ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

บรรณานุกรม หนังสือหายาก ชื่อหนังสือ  ตำราพระพิมพ์พระเครื่องทุกสมัย


ชื่อเรื่อง                     พุทธชัยมงคล 8 ผู้แต่ง                       ประพันธ์ เนติวุฒิผู้แต่งเพิ่ม                   คำ ศาสนดิลกประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.313 ป322พสสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์แสงสว่างปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               40 หน้าหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา--บทสวดมนต์ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก       จัดพิมพ์เนื่องในงานฌาปนกิจศพ นางหมู ศรีวัฒนา แจกเป็นอนุสรณ์แก่ผู้มาร่วมงาน เรื่องพุทธชัยมงคล 8 นี้ เป็นเรื่องชัยชนะของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับสวัสดิมงคลของคนทั่วๆไป




นางอัปสร   หินทราย ศิลปะลพบุรี แบบบายน กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้จากศาลตาผาแดง เมืองเก่าสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย   ส่วนบนองค์เทวสตรี พระเศียรหักหาย พระกรและพระบาทชำรุดหักหายไป พระอุระเปลือย สวมกรองศอเป็นแผ่นใหญ่ กึ่งกลางของขอบล่างทำเป็นปลายแหลม ทรงภูษายาวชักชายพกออกมาด้านข้าง เข็มขัดตกแต่งลวดลายดอกไม้ ขอบล่างประดับด้วยพู่ห้อยคล้ายขนนกเครื่องอาภรณ์ประดับด้วยกรองศอ เข็มขัดลายดอกไม้สลักเป็นลวดลาย เป็นโบราณวัตถุศิลปะลพบุรีที่ปรากฏอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรสมัยบายน   ที่มาของข้อมูล : แผ่นพับนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓


ชื่อเรื่อง                           เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ.                                  193/4ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           36 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 54.6 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 


 องค์ความรู้ เรื่อง "พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครปฐม" จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์


ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๖


เลขทะเบียน : นพ.บ.100/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.130/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.4/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


แผ่นดินเผารูปนรสิงห์ พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี          แผ่นดินเผาทรงสี่เหลี่ยม มีเสาทรงกลมเป็นกรอบทั้งสองข้าง ตรงกลางมีรูปบุคคลมีศีรษะเป็นสิงห์ หรือ รูปนรสิงห์ มีแผงคอ ตาโปน จมูกใหญ่ แยกเขี้ยวยิงฟัน ส่วนลำตัวเป็นรูปบุคคลอยู่ในท่านั่งชันเข่าบนฐานสี่เหลี่ยม แยกขา มือทั้งสองข้างยกขึ้นระดับศีรษะในลักษณะแบก ไหล่กว้าง เอวคอดเล็ก มีกล้ามเนื้อ ด้านหลังแผ่นดินเผาแบนเรียบ เนื้อดินมีรอยแกลบข้าว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐในวัฒนธรรมทวารวดี จากรูปแบบศิลปกรรมที่มีลักษณะแบบท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งคลี่คลายจากรูปแบบที่พบในศิลปะอินเดีย จึงกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)           ประติมากรรมรูปนรสิงห์นี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเนื่องในคติเรื่องผู้พิทักษ์และผู้ค้ำจุนศาสนา เช่นเดียวกับประติมากรรมคนแคระแบก ซึ่งพบทั่วไปในเมืองโบราณภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเช่นเดียวกัน มักทำเป็นรูปบุคคลนั่งชันเข่า แยกขา แสดงท่าแบกโดยมีทั้งแบบที่ยกมือทั้งสองข้างขึ้นแบก และวางมือบนเข่าและใช้ไหล่แบกรับน้ำหนัก ส่วนมากมีศีรษะเป็นคน โดยพบที่มีศีรษะเป็นสัตว์ เช่น สิงห์ ลิง โค ไม่มากนัก นอกจากประติมากรรมลักษณะนี้จะใช้ประดับส่วนฐานของศาสนสถานแล้ว ยังพบว่าช่างทวารวดีใช้ประดับส่วนฐานของธรรมจักร อีกด้วย ประติมากรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่ สร้างขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ขึ้นรูปแล้วนำไปเผา เนื่องจากสามารถผลิตประติมากรรมรูปแบบเดียวกันได้เป็นจำนวนมากในระยะเวลาอันสั้น เพื่อใช้ประดับโดยรอบฐานของศาสนสถาน           นอกจากที่เมืองโบราณอู่ทองแล้ว ยังพบประติมากรรมนรสิงห์ในท่าแบกที่เมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีแห่งอื่น เช่น ปูนปั้นรูปนรสิงห์จากเจดีย์จุลประโทน และรูปนรสิงห์ประดับฐานธรรมจักร พบที่เมืองนครปฐมโบราณ จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ทั้งนี้รูปนรสิงห์ซึ่งพบที่เมืองนครปฐมโบราณ มีความแตกต่างจากรูปนรสิงห์ซึ่งพบที่เมืองโบราณอู่ทอง เนื่องจากรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียเริ่มคลี่คลาย และช่างทวารวดีแต่ละกลุ่ม ได้สร้างประติมากรรมจากความคิดสร้างสรรค์ จนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง-----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒ วรพงศ์ อภินันทเวช. “ประติมากรรมคนแคระในวัฒนธรรมทวารวดี: รูปแบบและความหมาย”. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร , ๒๕๕๕.


ฮดสรง/พิธีสรงพระมุรธาภิเษก เป็นการชำระล้างให้สะอาดและศักดิ์สิทธิ์ เพื่อแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ เป็นความเชื่อตามคติพราหมณ์ จิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวเวสสันดรชาดก แสดงพิธีสรงพระมุรธาภิเษกพระเวสสันดร เพื่อขึ้นครองราชสมสมบัติ ประเพณี"ฮดสรง"ในแถบดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เป็นประเพณีที่ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ในการเลื่อนสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดป่าเรไร บ้านหนองพอก ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามพิธีสรงพระมุรธาภิเษก พระเวสสันดร เพื่อขึ้นครองราชสมบัติภาพชาวเมืองในขบวนเสด็จ"นครกัณฑ์"กัณฑ์ที่ ๑๓ ในเวสสันดรชาดก หลังจากพระเวสสันดรลาเพศบรรพชิตแล้ว พระองค์เสด็จกลับไปครองเมืองสีพี และปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิทราชธรรม ทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนมีความสงบสุขร่มเย็น และต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิฐานของพระองค์ผนังทิศตะวันตก เล่าเรื่องเวสสันดรชาดกอุโบสถด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ เล่าเรื่องเวสสันดรชาดก



Messenger