ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

 ชื่อผู้แต่ง          กุลพันธาดา  จันทร์โพธิ์ศรี   ชื่อเรื่อง           การอนุรักษ์ตู้ลายรดน้ำเขียนสีในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์   ครั้งที่พิมพ์        -   สถานที่พิมพ์      ดุสิต กรุงเทพมหาคร   สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์ ห้างฯ ป.สัมพันธ์พาณิชย์   ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2531                 จำนวนหน้า 28 หน้า   หมายเหตุ         -                                   หนังสือเรื่องนี้ เป็นการศึกษาเทคนิคและวิธีการใช้สีในสมัยโบราณ ที่นิยมใช้ในงานจิตรกรรมไทย เพื่อทราบถึงวิวัฒนาการของการใช้สีในแต่ละสมัย และข้อมูลที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง 


รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ในขณะครองราชย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2536 - 2547              ผู้แต่ง                       สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล              โรงพิมพ์                   เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป               ปีที่พิมพ์                   2547              ภาษา                       ไทย - อังกฤษ               รูปแบบ                     pdf              เลขทะเบียน              หช.จบ. 150 จบ (ร) (196)


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


          วันพฤหัสบดีที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องออดิทอเรียม (ชั้น ๕) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ร่วมปาฐกถาพิเศษและเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ เรื่อง “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรมศิลปากร และผู้บริหารบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ           จากนั้น นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวรายงานการจัดนิทรรศการ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” แล้วไปยัง ห้องนิทรรศการ ชั้น ๘ เพื่อเปิดนิทรรศการเรื่อง “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” ชมนิทรรศการและลงนาม ในสมุดเยี่ยมชม โดยมีนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรและท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เป็นผู้นำชม           ภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งจากภาพถ่ายชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๐ กล่องที่ ๑ – ๒๔ และ ๕๐ – ๕๒ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๐๐ ภาพ บอกเล่าเรื่องราวของประเทศไทยในอดีต รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๗ ทั้งนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาพถ่ายโบราณร่วมจัดทำคำบรรยายและคัดเลือกภาพถ่าย จำนวน ๒๐๕ ภาพ นำมาจัดพิมพ์หนังสือในชื่อ “ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์” เล่ม ๒ ซึ่งมีเนื้อหาแบ่งเป็น ๒ หมวด ประกอบด้วย หมวดที่ ๑ พระนคร แบ่งเป็น ๑๒ หมวดรอง ได้แก่ พระราชวังและวัง พระราชพิธี ศาสนสถาน แม่น้ำลำคลองถนน ยานพาหนะ โรงเรียน โรงพยาบาล โรงมหรสพ อาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน ห้างร้าน และอาคารเบ็ดเตล็ด และหมวดที่ ๒ หัวเมือง แบ่งเป็น ๔ หมวดรอง ได้แก่ พระราชวัง เสด็จประพาส เสด็จตรวจราชการ และโบราณสถาน ต่อมา ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ได้นำภาพถ่ายจากหนังสือ ร่วมกับภาพถ่ายชุดอื่น ไปออกแบบเนื้อหาและนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการภายใต้ชื่อ “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” รวมทั้งสิ้น ๑๐๒ ภาพ แบ่งเป็น ๔ ส่วน ดังนี้           ส่วนที่ ๑: ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นภาพการเสด็จประพาสหัวเมืองต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ และการเสด็จประพาสต้น คือ การเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์ เพื่อได้ทรงใกล้ชิดและทราบทุกข์สุขของประชาชน ทำให้ราษฎรได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ พระองค์อย่างใกล้ชิด           ส่วนที่ ๒: ทุติยบรรพ สยามอันสุขสงบในรอยต่อของกาลเวลา เป็นภาพวิถีชีวิตที่ธรรมดาเป็นกิจวัตรของผู้คนในกรุงเทพฯ ให้บรรยากาศของความสุขสงบ เรียบง่ายของผู้คนและบ้านเมือง           ส่วนที่ ๓: ตติยบรรพ ตะวันออกบรรจบตะวันตก เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของชาวตะวันตกที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ //ส่วนที่ ๔: จตุตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกที่ทำให้สยามประเทศขณะนั้นเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสร้างและเชื่อมโยงระบบเส้นทางรถไฟ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางการปกครอง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว           นิทรรศการ “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” กำหนดเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม – ๒๐ กันยายน ๒๕๖๓ ระหว่างเวลา ๑๐.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ผู้สนใจสามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีการเสวนาวิชาการ จำนวน ๒ ครั้ง ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในวันเสาร์ ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ หัวข้อ เบื้องหลังการอ่านภาพฟิล์มกระจก และในวันเสาร์ ที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ หัวข้อ เล่าเรื่องการเก็บรักษาฟิล์มกระจกและภาพเก่า สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ www.nat.go.th หรือ facebook ของกรมศิลปากร และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือโทรศัพท์ หมายเลข ๐ ๒๒๘๒ ๘๔๒๓ ต่อ ๒๒๘



ชื่อเรื่อง : เสภาเรื่องอาบูหะซัน ชื่อผู้แต่ง : ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), พระยา ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : ไทยสงเคราะห์ไทย จำนวนหน้า : 110 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเสภาเรื่องอาบูหะซันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร ร่วมกับกวีท่านอื่นอีก 10 คน ช่วยกันแต่งเป็นเสภาสำหรับขับถวายเวลาทรงเครื่องใหญ่ ในหนังสือเล่มนี้นำเสนอเนื้อหาเพียง 5 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 แต่งโดยเริ่มเรื่องด้วยบทสรรเสริญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเล่าเรื่องนิทราชาคริตตั้งแต่เริ่มไปจนถึงเมื่อกาหลิบวางยาอาบูหะซันแล้วพาเข้าไปในวัง ตอนที่ 2 เล่าเรื่องตั้งแต่อาบูหะซันเข้าไปอยู่ในวัง ได้ลงโทษและให้รางวัลผู้คนตามที่ตนต้องการไปจนถึงตอนที่อาบูหะซันเพลิดเพลินกับเหล่านางกำนัล ตอนที่ 3 กาหลิบวางยาอาบูหะซันแล้วพากลับไปส่งบ้าน ตอนที่ 4 เล่าเรื่องตั้งแต่เมื่ออาบูหะซันฟื้นขึ้นที่บ้านของตน และไม่ยอมเชื่อว่าตนมิใช่กาหลิบ ได้เข้าทำร้ายมารดาจนถูกจับไปลงโทษ ไปจนถึงตอนที่อาบูหะซันสำนึกได้ และตอนที่ 5 เล่าเรื่องต่อเมื่ออาบูหะซันพบกาหลิบอีกครั้ง ไปจนถึงตอนที่อาบูหะซันถูกวางยาแล้วพาเข้าไปในวังเป็นครั้งที่สอง


THAI CULTURE, NEW SERIES No. 18 THAI IMAGES OF THE BUDDHABYLUANG BORIBAL BURIBHAND & A.B. GRISWOLD PUBLISHED BY THE FINE ARTS DEPARTMENT BANGKOK, THAILAND B.E. 2558


ชื่อผู้แต่ง       - ชื่อเรื่อง         ทักษิณชุมนุม ครั้งที่ 20 ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   - สำนักพิมพ์     - ปีที่พิมพ์        2522                  จำนวนหน้า    147 หน้า หมายเหตุ หนังสือที่ระลึกในงานทักษิณชุมนุมครั้งที่ 20 22 ธันวาคม 2522             หนังสือที่ระลึกในการเลี้ยงของสมาคมชาวปักษ์ใต้ เนื้อหาสาระประกอบด้วยบทความเรื่อง ความเป็นมาของมูลนิธิสงเคราะห์การศึกษาจากถนนดินสอถึงซอยพญานาค เมื่อจินดากวีเดินทางผ่านไปหัวเมืองปักษ์ใต้ ดำเนินการอย่างไรในการผลิตก๊าซธรรมชาติ จอมพลกับคนข่าว ปัญหาบ้านเราโดยชวน หลีกภัย จริงไหม เมื่อตายไปให้ดีใจแต่สัปเหร่อ และ ตำนานหลวงพ่อทวดหรือพ่อท่านโต๊ะเทพารักษ์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งปักษ์ใต้




ชื่อเรื่อง                     ผู้ปกครองเด็กนักเรียน    ผู้แต่ง                       พระยาวิเศษศุภวัตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   การศึกษาเลขหมู่                      371.8 ว767ผสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์ช่างพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2477ลักษณะวัสดุ               80 หน้า หัวเรื่อง                     นักเรียนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก       รวบรวมความคิดเห็นว่าปัญหาเรื่องหน้าที่ผู้ปกครองเด็กเป็นปัญหาสำคัญมาก แม้แต่ในประเทศซึ่งการศึกษาเจริญแล้ว ก็ยังเอาใจใส่เรื่องนี้อยู่มากเสมอ เมื่อเด็กอยู่โรงเรียนก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของครู อยู่บ้านก็เป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ปกครอง ครูและผู้ปกครองต่างต้องรู้หน้าที่อันแท้จริง การช่วยเหลือเด็กจึงจะสมบูรณ์ขึ้น  




จารึกวัดหินตั้ง หินชนวน พุทธศตวรรษ ๒๐ แผ่นรูปใบเสมาวัดหินตั้ง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย   ศิลาจารึกวัดหินตั้ง เป็นจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย จารึกเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (พ.ศ. ๑๙๐๑-๒๐๐๐) พบที่วัดหินตั้ง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย   จารึกอักษรจำนวน ๑ ด้าน มี ๓๖ บรรทัด เรื่องราวที่จารึก ได้กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาผู้ปู่ กระทำหอมาฬก(พลับพลา ปะรำ โรงพิธี) พระมหาธาตุเจ้า และการบำเพ็ญกุศลในการสร้างถาวรวัตถุ และวัตถุอื่นๆ ในพระพุทธศาสนา   ที่มาของข้อมูล : https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/233   ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง ผ่าน QR code จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓


กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ของขวัญปีใหม่จากใจกรมศิลปากร” วิทยากรโดย นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร, นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร, นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร ดำเนินรายการโดย นางรักชนก โคจรานนท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้ชมรายการและร่วมแสดงความคิดเห็น ลุ้นรับ ภาพชุดมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ “พระพิมพ์ นฤมิตวิจิตรพุทธศิลป์” และพิเศษสุด สำหรับผู้ตอบคำถามจากวิทยากรกิตติมศักดิ์ของเรา ลุ้นรับ สมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ “พระพิมพ์ นฤมิตวิจิตรพุทธศิลป์” ของรางวัลมีจำนวนจำกัด ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ.                                  192/7ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           28 หน้า กว้าง 4.8 ซ.ม. ยาว 55 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


Messenger