๒ ทศวรรษ กระทรวงวัฒนธรรม
๒ ทศวรรษ กระทรวงวัฒนธรรม
๓ ตุลาคม วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม ครบรอบ ๒๐ ปี (๒๕๔๕ -๒๕๖๕)
๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาปนา "กระทรวงวัฒนธรรม”
พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลได้มีนโยบายปฎิรูประบบราชการ โดยได้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
.
ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม
.
การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
.
"กระทรวงวัฒนธรรม” ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๔๙๕ หมวด ๑๐ กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๒๒ กระทรวงวัฒนธรรมมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการวัฒนธรรมแห่งชาติ มาตรา ๒๓ หน้าที่ราชการในกระทรวงวัฒนธรรมแยกเป็น สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการวัฒนธรรม กรมการศาสนา และกรมศิลปากร และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาควัฒนธรรมจังหวัด และวัฒนธรรมอำเภอ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย
.
ในปีพ.ศ. ๒๕๐๑ กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เป็น "กองวัฒนธรรม” โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและอื่นๆ "กรมศิลปากร” โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
.
ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถือเป็น ๑ ใน ๒๐ กระทรวงหลักของประเทศตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล
หมวด ๑๖ กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๓๖ กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรมและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๓๗ กระทรวงวัฒนธรรมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการศาสนา กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
โดยมีหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมมีองค์การมหาชนขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒ หน่วยงาน คือ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
.
ภารกิจกรมศิลปากร
มีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
.
เครื่องหมายราชการของกระทรวงวัฒนธรรม
เครื่องหมายราชการแห่งกระทรวงวัฒนธรรมเป็นรูปบุษบกประดิษฐานดวงประทีปภายใต้ซุ้มเรือนแก้วเหนือหมู่ลายเมฆ ความหมายปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
.
เอกสารอ้างอิง
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๑๗๙) [กระทรวงวัฒนธรรม] เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00119572.PDF
ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. เข้าถึงได้โดย https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=3092
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๙๕ เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2495/A/016/313.PDF ,http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2495/A/038/791.PDF
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕. เข้าถึงได้โดย http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%BB33/%BB33-
๓ ตุลาคม วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม ครบรอบ ๒๐ ปี (๒๕๔๕ -๒๕๖๕)
๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ สถาปนา "กระทรวงวัฒนธรรม”
พ.ศ. ๒๕๔๕ รัฐบาลได้มีนโยบายปฎิรูประบบราชการ โดยได้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
.
ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม
.
การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมของชาติ มีการพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย รูปแบบของหน่วยงานเริ่มจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
.
"กระทรวงวัฒนธรรม” ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๔๙๕ หมวด ๑๐ กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๒๒ กระทรวงวัฒนธรรมมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการวัฒนธรรมแห่งชาติ มาตรา ๒๓ หน้าที่ราชการในกระทรวงวัฒนธรรมแยกเป็น สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการวัฒนธรรม กรมการศาสนา และกรมศิลปากร และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาควัฒนธรรมจังหวัด และวัฒนธรรมอำเภอ โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมด้วย
.
ในปีพ.ศ. ๒๕๐๑ กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เป็น "กองวัฒนธรรม” โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและอื่นๆ "กรมศิลปากร” โอนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
.
ต่อมากระทรวงวัฒนธรรมได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ถือเป็น ๑ ใน ๒๐ กระทรวงหลักของประเทศตามนโยบายปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล
หมวด ๑๖ กระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๓๖ กระทรวงวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรมและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มาตรา ๓๗ กระทรวงวัฒนธรรมมีส่วนราชการดังต่อไปนี้ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมการศาสนา กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
โดยมีหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมมีองค์การมหาชนขึ้นตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒ หน่วยงาน คือ ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สถาปนาเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
.
ภารกิจกรมศิลปากร
มีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ
.
เครื่องหมายราชการของกระทรวงวัฒนธรรม
เครื่องหมายราชการแห่งกระทรวงวัฒนธรรมเป็นรูปบุษบกประดิษฐานดวงประทีปภายใต้ซุ้มเรือนแก้วเหนือหมู่ลายเมฆ ความหมายปัญญาซึ่งเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
.
เอกสารอ้างอิง
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๑๗๙) [กระทรวงวัฒนธรรม] เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00119572.PDF
ประวัติกระทรวงวัฒนธรรม. เข้าถึงได้โดย https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php?nid=3092
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๔๙๕ เข้าถึงได้โดย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2495/A/016/313.PDF ,http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2495/A/038/791.PDF
พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕. เข้าถึงได้โดย http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%BB33/%BB33-
(จำนวนผู้เข้าชม 4470 ครั้ง)