ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: แรกมีสุขาภิบาลในภาคเหนือ -- ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคที่ท้องที่ต่างๆ ตามหัวเมืองทั่วประเทศมีความเจริญมากขึ้น มีผู้คนอาศัยอยู่มากขึ้น ซึ่งการที่จะบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค รวมถึงรักษาความสะอาดในเมืองต่างๆ นั้น หากจะต้องพึ่งพางบประมาณจากทางราชการแต่เพียงอย่างเดียวคงจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชดำริว่า ควรมีการเก็บภาษีในท้องที่ แล้วนำเงินภาษีนั้นไปบำรุงซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค และรักษาความสะอาดในท้องที่ของตน แนวพระราชดำรินี้เป็นที่มาของ “การสุขาภิบาล” อันเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เก่าแก่ที่สุดของไทย โดยได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นแห่งแรกขึ้นที่ตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร เมื่อปี พ.ศ. 2448 จากนั้นได้มีการตรา “พระราชบัญญัติจัดการศุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127” เมื่อปี พ.ศ. 2451 เพื่อเป็นการขยายการสุขาภิบาลไปตามหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ รวมถึงในภาคเหนือด้วย โดยสุขาภิบาลแห่งแรกในภาคเหนือ คือ สุขาภิบาลตำบลตลาดท่าอิฐ เมืองพิชัย (ปัจจุบันคือจังหวัดอุตรดิตถ์) สุขาภิบาลแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร? ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุมีคำตอบ จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสุขาภิบาลที่ตลาดท่าอิฐนั้น เราสามารถพบได้จากเอกสารจดหมายเหตุชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย เรื่อง ศุขาภิบาลตำบลท่าอิฐ เมืองพิไชย (สะกดตามต้นฉบับ) ซึ่งระบุว่า ในเดือนมกราคม ร.ศ. 128 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2453) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ทรงได้รับใบบอกจากพระยาอุไทยมนตรี ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ความว่า พระพิบูลย์สงคราม ผู้ว่าราชการเมืองพิไชยได้ชี้แจงแก่บรรดาพ่อค้าในเมืองพิไชยถึงความสำคัญของการสุขาภิบาล จนหัวหน้าราษฎรเห็นชอบว่าควรจะจัดตั้งขึ้น พระพิบูลย์สงครามจึงประชุมคณะกรรมการพิเศษ พร้อมด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎร ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่าควรจัดการสุขาภิบาลเฉพาะในตำบลตลาดท่าอิฐก่อน และในการจัดการนั้นจะต้องดำเนินงานดังต่อไปนี้ 1. การรักษาความสะอาด 2. จุดโคมไฟตามถนน 3. ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดให้ดีขึ้น ทั้งนี้คณะกรรมการได้คำนวณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้ง 3 ข้อ รวมเป็นเงิน 2,812 บาท เมื่อรวมกับข้อมูลจากการสำรวจบ้านเรือนราษฎรในเขตสุขาภิบาล และข้อมูลการเก็บภาษีโรงร้านในเขตสุขาภิบาลที่ผ่านมา จึงกำหนดอัตราการเก็บภาษีเรือนโรงร้านใหม่เพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการจัดการสุขาภิบาล โดยแบ่งอัตราการเก็บภาษีเป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. เรือนโรงร้านที่มีสินค้าแต่ไม่เสียค่าเช่า เก็บห้องละ 3 บาท ต่อปี 2. เรือนโรงร้านที่ต้องเสียค่าเช่า เก็บห้องละ 1 ใน 10 ของค่าเช่ารายปี 3. เรือนโรงร้านที่ไม่ได้ไว้สินค้าหรือจำหน่ายสินค้าและไม่เสียค่าเช่า เก็บตารางวาละ 15 สตางค์ต่อปี จากความในใบบอกฉบับนี้ กรมหลวงดำรงราชานุภาพทรงมีพระดำริว่า การจัดการสุขาภิบาลของพระพิบูลย์สงครามเป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตำบลตลาดท่าอิฐ เมืองพิชัย และประกาศแก้อัตราเก็บเงินภาษีเรือนโรงร้านในเขตสุขาภิบาลตำบลตลาดท่าอิฐ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ออกประกาศทั้ง 2 ฉบับเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) และเริ่มจัดการสุขาภิบาลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ร.ศ. 129 เป็นต้นไปผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: 1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงมหาดไทย ร.5 ม. 12.2/9 เรื่อง ศุขาภิบาลตำบลท่าอิฐ เมืองพิไชย [19 – 21 พ.ค. 129]2. “ประกาศแก้ภาษีโรงร้าน จัดศุขาภิบาลตลาดท่าฉลอมเมืองสมุทสาคร.” (ร.ศ. 124) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 22 (18 มีนาคม): 1155-1156.3. “พระราชบัญญัติจัดการศุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127.” (ร.ศ. 127). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 25 (13 กันยายน): 668-673.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-นครกัณฑ์)สพ.บ. สพ.บ.421/5หมวดหมู่ พระพุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 40 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ-ทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
50Royalinmemory ๒๑ มิถุนายน ๒๔๐๕ (๑๖๐ ปีก่อน) - วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ [พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นเอก]
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระสนมเอก (สกุลเดิม โรจนดิศ) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร) ดำรงพระอิสริยยศ “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ มีพระโอรส-ธิดา ๓๗ พระองค์ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ พระชันษา ๘๑ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล ณ อยุธยา (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๗๐ - ๗๑.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๑๒ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
นิทรรศการและอีเวนท์ที่จัดขึ้นในไทย เพื่อให้ทุกท่านสัมผัสเสน่ห์ของจังหวัดซากะ (Saga) ตั้งแต่วันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับนิทรรศการจัดแสดงเซรามิกของไทยและญี่ปุ่น ในหัวข้อ ”เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” และยังมีอีเวนท์ที่เกี่ยวข้อง “งานประชาสัมพันธ์จังหวัดซากะ TRIP to SAGA”
ขอเชิญทุกท่านมาตามรอยประวัติศาสตร์เครื่องเคลือบอาริตะยากิ (Arita-yaki) ที่ผลิตในเมืองอาริตะจังหวัดซากะ ผ่านงานนิทรรศการ และสัมผัสเสน่ห์การท่องเที่ยว อาหาร และหัตถกรรมดั้งเดิมของจังหวัดซากะ ผ่านอีเวนท์ประชาสัมพันธ์ของจังหวัดภายในงาน
ภาพรวมงานนิทรรศการ
นิทรรศการพิเศษของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เรื่อง ”เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก”
ระยะเวลาจัดงาน:ระหว่างวันพุธที่ 14 กันยายน – วันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565
สถานที่จัดงาน: ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาพรวมงานอีเวนท์ที่เกี่ยวข้อง
“งานประชาสัมพันธ์จังหวัดซากะ TRIP to SAGA”
วันและเวลาจัดงาน:ระหว่างวันพุธที่ 14 กันยายน - วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 10:00-16:00 น.
สถานที่จัดงาน:ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (เข้าร่วมกิจกรรมฟรี!)
กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน อาทิ
- การแสดงบนเวที การบรรเลงเครื่องดนตรีดั้งเดิมของญี่ปุ่น “ซัตสึมะบิวะ” และ “ขลุ่ย”
จำนวนรอบแสดง: วันละ 2 รอบ (เริ่ม 11:00 น. และ 13:00 น.)
- เวิร์กชอปเกี่ยวกับเครื่องเคลือบอาริตะยากิ
1. กิจกรรมลงสีจาน
ใช้เวลาในการร่วมกิจกรรม: ประมาณ 120 นาที
จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม:20 ท่านแรกต่อวัน
จำนวนรอบ:วันละ 1 รอบ(12:00-14:00 น.)
* เข้าร่วมกิจกรรมฟรี แต่ต้องแสดงบัตรเข้าชมนิทรรศการ
* จานที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงสีแล้วจะถูกนำไปอบให้สีอยู่ตัว และจัดส่งทางไปรษณีย์ประมาณ 1 สัปดาห์
2. การทำเครื่องประดับจากเศษกระเบื้อง
ใช้เวลาในการร่วมกิจกรรม:15 นาที
จำนวนผู้ร่วมกิจกรรม:60 ท่านแรกต่อวัน
* เข้าร่วมกิจกรรมฟรี แต่ต้องแสดงบัตรเข้าชมนิทรรศการ
- และยังมีจำหน่ายเครื่องเคลือบอาริตะยากิ พร้อมทั้งลองชิมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของจังหวัดซากะ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.jnto.or.th/.../2022/pdf/PR_trip_to_SAGA_2022.pdf
#佐賀県有田焼展覧会バンコク国立博物館
#SagaAritaThaiceramicexhibitionBangkokNationalmuseum
#นิทรรศการไทยญี่ปุ่นเซรมิกอาริตะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
#มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๔ กันยายน ๒๔๐๕ วันประสูติพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา.พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าสาย ประสูติเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๔๐๕ เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่หม่อมจีน (ต่อมาหม่อมจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าจอมมารดาจีน).หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ เมื่อประสูติ ประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร เป็นผู้อภิบาล มีพระโสทรเชษฐภคินีสองพระองค์ และได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอรรคชายาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมกันทั้งสามพระองค์ คือ หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์ เมื่อเป็นพระมเหสี มีพระอิสริยยศเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค ต่อมาได้ทรงกรมเป็นกรมขุนอรรควรราชกัลยา, หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ เมื่อเป็นพระมเหสี มีพระอิสริยยศเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ และหม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ มีพระอิสริยยศเป็นพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็นกรมขุนสุทธาสินีนาฏ.พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าทรงอิสริยยศเป็นพระมเหสี ตำแหน่ง พระอรรคชายาเธอ มีหน้าที่ควบคุมดูแลห้องพระเครื่องต้น ของเสวยคาวหวาน อีกทั้งทรงเป็นผู้ที่ตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย บริเวณตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง อุทิศพระกุศลประทานพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ที่สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงรับเด็กกำพร้าและเด็กยากจนมาเลี้ยงดู สอนให้เล่าเรียน และฝึกวิชาชีพทั้งหญิงและชาย ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) ในสมัยหนึ่งอีกด้วย ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาเป็นพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา.พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา มีพระประสูติการพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งหมด ๔ พระองค์ เป็นพระราชโอรส ๑ พระองค์ เป็นพระราชธิดา ๓ พระองค์ ทั้งหมดเดิมมีพระอิสริยยศเป็น "พระองค์เจ้า" ภายหลังได้รับพระราชทานพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จเจ้าฟ้า" ดังนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี ภัทรวดีราชธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา ศิรินิภาพรรณวดี กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ทรงเป็นพระสุณิสา และพระราชมารดาในพระราชนัดดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔.พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ ณ ตำหนักในสวนสุนันทา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๒ สิริพระชันษา ๖๖ ปี.ภาพ : พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. อย.บ.4/5ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
๒ ทศวรรษ กระทรวงวัฒนธรรม๓ ตุลาคม วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม ครบรอบ ๒๐ ปี (๒๕๔๕ -๒๕๖๕)๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาปนา "กระทรวงวัฒนธรรม”พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลได้มีนโยบายปฎิรูประบบราชการ โดยได้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ .ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม.การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ."กระทรวงวัฒนธรรม” ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๔๙๕ หมวด ๑๐ กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๒๒ กระทรวงวัฒนธรรมมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการวัฒนธรรมแห่งชาติ มาตรา ๒๓ หน้าที่ราชการในกระทรวงวัฒนธรรมแยกเป็น สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการวัฒนธรรม กรมการศาสนา และกรมศิลปากร และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาควัฒนธรรมจังหวัด และวัฒนธรรมอำเภอ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย.ในปีพ.ศ. ๒๕๐๑ กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เป็น "กองวัฒนธรรม” โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและอื่นๆ "กรมศิลปากร” โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถือเป็น ๑ ใน ๒๐ กระทรวงหลักของประเทศตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลหมวด ๑๖ กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๓๖ กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรมและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๓๗ กระทรวงวัฒนธรรมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการศาสนา กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยโดยมีหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมมีองค์การมหาชนขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒ หน่วยงาน คือ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔.ภารกิจกรมศิลปากรมีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ.เครื่องหมายราชการของกระทรวงวัฒนธรรมเครื่องหมายราชการแห่งกระทรวงวัฒนธรรมเป็นรูปบุษบกประดิษฐานดวงประทีปภายใต้ซุ้มเรือนแก้วเหนือหมู่ลายเมฆ ความหมายปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม.เอกสารอ้างอิงราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๑๗๙) [กระทรวงวัฒนธรรม] เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00119572.PDFประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. เข้าถึงได้โดย https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=3092พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๙๕ เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2495/A/016/313.PDF ,http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2495/A/038/791.PDFพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕. เข้าถึงได้โดย http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%BB33/%BB33-
กมฺมวาจาวิธิ (ญตฺติจตุตฺถกมฺมอุปสมฺปท) ชบ.บ 113/1ก
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 159/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
แนะนำหนังสือน่าอ่าน เรื่อง "ย่อยประวัติ 1.0 "
ตรีภพ เที่ยงตรง. ย่อยประวัติ 1.0. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2562. 248 หน้า. ภาพประกอบ. 220 บาท.
นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างเรื่องอภินิหารมงกุฎหนามศักดิ์สิทธิ์ ตำนานไม้กางเขนศักดิ์สิทธิ์และตะปูตรึงพระคริสต์ OK ย่อมาจากอะไร อลิซาเบธ บาโมรี่ วีรสตรีหรือปีศาจ ประวัติของอาชีพแอร์โฮสเตส ตำนานองคุลีมาลมหาโจร1,000นิ้ว หอกลองจินุส ตำนานผ้าห่อพระศพแห่งตูรินความตายปริศนาของเอลิซ่า แลม ยาสุเกะซามูไรผิวสีคนเดียวในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โรเบิร์ต จอห์นสันและสัญญากับซาตาน
089.95911
ต187ย (ห้องหนังสือทั่วไป1)
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณแม่บุญศรี มุสิกานนท์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์แสงศิลป์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๐
จำนวนหน้า ๖๓ หน้า
รายละเอียด
เป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติย่อ คุณแม่บุญศรี มุสิกานนท์ ได้แก่ ประวัติป่วย อาลัยจากคุณพ่อ อาลัยแม่ กราบเท้าแม่ ความรักและกามารมณ์ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เห็ดหูหนูขาวและเรื่องย่อของการทำไวน์ พร้อมภาพประกอบ
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
42/2553
(22/2549)
ภาชนะดินเผา สีนวล ไม่มีลาย ขอบปากบานผายออกมาก ส่วนล่างสอบตัดตรง
ส.8.2
ปก.18.2
ดินเผา
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539