ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
วันศุกร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับชมรมนักโบราณคดี(สมัครเล่น)เมืองสุพรรณ จัดกิจกรรมบรรยายและเสวนาทางวิชาการเนื่องในวาระครบ ๑๓๐ ปี
ห้ามเจ้านายมิให้ไปเมืองสุพรรณบุรี เรื่อง เทศาภิบาล : ศาสตร์การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ ๕
- การบรรยายในหัวข้อ "กำเนิดพระนามกรมขุนพินิตประชานาถ กำเนิดความเชื่อ "ห้ามเจ้านายมิให้ไปสุพรรณบุรี " โดย นายปัญชลิต โชติกเสถียร
- การเสวนา เรื่อง เมืองสุพรรณบุรี ภายใต้การปกครองระบอบ เทศาภิบาล พ.ศ. ๒๔๓๕ –๒๔๗๖ โดย - ดร. อาสา คำภา นักวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,อาจารย์วรพร พรหมใจรักษ์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ อาจารย์วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมเสวนาและดำเนินรายการโดย นายปัณชลิต โชติกเสถียร สมาชิกชมรมนักโบราณคดี (สมัครเล่น) เมืองสุพรรณ
- การบรรยายเรื่อง เทศาภิบาล : ศาสตร์การปกครองของไทยสมัยรัชกาลที่ ๕
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
โดยมี นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธี ร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ กล่าวรายงาน มีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น ๑๕๐ คน
เรื่อง EQ แนวภูมิปัญญาไทย
ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สภาวะการศึกษาเล่าเรียน การงาน เศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์บ้านเมืองและสิ่งแวดล้อม ต่างพากันบีบคั้นให้เร่งรีบ แข่งขัน จนเกิดความกังวล เครียด เป็นทุกข์ทั้งทางกายและใจ
คนที่ไม่มีความฉลาดทางอารมณ์จะไม่สามารถควบคุมความคิดของตนเอง จึงคิดปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัยในขณะนั้น เมื่อคิดไม่ดี จึงเป็นผลให้พูดไม่ดี ทำไม่ดีตามความคิดในขณะนั้น จิตใจก็สกปรก ขุ่นมัว เป็นทุกข์ และอารมณ์ไม่ดี
คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถควบคุมความคิดของตนเอง ให้คิดดี จึงเป็นผลให้พูดดี และทำดีตามความคิดในขณะนั้น จิตใจก็จะมีความบริสุทธิ์ผ่องใส และเป็นคนมีอารมณ์ดี สามารถศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติงาน และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ผ่องใส
ความฉลาดทางอารมณ์เป็นเรื่องที่คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ฝึกบริหารความคิดในชีวิตประจำวันได้โดยง่าย กล่าวโดยสรุปแล้วมี ๖ องค์ประกอบหลักที่สำคัญด้วยกัน คือ องค์ประกอบของจิต ปัญหา สาเหตุ ประโยชน์ วิธีบริหารความคิด และการประเมินผล
-------------------------
แนะนำโดย นางโสภี เฮงสุดผล บรรณารักษ์ชำนาญการ
ที่ตั้ง วัดโพธิ์ศรีใน ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
พิกัดแผนที่ แผนที่ระวาง 5643 IV มาตราส่วน 1: 50,000
พิมพ์ครั้งที่ 1 -RTSD ลำดับชุด L 7017
พิกัดกริด 48 QTE 138252
เส้นรุ้ง ๑๗ องศา ๒๔ ลิปดา ๓๓ ฟิลิปดา เหนือ
เส้นแวง ๑๐๓ องศา ๑๔ ลิปดา ๔๓ ฟิลิปดา ตะวันออก
สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน
๑.หลุมขุดค้นทางโบราณคดี
ประวัติสังเขป
กองโบราณคดีดำเนินการขุดค้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ฯ ได้เสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงานหลุมขุดค้นแห่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๐–๒๕๓๑ ได้สร้างอาคารคลุมหลุมขุดค้นจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง ( SITE MUSEUM ) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ดำเนินการขุดค้นปรับแต่งหลุมขุดค้นอีกครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ดำเนินการซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
หลุมขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่จัดแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง แสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพรวมทั้งโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบร่วมกับโครงกระดูก
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ประมาณ ๕,๖๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
ประเภทโบราณสถาน
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน
จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง
การดำเนินงาน
๑.ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ดำเนินการขุดค้น เพื่อศึกษาข้อมูลหลักฐาน
๒.ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ -๒๕๓๑ สร้างอาคารคลุมหลุมขุดค้น
๓.ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ขุดค้นปรับแต่งหลุมขุดค้น
๔.ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ซ่อมแซมอาคาร ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ภายนอกอาคาร
การขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ ง. วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑ พื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา
ที่มาของข้อมูล
ราชกิจจานุเบกษาเล่ม๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ ง. หน้า ๑ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑.
หมายเหตุ ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ จะดำเนินการซ่อมแซมปรับแต่งหลุมขุดค้นและอนุรักษ์โบราณวัตถุที่จัดแสดง
นักศึกษาและอาจารย์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์ จากภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เข้ามาศึกษาดูงานการพั?นาระบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร ในวันศุกร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๙.๓๐ น.
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้นายอนันต์ ชูโชติ อธีบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการประชุมเพื่อออกแบบอาคารและพื้นที่โดยรอบของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ (แห่งใหม่) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร
วัสดุ แก้ว โลหะ
แบบศิลปะ ศิลปะต่างประเทศ
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 26
สถานที่พบ เป็นสมบัติของพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์และคุณหญิงแม้น สุนทรเทพกิจจารักษ์ นางภรณี เหราบัตย์ มอบให้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555
แจกันแก้วพร้อมฐานรองรูปเทพธิดามีปีก ถอดประกอบได้
1) ตัวแจกันทรงกรวยก้นสอบ ขอบปากตั้งขึ้น
2) แท่นสวมแจกันคล้ายเชิงเทียนทำเป็นรูปคล้ายใบไม้และลายท่อนพวงมาลัย
3) จานรองที่ก้นจานมีรูตรงกลางสำหรับสวมเดือย
4) ชุดฐานซึ่งทำเป็นรูปเทพธิดามีปีกส่วนลำตัวเป็นแท่งแก้วโปร่ง 8 เหลี่ยม ใต้ปีกเป็นขา ยึดกับส่วนฐานทั้งสองข้างยึดไว้ด้วยน็อต ตัวฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีข้อความสลักไว้ โดยรอบทั้ง 4 ด้านดังนี้ "ข้าราชการเมืองบุรีรัมย์ให้พระภิรมย์บุรีรัตน์ ศก๑๓๐"
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา นำโดย นางกันยา แต้เจริญวิริยะกุล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ร่วมกิจกรรม วันวิชาการโรงเรียนวัดสุทธจินดา กิจกรรมประกอบด้วย บริการหนังสือเคลื่อนที่ Read me a book เล่านิทาน แจกหนังสือ