ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก กรมศิลปากร เรื่อง สถานการณ์และสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมต่อโบราณสถาน หากเกิดความเสียหายให้รีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน พร้อมเฝ้าระวังและเตรียมมาตรการป้องกันโบราณสถาน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ จากรายงานสถานการณ์การสำรวจผลกระทบและความเสียหายต่อโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่าหลายพื้นที่น้ำลดลงเป็นปกติแล้ว แต่โบราณสถานหลายแห่งยังคงมีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลคลองสระบัว เช่น โบราณสถานวัดพระงาม วัดปราสาท วัดพระยาแมน วัดกุฎีทอง ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา จะเข้าตรวจสอบพื้นที่และสำรวจความเสียหายอย่างละเอียดต่อไป ด้านจังหวัดนครราชสีมา เกิดฝนตกหนักทำให้ระดับน้ำสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อโบราณสถาน พระนอน อำเภอสูงเนิน สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ โดยทางวัดธรรมจักรเสมาราม และประชาชนในพื้นที่ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังโบราณสถาน และกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ ๒๑ (พัน ร.มทบ.๒๑) กองทัพภาคที่ ๒ ได้ดำเนินการก่อกระสอบทรายป้องกันน้ำล้นเข้าสู่ตัวโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับน้ำสูงขึ้น ส่งผลให้วัดอรุณราชวรารามระบายน้ำไม่ทัน น้ำหนุนเข้าท่อระบายน้ำ และท่วมขังภายในเขตพุทธาวาส ส่วนวัดกำแพงบางจาก เขตภาษีเจริญ ได้รับความเสียหายจากฝนตก ทำให้น้ำฝนรั่วเข้าสู่ภายในอุโบสถ ส่งผลให้โครงสร้างไม้ภายในอาคารเสียหาย เช่นเดียวกับศาลเจาเกียน อัน เกง เขตธนบุรี มีน้ำฝนรั่วเข้าสู่ภายในอาคารศาลเจ้า ทำให้โครงสร้างไม้ภายในอาคารเสียหาย ซึ่งกองโบราณคดี ได้เข้าดูแลและแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น พร้อมเร่งดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเร่งฟื้นฟูโบราณสถานที่ได้รับความเสียหายโดยด่วน พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อไป ทั้งนี้ โบราณสถานทั่วประเทศส่วนใหญ่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัย ส่วนโบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังคงเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หากมีความจำเป็นเร่งด่วน กรมศิลปากรพร้อมจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกียรติประวัติอันดีงามของท่านจึงเป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราชด้วยส่วนหนึ่ง และตัวท่านเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจังหวัดนครศรีธรรมราชตั้งแต่วัยเยาว์ ดั่งเช่น ชื่อ“เปรม” นั้นก็ได้ ท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ตั้งชื่อให้ ดังที่ปรากฏในคำไว้อาลัยของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากหนังสือรัตนธัชมุนีอนุสรณ์ ที่ได้จัดพิมพ์เนื่องในงาน พระราชทาน เพลิงศพพระรัตนธัชมุนี ณ เมรุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๓ ความตอนหนึ่งว่า ....อนึ่ง ท่านเจ้าคุณและบิดาของกระผมเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกัน และบิดาของกระผมเป็นผู้กราบนมัสการขอให้ท่านเจ้าคุณตั้งชื่อให้กระผม จึงนับได้ว่า ท่านเจ้าคุณเป็นผู้มีพระคุณต่อกระผมเป็นส่วนตัวด้วย.....-------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์-------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช. เกิดถิ่นใต้. นครศรีธรรมราช : ศูนย์การพิมพ์พลชัย, พ.ศ. ๒๕๒๙. เทศบาลเมืองทุ่งสง. พระรัตนธัชมุนี (แบน คณ.ฐาภรโน). สืบค้นเมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก :ttps://www.tungsong.com/Nakorn/Person/praratภาพจาก- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๑/๑๒ ภาพพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๓.๑/๕๙(๑) ภาพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดไฟชนวน พระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓- หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ภาพส่วนบุคคล นายชวลิต อังวิทยาธร ภ นรม ๑ สบ ๑.๓.๑/๖๐ ภาพพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี และสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ลง จากเมรุพิเศษ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หลังจากทรง ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๓ - รวมประวัติสามพระรัตนธัชมุนี อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช(แบน คณฺฐาภรณเถร เปรียญ) วัดพระ มหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ๑๔ กันยายน ๒๕๒๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๓.เอกสารจดหมายเหตุหอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. เอกสารสำนัก นายกรัฐมนตรี นรม.๑.๑.๕.๑/๕๒ เรื่องคำไว้อาลัยท่านเจ้าคุณ พระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช (๒๑ – ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๓)
น้ำต้นน้ำต้น หรือ คนโฑ เดิมเรียกกันว่าน้ำต้นเงี้ยว เนื่องจากกลุ่มคนที่ทำขึ้นเป็นชาวไทใหญ่หรือเงี้ยวที่อพยพมาตั้งรกรากในบริเวณเหมืองกุง ในช่วงสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๖น้ำต้นมีลักษณะรูปทรงคล้ายผลน้ำเต้า คอยาวสำหรับใส่น้ำดื่มให้มีความเย็นสดชื่น แบ่งเป็น ๓ ขนาดใหญ่ ๆ คือ ๑. น้ำต้นหลวง มีขนาดใหญ่ใส่น้ำได้ทีละมาก ๆ สำหรับใส่น้ำไปไร่นา มีหูจำนวน ๒ หรือ ๔ หู สำหรับร้อยเชือกเพื่อแบกบนหลัง ๒. น้ำต้นกลาง สำหรับใช้งานทั่วไปในวงอาหารหรือการรับแขก ๓. น้ำต้นหน้อย (เล็ก) มีขนาดเล็ก ใช้ใส่น้ำตั้งตามหิ้งบูชาพระ ปัจจุบันมีการผลิตที่หมู่บ้านหัตถกรรมทำเครื่องปั้นดินเผา อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ภาพ : พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการามอ้างอิง : ธันวดี สุขประเสริฐ.๒๕๖๔.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (Online). https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php... ,สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔.
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.307/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 1ก (2565)หัวเรื่อง : อาการวตฺตสุตฺต(อาการวัตตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง ม.ร.ว ปฐม คเนจร
ชื่อเรื่อง ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๖๒
จำนวนหน้า ๒๔ หน้า
รายละเอียด หนังสือที่ขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อเป็นอนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นาย วิจิตร ศักดิ์ สาระโสภณ ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร )เรียบเรียงขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 ขณะดำรงตำแหน่ง เลขานุการมณฑลลาวกาว พ.ศ.๒๔๔๓ โดยเรียบเรียงจากสมุดข่อยและเอกสาร
สำคัญเก่าแก่ที่บรรดาหัวเมืองได้รวบรวมไว้
พระเปิม พระเปิม เป็นหนึ่งในพระพิมพ์ดินเผาที่มีชื่อเสียงของเมืองลำพูน คำว่าเปิม ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือแปลว่า แบน พระเปิม ส่วนใหญ่มีขนาดความกว้างราว ๒.๕- ๓ เซนติเมตร สูง ๔ เซนติเมตร คล้ายกับพระคงซึ่งเป็นพระพิมพ์แสดงปางมารวิชัย พระเศียรโล้น ไม่มีพระเกตุมาลา ครองจีวรห่มคลุมเรียบบางแนบพระวรกาย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานมีกลีบบัว รองรับด้วยแนวเส้นตรง ๒ - ๓ เส้น เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มปรกโพธิ์ ลักษณะรูปแบบของพระเปิม จะแตกต่างไปจากพระคงคือ พระพักตร์จะชัดเจนกว่า และไม่มีเส้นประภาวลี หรือรัศมีรอบพระวรกาย มีชายสบงแผ่ออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลมออกมาระหว่างพระเพลา ลักษณะการประทับนั่งแบบขัดสมาธิเพชรที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปในศิลปะพุกามที่มีรูปแบบจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะอินเดียแบบปาละและคุปตะที่ปรากฏในพระพุทธรูป และพระพิมพ์ชนิดอื่นๆในวัฒนธรรมหริภุญไชย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ พระเปิม ข้อมูลส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่าพบที่กรุวัดดอนแก้ว ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่บริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว ตรงข้ามแม่น้ำกวง หน้าวัดพระธาตุหริภุญไชย ปรากฏในตำนานว่าเป็นที่พระนางจามเทวีให้สร้างขึ้น เรียกว่า วัดอรัญญิกรัมการาม ซึ่งพบโบราณวัตถุประเภทอื่นๆ เช่น ศิลาจารึก อักษรมอญโบราณ และพระพุทธรูปหินทรายศิลปะหริภุญไชย อ้างอิง บัณฑิต เนียมทรัพย์. “พระพิมพ์ที่พบในจังหวัดลำพูน” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙.สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗ อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพ์สกุลลำพูน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑.
การสำรวจศิลปกรรมประเภทแกะสลักหินทรายบนทับหลัง โบราณสถานประเภท อโรคยาศาล..."ปราสาทโคกงิ้ว"
โดย นายรัชฎ์ ศิริ นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
ปราสาทโคกงิ้ว หมู่ที่ ๓ บ้านโคกงิ้ว ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๐ ตอนที่ ๓๖ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๖ พื้นที่โบราณสถาน ๑ ไร่ ๓ งาน ๘๗ ตารางวา
องค์ประกอบของโบราณสถาน
๑.ปรางค์ประธาน เป็นปรางค์ขอมสร้างด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตรัสย่อมุม มีขนาดประมาณ ๕x๕ เมตร มีประตูทางด้านทิศตะวันออก อีก ๓ ด้านเป็นประตูหลอก อยู่ในสภาพพังทลายเหลือเพียงฐาน
๒.บรรณาลัย ก่อด้วยศิลาแลง ขนาดประมาณ ๔x๗ เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ประธาน จากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังแกะสลักหินทรายรูปคชลักษมี ซึ่งหล่นอยู่ภายในบรรณาลัย และได้นำไปเก็บไว้ เพื่อจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
๓.กำแพงแก้วและซุ้มประตู กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดประมาณ ๒๕x๒๕ เมตร มีซุ้มประตูหินทราย(โคปุระ)อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลง
๔.สระน้ำประจำโบราณสถาน ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกกำแพงแก้ว เป็นสระดินขนาดประมาณ ๑.๐๐x๑.๕๐ เมตร