ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.426/4คห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 72 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153 (109-119) ผูก 4ค (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.568/2ก ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 47.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186 (347-356) ผูก 2ก (2566)หัวเรื่อง : ลำมูลนิพพาน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันพุธที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ นางปริญญา สุขใหญ่ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ได้รับการประสานจากนายสมศักดิ์ เพ็งสวัสดิ์ ชาวบ้านหนองกระทม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ว่านายสุริตร สุภาวหา ชาวบ้านหนองกระทม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ จะมอบโบราณวัตถุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ และเวลา ๑๓.๐๐ น. มอบให้ณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ และนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เข้าไปตรวจสอบและรับมอบ เป็นกระปุกขนาดเล็ก ๓ ชิ้น ฝาภาชนะ ๑ ชิ้น หินลับ ๑ ชิ้น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาประเภทไห ๒ ใบ อุปกรณ์เหล็ก และตะกั่ว
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 14 พฤษภาคม 2566”
ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีการเลือกตั้งล่วงหน้าไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย คำว่า "ประชาธิปไตย" แปลว่า "ประชาชนเป็นใหญ่" คือการที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย หรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ประชาชนทั้ง 65 ล้านคนจะเข้าไปปกครองบริหารประเทศทั้งหมดด้วยตนเองย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ตัวแทนที่ตนเลือกเพื่อให้ไปทำหน้าที่แทน ดังนั้นวันเลือกตั้ง ก็คือวันที่ประชาชนไปมอบอำนาจอธิปไตย หรือไปมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้แทนที่ตนเลือกนั่นเอง
ถ้าผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปสามารถทำหน้าที่แทนประชาชนได้อย่างดี มีประสิทธิภาพสมกับที่ประชาชนไว้วางใจ ประชาชนก็จะอยู่ดีมีสุข ประเทศชาติและท้องถิ่นเจริญพัฒนา ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการเยียวยาแก้ไข
แต่ถ้าประชาชนเลือกผู้แทนที่ไม่ดี ไม่มีความรู้ความสามารถขาดคุณธรรม ได้รับเลือกตั้งด้วยการทุจริต ใช้เงินซื้อเสียง หลบเลี่ยงกฎหมาย เมื่อได้เข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน ก็ต้องถอนทุนคืนด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นเงินงบประมาณที่จะไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนก็รั่วไหล ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก็ไม่ได้รับการแก้ไขเพราะตัวแทนที่เลือกเข้าไปไม่มีความคิดรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และทรยศต่อประชาชนที่ไว้วางใจมอบอำนาจอธิปไตยให้ตนเข้าไปทำหน้าที่แทน
การเลือกตั้งจึงมีความสำคัญที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปทำหน้าที่เลือกตัวแทน โดยพินิจพิจารณาเลือกอย่างละเอียดรอบคอบพิถีพิถัน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบหนึ่งสำหรับเลือกบุคคลที่ชื่นชอบ ที่จะไปเป็นผู้แทนในสภา อีกบัตรหนึ่งเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ
ก่อนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มาทำความเข้าใจเพื่อป้องกันความสับสน ในการลงคะแนนเสียง การเลือกตั้งครั้งนี้ มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ใบที่ 1 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (สีม่วง) มีหมายเลขผู้สมัคร และ ช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค
ใบที่ 2 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และ มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง
ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-17.00 น. ขอเชิญผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เข้าคูหา กาบัตรเลือกตั้ง เลือกคนที่รัก และ เลือกพรรคที่ชอบ
ข้อมูลประกอบ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ยาขอบ. สามก๊ก ฉบับวนิพก ภาคสอง. พระนคร: ผดุงศึกษา, ๒๔๙๖.
สามก๊กฉบับวนิพก เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงของยาขอบ โดยการนำตัวละครจากวรรณกรรมจีนเรื่อง “สามก๊ก” มาเล่าใหม่ในมุมมองของวณิพก ที่สอดแทรกด้วยเกร็ดความรู้และสำบัดสำนวนชั้นบรมครู และย่อเรื่องตามลักษณะเด่นของตัวละครขึ้นใหม่โดยได้รวบรวมเนื้อหาไว้อย่างสมบูรณ์ตามฉบับเดิม ซึ่งเนื้อเรื่องในภาคสอง ประกอบด้วย - ขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร - จิวยี่ ผู้ถ่มน้ำลายรดฟ้า - ชีชี ผู้เผ่นผงาดเสมอเมฆ - สุมาเด๊กโช ผู้ชาณอโปกสิณ - ลกเจ๊ก ผู้ร่ายโศลกเอาชีวิตรอด
- เอียวสิ้ว ผู้คอขาดเพราะขาไก่
- ยี่เอ๋ง ผู้เปลือยกายตีกลอง และเตียนอุย ผู้ถือศพเป็นอาวุธ
วันนี้เรามาลองออกเสียงสำเนียงพวนบ้านเชียงกันนะคะ"คำเว้าเฮาชาวไทพวน"โดย นางสาวฐิรกานดา ชมราศรี สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
พระพิฆเนศร์
แบบศิลปะ : ลพบุรี
ชนิด : ปูนปั้น
ขนาด : สูง 37 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนติเมตร
อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 18
ลักษณะ : ประติมากรรมพระพิฆเนศร์ มีพระวรกายเป็นมนุษย์ พระเศียรเป็นช้าง สวมเทริดแบบกะบังหน้า มีมงกุฎทรงกรวย รายละเอียดพระพักตร์ไม่ชัดเจน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นแตะงวง พระหัตถ์ขวาถือวัตถุอย่างหนึ่ง
สภาพ : ชำรุด ผิวปูนสึกกร่อน รอยร้าวบริเวณพระพักตร์ พระกรขวาและงวงด้านล่างหักหายไป
ประวัติ : พบจากแหล่งโบราณสถานเนินทางพระ ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543
สถานที่จัดแสดง : ห้องเมืองสุพรรณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/16/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ครูแจ้ง คล้ายสีทอง
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗"ในวาระ ครบรอบ ๑๙๓ ปี ชาตกาล"พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๕๖๗เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๖๓ครองเมืองน่าน ปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๖๑ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านขอนำภาพถ่ายเก่าที่เกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มานำเสนอประวัติของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ พระเจ้านครน่านจากหนังสือแจกในงานศพพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช • พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราช วงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบุลยศักดิกิติไพศาล ภูบาลบพิตร สถิตย์ณนันทราชวงษ์ (สุริย ณน่าน) พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ป,จ. ป,ม.ท,ช.ร,จ,พ. เปนบุตรเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าสุนันทาเปนมารดา พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ ประสูตรในรัชกาลที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๙๓ พระพุทธศักราช ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เปนพระยาราชวงษ์ ถึงรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ว่าที่เจ้าอุปราช นครน่าน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เปนเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้รับ พระราชทานพระสุพรรณบัตร เปนพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ พระเจ้า ผู้ครองนครน่าน แต่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมารวมเวลา ๖๓ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๐ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ ประชวรเปนโรคชราอาการทรงบ้างทรุดบ้างเสมอมาจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ อาการมากขึ้น แพทย์หลวงแลแพทย์เชลยศักดิประกอบยารักษาโดยเต็มกำลังอาการหาคลายไม่ ถึงวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ เวลา ๔ นาฬิกา ๕๐ นาทีก่อนเที่ยง พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ฯ ถึงแก่พิราไลย อายุได้ ๘๗ ปี ๒ เดือน ๒๘ วัน ครองนครน่านมาได้ ๒๕ ปี
พระบรมธาตุเมืองน่าน ประดิษฐาน ณ พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร พระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ กรุงเทพมหานครพระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร หรือ พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร พระประธานพระวิหารทิศใต้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงเก่า (สุโขทัย) โดยมีกรมหมื่นวงศาสนิท พระองค์เจ้ามรกต (กรมขุนสถิตยสถาพร) พระองค์กลาง (กรมพระเทเวศรวัชรินทร) ทรงกำกับการสร้างวิหารทิศ ๔ ดังปรากฎความใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่า"...พระพุทธรูปน่าตักสี่ศอกห้านิ้ว เชิญมาแต่กรุงเก่าปติสังขรณ์เสรจ์ แล้วปดิษถานไว้ในพระวิหารทิศใต้ ถวายพระนามว่าพระพุทธิเจ้าเทศนาพระธรรมจักรมีพระปัญจะวักคีทังห้านังฟังพระธรรมเทศนาด้วย แลผนังนั้นเขียนเรื่องเทศนาพระธรรมจักรแลเทศนาดาวดิงษ์.."ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ถวายพระนามพระพุทธชินราช ดังปรากฏจารึกไว้ที่ฐานว่า"พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร"“...พระวิหารทิศใต้ พระวิหารนี้ มุขหน้าประดิษฐานพระชินราชซึ่งเชิญมาต่เมืองสุโขทัย ปางเทศนาธรรมจักร มีพระเบญจวัคคีย์อยู่ข้างหน้า เขียนภาพตั้งแต่เทศนาธรรมจักรจนถึงธาตุอันตรธาน ช่างเขียนกรมช่างมหาเล็ก มุขหลังเขียนเรื่องฎีกาพาหุง ๘ บท หลวงกรรภยุบาทว์เจ้ากรมเป็นผู้กำกับการซ่อม จ่าจิตรนุกูลกรมมหาดเล็กเป็นผู้ตรวจ”ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๕๑ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้พบพระธาตุ บริเวณท่าปลา บ้านแฝก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช วิหารทิศใต้ ดังความในหนังสือราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ว่า“...อยู่มาจนเถิงจุลศักราชได้ ๑๑๗๐ ตัว ปีเบิกสีเดือน ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ำเจ้าฟ้าหลวงท่านก็เสด็จลงไปเฝ้าพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้ ท่านเสด็จลงไปเถิงท่าปลาบ้านแฝกหั้นแล้ว ยามนั้นยังมีเจ้าสามเณร ๒ ตนตน ๑ ชื่อว่าอริยะ ตน ๑ ชื่อว่าปัญญา ลงไปสู่ท่าน้ำเวลายามเช้าท่านก็ได้หันยังไหจีนลูก ๑ ฟูปั่นแคว้นอยู่ที่วังวนปากถ้ำหั้น ก็กันลงไปเอาออกมาแล้วก็ไขดู ก็หันพระเกษาธาตุเจ้าดวง ๑ ลอยเข้ามุกดาหาร ไว้ ๔ ดวง แลธาตุพระเจ้าอารัตนเจ้ามี ๒๖๐ ดวง มีพระพิมพ์คำ ๖๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐๔ องค์ แลพระพุทธรูปแก้วมี ๔ องค์ ต้นดอกไม้คำต้น ๑ ต้นดอกไม้เงินต้น ๑ น้ำต้นเงินต้น ๑ น้ำต้นคำต้น ๑ ไตลเงิน ลูก ๑ ไตลคำลูก ๑ ภายในใส่แก่นจันทน์ขาว หมอนคำลูก ๑ ภายในใส่แก่นจันทน์แดงแลใส่ช้างจ้อยม้าจ้อย เงินคำมี ๖๐ สาดเงิน ๑ สาดคำ ๑ แก้วแหวนมีพร้อมทุกอัน ครั้นท่านลงไปเถิงแล้วท่านหื้อช่างเครื่องมาตีแปงยังโขงเงินใส่แล้ว แปงต้นดอกไม้เงินต้น ๑ ต้นดอกไม้คำต้น ๑ บูชาไว้กับพระธาตุเจ้าแล้ว ท่านก็นิมนต์เอาพระสงฆเจ้ามาฉลองฟังธรรมพุทธาภิเศกใส่บาตรหยาดน้ำหมายทานแล้ว ท่านก็นิมนต์เอาเกษาธาตุเจ้าเข้าสู่เรือเอาล่องไปเมตตาพระมหากระษัตริย์เจ้าเมืองใต้หั้นแล พระมหากระษัตริย์เจ้าครั้นได้ทราบรู้ยิน ยังเจ้าฟ้าพระเกษาธาตุเจ้าลงไปถวายสันนั้น ท่านก็มีความชื่นชมโสมนัศยินดีหาประมาณบ่ได้ แล้วท่านก็แต่งเฉลี่ยงคำพร้อมแลขันคำพร้อมด้วยเครื่องสงเสพ คือดุริยดนตรี มาต้อนรับเอาแล้ว ก็สงเสพแห่แหนนำเข้าไปเถิงท้องปราสาทแล้วก็กระทำสักการบูชายังพระเกษาธาตุเจ้า ด้วยเครื่องบูชาทั้งหลายต่าง ๆ หั้นแล เมื่อนั้นพระมหากระษัตริย์เจ้าท่านก็มีธูปเทียนขอนิมันตนายังพระเกษาธาตุเจ้าอยู่เมตตาโปรดในกรุงเทพมหานครหั้นแล แล้วท่านก็มีความยินดีกับด้วยเจ้าฟ้ายิ่งกว่าเก่า แล้วก็ปงพระราชทานรางวัลสมนาคุณบุญเจ้าฟ้าเปนอันมากนักหั้นแล เจ้าฟ้าหลวงก็มาเมี้ยนแก่ราชกิจการทั้งมวลแล้ว ท่านก็กราบทูลลาพระมหากระษัตริย์เจ้า แล้วท่านก็เสด็จขึ้นมาเถิงเมืองแล้วในเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำวันนั้นแลครั้นว่าท่านเสด็จขึ้นมาฮอดเมืองแล้ว ท่านจิงจักเชิญปกเตินยังเจ้านายขัติยวงษาขุนแสนขุนหมื่นรัฐประชาไพร่ไทยทั้งหลายมวล หนภายในภายนอกทั้งมวลในจังหวัดนครเมืองน่านทุกแห่ง หื้อตกแต่งสร้างยังสรรพสู่เยื่องเครื่องครัวทานแลเครื่องเล่นทั้งหลายพร้อมสู่เยื่อง หื้อมีรูปสรรพรูปทั้งหลายพร้อมสู่อันแล้ว เถิงวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำท่านก็มีอาชญาแก่เจ้านายเสนาอามาตย์ไพร่ไทยทั้งหลายตั้งเล่นมโหรศพ ในท้องข่วงสนามไปถาบเถิงวันเดือนเพ็งนั้นเวลาเช้า ก็จิงจักยกครัวทานทั้งหลายมวลขึ้นไปในข่วงแก้วภูเพียงแช่แห้ง ได้นิมนต์พระสงฆเจ้าแลสามเณรมารับทานที่ในข่วงพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง รวมเส้นหัววัดมี ๑๓๙ หัววัด รวมภิกษุสงฆเจ้าทั้งหลายมี ๔๖๓ องค์ รวมสามเณรมี ๘๖๓ องค์ รวมเข้ากันมี ๑๓๒๖ องค์แล ทินนวัตถุทานหอผ้ามี ๑๓๖หลังท่านก็ได้แปงบอกไฟขวีใหญ่บอก ๑ ใส่ดินไฟเสี้ยง ๓๔๗,๐๐๐ อัน หนป่าวอนุโมทนาทาน มีบอกไฟขึ้นตั้งแต่ ๑๐๐๐๐ นับลงลุ่มมี ๑๔๔ บอก บอกไฟขวีน้อยแลบอกไฟกวาง บอกกงหัน บอกไฟดาว บอกไฟนก บอกไฟเทียน แลปฏิช่อธุง ทั้งมวลจักคณนาบ่ได้ มีตั้งต้นกัลปพฤกษ์สรรพทั้งมวลแล แต่บอกไฟขึ้นเจาะ ๓ วันจิงเมี้ยนบริบวรณ์แล...”ความในจารึกครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน ความว่า“ศุภมัสดุ ๒๓๕๑ นาคสังวัจฉรอาลุชมาศศุกปักษฉดฤษถี สุริยวารกาลปริเฉทกำหน พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกราชาธิราช รามาธิบดี ศรีวิสุทธิคุณวิบูลยปรีชา ฤทธิราเมศวรราช บรมนาถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์อนันตวิริยาทิโพธาภิรัต ผ่านสมบัติ ณ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ เสด็จออก ณ พระที่นั่งบุศบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน โดยสถานอุตราภิมุข พร้อมด้วยพระบรมราชวงศาเสนาพฤฒามาตย์ราชชมนตรี กระวีชาติปโรหิตาจารย์ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยอันดับ จึงพระยามหาอํามาตยาธิบดี พิริยพาหะ ผู้ว่าที่สมุหนายก กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เจ้าฟ้าเมืองน่าน บอกลงมาว่า ณ วันเดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก พระบรมสารีริกธาตุกระทำพระอิทธิปาฏิหาริย์ บันดาลไหซึ่งใส่พระธาตุนั้นให้ผุดขึ้นมาลอยวนอยู่หลังน้ำ ตรงปากถ้ำน้ำน่านใต้ท่านบ้านแฝก สามเณรสององค์ลงไปดูนาวาท่าน้ำแลไป สำคัญใจว่าผลฟักลอยอยู่ ลงเรือไปดูเห็นเป็นไหเคลือบเขียวสอาด จึงยกขึ้นสู่นาวาพาเข้ามาบอกพระสงฆ์ช่วยกัน เปิดดูเห็นกล่องเงินใหญ่ใส่พระธาตุ ๒๓๕ องค์ กับพระพุทธรูปแก้วเงินทอง ๒๗๒ องค์ ทั้งเครื่องสักการบูชา มีรูปช้างม้า ต้นไม้ คนโท ผอบ แผ่นเงินทอง กล่องเข็มจอกใส่พลอย ทุกสิ่งสรรพเครื่องพิจิตรด้วยสุวรรณ หิรัญรัตนประดับอยู่ในไห พระสงฆ์สามเณรจึงช่วยกันเชิญพระบรมธาตุไปได้ที่ควร ชวนกันทำสักการบูชา พอเจ้าฟ้าเมืองน่านล่องลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แจ้งว่าเจ้าสามเณรได้พระบรมธาตุเป็นมหัศจรรย์ หามีที่สำคัญ อารามใกล้ชํารุดทรุดพังไม่ พระบรมธาตุกระทำพระปาฏิหาริย์ ให้ปรากฎ ดังนี้ด้วยเดชพระบารมีพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าเมืองน่านจึงเชิญพระบรมธาตุใส่เรือขนานแห่ลงมาทูลเกล้าฯ ถวาย ครั้นได้ทรงฟัง ทรงพระปีติโสมมนัก จึงมีพระราชโองการ มานพระบัณฑูร สุรสิงหนาทดํารัสสั่ง ให้เสวกามาตย์ราชมนตรีแต่งที่และเครื่องสักการบูชา แห่พระบรมธาตุขึ้นมาจากเรือ เชิญสถิตย์เหนือพระแท่นในพระที่นั่งมหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยการสมโภชโสรจสรงทรงถวายเครื่องสักการบูชา แล้วให้ประชุมธรรมธราชาติราชบัณฑิตยทั้งปวง มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เลือกจัดพระธาตุได้ต้องตามพระบาลี มีศรีสัณฐานต้องด้วยอย่างเป็นพระบรมสารีริกธาตุแท้ ๔๙ พระองค์ เหลือนั้นเป็นธาตุพระอรหันต์ ๑๑๖ พระองค์ ทรงเชิญพระบรมธาตุใส่ในพระโกศให้เสด็จอยู่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กิติศัพท์ก็ปรากฏทั่วทุกประชาชนชาติ เกิดประสาทศรัทธาเลื่อมใส เกลื่อนกล่นกันมากระทำสักการบูชา บ้างถวายหิรัญวัดถาลังการเครื่องประดับ จึงทรงพระราชดําริว่า พระบรมสารีริกธาตุ กระทำพระพุทธอิทธิปาฏิหาริย์มาแต่เมืองน่านครั้งนี้ เป็นศุภศิริสวัสดิ์มหัศจรรย์นัก ซึ่งจักประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ไปภายหน้าสรรพเครื่องสักการบูชาแห่งทายกเก่าใหม่กับเครื่องพุทธบูชา ซึ่งอุทิศไว้ในพระแก้วมรกตก็จะบริคณห์กลิ่นเกลื่อนกัน เข้าหาควรไม่ และพระชินราชกับพระชินศรีซึ่งอยู่ ณ เมืองสุโขทัยนั้นต้องแดดฝนตรากตรำคร่ำคร่าเพลิงป่าเผาแตกพัง หาผู้จะรักษาทํานุบํารุงไม่ ให้อาราธนาลงมาปฏิสังขรณ์พระลักษณสิ่งใดมีต้องด้วยพระพุทธลักษณให้ช่างซ่อมแปลงแต่งให้ต้องด้วยพระอรรถกถาบาลี บัดนี้ก็สำเร็จแล้ว จักเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปจึงจะควร ในปีมะโรง สัมฤทธิศกนั้น เมื่อได้ศุภสวัสดิฤกษ์ ทรงพระกรุณาให้เชิญพระบรมธาตุ ในพระราชวัง ๔๑ พระองค์ กับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน ๒๓๕ พระองค์ ทรงสรงพระสุคนธวารีเสร็จเชิญเสด็จเหนือพระยานุมาศ ให้ตั้งพลพยุหกระบวนแห่เป็นชนัด พร้อมด้วยเครื่องสูงแลราชวัตรฉัตรธงผ้าธงปฏาก พิณพาทย์แตรสังข์ ดุริยางค์ดนตรีประโคมแห่ลงไป ณ วัดพระเชตุวันาราม สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชศรัทธา อุสาหะเสด็จพระราชดำเนิรไป ทรงบรรจุพระบรมธาตุในพระราชวัง เข้าไว้ในพระชินศรีแต่ ๓๐ พระองค์ แล้วเชิญพระชินศรีสถิตย์ ที่พุทธอาสน์ ในพระวิหารด้านทักษิณทิศ สนองพระพุทธองค์ดุจทรงสถิตย์นั่งเสวยผลศุภฌานสมาบัติ ภายใต้ร่มไม้จิก แทบขอบสระมุจลินท์ แล้วเชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๑๑ พระองค์นั้น บรรจบกับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่านเข้ากัน ๖๐ พระองค์ กับทั้งไห ใส่เครื่องสักการบูชาเก่าใหม่ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช เชิญขึ้นสถิตย์เหนือวิจิตรบวรพุทธอาสนใน พระวิหารด้านประจิมทิศไว้เป็นที่เจดียถาน ให้เป็นที่สักการบูชาสนองพระพุทธองค์ดุจทรงนั่งตรัสพระสธรรมเทศนาพระธรรมจักรกัปปวัตนสูตรโปรดปัญจวัคคียภิกษุทั้ง ๕ ในอิสิปตนมฤคทายวัน จึงเชิญธาตุอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ใส่ในพระโกศแก้ว ๕ ใบ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระปัญจวัคคียภิกษุสาวกทั้ง ๕ แล้วทรงพระกรุณาให้จัดช่วยคนเป็นข้าพระบรมธาตุครัวหนึ่ง ๖ คน เป็นเงิน ๗ ชั่ง แลเงิน ซึ่งทายกบูชามาแต่เมืองน่านมีอยู่แต่ชั่งสิบตำลึง เงินบูชา ณ กรุงฯ สามชั่ง หกตำลึงหาพอไม่ จึงทรงพระราชศรัทธาให้เอาเงินตรา ณ ท้องพระคลังเพิ่มเข้าอีก ๒ ชั่ง ๔ ตำลึง เข้ากันเป็นเงิน ๗ ชั่ง ช่วยถ่ายชายหญิงได้ ๖ คน เป็นข้าพระบรมธาตุ สำหรับอภิบาลรักษาไวยาวจกร เพื่อจะให้พระบรมธาตุเจดีย์ถาววัฒนาการถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา ให้เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่อมรเทพดามนุษย์ กระทำสักการบูชาไปภายหน้า แล้วทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลนี้ให้ไปถึงผู้ศรัทธาสร้างพระพุทธปฏิมากร ทั้งผู้บรรจุพระบรมธาตุนี้ไว้ แลให้ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ ให้อนันตจักรวาล จงเป็นปัจจัยแก่พระบรมาภิเศกสมโพธิญาณในอนาคตกาลโน้นเถิด”บรรณานุกรมประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ฯ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร : กรุงเทพฯ . ๒๕๑๗ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ เรื่องราชวงษปกรณ์ พงษาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผนิตเดช พระเจ้านครน่านให้แต่งไว้สำหรับบ้านเมือง. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร : พระนคร. ๒๔๖๑
องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เรื่อง รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๓ ชุดที่ ๑ : สารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย รายการ สยามศิลปิน ปีที่ ๓ ชุดที่ ๑ เป็นรายการสารคดีอัตชีวประวัติศิลปินไทย ซึ่งผลิตขึ้นในนาม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว), ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ (เสาหลักการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ของไทย), เอื้อ สุนทรสนาน (ขุนพลเพลงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คีตศิลปิน ๔ แผ่นดิน), พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น (สถาปนิกเอกสถาปัตยกรรมไทย), เสนีย์ เสาวพงศ์ (นักเดินทางผู้ฝากรอยหมึกไว้บนผืนแผ่นดิน), ประยูร ยมเยี่ยม (แม่ครูเพลงพื้นบ้านคนสำคัญของแผ่นดิน ศิลปินของประชาชน), สุรพล โทณะวณิก (ผู้พลิกชีวิตด้วยบทเพลง), ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ (ผู้รังสรรค์ สืบสาน สถาปัตยกรรมไทย), หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ปราชญ์แห่งสยาม และบุคคลสำคัญของโลก), แท้ ประกาศวุฒิสาร (สุภาพบุรุษเสือแท้)ผู้รวบรวมและเรียบเรียง : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่แหล่งอ้างอิง :สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=OX5xo08BTLs, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - ประดิษฐ์ ยุวพุกกะ ผู้รังสรรค์ สืบสาน สถาปัตยกรรมไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=5FxeMct2yo8, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - ประยูร ยมเยี่ยม แม่ครูเพลงพื้นบ้าน คนสำคัญของแผ่นดิน ศิลปินของประชาชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=52RUYx4Tutg, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิกเอก สถาปัตยกรรมไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=O3dJ3PVgYNw, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ เสาหลักการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ของไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=x7gZF0nKCuo, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - สุภาพบุรุษเสือแท้ "แท้ ประกาศวุฒิสาร". [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=cYsTRJmn5vk, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - สุรพล โทณะวณิก ผู้พลิกชีวิตด้วย บทเพลง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=20fiZbN7r9U, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - เสนีย์ เสาวพงศ์ นักเดินทาง ผู้ฝากรอยหมึกไว้บนผืนแผ่นดิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=6yn2dhDz3PY, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ปราชญ์แห่งสยาม และบุคคลสำคัญของโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=eyt6jCcY7Vs, ๒๕๕๘.สยามศิลปิน The Greatest Thai Artists. สยามศิลปิน - เอื้อ สุนทรสนาน ขุนพลเพลง แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คีตศิลปิน ๔ แผ่นดิน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๕, จาก: https://www.youtube.com/watch?v=wmAViE1Aj7s, ๒๕๕๘.สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
วันที่ 30 มีนาคม 2566 นางทัศนีย์ เทพไชย ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับผู้ช่วยศาสตราจารย์ อติเทพ แจ้ดนาลาว คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ( Atithep Chaetnalao ) และน้องๆนักเรียนที่มาร่วมทดสอบเล่นบอร์ดเกมในโครงการวิจัย เรื่อง : นวัตกรรมการสืบสานตำนานเสือเมืองสุพรรณบุรีโดยใช้บอร์ดเกม (Board Game Innovation for preserving and passing on the Legend of Muang Suphan Thief) จากกองทุนวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
วันที่ 5 เมษายน 2567 ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 หัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรเฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2567 และวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ ศาลาการเปรียญวัดแค ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนางอภิญญา เอี่ยมอำภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด