ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
นครพนม เป็นจังหวัดชายแดนของประเทศไทยในภาคอีสานซึ่งมีพื้นที่ติดกับ สปป.ลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวกั้นแบ่งพรมแดน มีความยาวเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ ๑๕๓ กิโลเมตร ตลอดความยาวเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขงดังกล่าว จะพบอาคารเก่าสมัยอาณานิคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตตัวเมืองนครพนม ซึ่งปัจจุบันจังหวัดนครพนมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันอนุรักษ์ไว้ จนกลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดนคร ที่ใครๆหลายคนให้ความสนใจมาศึกษาเที่ยวชม ในที่นี้จะขอเสนอเรื่องราวอาคารเก่าริมฝั่งโขงเมืองนครพนม โดยเริ่มจาก “อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนม” หลังเก่า ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมที่หลายคนได้มาเยี่ยมชมจะเกิดความประทับใจยิ่ง นอกจากความงามของอาคารภายนอกแล้ว การได้เข้าไปในตัวอาคารเพื่อนั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดในบรรยายกาศที่เงียบสงบ ยิ่งเพิ่มความประทับได้ในอีกรูปแบบหนึ่งด้วย เนื่องจากปัจจุบัน อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนมหลังเก่า กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์เป็น “หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม” ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นต้นมา อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนมหลังเก่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘-๒๔๖๒ สมัยพระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ช่างผู้ควบคุมการก่อสร้างคือ นายสุมังค์ ปทุมชาติ อดีตปลัดอำเภอ หัวหน้าการก่อสร้างเป็นช่างชาวญวณชื่อ นายก่าย ใช้แรงงานผู้ต้องขังในการก่อสร้าง ที่ออกแบบโดยนายแพทย์ชาวอเมริกัน ในนามคณะมิสชั่นนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ในเหตุการณ์พิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสได้ยิงปืนใหญ่จากเมืองท่าแขก ข้ามแม่น้ำโขงมายังเมืองนครพนม ทำให้อาคารศาลากลางจังหวัดชั้นสองได้รับความเสียหาย เมื่อซ่อมแซมแล้วได้ใช้งานต่อมากระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จึงได้ย้ายออกไปยังอาคารศาลากลางแห่งใหม่และได้ยกให้กรมศิลปากรดำเนินการอนุรักษ์จนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงได้ใช้เป็นที่ทำการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม จนปัจจุบัน ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้เป็นแบบโคโลเนียล ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต่อมุขตรงมุมอาคารด้านเหนือและใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่แม่น้ำโขง ตัวอาคารก่ออิฐถือปูนไม่เสริมเหล็ก โครงสร้างอาคารใช้ผนังรับน้ำหนักหลังคาปั้นหยา มุงกระเบื้องดินเผาสีแดง ส่วนประกอบโครงสร้างต่างๆ ทำจากไม้ พื้นอาคารทุกชั้นปูด้วยไม้กระดานวางบนตงไม้ ตัวอาคารหลักมี ๒ ชั้น จำนวน ๑๗ ห้อง ส่วนมุขซ้ายและขวามีชั้นที่ ๓ ประตูทางเข้าด้านหน้า ๓ ทาง ประตูด้านหลัง ๒ ทาง ห้องโถงกลางอาคารมีบันไดไม้ประดับราวลูกกรงไม้ เป็นทางเดินขึ้นไปบนชั้น ๒ แยกซ้ายและขวา กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน อาคารศาลากลางจังหวัดนครพนม (หลังเก่า) ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๒๒ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๖ ไร่ ๙๒ ตารางวา โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดใน พ.ศ. ๒๕๕๐ -------------------------------------------------------จัดทำข้อมูล : นางสาวเมริกา สงวนวงษ์ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี -------------------------------------------------------ที่มา - คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.๒๕๔๒.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครพนม.กรุงเทพฯ:คุรุสภาลาดพร้าว. - เกริกฤทธี ไทคูนธนภพ.สยาม ร.ศ.๑๑๒ วิกฤตแผ่นดิน พิพาทฝรั่งเศสและเสียดินแดน.กรุงเทพฯ:คอนเซพท์พริ้นท์.
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 49.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.100/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.130/5กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พระพิมพ์เมืองกำแพงเพชร
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
คำว่า “พระพิมพ์” หมายถึง รูปเคารพขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป หรืออาจเป็นรูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยการนำวัสดุต่างๆ เช่น ดินเหนียวมากดประทับลงบนแม่พิมพ์ หรือถ้าเป็นเนื้อโลหะจะใช้โลหะที่หลอมละลายเทหล่อเข้ากับแบบพิมพ์ พระพิมพ์ในยุคแรก ๆ มักสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกจากการเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ๔ แห่งในประเทศอินเดีย คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินี) สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา) สถานที่ปฐมเทศนา (สารนาถ) และสถานที่ปรินิพพาน (กุสินารา) หรือสร้างขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในทางพระศาสนา เช่น การสืบทอดพระพุทธศาสนา หรือการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
การสร้างพระพิมพ์ในเมืองกำแพงเพชรนั้น สันนิษฐานว่า มีมานับแต่สมัยสุโขทัย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙) นิยมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ว่าน (ดินผสมว่าน) ชินเงิน (ตะกั่วผสมดีบุก) ดินเผา ซึ่งพระราชนิพนธ์ เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ระบุว่า “....เมืองกำแพงเพชรต้องนับว่าเป็นเมืองเคราะห์ร้ายที่มีชื่อเสียงแล้วว่า มีพระพิมพ์ดี มีอภินิหารต่าง ๆ กันศาสตราวุธ ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ...พระกำแพงก็คงต้องเป็นสิ่งที่มีราคาอยู่ตราบนั้น และสถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นที่ควรรักษาไว้เป็นอนุสาวรีย์ของชาติจะยังคงถูกทำลายลงเพราะความโลภของผู้ขุดพระและความหลงของ “คนเก่ง” ที่ต้องการพระนั้น...” จึงเห็นได้ว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรเป็นที่นับถือในพุทธคุณด้านโชคลาภและการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ จึงเป็นที่ต้องการของคนทั่วไปนับแต่อดีต
พระพิมพ์จากกรุในเมืองกำแพงเพชรที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่
๑. พระพิมพ์กรุเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) พระพิมพ์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย พระพิมพ์ที่มีชื่อเรียกตามรูปร่าง (เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ) หรือจำนวนพระที่แทรกในพระพิมพ์ (เช่น พระกำแพงห้าร้อย) หรือเรียกชื่อตามซุ้มครอบองค์พระ (เช่น พระกำแพงซุ้มกอ) ซึ่งมีที่มาจากกรุโบราณสถานหลายแห่ง ได้แก่ กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดพระสี่อิริยาบถ กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดอาวาสน้อย ฯลฯ
๒. พระพิมพ์กรุนครชุม (กรุทุ่งเศรษฐี) พระพิมพ์ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย พระพิมพ์ที่มีชื่อเรียกตามรูปร่าง (เช่น พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงกลีบบัว) หรือเรียกตามอิริยาบถ (เช่น พระกำแพงเปิดโลก พระกำแพงลีลา พระกำแพงบิด) นอกจากนี้ยังมีพระกำแพงซุ้มกอ พระนางกำแพง พระยอดขุนพล ฯลฯ พระพิมพ์เหล่านี้มาจากกรุต่าง ๆ ได้แก่ กรุวัดพระบรมธาตุ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุซุ้มกอ กรุบ้านเศรษฐี ฯลฯ
บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๕๗.
- กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗), ๒๕๔๐.
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๒๖.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.4/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : บทความธรรมะบางเรื่อง
ชื่อผู้แต่ง : แนบ มหานีรานนท์
ปีที่พิมพ์ : 2509
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
จำนวนหน้า : 168 หน้า
สาระสังเขป : บทความบรรยายธรรมะของแนบ มหานีรานนท์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมทั้งหมด 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่อง ความจริงตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา 2. เรื่อง มีตนเป็นที่พึ่ง 3. เรื่อง วิปัสสนากรรมฐานกับสมถะกรรมฐาน 4. เรื่อง วิสุทธิ ตอน ศีลวิสุทธิ
พะลามชาดก เป็นวรรณกรรมชาดกพื้นถิ่นแห่งลุ่มน้ำโขง ว่าด้วยการบำเพ็ญเพียรบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่มีเค้าโครงเรื่องมาจาก"รามเกียรติ์" เขียนเล่าเรื่องราวบนผนังด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก
จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดป่าเรไร บ้านหนองพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามพะลาม พะลัก นางสีดาและม้ามณีกาบกองทัพพะลามกองทัพฮาบมะนาสวน"เมืองลังกา"กำเนิดนางสีดา นางสุชาดาลงมาปฏิสนธิในครรภ์นางจันทามเหสีฮาบมะนาสวนนางจันทาฝันร้าย อุปราชพิกพีทำนายว่านางจะตั้งครรภ์เป็นธิดาและจะนำพาให้ฮาบมะสวนสิ้นชีวิต ควรเอานางไปลอยแพเสียเมื่อครบกำหนดคลอดแล้วจึงประสูติธิดา นางจันทาและฮาบมะนาสวนเลี้ยงดูนางด้วยความรักจนอายุได้ ๑ ขวบ และเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของฮาบมะนาสวนเป็นอย่างมากและไม่เชื่อในคำทำนายนั้นมาวันหนึ่งฮาบมะนาสวนอุ้มพระธิดา นางได้คว้ามีดในพานหมากแทงฮาบมะนาสวน แล้วจึงได้เชื่อตามคำทำนาย และสั่งให้เอาพระธิดาไปลอยแพเสียพระธิดาถูกนำไปลอยแพ การถูกลอยแพครั้งนี้มีพระอินทร์ให้ความช่วยเหลือต่อพระธิดา สอนให้รู้ถึงร้อยเอ็ดภาษา และสอนคาถาเมตตามหานิยมให้แก่พระธิดาวันหนึ่งพญานาคเล่นน้ำอยู่ เห็นพระธิดาจึงได้ไต่ถาม แล้วเกิดความรักใคร่เอ็นดู จึงพากลับไปเลี้ยงดูในเมืองบาดาลนาคแปลงนำพระธิดาไปเลี้ยงดูในเมืองบาดาลนางสีดาอาศัยอยู่ในเมืองบาดาลได้ ๑๕ ปี จึงได้ขอลาพญานาคกลับอยู่บนโลกมนุษย์ต่อไป และต่อมานางได้มาอาศัยอยู่กับฤๅษีมีนายพรานไปพบเห็นนางสีดาก็ชื่นชมในความงามของนาง และกล่าวชมโฉมความงามของนางทุกๆที่ๆเดินทางไป และพ่อค้าชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้ยินนายพรานกล่าวชมความงามของนางสีดา คราวเมื่อเดินทางไปค้าขายที่เมืองลังกา ก็ได้กล่าวสรรเสริญความงามของนางสีดาเลื่องลือต่อๆกันไป จนเข้าหูของฮาบมะนาสวนหลังจากฮาบมะนาสวนทราบข่าวเกิดความอยากได้นางสีดามาเป็นชายา จึงออกเดินทางตามหาจนเจอและขอนางจากฤๅษี ฤๅษีจึงให้ยกธนูศิลป์ให้ได้ก่อนจึงจะยอมยกนางให้ แต่อย่างไรท้ายที่สุดฮาบมะสวนก็ไม่สามารถยกธนูนั้นขึ้นได้ จึงไม่ได้มอบนางให้แก่ฮาบมะนาสวน"เมืองจันทบุรีศรีสัตตนาค"พะลามได้ข่าวความงดงามของนางสีดา จึงได้ชวนพะลักผู้น้องขี่ม้ามะนีกาบออกติดตามหานางสีดาเพื่อเป็นชายาพะลาม พะลัก และม้ามะนีกาบพะลามขอนางสีดากับฤๅษี และสามารถยกศรธนูศิลป์ขึ้นได้ ฤๅษีจึงยกนางสีดาให้ และนำน้ำวิเศษจากสระอโนดาตมาทำพิธีอภิเษก เมื่อเสร็จพิธีแล้วทั้งสามจึงลากลับเมืองจันทบุรีศรีสัตตนาคขณะทั้งสามเดินทางกลับไปยังเมืองจันทบุรีศรีสัตตนาค ฝ่ายฮวบมะนาสวนก็ยังคงหวลคิดถึงนางสีดาอยู่ เมื่อรู้ข่าวจึงหาอุบายเพื่อลักพานางสีดาจากพะลาม โดยแปลงเป็นกวางทองและเป็นที่ต้องการของนางสีดา พะลามจึงต้องตามจับกวางทองมาให้นางจากอุบายดังกล่าวทำให้ทั้งพะลามและพะลักหลงอุบาย ทำให้ฮาบมะนาสวนเข้าหานางสีดาและสามารถลักพานางกลับเมืองลังกาได้ แต่กว่าจะลักพานางสีดาไปได้นั้น เนื่องจากพะลักได้ฝากนางสีดาไว้กับนางธรณี ฮาบมะนาสวนพยายามอุ้มนางแต่ก็อุ้มไม่ขึ้นเพราะนางธรณียึดไว้ และเมื่อถูกต้องกายนางก็ร้อนราวกับไฟ ฮาบมะสวนจึงเนรมิตโง่นหินเป็นรูปตนเข้าอุ้มนางไปได้(เพราะพะลามต่อว่าพะลักที่ฝากนางไว้กับนางธรณีนั้นจนางะช่วยอะไรได้ นางธรณีได้ยินจึงโกรธและได้ปล่อยนางสีดาไป โง่นหินแปลงนั้นจึงสามารถอุ้มนางสีดาขึ้นได้) โง่นหินแปลงอุ้มนางสีดา(ฮาบมะนาสวนเหาะตาม) ฮาบมะนาสวนต่อสู้กับพญาครุฑพญาครุฑสหายของพะลาม ได้ยินเสียงโต้เถียงกันระหว่างนางสีดกับฮาบมะนาสวน จึงรู้ว่าฮาบมะสวนลักพานางสีดามาจากพะลามจึงเข้าขัดขวาง ท้ายที่สุดฮาบมะสวนก็ชนพญาครุฑและพานางสีดากลับเมืองลังกาได้ "ต้นมณีโคตร"ต้นมณีโคตร ต้นไม้กายสิทธิ์มีผลดกมาก ผู้ใดกินผลจากกิ่งที่ชี้ไปทิศตะวันออกจะกลายเป็นลิง กิ่งทิศใต้จะกลายเป็นนกเจ่า กิ่งทิศเหนือจะกลายเป็นนกกก กิ่งที่ชี้ขึ้นไปในอากาศจะกลับกลายเป็นคนเมื่อพะลาม พะลัก เดินทางมาถึงบริเวณนี้ ม้ามณีกาบได้เนรมิตปราสาทให้พะลาม พะลักพักได้อาศัยใต้ต้นมณีโคตร และในตอนเช้าพะลามได้เก็บลูกมณีโคตรกิ่งด้านทิศตะวันออกกินจึงกลายเป็นลิงอยู่ ๓ ปี (ม้ามณีกาบบอกพะลักว่าทีพะลามกลายเป็นลิง เป็นเพราะเทวดาดลใจให้เก็บผลกิ่งด้านทิศตะวันออกนั้นกิน เพื่อจะได้คลายความทุกข์จากการที่คิดถึงนางสีดา) "กำเนิดหุนละมาน"ลิงพะลามกับลิงนางแพงสี อาศัยอยู่บนต้นมณีโคตรได้อยู่กินกันจนลิงนางแพงสีตั้งครรภ์และให้กำเนิดลิงเผือกตัวผู้ ชื่อว่า "หุนละมาน" เป็นลิงที่มีอิทธิฤทธิ์มาก "กำเนิดทัวระพี"มีฝูงควายฝูงหนึ่ง จ่าฝูงเมื่อมีลูกตัวเมียก็จะเลี้ยงไว้ แต่เป็นตัวผู้ก็จะฆ่าทิ้ง กลัวว่าเมื่อโตขึ้นจะมาแย่งความเป็นใหญ่แทนตน นางควายตัวหนึ่งตั้งท้องและแอบไปคลอดลูกในถ้ำแห่งหนึ่ง และได้คลอดลูกควายตัวผู้ ให้ชื่อว่า"ทัวระพี" เมื่อลูกโตแล้วแม่จึงเรื่องความชั่วร้ายของผู้พ่อให้ลูกฟัง ทัวระพีผู้ลูกจึงร่ำเรียนวิชาเพื่อกลับไปแก้แค้นผู้พ่อ ท้ายที่สุดทัวระพีผู้ลูกก็สามารถฆ่าพ่อได้ และมีใจหึกเหิมกำเริบคิดว่าตัวเองเก่งกล้าจึงไปท้ารบเทวดา และอาละวาทเขาไปทั่ว ทัวระพีผู้ลูก(ตัวสีเทา)และผู้พ่อต่อสู้กัน ทัวระพีต่อสู้กับสังคีบภายในถ้ำ สังคีบชนะฆ่าควายทัวระพีได้กองทัพพะลามต่อสู้กับกองทัพฮาบมะนาสวน พะลามเป็นฝ่ายชนะและนับนางสีดากลับเมืองจันทบุรีศรีสัตตนาค*การเสนอจิตรกรรมเล่าเรื่องราวพะลามชาดกที่ปรากบนผนังนั้น ช่างเขียนได้เขียนเล่าเรื่องราวถึงแค่การรบของกองทัพพะลามและฮาบมะสวนเพื่อแย่งชิงนางสีดาเพียงเท่านั้นพะลามชาดกในผนังด้านนอกฝั่งทิศตะวันออก
โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๑๘ ต่อมาเกษตรกรสมาชิกได้รวมตัวกันขอจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรหมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จำกัดขึ้น เพื่อให้สมาชิกได้อยู่อาศัย ประกอบอาชีพ ช่วยเหลือตนเอง เกื้อกูลกันในชุมชน โดยมีการจัดตั้งกิจการภายในชุมชน เช่น โรงผสมอาหารสัตว์ธุรกิจรวบรวมน้ำนมดิบ ธุรกิจไข่ไก่ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจจัดหา สินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจให้บริการและส่งเสริมการเกษตร ฯลฯเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเยี่ยมโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง พระราชทานกระแสพระราชดำรัส แสดงความพอพระราชหฤทัย ในระบบการส่งน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกโดยใช้ร่องน้ำ และท่อจากที่สูงลงสู่ต่ำ มีอาคารบังคับน้ำตามจุดต่าง ๆ และพระราชทานพระราชดำริว่าควรจะมีการแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมออกจากอาคารบังคับน้ำ โดยการขุดหลุมขนาดย่อมรองด้วยก้อนหินหรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อเป็นบ่อพักน้ำ และตักใช้สอยได้ จากนั้นทรงมีพระราชปฏิสันถารกับตัวแทนหน่วยงาน และราษฎรในพื้นที่ อีกทั้งทอดพระเนตรการดำเนินการต่าง ๆ ภายในโครงการอย่างละเอียด (รหัสเอกสาร ฉ/ร/๘๒๖)เรียบเรียง : วีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ ร.๙
--- วันปากปี ---
. “วันปากปี” หรือ “วันปากปี๋” วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่เมือง จัดว่าเป็นวันสำคัญ อีกวันหนึ่ง ในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นวันแรกของปี (ในปี 2564 นี้ วันปากปีตรงกับวันที่ 17 เม.ย. )
. วันนี้คนล้านนาจะกินแกงขนุนกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ช่วงสายๆชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ใจบ้านเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจ จะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้านและพากันไปขมาคารวะรดน้ำดำหัว ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านต่างๆ ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคล แก่ครอบครัว
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) ณ เมรุวัดโบถส์ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี วันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๑ พฤษภาคม ๒๓๙๗ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภัศร เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๑๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกศ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๓๙๗
ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสอนหนังสือไทยประทานแก่เจ้านายหลานๆ หลายองค์ มีหม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และพระองค์เจ้าธานีนิวัต พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๖๙ สิริพระชันษา ๗๓ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๗๑
ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภัศร ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ประดับเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ และเหรียญจักรพรรดิมาลา