ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์หม่อมหลวงเวก ทัศนัยนิยมศึก(เตอะ สนิทวงศ์)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๙๙ หน้า
รายละเอียด หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงเวก ทัศนัยนิยมศึก อดีตหัวหน้าพนักงานภูษา ประจำพระตำหนักจิตรดาในปีพ.ศ.๒๔๙๔ หนังสือเล่มนี้ จัดพิมพ์ความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิและสุขภาพของคนเรา ในราชการห้องแพทย์ สถานีวิทยุยานเกราะ ๗๘๕ มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์เสมออินทรสุขศรี
๕ พฤศจิกายน วันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๑๐ มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ นามเดิม เจ้าน้อยจักรคำ สมภพ ณ วันพุธขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน สัปตศก ตรงกับวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๘ ที่คุ้มหลวงนครลำพูน เป็นโอรสองค์ที่ ๓ ของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๙ กับเจ้าแม่รถแก้ว เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมาโดยลำดับ ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งพระยาวังขวา เจ้าบุรีรัตน ตามลำดับ เมื่อเจ้าอินทยงยศโชติถึงแก่พิราลัย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ มีราชทินนามว่า "เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี เจ้านครลำพูน"เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้บริจาคทรัพย์เพื่อการสาธารณกุศลในจังหวัดลำพูนมากมาย เช่น ได้ประทานที่ดินสำหรับสร้างโรงเรียนจักรคำคณาทร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ประทานเงินเพื่อซื้อที่ดินสร้างสนามบินลำพูน จำนวน ๑๕๖ ไร่ ในปีพ.ศ. ๒๔๖๙ ได้เตรียมการรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯ เลียบมณฑลพายัพและได้เสด็จมาทรงสักการะพระธาตุหริภุญชัยและพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก(เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก) แก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานมณฑลพายัพ ร่วมกับพระยาราชนุกูลวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาโรหิตย์) นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของภาคเหนือ ภายหลังได้ย้ายออกมาตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยในปัจจุบัน) เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ได้เริ่มประชวรด้วยโรคเนื้องอกในประเพาะปัสสาวะ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์ (โรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่) ได้รักษาจนสุดความสามารถ จึงได้ถวายคำแนะนำให้เสด็จไปรักษาพระอาการที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับการดูแลจากคณะผู้สำเร็จราชการในพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และคณะรัฐมนตรี ต่างไปเยี่ยมอาการประชวรอยู่เสมอ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทราบว่าอาการประชวรนี้ไม่อาจรักษาหายได้ จึงมีความประสงค์จะกลับมารับการรักษาที่คุ้มหลวงลำพูน และได้ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๒ สิริชันษาได้ ๖๘ ปี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้ใหสำนักพระราชวังจัดเครื่องเกียรติยศประกอบศพ และพระราชทานเพลิง ณ สุสานบ้านหลวย จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ นับว่าเป็นเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือองค์สุดท้ายที่ถึงแก่พิราลัย เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามสกุล ณ ลำภูน (ปัจจุบันใช้คำว่า ณ ลำพูน) เขียนเป็นตัวอักษรโรมันว่า na Lambhun เมื่อ วันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ อ้างอิง จ ค นะ ลำพูน ตัวตายดีกว่าชื่อตาย. พิมพ์แจกไนงานพระราชทานเพลิงสพ พลตรี เจ้าจักรคำขจรสักดิ เจ้าผู้ครองนครลำพูน นะ เมรุสุสาน นะ บ้านหลวย ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๖. พระนคร: พระจันท, ๒๔๘๖.พิเชษฐ์ ตันตินามชัย. เจ้าหลวงลำพูน. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๒๕๕๘.
การสำรวจศิลปกรรมภาพลายเส้นใบเสมาบ้านคอนสวรรค์
โดย นางสาวนิตยา สาระรัตน์ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
ใบเสมาบ้านคอนสวรรค์ ตั้งอยู่บ้านคอนสวรรค์ หมู่ที่ ๘,๙ และ ๑๑ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เป็นชุมชนโบราณที่ปรากฎหลักฐานและร่องรอยการอยู่อาศัยของคนในอดีตมาตั้งแต่สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ หลังจากนั้นปรากฏพบหลักฐานร่องรอยวัฒนธรรมขอมภายในชุมชน แต่พบหลักฐานค่อนข้างน้อย และเป็นไปได้ว่าชุมชนอาจทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในสมัยวัฒนธรรมไท – ลาว เมื่อประมาณ ๑๐๐ – ๒๐๐ ปีมาแล้ว มีคนกลุ่มใหม่เข้ามาอยู่อาศัยภายในชุมชนอีกครั้ง ดังปรากฏอาคารโบราณสถานอุโบสถ (สิม) สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สร้างตั้งอยู่ในวัดบ้านคอนสวรรค์
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา (ขณะนั้น) ดำเนินงานบูรณะอาคารอุโบสถ (สิม) วัดบ้านคอนสวรรค์
ใบเสมาบ้านคอนสวรรค์ เป็นใบเสมาที่ทำจากหินทรายจำนวนมาก บริเวณที่พบนั้นเป็นเนินดินที่อยู่นอกเมือง เรียกว่า โนนกู่ ใบเสมาเหล่านี้ถูกนำไปเก็บไว้ที่ต่างๆ รอบหมู่บ้าน จนกระทั่งปัจจุบันได้นำมารวบรวมเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านคอนสวรรค์ ใบเสมาเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแผ่นหิน และพบการสลักลวดลายประดับเป็นภาพบุคคลตามเรื่องราวชาดกตอนต่างๆ ในพุทธศาสนา ได้แก่ เวสสันดรชาดก สุวรรณสามชาดก ภูริฑัตชาดก เตมียชาดก มโหสถชาดก เทวธรรมชาดกหรือสีวิรราชชาดก มาตุโปสกชาดก
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลภาพลายเส้นตามร่องรอยที่หลงเหลืออยู่จริง
๒. ดำเนินการวิเคราะห์ลายเส้นใบเสมา ร่วมกับนักโบราณคดี เพื่อเติมเต็มภาพลายเส้นให้สมบูรณ์
๓. ดำเนินการเติมภาพลายเส้นให้สมบูรณ์ ที่ได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์
๔. ดำเนินการจัดทำเสกลหน้างานจากแหล่งใบเสมา เพื่อให้ได้ความแม่นยำของระยะของลวดลาย
๕. ดำเนินการวาดภาพลายเส้นใบเสมาให้สมบูรณ์ตามแนวทางการวิเคราะห์ร่วมกับนักโบราณคดี
๖. ภาพผลงานการวาดลายเส้นลวดลายใบเสมาที่เติมเต็มให้สมบูรณ์ บนกระดาษกราฟที่เข้าเสกลตามสัดส่วนจริง
๗. นำภาพผลงานการวาดลายเส้นลวดลายใบเสมาที่เติมเต็มให้สมบูรณ์ มาดำเนินการวาดเส้นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Illustrator เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายต่อไป
องค์ความรู้ เรื่อง “กู่ฤาษีหนองเยือง: สถานขจัดทุกข์ทางกาย และทุกข์ทางใจ ของราษฎร ในวัฒนธรรมเขมรโบราณ แห่งบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์”
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
พระพิมพ์ คือ รูปเคารพขนาดเล็กในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์ โดยวัสดุในการสร้างนั้นมีหลายประเภท เช่น โลหะประเภทต่าง ๆ และสิ่งที่ไม่ใช่โลหะ อันได้แก่ ดิน ซึ่งมีทั้งดินเผา และดินดิบ
คติในการสร้างพระพิมพ์นั้นมีหลากหลาย เช่น สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างขึ้นเพื่อเป็นกุศลสำหรับตัวเองหรืออุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น หรือแม้กระทั่งในปัจจุบัน ที่สร้างขึ้นเพื่อการสักการบูชาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเฉกเช่น เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล
พระพิมพ์ปางสมาธินี้ สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๕ (ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นพระพิมพ์เนื้อผง ที่มีขนาดกว้าง ๑.๕ เซนติเมตร สูง ๒ เซนติเมตร
พระพิมพ์มีลักษณะเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับในอิริยาบถสมาธิ พระเศียร (หัว) ค่อนข้างกลม พระกรรณ (หู) ยาว พระเกตุมาลา (ส่วนยอดเหนือพระเศียร) แหลม พระอังสา (ไหล่) กว้าง หงายพระหัตถ์ (มือ) วางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) ครองจีวรห่มเฉียง ประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิราบบนฐานบัว พระพิมพ์องค์นี้อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยมมุมมน ฐานด้านล่างองค์พระปรากฏรูที่เกิดจากขั้นตอนการนำพระออกจากแม่พิมพ์
ตามประวัติบันทึกไว้ว่า พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท สร้างพระพิมพ์ปางสมาธิเนื้อผง (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) นี้ ขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๔๖๓ นักสะสมพระเครื่องพระพิมพ์ เรียกพระพิมพ์นี้ว่า “พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว” เนื่องด้วยมีการเล่าขานกันต่อมาว่า มีการแจกพระพิมพ์นี้ให้กับผู้ที่มาช่วยทำครัวที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยพระพิมพ์องค์นี้ พระครูแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้มอบให้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ สืบไป
ผู้สนใจสามารถเข้าชมพระพิมพ์ปางสมาธิ (พระหลวงปู่ศุข พิมพ์แจกแม่ครัว) นี้ได้ที่อาคารจัดแสดงชั้น ๒ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาท
-----------------------------------------------------
ที่มาภาพ : หนังสือพระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย
ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี https://www.facebook.com/1944769395803916/posts/3357825074498334/
50Royalinmemory ๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๕ (๑๒๐ ปีก่อน) – วันประสูติสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
50Royalinmemory ๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๕ (๑๒๐ ปีก่อน) – วันประสูติสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล) กับท่านผู้หญิงสุธรรมมนตรี (กิมไล้ สุจริตกุล) (พระนามเดิม : ประไพ สุจริตกุล) เป็นพระวรราชชายาในรัชกาลที่ ๖ ดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา” ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ สิ้นพระชนม์วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ พระชันษา ๗๓ ปี
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๒๙ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
ย้อนรอยแผ่นดินพระจอมเกล้าฯ : เรื่องเล่าจากพงศาวดาร(ตอนที่ ๗ เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ (ขำ บุนนาค) หลักฐานชิ้นสำคัญที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย.เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑ เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง มองเห็นได้ที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เสด็จไปทอดพระเนตรพร้อมพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ.การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ เป็นไปตามที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราชทรงทำนายไว้ ๒ ปีก่อนเกิดสุริยุปราคา โดยทรงคำนวณและคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่า จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑ โดยเส้นศูนย์ของสุริยุปราคาจะอยู่ระหว่างแลตติจูด ๑๑ องศา ๓๘ ลิปดาเหนือ กับลองติจูด ๙๙ องศา ๓๙ ลิปดาตะวันออก และบริเวณที่สามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงนานที่สุดคือที่บ้านหว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ โดยก่อนถึงวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ทรงเชิญนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติและทูตานุทูตมาร่วมสังเกตการณ์ รวมทั้งทรงเชิญ เซอร์ แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ดังนี้ ในเดือน ๙ นั้นทรงพระราชดำริรำพึงถึงการสุริยุปราคาซึ่งจะมีในเดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ ได้ทรงคำนวณไว้แต่เมื่อปีขาล อัฐศกว่า ในปีมะโรง สัม๑๘ฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ หรือพุทธศักราช ๒๔๑๑ จะมีสุริยุปราคาจับหมดดวงซึ่งยากนักที่จะได้เห็นในพระราชอาณาจักร ด้วยวิธีโหราศาสตร์ได้ทรงสระสมมานานตามสารัมภ์ไทย สารัมภ์มอญ แต่ตำราอเมริกันฉะบับเก่าและตำราอังกฤษเป็นหลายฉะบับ ได้ทรงคำนวณสอบสวนต้องกัน ได้ทรงกะการตามในแผนที่ว่าจะมีเป็นแน่ ทวีปขิยอุดรองสา ๑๑ ลิบดา ๔๑ พิลิบ ๔๐ เป็นตะวันตกกรุงเทพมหานครเพียง ลิบดา ๕๐ เวลา กับในกรุงเทพมหานครเพียง ๓ นาทีกับ ๒๐ วินาที ได้ทรงพิจารณาละเอียดถ้วนถี่แล้วว่า พระอาทิตย์จะจับหมดดวง และเห็นบนหน้าแผ่นดินไปไกลถึงลิบดา ๑๓๐ ต่อ ลิบดา ๑๔๐ ที่ตำบลหว้ากอแขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงท่ามกลางที่มืดหมดดวง ขึ้นมาข้างบนถึงเมืองปราณบุรี ลงไปข้างใต้ถึงเมืองชุมพร ได้ทราบการเป็นแน่ดังนี้แล้ว จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งพณฯ หัวเจ้าท่านสมุหพระกลาโหมให้จัดการจ้างคนในหัวเมืองเพ็ชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ เมืองประทิว และนายงานหลายนายให้จัดการทำค่ายหลวงและที่พลับพลาประทับแรม ที่ตำบลหว้ากอ ตรงเกาะจานเข้าไป ใต้คลองวานลงไปทาง ๒๔ เส้น แล้วโปรดให้แต่งคำประกาศตีพิมพ์แจกให้ทราบทั่วกัน ในครั้งนี้ พวกนักปราชญ์ฝรั่งเศสได้ทราบว่าสุริยุปราคาจะมีในพระราชอาณาจักรแผ่นดินสยาม จึงมีหนังสือมาถึงกงสุลฝรั่งเศสที่อยู่ในพระนครนี้ ให้กราบทูลขอพระราชทานอนุญาตที่จะเข้ามาดูสุริยุปราคา ก็โปรดพระราชทานตามประสงค์ พวกฝรั่งเศสมาเที่ยวค้นหาที่จะดูนั้นเป็นหลายตำบล ค้นลงไปถึงเมืองชุมพร ก็ไม่ได้ตำบลซึ่งจะชี้ให้ตรงที่กึ่งกลางทางพระอาทิตย์ ครั้นเมื่อพณฯ ท่านสมุหพระกลาโหมกะการให้ตั้งทำที่ค่ายหลวงที่ตำบลหว้ากอตรงเกาะจานเข้าไปแล้ว ภายหลังพวกนักปราชญ์ฝรั่งเศสจึงได้มาตั้งโรงที่จะดูนั้นที่แห่ง ๑ ต่ำลงไปข้างใต้พลับพลาที่ค่ายหลวงทาง ๑๘ เส้น ตั้งเครื่องกล้องใหญ่น้อยหลายอย่างประมาณ ๕๐ คันเศษ ครั้นณวันศุกรเดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ หรือวันที่ ๗ สิงหาคม ฯ เวลาเช้า ๔ โมง ๕๐ นาที เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช ออกจากท่านิเวศน์วรดิษฐ์ใช้จักรไปถึงเมืองสมุทรปราการ เวลาย่ำเที่ยงแล้ว ๑๕ นาที ทอดสมออยู่ ๓ ชั่วโมงเศษ เวลาบ่าย ๔ โมง ๑๕ นาทีใช้จักรออกที่ทอดสมอแล้วข้ามสันดอน ตกน้ำลึก ๓ วา เย็น ๕ โมง ๔๓ นาทีแล้ว ยิงสลุตรับ ๓ นัด เรือสยามูปสดัมภ์ก็ยิงรับ ๑๒ นัด จนถึงเวลา ๖ โมง ๑๒ นาที รุ่งขึ้นณวันเสาร์เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ หรือวันที่ ๘ สิงหาคม ฯ เวลาย่ำรุ่งแล้วถึงเขาสามร้อยยอด ใช้จักรไปเวลา ๔ โมงเช้าถึงเกาะหลัก เวลาเที่ยงถึงที่ทอดสมอหน้าค่ายหลวงตำบลหว้ากอ ที่ตรงนั้นน้ำลึก ๘ ศอกใต้คลองวานเหนือเกาะจาน แต่อากาศมืดคลุ้ม มีแต่เมฆปกคลุมไปทุกทิศทุกแห่งไม่เห็นแดดและเดือนดาวเลย พระอาทิตย์พระจันทร์เห็นบ้างรางๆ บาทนาฬิกา ๑ บ้าง กึ่งบาทบ้าง และที่ทอดเรือหน้าค่ายหลวงที่ตรงกับตำบลหว้ากอนั้น คลื่นใหญ่่เรือโคลงอยู่เสมอเรือพระที่นั่ง ได้ทอดอยู่ที่หน้าค่ายหลวงประมาณ ๖ ชั่วโมง ครั้นเวลาย่ำค่ำมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ถอยเรือพระที่นั่งกลับไปทอดประทับแรมอยู่ที่อ่าวมะนาว อันเป็นที่ลับบังลมไม่มีคลื่นใหญ่ เหนือที่พลับพลาไปทางประมาณ ๒๐๐ เส้นเศษ ทอดประทับแรมอยู่ ๒ วัน ณวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ หรือวันที่ ๑๐ สิงหาคม ฯ เวลาเย็น เสด็จพระราชดำเนินขึ้นจากเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชขึ้นฝั่ง ทรงม้าพระที่นั่งตั้งแต่อ่าวมะนาวลงไปถึงพลับพลาค่ายหลวงตำบลหว้ากอ เวลาย่ำค่ำเรือพระที่นั่งก็ถอยลงไปทอดอยู่ที่หน้าค่ายหลวง ห่างฝั่งประมาณ ๒๐ เส้นเศษ เรืออรรคเรศรัตนาศน์ เรือสยามูปสดัมภ์และเรืออื่นๆ ก็ทอดล้อมวงอยู่ชั้นนอกพร้อมกัน รุ่งขึ้นณวันอังคาร เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ได้พระฤกษ์ยกเสาธงและฉัตร ชักธงพระจอมเกล้าขึ้นที่พลับพลาค่ายหลวง รับสั่งให้ประโคมแล้วทรงจุดปืนใหญ่ด้วยพระหัตถ์ สลุตธงสลับกันกับทหารปืนใหญ่ฝ่ายละนัดจนครบ ๒๑ นัด ทั้ง ๒ ข้าง ปืนเรือสยามูปสดัมภ์ได้ยิงอีก ๒๑ นัด รวมเป็น ๖๓ นัด เวลาบ่าย ๑ โมง พวกนักปราชญ์ฝรั่งเศสมาเฝ้าที่พลับพลา ๘ นาย พระราชทานทองคำ (บางสะพาน) กำเนิดนพคุณทุกนาย รุ่งขึ้นณวันพุธ เดือน ๙ แรม ๙ ค่ำ หรือวันที่ ๑๒ สิงหาคม ฯ เวลาย่ำค่ำ พวกออฟฟิศเซอร์ในเรือรบ ๑๒ นาย ขึ้นมาเฝ้าที่พลับพลา พระราชทานทองคำกำเนิดนพคุณทุกนาย ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๐ ค่ำ เวลาเช้า กัปตันนายเรือรบฝรั่งเศส ขอเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานารถ ให้เสด็จลงไปเที่ยวในเรือรบ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พณฯหัวเจ้าท่าน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ลงไปด้วย กำมดัน (กัปตัน) จัดการรับเสด็จเหมือนอย่างรับกษัตริย์ในประเทศยุโรป มีทหารทอดกริบและยืนเพลา แล้วยิงปืนใหญ่รับ ๒๑ นัด ทหารบรรจุปืนปัศตันลุกขึ้นลากกระชากเอาแขนขาดตายคน ๑ ครั้นเวลาค่อนเที่ยง ทรงวัดแดดสอบแผนที่ที่ตั้งค่ายหลวง ครั้นเวลาบ่าย ๕ โมงเศษ เสด็จพระราชดำเนินไปที่โรงนักปราชญ์ฝรั่งเศสมาตั้งอยู่ เวลาจวนค่ำเสด็จกลับ ณ วันศุกร เดือน ๙ แรม ๑๑ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ มิสเตอร์อาลบาสเตอร์ ผู้ว่าราชการกงสุลอังกฤษขึ้นไปเฝ้าที่พลับพลา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยิงปืนรับ ๗ นัด ณ วันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมง เรือเจ้าพระยามาถึงที่ค่ายหลวง ได้ทรงรับหนังสือข่าวต่างๆ หลายฉะบับ กับของที่สั่งไปจัดซื้อมาแต่เมืองลอนดอนสำหรับแจกในการพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ฯ อีกมาก ณวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ ๔ (เซอร์ แฮร์รีออด) เจ้าเมืองสิงคโปร์ มาด้วยเรือกลไฟ ๓ ลำ ถึงหว้ากอเวลา ๓ โมงเช้า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หลวงพิเศษพจนการ (หวาด บุนนาค ในรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นพระยาอรรคราชนารถภักดี ฯ) เป็นข้าหลวงไปเยี่ยมเยียนครั้นณวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๑๔ ค่ำ หรือวันที่ ๑๗ สิงหาคม ฯ เจ้าเมืองสิงคโปร์ขึ้นมาเฝ้าที่พลับพลาค่ายหลวง โปรดให้ยิงปืนสลุตรับ ๑๑ นัด ให้พระราชทานทองคำบางสพาน ตั้งแต่เจ้าเมืองสิงคโปร์และพวกออฟฟิศเซอร์ที่ขึ้นมาเฝ้าทุกคน แล้วเชิญให้ไปอยู่ที่เรือนพักซึ่งทำไว้รับแขก รุ่งขึ้นณวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ หรือวันที่ ๑๘ สิงหาคม ฯ เวลา ๒ โมงเช้า เจ้าพนักงานเตรียมกล้องใหญ่น้อยเครื่องทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคา เวลาเช้า ๔ โมง ๓ นาที เสด็จออกทรงกล้อง แต่ท้องฟ้าเป็นเมฆฝนคลุ้มไป ในด้านตะวันออกไม่เห็นอะไรเลยต่อเวลา ๔ โมง ๑๖ นาที เมฆจึงจางสว่างออกไปเห็นดวงพระอาทิตย์ไรๆ แลดูพอรู้ว่าจับแล้ว จึงประโคมเสด็จสรงมุรธาภิเศก ครั้นเวลา ๕ โมง ๒๐ นาที แสงแดดอ่อนลงมา ท้องฟ้าตรงดวงอาทิตย์สว่างไม่มีเมฆเลย ที่อื่นแลเห็นดาวใหญ่ด้านตะวันตกและดาวอื่นๆ มากหลายดวง เวลา ๕ โมงกับ ๓๖ นาที ๒๐ วินาที จับสิ้นดวง เวลานั้นมืดเป็นเหมือนกลางคืนเวลาพลบค่ำ คนที่นั่งใกล้ๆ กันก็แลดูไม่รู้จักหน้ากัน แล้วพระราชทานเงินแจกพระราชวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งตามเสด็จโดยพระราชดำเนินออกไปทั่วกัน รุ่งขึ้นณวันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๒ ค่ำ ๑ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ เจ้าเมืองสิงคโปร์ขอถ่ายพระรูป แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีละครผู้หญิงให้พวกอังกฤษและฝรั่งเศสดู ให้พาภรรยาเจ้าเมืองสิงคโปร์เข้าไปข้างใน ได้พระราชทานทองและก๊าศพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในทุกพระองค์ เวลาบ่าย ๓ โมง ๑๕ นาที เสด็จลงเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช พวกทหารปืนใหญ่ยิงสลุตส่งเสด็จ ๒๑ นัด ทหารที่ยิงปืนปัศตันลุกขึ้นลากพุ่งออกมากระชากเอาแขนขาดไปข้าง ๑ ตายในที่นั้น เรือพระที่นั่งออกจากที่ทอดหน้าค่ายหลวง ใช้จักรมา.ภาพ : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่บ้านหว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ประทับ ณ เกยหน้าพลับพลาที่ประทับ โปรดให้ฉายพระรูปกับคณะแขกเมือง ณ ค่ายหลวงบ้านหว้ากอ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. อย.บ.4/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 40 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ผ้าตั้งธรรม ผ้าเนื่องในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของภาคเหนือชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผืนผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางปักด้วยรูปเทวดาทำจากแผ่นเงินฉลุ กรอบด้านข้างปักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ดิ้น เลื่อม แล่ง ที่ทำจากโลหะมีความแวววาว มีจำนวน ๓-๔ ผืน นำมาผูกติดกับกากะเยีย ซึ่งเป็นไม้ที่ผูกติดกันสำหรับวางคัมภีร์ เรียกในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือว่า “ค้างธรรม” สำหรับวางคัมภีร์สำหรับพระสงฆ์ใช้แสดงพระธรรมเทศนาในวาระสำคัญ เช่น ประเพณีเทศน์มหาชาติ หรือประเพณีตั้งธรรมหลวง ผ้าตั้งธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ตรงกลางเป็นภาพเทวดาทำจากแผ่นเงินฉลุทรงเครื่องยืนถือดาบ ลักษณะเครื่องแต่งกายได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์ มือขวาถือลายเครือกระหนก ยืนบนสัตว์พาหนะได้แก่ งูเล็ก สัญลักษณ์ประจำปีนักษัตรมะเส็ง หรือทางภาคเหนือเรียก ปีใส้ และ หนู สัญลักษณ์ประจำปีนักษัตรชวด หรือทางภาคเหนือเรียกว่า ปีใจ้ คงมีความหมายถึงปีนักษัตรของผู้ถวาย กรอบด้านนอกปักด้วยไหมสีเป็นลายกระหนก ตกแต่งด้วยเลื่อมแบบแผ่นกลม ขอบนอกสุดเป็นลวดลายตกแต่งด้วยแถบแล่งโลหะชายผ้าประดับด้วยชายครุย อ้างอิงวิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ๒๕๕๙. พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๕๓. ประเพณีไทยภาคเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
กมฺมวาจาวิธิ (ญตฺติจตุตฺถกมฺมอุปสมฺปท) ชบ.บ 113/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 159/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
ชนม์นิภา ฉัตรโชคไพศาล. Born to be พยาบาล Exclusive. นนทบุรี:
ไอดีซีฯ, 2561. 272 หน้า. ภาพประกอบ. 195 บาท.
เนื้อหาเป็นคู่มือในการค้นหาตนเองในอาชีพพยาบาลว่ามีความยากง่ายอย่างไรที่จะเรียน และการประกอบอาชีพพยาบาลมีการนำเสนอในรูปแบบพี่รหัส ที่จะถ่ายทอดแนะนำประสบการณ์ในการเรียนพยาบาล และชีวิตพยาบาลเป็นอย่างไร ทำงานอะไรได้บ้าง มีความก้าวหน้าหรือไม่ แล้วใครที่เหมาะกับอาชีพพยาบาลบ้าง
371.422
ช133บ (ห้องทั่วไป 1 )
ชื่อผู้แต่ง คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ชื่อเรื่อง วารสารเศรษฐกิจ ปริทรรศ ( ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๑๑)
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๑
จำนวนหน้า ๔๕ หน้า
รายละเอียด
วารสารเศรษฐกิจ ปริทรรศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาเศรษฐศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันและส่งเสริมวิชาการแก่ผู้สนใจทั่วไป กล่าวถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่พัฒนาการเศรษฐกิจ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายการคลัง ปัญหาการจราจรในเขตพระนคร – ธนบุรี เป็นต้น