ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ข้าว (ตอนที่ ๔ : พัฒนาคุณภาพชีวิต)นอกจากการทดลองทำนาข้าวสำหรับเพาะปลูกในพื้นที่ราบแล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ยังทรงมีพระราชดำริให้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกบนภูเขาและหุบเขา รวมถึงที่ดอน เนื่องจากในแต่ละพื้นที่นั้นมีสภาพที่แตกต่างกัน มีความต้องการน้ำที่แตกต่างกัน และพันธุ์ข้าวตามแนวพระราชดำริที่มีการศึกษาวิจัยในสภาพพื้นที่ต่าง ๆ ก็กลายมาเป็นข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย และยังส่งผลมาถึงชาวไทยทุกคน ที่จะมีข้าวดี มีคุณภาพ รสชาติอร่อย ไว้บริโภคอย่างต่อเนื่องเรื่อยไปในอนาคต#ข้าวพันธุ์พระราชทาน
--- วันพญาวัน ---
“วันพญาวัน” วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ (ในปี 2564 นี้ วันพญาวันตรงกับวันที่ 16 เม.ย. )
. ในวันนี้มีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เช้าตรู่และอุทิศส่วนบุญกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือที่เรียกว่า “ทานขันข้าว ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำ พระพุทธรูปเจดีย์ วันนี้คนล้านนาจะทัดดอกไม้นามปี เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต (ปี 2564 นี้ ดอกไม้นามปี คือ ดอกบุนนาค)
. นอกจากนี้ วันนี้ยังเป็นวันที่นิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ เช่น มนต์คาถา สักยันต์ หรือทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู และในหลายพื้นที่ยังมีกิจกรรมแห่ไม้ค้ำศรี หรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนาและค้ำชูอุดหนุนให้แก่ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศลซึ่ง สมเด็จพระเจ้าภคีนีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐ ครบ ๔๒ ปี
มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๓๒ วันประสูติสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๓๒ พระนามลำลองว่า "เอียดเล็ก" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"
พระองค์มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระบรมราชชนนี ๗ พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
- สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พุทธศักราช ๒๔๔๑ ทรงรับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัตรดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทร์ศก สะตะสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนนครราชสีห์มา ครั้นพุทธศักราช ๒๔๔๘ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการทหารบก
ในรัชกาลที่ ๖ เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ ตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล เลื่อนเป็นนายพลเรือเอก ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๖
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เสด็จทิวงคตในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๗ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๖๘) สิริพระชันษา ๓๖ ปี ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเมื่อทิวงคตแล้ว
สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากทั้งพระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี
ภาพ : สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนร่วมรับฟังการเสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์“Museum Streaming Talk” ผ่านช่องทาง Facebook : Office of National Museums, Thailandระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2564 นี้
รับชมคลิปแนะนำกิจกรรม “Museum Streaming Talk” (Teaser)#ThailandMuseumExpo2021 #มหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย2564 #เสวนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ #MuseumStreamingTalk#สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ #OfficeofNationalMuseumsThailand #กรมศิลปากร------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------สอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่Facebook Page : Office of National Museums, ThailandYouTube : Office of National Museums, Thailand
ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว เพื่อให้ข้าวเหนียวอยู่ได้นานตลอดวันและไม่แฉะ สมัยโบราณใช้กันทั่วไปในเขตล้านนา ทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น สานด้วยตอกไม้ไผ่ สานด้วยใบลาน หรือสานด้วยใบตาล มีหลายขนาด แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ ความกว้าง ๗๐ - ๘๐ ซม .ขึ้นไป เรียกก่องเข้าหลวง ใช้เมื่อมีงานใหญ่ในชุมชน ขนาดกลาง ความกว้าง ๓๐ ซม. ใช้ในครัวเรือน ขนาดเล็ก ความกว้าง ๒๐ ซม.ขึ้นไป ใช้สำหรับพกพาอาหารไปตามที่ต่าง ๆ เช่น ทำไร่ไถนา หรือ ไปค้าขายภาพ :๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด ประเพณีทอดกฐินเมืองเหนือ๒. พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการามอ้างอิง : โรงเรียนวัดเสด็จ.ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Online). http://www.watsadet.ac.th/increase_data/local/index.html#top, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
ชื่อเรื่อง นางปัญจปาปา (เรื่องนางปัญจปาปา)
สพ.บ. 304/1
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลาน
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ลักษณะวัสดุ 64 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57.8 ซม.
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรจขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.307/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 56.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อาการวตฺตสุตฺต(อาการวัตตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม