ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
41/2553
(21/2549)
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ลักษณะคล้ายครก เนื้อหนา ด้านในเรียบ ด้านนอกตกแต่งลายขูดขีด
ส.6.5
ปก.14
ดินเผา
ก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็ก อายุราว 1,500 ปี
ได้จากบ้านเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จ.นครนายก เมื่อประมาณ พ.ศ. 2539
เลขทะเบียน : นพ.บ.426/4ขห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153 (109-119) ผูก 4ข (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.568/2 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 26 หน้า ; 5 x 60 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186 (347-356) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : ลำมูลนิพพาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พุทธศักราช 2566 เป็นโอกาสครบ 55 ปีแห่งการก่อตั้งสภาการจดหมายเหตุสากลประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SARBICA) สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บริหารสภาการจดหมายเหตุสากลประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 24 และสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ ภายใต้หัวข้อ งานจดหมายเหตุในยุคดิจิทัล: การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และก้าวต่อไปของจดหมายเหตุ (Archives in Digital Era: Changes, Adaptations, Achievements) กำหนดจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤศจิกายน 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ ร่วมพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุในแต่ละประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมกัน ตลอดจนร่วมกำหนดแผนงานความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจงานจดหมายเหตุให้แก่บุคลากรของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในการสัมมนา SARBICA International Symposium 2023 ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ Archives in Digital Era: Changes, Adaptations, Achievements อาทิ Disruption in the digital age, AI as a professional archivist, Digital risk management, Virtual and metaverse archives โดยส่งชื่อเรื่องในการนำเสนอ บทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ และประวัติของผู้นำเสนอในรูปแบบไฟล์ DOCX ไปที่ sarbica2023@nat.go.th ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://sarbica2023.nat.go.th หรือสอบถามได้ที่ คณะกรรมการฝ่ายวิชาการฯ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ โทร. 0 2282 8423 ต่อ 228
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันพืชมงคล และวันเกษตรกร”
วันสำคัญของเกษตรกรวันหนึ่ง คือวันพืชมงคล เพราะจะมีการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีการเสี่ยงทายผ้านุ่งของพระยาแรกนาขวัญ และพระโคกินเลี้ยง เสี่ยงทายว่าในปีนั้นๆพืชผลจะอุดมสมบูรณ์ไหม น้ำจะเพียงพอไหม เป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร
วันพืชมงคล เป็นวันที่กำหนดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ พระราชพิธีพืชมงคลนั้นประกอบ พระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้นจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง
พระราชพิธีนี้มีมาแต่โบราณครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สืบต่อมาสมัยอยุธยา จนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1-3 มีแต่พิธีพราหมณ์ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มประกอบพิธีสงฆ์ ซึ่งถือว่าพระราชพิธีพืชมงคลมีขึ้นตั้งแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกันกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”
พระราชพิธีนี้เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกร กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมาคณะรัฐมนตรีได้ลงมติให้วันพืชมงคลเป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีอีกด้วย เพื่อให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร
ในปี พ.ศ. 2566 นี้ วันพืชมงคล ตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 6 มีการจัด พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พิธีมณฑลท้องสนามหลวง โดยกำหนดให้วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566 เป็นวันสวดมนต์การพระราชพิธีพืชมงคล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในแต่ละปีได้มีการกำหนดว่า ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยในปี พ.ศ. 2566 นี้ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่พระยาแรกนา
ส่วนพระโคที่ใช้ในการประกอบพระราชพิธีฯ นั้น ในปีนี้ กรมปศุสัตว์ได้ทำการคัดเลือกพระโค เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2 คู่ เป็นพระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ คือ พระโคพอ มีความสูง 165 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 225 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก 214 เซนติเมตร อายุ 11 ปี พระโคเพียง มีความสูง 169 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 238 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอก 209 เซนติเมตร อายุ 11 ปี
พระโคสำรอง 1 คู่ คือ พระโคเพิ่มและพระโคพูล ซึ่งเป็นโคพันธุ์ขาวลำพูน มีสีผิวขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำหรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว เป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวง สีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า
สำหรับการเสี่ยงทายในพระราชพิธีฯ จะมีการพยากรณ์ถึงความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของประเทศ ซึ่งแต่ละปีนั้น ประกอบด้วย 2 ช่วง คือ ช่วงแรก พระยาแรกนาจะตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย ซึ่งแต่ละผืนล้วนมีความหมายแตกต่างกันออกไป เป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ 6 คืบ 5 คืบ และ 4 คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดนั้นจะมีคำทำนาย ไปตามนั้น คือ
ถ้าหยิบได้ 4 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่ม อาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่
ถ้าหยิบได้ 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนา จะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหายบ้าง ไม่ได้ผลเต็มที่
และอีกหนึ่งพิธีเสี่ยงทาย ที่ต้องลุ้นกันทุกปี คือ การเสี่ยงของกิน 7 สิ่งที่ตั้งเลี้ยงพระโค ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า เมื่อพระโคกินของสิ่งใดโหรหลวงจะถวายคำพยากรณ์ ดังนี้
ถ้าพระโคกิน ข้าว หรือ ข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
ถ้าพระโคกิน ถั่ว หรือ งา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
ถ้าพระโคกิน น้ำ หรือ หญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์ดี
และถ้าพระโคกิน เหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้นทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
เมโซ, เอิร์ล. และเฮสส์, สตีเฟน. นิกสัน : ภาพชีวิตทางการเมือง. พระนคร: ก้าวหน้า, ๒๕๑๒.
ว่าด้วยเรื่องราวชีวประวัติและเส้นทางชีวิตทางการเมืองของประธานาธิบดีนิกสัน หรือริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน (Richard Milhous Nixon) ประธานาธิบดีคนที่ ๓๗ แห่งสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่สมัยวัยเด็กจนถึงการเข้าสู่เส้นทางการเมือง
องค์ความรู้ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
เรื่อง พระพิมพ์ดินเผาปางประทานพร จากเมืองโบราณอู่ทอง
พระพิมพ์ดินเผาจำนวน ๒ ชิ้น พบที่เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
พระพิมพ์ดินเผารูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีภาพพระพุทธรูปยืนตริภังค์ โดยการยืนเอียงสะโพกไปทางด้านซ้าย หย่อนพระบาทขวา พระเศียรมีร่อยรอยนูนของอุษณีษะ รายละเอียดบนพระพักตร์ลบเลือน พระกรรณยาว เอียงพระศอเล็กน้อย รอบพระเศียรมีกรอบประภามณฑลเรียบ พระพุทธรูปทรงครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวา จีวรเรียบแนบพระวรกาย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นระดับพระอุระ หันเข้าหาลำตัวอยู่ในท่าจับชายจีวร พระหัตถ์ขวาทอดลง หงายฝ่าพระหัตถ์บริเวณพระโสณี ชายจีวรที่ตกลงมาจากพระกรซ้ายมีลักษณะเป็นแถบหนาและรอยยับย่นเสมือนจริง นอกจากนั้นบริเวณข้อพระบาทมีขอบสบงที่ยาวลงมากว่าชายจีวรเล็กน้อย บริเวณพระบาทมีฐานคล้ายกลีบบัวมารองรับ
รูปแบบศิลปกรรมของพระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏข้างต้น มีลักษณะที่สัมพันธ์กับรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบหลังคุปะ เช่น พระพุทธรูปที่ถ้ำอชันตาหมายเลข ๑๙ ประเทศอินเดีย คือ การยืนตริภังค์เอียงสะโพก หย่อนพระบาทข้างหนึ่ง และเอียงพระศอเล็กน้อย พระพุทธรูปครองจีวรเรียบและไม่มีริ้ว สืบมาจากศิลปะอินเดียแบบคุปตะ สกุลช่างสารนาถ ส่วนการทำพระพุทธรูปยืนครองจีวรเฉียงนิยมในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ
การแสดงปางของพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าแสดงปางประทานพร โดยพิจารณาจากพระหัตถ์ซ้ายที่ยกขึ้นมีจีวรคลุมตามรูปแบบที่นิยมในศิลปะอินเดีย พระหัตถ์ดังกล่าวนิยมจับชายจีวรไม่แสดงปาง ดังนั้นสันนิษฐานว่า พระหัตถ์ขวาที่วางทอดลง และหงายพระหัตถ์แสดงถึงปางประทานพร ซึ่งลักษณะการจับชายจีวรและการแสดงปางในแนวตรงข้ามเช่นนี้สืบมาจากอินเดียเหนือ โดยปรากฏต่อเนื่องมาจนถึงศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ ถือได้ว่าพระพิมพ์ดินเผาซึ่งพบที่เมืองโบราณอู่ทองชิ้นนี้มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบศิลปกรรมกับศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปยืนตริภังค์แสดงปางประทานพร ในศิลปะเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร สะท้อนถึงรูปแบบพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะที่แพร่กระจายในพื้นที่วัฒนธรรมทวารวดี และเขมรก่อนเมืองพระนคร จากรูปแบบพระพิมพ์ดินเผาที่ปรากฏสามารถกำหนดอายุอยู่ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐.
. พระพุทธรูปอินเดีย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๕๔.
ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่า จีน :
กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ,
๒๕๖๒.
-----------------------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : Facebook พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
https://web.facebook.com/photo/?fbid=744756304115635&set=a.649688256955774
วันนี้เรามาเรียนรู้ลักษณะนามจากโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงกันนะคะโดยนางสาวรัชฏญาภรณ์ ประทุมวัน สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ละครเท่งตุ๊ก หรือ เท่งกรุ๊ก เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของจันทบุรีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากการแพร่ขยายทางวัฒนธรรมผ่านการติดต่อค้าขายจากภาคใต้มาสู่ภาคตะวันออก โดยแรกเริ่มมีการเผยแพร่ขึ้นที่ฝั่งบ้านเพ จังหวัดระยอง จากนั้นได้ขยายมายังอำเภอแหลมสิงห์และอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำเดียวกัน จึงทำให้ละครเท่งตุ๊กนั้นมีลักษณะเดียวกับละครชาตรีทางภาคใต้ ทั้งนี้ได้มีการประยุกต์ให้เข้ากับศิลปะการแสดงของท้องถิ่นเมืองจันท์ จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มักนิยมเล่นกันในงานแก้บนหรืองานทิ้งกระจาดตามศาลเจ้า
และศาลหลักเมือง
คำว่า เท่งตุ๊ก สันนิษฐานว่ามาจากการเลียนเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง คือ “โทน” ซึ่งมีเสียงดัง “เท่งๆๆ” ส่วนคำว่า ตุ๊ก เป็นคำเลียนเสียง “กลองตุ๊ก” ที่ตีเสียงดัง “ตุ๊กๆๆ” ละครเท่งตุ๊กมีลักษณะการเล่น การร้อง การแต่งกาย และใช้เครื่องดนตรีที่คล้ายกับการเล่นละครชาตรี ชาวบ้านจึงเรียกคล้องจองกันว่า “ชาตรี - เท่งตุ๊ก” เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ โทน ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ และ
กลองตุ๊ก บางครั้งมีการนำระนาดและกลองชุดเข้ามาบรรเลงผสม การแต่งกายคล้ายกับการแต่งกายเครื่องชุดตัวพระ - ตัวนาง ส่วนใหญ่นิยมใช้นักแสดงหญิงเป็นผู้รับบทพระ - นาง และตัวละครอื่นๆ ระยะหลังเริ่มมีผู้ชายร่วมแสดงบ้าง แต่นิยมให้รับบทเป็นตัวตลก เรื่องที่ใช้ในการแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน หรือบทประพันธ์ในวรรณคดีไทย ในยุคสมัยหนึ่งมีการปรับเนื้อเรื่องให้เป็นลักษณะเดียวกับละครโทรทัศน์ที่นำมาจากนวนิยาย หรือละครวิทยุกระจายเสียงในสมัยนั้น
จังหวัดจันทบุรีมีคณะละครเท่งตุ๊กหลายคณะ เช่น คณะ ส.บัวน้อย คณะไชยเจริญศิลป คณะเปรมฤทัยวัยรุ่น คณะจักรวาลมงคลศิลป์ คณะขวัญใจเจริญศิลป์ เป็นต้น โดยแต่ละคณะมีประวัติความเป็นมาและระเบียบแบบแผนในการแสดงที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ละครเท่งตุ๊กมีทั้งแบบที่รักษาขนบธรรมเนียมแบบดั้งเดิม แบบพันทางคือผสมความเป็นลิเกเพื่อเอาใจผู้ชม และแบบประยุกต์คือเน้นการร้องเพลง
ลูกทุ่งผสมวงสตริง และหางเครื่อง ปัจจุบันละครเท่งตุ๊กหาชมได้ยาก เพราะมักนิยมแสดงเพื่อแก้บนหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในงานพิธีต่าง ๆ อย่างไรก็ตามสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในจังหวัดจันทบุรี ได้ร่วมกันฟื้นฟูและอนุรักษ์ละครเท่งตุ๊ก เพื่อให้คนในท้องถิ่นได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญ โดยการเผยแพร่ความรู้และนำละครเท่งตุ๊กออกแสดงในงานสำคัญบ่อยครั้ง
อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับละคร เท่งตุ๊กในการจัดการเรียนการสอนในบางโรงเรียน โดยการฝึกหัดนักเรียนให้รู้จักการแสดงเท่งตุ๊ก จนสามารถนำออกแสดงจริงได้ เพื่อรักษาและสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ให้คงอยู่สืบไป
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
ประภาศรี ศรีประดิษฐ์. ละครเท่งตุ๊กในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (นาฏยศิลป์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
รัจน์ชีวาต์ ตั๋นติกุลวรา. สื่อการแสดงพื้นบ้านจันทบุรี: คุณลักษณะและรูปแบบการปรับตัวภายใต้บริบทประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี, 2561.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. การแสดงละครชาตรีเท่งตุ๊ก จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจันทบุรี, 2548.
ภาพประกอบ: ขอขอบคุณภาพจากเพจสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี และเพจละครชาตรี เท่งตุ๊ก รวมดาวรุ่ง ดาราศิลป์
ผู้เรียบเรียง: นางสาวปริศนา ตุ้มชัยพร บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ประติมากรรมสตรี
แบบศิลปะ : ลพบุรี
ชนิด : ปูนปั้น
ขนาด : สูง 27 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนติเมตร
อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 18
ลักษณะ : ประติมากรรมสตรีในท่ารำ สวมศิราภรณ์ยอดแหลม กุณฑลรูปตุ้ม และกรองศอ พักตร์รูปไข่ ลืมเนตร นาสิกโด่งแหลม โอษฐ์หนา แสดงท่าร่ายรำโดยยกพาหาและเพลาขึ้นชี้ข้างบน คล้ายท่ากายกรรม สวมผ้านุ่งชักชายผ้ารูปวงโค้งใต้นาภี
สภาพ : ชำรุด ผิวปูนสึกกร่อน พาหาหักทั้ง 2 ข้าง
ประวัติ :พบจากการขุดแต่งโบราณสถานเนินทางพระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544
สถานที่จัดแสดง : ห้องเมืองสุพรรณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/15/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง บางแม่หม้าย
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3”
วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน 3 เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน 1250 รูป ในปี 2567 วันมาฆบูชา ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
คำว่า "มาฆะ" นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า "มาฆบุรณมี" หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็น วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4
วันมาฆบูชา หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญอย่าง จาตุรงคสันนิบาต ที่แปลความได้ว่า การประชุมด้วยองค์ 4 เกิดขึ้น ได้แก่
1. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหาร ในกรุง ราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมาย
2. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
3. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผุ้ได้บรรลุพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 แล้วทั้งสิ้น
4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงเสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
ความสำคัญของวันมาฆบูชานั้น อยู่ตรงที่วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์ กล่าวคือ พระโอวาทที่เป็นประธานของพระศาสนา หรือศีล 227 ข้อ ที่พระพุทธองค์นำมาแสดงให้พระภิกษุได้ยึดเป็นหลักปฏิบัติ โดยมีใจความโดยรวมว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำแต่ความดีให้บริบูรณ์ การทำจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากกิเลส” หรือ ให้ละเว้นการทำชั่ว กระทำแต่ความดี และทำใจให้บริสุทธิ์
ในวันนี้จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ฟังเทศน์ที่วัด ในตอนค่ำของวันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนก็จะนำดอกไม้ ธูปเทียนไปที่วัด เพื่อทำพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
๕ เมษายน ๒๕๖๗"วันพระเจ้าน่านและวันเจ้าผู้ครองนครน่าน""ครบรอบ ๑๐๖ ปี"วันคล้ายวันพิราลัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯพระเจ้าผู้ครองนครน่าน#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เรื่อง "งานศิลปกรรมในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช"
คณะครูและนักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม มูลนิธิชัยพัฒนา (เวลา 15.00 น.) จำนวน 20 คนวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๕.๐๐น. คณะจากมูลนิธิชัยพัฒนา จำนวน ๒๐ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรีรุ่งเรือง ชื่นชม เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้