่ไหว   ๔. เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น.ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี (นายประทีป เพ็งตะโก) นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ วิศวกรชำนาญการพิเศษ นายจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกชำนาญการ นายเฉลิมศักดิ์ ทองมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสามโคก และคณะกรรมการวัดสิงห์ ได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายและหาสาเหตุของการพังทลาย ได้ข้อสรุปดังนี้ ๔.๑ การที่อาคารเกิดการทรุดตัว เนื่องจากพื้นดินรับฐานรากอาคารอยู่ในที่ต่ำชุ่มน้ำตลอดทั้งปี ทำให้อ่อนตัวรับน้ำหนักอาคารไม่ไหวทำให้ผนังอาคารทรุดตัวลงมาประมาณ ๑ ใน ๔ ส่วน ๔.๒ ผนังอาคารมีร่องรอยแตกร้าวจำนวนมาก พบร่องรอยนี้จากการสำรวจเพื่อจัดทำรูปแบบรายการการอนุรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ ๔.๓ ปูนสอเสื่อมสภาพจากการถูกน้ำแช่ขังและใช้งานอาคารมาเป็นเวลานาน ทำให้การยึดตัวของอิฐและปูนสอไม่ดี เป็นสาเหตุให้ตัวอาคารทรุดลงมา ๔.๔ สภาพอาคารที่ปูนฉาบผนังนอกหลุดร่อน ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในผนังทำให้ ปูนสอชุ่มน้ำ ทำให้แรงยึดเกาะระหว่างอิฐต่ำ ๔.๕ ขณะที่อาคารทรุดตัวอยู่ระหว่างการขุดเพื่อตรวจสอบฐานของอาคารส่วนที่ จมดินเพื่อเตรียมการกำหนดระยะที่ทำการตัดผนังเพื่อเสริมคานถ่ายแรง ยังไม่ได้ทำการตัดผนัง จึงยังมิได้มีการรบกวนโครงสร้างของอาคารโบราณ แต่ตัวอาคารก็เกิดการทรุดตัวลงมาเสียก่อน   หลังจากทำการตรวจสอบพื้นที่แล้ว สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สั่งการให้บริษัทผู้รับจ้างทำการค้ำยันผนังส่วนที่เหลือโดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของวิศวกร และทำการจัดเก็บวัสดุส่วนที่สามารถนำมาก่อสร้างเพื่อคืนสภาพอาคารไปจัดเก็บในที่ให้เรียบร้อย รวมทั้งได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการบูรณะกุฏิให้คืนสภาพโดยเร็ว โดยให้บริษัทผู้รับจ้างร่วมกับสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้อง ปรับปรุงรูปแบบรายการ และวิธีปรับดีดให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันของกุฏิ และให้ดำเนินการบูรณะกุฏิให้กลับคืนสภาพเดิม โดยให้เป็นไปตามรูปแบบรายการบูรณะที่ได้รับอนุญาต






***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสือเฒ่า พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณมาละตี กาญจนาคม ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2516 กรุงเทพฯ  อมรการพิมพ์ 2516


วันพุธที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒เวลา ๑๐.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนหนองแวงประชานุกูลอ. เมือง จ. กาฬสินธุ์ จำนวน ๔๓ คนเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นโดยมีนายเจษฎาภรณ์ บุญสัตย์ และนายสัมฤทธิ์ ภูดวง (นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ) เป็นวิทยากรนำชม




วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2563 นักศึกษาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา จำนวน 43 คน ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อเตรียมพร้อมให้บริการ โดยจัดเก็บหนังสือ วารสาร และทำความสะอาดภายในห้องบริการ



Messenger