ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 46 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 12 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.11/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 7 (74-82) ผูก 4หัวเรื่อง : จูฬวคฺคปาลิ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.40/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 54.6 ซ.ม. : รักทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 22 (224-233) ผูก 9หัวเรื่อง : พุทธวจนสิกฺขา --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง คุณสุวรรณ และพระมหามนตรี (ทรัพย์ ฯ)
ชื่อเรื่อง บทละคอนเรื่องพระมะเหลเถไถและบทละคอนเรื่องระเด่นลันได
ครั้งที่พิมพ์ –
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ บริษัทสหสยามพัฒนา จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2511
จำนวนหน้า 74 หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายอยู่ แก้วโสวัฒนะ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ เพื่ออธิบายความเป็นมาของบทละคอนของคุณสุวรรณในยุคสมัย ร.4 คุณสุวรรณ โด่งดังมากด้วยสาเหตุ เสียสติ มุ่งมั่นแต่งบทละคอน 2 เรื่อง คือพระมะเหลเถไถกับอุณรุทร้อยเรื่องทั้งสองเรื่องเป็นบทละคอนประเภทขบขันบทกลอนบางท่อน ก็ให้ใจความบางเรื่องก็ไม่ได้ใจความ แต่นี้ผู้จำบทได้แม่นยำ ส่วนเรื่อง ระเด่นลันได เป็นบทละครประเภทขบขันเช่นกัน
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระชื่อเรื่อง : หนังสือหลักราชการครั้งที่พิมพ์ : -สถานที่พิมพ์ : หาดใหญ่สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยนำปีที่พิมพ์ : ๒๔๕๗จำนวนหน้า : ๗๒ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานพระราชพิธีเพลิงศพ นางกอบกุล รัตนปราการ วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๑๕ บทพระราชนิพนธ์เรื่องหนังสือหลักราชการ คือคำสั่งโดยแท้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้นทรงถือพระองค์ว่าเป็นครู ทรงทำการสั่งสอนมิเพียงแต่ข้าราชการ เสือป่า ลูกเสือ และข้าราชสำนักเท่านั้น แต่ทรงสั่งสอนประชาชนพลเมืองทั่วไปทั้งชายหญิง ครูและนักเรียน ตลอดจนผู้ครองเรือนด้วย
ชื่อผู้แต่ง ศิลปากร,กรม
ชื่อเรื่อง หนังสือ บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งที่พิมพ์ 2
สถานที่พิมพ์ ป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์กรมการศาสนา
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2531 จำนวนหน้า 84 หน้า
หมายเหตุ -
พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ เป็นวรรณคดีที่สำคัญเรื่องหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ ด้วยทรงใช้เวลาในการพระราชนิพนธ์เพียงสิบเอ็ดวัน ทรงวางผังฉากละควรด้วยลายพระราชหัตถ์และเป็นบทละครพูดร้อยแก้วเรื่องสุดท้ายของท่าน ทรงใช้พระนามแฝงว่า “ศรีอยุธยา”
รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ในขณะครองราชย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2545 - 2546 ผู้แต่ง สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โรงพิมพ์ เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป ปีที่พิมพ์ 2546 ภาษา ไทย - อังกฤษ รูปแบบ pdf เลขทะเบียน หช.จบ. 149 จบ (ร) (195)
วัดโคกหม้อ (ร้าง) ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านโคกหม้อ ตําบลช่องสะแก อําเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีเป็นวัดร้างมานานแล้ว ปัจจุบันเนื้อที่วัดโคกหม้อเหลือเพียง ๓ ไร่ ๒ งาน ๘๘ ตารางวา สามด้านติดที่เอกชน ส่วนด้านทิศตะวันตกจดแนวกําแพงเมืองวัดโคกหม้อในอดีตเป็นวัดหนึ่งที่อยู่ชิดติดกําแพงเมืองเพชรทางด้านทิศตะวันออก บริเวณทิศเหนือของวัดมีคลองใกล้ ๆ ชื่อคลองโคกหม้อ บริเวณภายในเขตวัด มีการปลูกอาคารอย่างถาวรแข็งแรง ปล่อยโล่งตลอด ไม่มีผนัง หลังคาด้านข้างและด้านหน้าต่อพาไลยื่นออกมา ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับสร้างอาคารอีกหลังหนึ่งปลูกอยู่ วัดนี้บริเวณที่เป็นพุทธาวาสเดิมมีรั้วกั้นเป็นขอบเขตไว้ส่วนหนึ่ง บริเวณอื่น ๆ นอกนั้นชาวบ้านใช้ประโยชน์ ดังนั้นแม้จะเป็นวัดร้างก็ยังมีเหลือร่องรอยไว้บ้าง พอให้เห็นว่ามีวัดโคกหม้อแต่เดิมตั้งอยู่ตรงนี้ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าการวางอาคารมีการวางแบบตะวันออก-ตะวันตกซึ่งเป็นการวางที่นิยมกัน แต่อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอาจจะเป็นวิหารหรืออุโบสถก็ได้ เพราะไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่บ่งบอก ว่าเป็นอาคารประเภทไหน เช่น มีใบเสมาที่บอกว่าอาคารนี้เป็นอุโบสถ พระประธานของวัดโคกหม้อ เป็นพระปูนปั้นขนาดกลาง ปางมารวิชัย หน้าตัก ๔ ศอกคืบ มีการซ่อมบูรณะมาหลายคราวจนเค้าเดิมเปลี่ยนไป กะเทาะปูนเดิมที่ชํารุดและฉาบผิวองค์พระใหม่ จนไม่สามารถระบุสมัยที่สร้างได้ กับปั้นเสริมพระพักตร์ให้บริบูรณ์ องค์พระยังเป็นสีขาวอยู่ ไม่ได้ปิดทอง แต่สามารถรู้ได้ว่าเป็นพระเก่าเพราะพระขนงเป็นแถบใหญ่หนา นอกจากพระประธานที่เป็นของเก่าก็มีเจดีย์ทรงระฆัง ฐานกลมขนาดย่อม สูงประมาณ ๔ เมตร เดิมเหลือแต่ฐาน มีการซ่อมใหม่ เค้าเดิมถูกเปลี่ยนแปลง จึงยากต่อการระบุสมัย แต่น่าจะเป็นช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น บริเวณเยี่ยงหน้าอาคารพระประธาน ซึ่งจากการที่พบเจดีย์ขนาดเล็กก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่าผังของวัดนี้อาจจะเป็นผังในช่วงอยุธยาตอนปลายจนถึงรัตนโกสินทร์ที่มีอาคารหลักเป็นประธานของวัด จากการสอบถามป้าพะยอม บุญเปี่ยมและป้าอารมณ์ ทําให้ทราบว่าพื้นที่สร้างวัด เมื่อก่อนเป็นป่าแล้วมีคนมาบุกเบิก ตอนแรกก็มีแค่พระประธานกับเจดีย์ พระเป็นพระแบบเก่า ๆ เจดีย์ก็มีแค่ฐาน ชาวบ้านเลยทําตัวองค์ระฆังขึ้นเอง เดิมมีองค์พระเนื้อเป็นสีขาวๆคล้ายปัจจุบัน เป็นหลวงพ่อปากแดง ใต้ฐานองค์พระพบเส้นผมปัจจุบันยังเก็บไว้ที่เดิมซึ่งไม่ทราบประวัติที่มาของเส้นผมเช่นกัน ภาพที่ ๑ บริเวณของวัดโคกหม้อภาพที่ ๒ พระประธานของวัดโคกหม้อ ภาพที่ ๓ เจดีย์ทรงระฆังของวัดโคกหม้อผู้เรียบเรียงข้อมูล : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ที่มาข้อมูล: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2558. รายงานการสำรวจโบราณสถานและศาสนสถานภายในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. จังหวัดเพชรบุรี: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. บุญมี พิบูลย์สมบัติ, 2559. “วัดร้าง จากเส้นทางไปวัดพระรูป.” ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศ พระพิพิธพัชโรดม : 118-151.
กลุ่มปลูกผักถักผ้า ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมชุมชนแนววิถีพอเพียงกับการปูกผักทานเอง และการเย็บ - ปัก - ถักผ้าด้วยมือสร้างสรรค์งานฝีมือสวย พร้อมร่วมแบ่งประสบการณ์ร่วมกัน ทุกวันเสาร์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ณ ลานปันสุข หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา และ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. สาส์นสมเด็จ (ภาค 2). พระนคร : กรมศิลปากร, 2493. สาส์นสมเด็จนี้ กรมศิลปากรได้นำลงพิมพ์ในหนังสือวารสารศิลปากร เริ่มลงตั้งแต่ฉบับปีที่ 1 เล่ม 2 เดือนตุลาคม 2490 เป็นต้นมา มีเรื่องเกี่ยวกับอักษรศาสตร์ ศิลป วรรณคดี โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และอื่น ๆ ได้เคยรวมพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นภาค 1 ส่วนที่รวมพิมพ์คราวนี้ต่อจากที่พิมพ์คราวก่อน จึงจัดเป็น ภาค 2 ในท้ายเล่มหนังสือนี้ยังได้พิมพ์นิทานโบราณคดีเรื่อง โจรแปลกประหลาด ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องในประวัติส่วนหนึ่งของพระยามหินทรเดชานุวัตน์ไว้อีกด้วย
ชื่อเรื่อง : สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรี
ชื่อผู้แต่ง : อิศรญาณ, ม.จ.
ปีที่พิมพ์ : 2508
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สามมิตร
จำนวนหน้า : 70 หน้า
สาระสังเขป : สุภาษิตอิศรญาณ สุภาษิตสอนเด็ก และสุภาษิตสอนสตรี แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1. สุภาษิตอิศรญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ เป็นคำสั่งสอนแบบเตือนสติ สอนเรื่องการวางตัวในสังคม ให้คิดก่อนพูด ไม่สบประมาทดูแคลนผู้อื่น เคารพผู้อาวุโส รู้จักกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ และไม่หลงไหลในคำยกยอ 2. สุภาษิตสอนเด็ก เป็นกลอนคำสอนเด็ก ให้คบคนดีไม่คบคนชั่ว สอนเรื่องการแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น และให้ประหยัดอดออม 3. สุภาษิตสอนสตรี เป็นคำสอนสำหรับสตรี มีทั้งข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติ ในเรื่องของการวางตัว กิริยามารยาท การพูดจา การเลือกคู่ครอง ความซื่อสัตย์ต่อสามี การดูแลบ้านเรือน เป็นต้น
ชื่อผู้แต่ง ศิลป์ พีระศรี
ชื่อเรื่อง พรุ่งนี้ก็ช้าเสียแล้วและศิลปเก่าอันเป็นมรดกที่ไทยได้รับจากบรรพบรุษ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ 2500
จำนวนหน้า 32 หน้า
หมายเหตุ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณรซึ่งมาชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในเทศกาลเข้าพรรษา
เป็นหนังสือที่นำเรื่องเกี่ยวกับศิลปกรรม 2 เรื่อง ของอาจารย์ศิลย์พีระศรี คือ เรื่อง พรุ้งนี้ก็ช้าเสียแล้วและเรื่องศิลปเก่าอันเป็นมรดกที่ไทยได้รับจากบรรพบุรุษ