ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
วัสดุ หินทรายสีเทา
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12
ตัวอักษร อักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต
สถานที่พบ พบจากการขุดแต่งแหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2549
บริเวณด้านหน้าของฐานหน้ากระดานล่างมีจารึกอักษรปัลลวะ อายุพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นข้อความภาษาสันสกฤต 4 บรรทัด ในรูปแบบฉันท์อนุษฏุภ 4 บท ซึ่งมีคำแปลอยู่ 2 สำนวนดังนี้
1. แปลโดย นายสุรสิทธิ์ ไทยรัตน์ นักภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ กรมศิลปากร
(บรรทัดที่ 1-2) พระราชาผู้ทรงพระนามว่า จิตรเสน ผู้เป็นพระนัดดาของพระศรีสารวเภามะ เป็นพระโอรสของพระศรีวีรวรมัน โดยแท้จริงแล้ว แม้ว่าทรงเป็นพระอนุชาตามศักดิ์ แต่ทรงได้เป็นพระภราดาของพระศรีภววรมัน ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ต่อจากนั้นมาจึงทรงได้รับการขนานพระนามใหม่ว่า พระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน
(บรรทัดที่ 3) พระองค์ได้แสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระศิวะผู้ทรงพระนามว่า พระพฤษธวัช ได้สร้างรูปพระโคที่ตกแต่งด้วยศิลาอย่างดี ขณะที่ทรงสำเร็จความสมประสงค์ที่พระองค์ทรงมีชัยชนะอยู่เหนือราชอาณาจักรทั้งปวง
(บรรทัดที่ 4) พระองค์ทรงมีพระปัญญาปราดเปรื่องที่สมบูรณ์ด้วย (ความยิ่งใหญ่ในการปราบข้าศึกศัตรู) ทรงมีพระดำรัสถึงเรื่องโบราณราชประเพณีที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ทรงใฝ่พระทัยอยู่ทุกขณะที่จะปราบปรามศัตรูให้อยู่ในอำนาจด้วยการ 1.ระมัดระวังกองทัพมิให้ประมาท 2.บำรุงรักษากำลังกองทัพด้วยดี และ 3.จัดระเบียบกองทัพให้เข้มแข็ง
2. แปลโดย นายรุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ภายใต้การตรวจของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ที่ปรึกษาศูนย์สันสกฤต มหาวิทยาลัยศิลปากร Prof. Dr. Peter Skilling, Representative of Pali Text Society (Oxford England)
(บรรทัดที่ 1-2) พระราชาผู้ทรงมีพระนามว่า จิตรเสน ทรงเป็นพระนัดดาในพระเจ้าศรีสารวเภามะ พระราชบุตรในพระเจ้าศรีวีรวรรมัน แม้เป็นพระอนุชาองค์น้อยในพระเจ้าศรีภววรรมัน แต่ก็ได้รับราชาภิเษกเป็นพระราชา ก็ด้วยพระราชอำนาจที่มากอย่างแน่นอน ภายหลังพระองค์ก็ทรงมีพระนามว่า พระเจ้าศรีมเหนทรวรรมัน
(บรรทัดที่ 3) เมื่อพระองค์พิชิตดินแดนทั้งหลายได้แล้ว ด้วยความภักดีต่อพระวฤษธวชจึงได้สถาปนาโคศิลา ณ ดินแดนแห่งนี้
(บรรทัดที่ 4) พระองค์ทรงผูกมัดไว้แล้วซึ่งจิตใจของเหล่าข้าศึกที่ภักดีแล้ว เหมือนกับทับเหง้ามันทั้งหลายด้วยศิลา หลังจากที่พระองค์ได้ขจัดความคิดแบบเก่าทิ้งไปแล้ว...
จารึกที่พบบนฐานรูปเคารพหลักนี้ เป็นจารึกพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันหลักที่ 13 ที่พบในประเทศไทย จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่มีความสำคัญทั้งนี้เพราะเป็นจารึกหลักแรกและหลักเดียวที่พบจากการขุดแต่งทางโบราณคดี อีกทั้งยังเป็นจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมันที่พบในประเทศไทยที่มีจำนวนฉันท์มากที่สุด โดยจารึกหลักอื่นจะมีฉันท์เพียง 3 บทเท่านั้นนอกจากนี้ยังเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงนัยบางประการของทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าพื้นที่แถบนี้เป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ไม่น่าที่จะมีการอยู่อาศัยของผู้คน แต่การค้นพบจารึกหลักนี้ได้เป็นประจักษ์พยานที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยการทำกิจกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเกลือสินเธาว์ ข้าว หรืองานโลหะกรรม ซึ่งเคยดำเนินมาแล้วตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละบกซึ่งเสวยราชย์ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 12 ยังให้ความสำคัญและได้ผนวกเอาดินแดนแห่งนี้ไว้ในขอบเขตพระราชอำนาจของพระองค์
วันศุกร์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๒เวลา ๐๙.๓๐ น.คณะคุณครูและนักเรียน จากโรงเรียนเทศบาล ๑๒ บ้านช้าง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน ๗๘ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียงโดยมีนายสุพัฒน์ สุทธิบุญ เป็นวิทยากรนำชม
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดจัดพิธีเปิดงาน
“วิจิตรภูษาศิลปากร” ในวันศุกร์ที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน
กำหนดจัดนิทรรศการพิเศษผ้าไทย เรื่อง “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๑๔ สิงหาคม ถึงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
หนังสือพระราชพิธีฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นในศุภวาระที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เป็นหนังสือที่รวบรวมภาพงานพระราชพิธีในคราวนั้น โดยพิมพ์สี่สีสวยงาม 1 ชุดประกอบไปด้วยหนังสือ 2 เล่ม บรรจุในกล่องสวยงาม จำหน่ายชุดละ 600 บาท
สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย เดช ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทูมธานี โทร 02-9027940
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
คณะกรรมการจัดงานการกุศล. งานนมัสการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๕๐๙ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ปีที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๐๙. สระบุรี : ร.พ.ปากเพรียวการช่าง, ๒๕๐๙.
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศกัมพูชา
๑. ชื่อโครงการ
โครงการศึกษาความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒. วัตถุประสงค์ของคณะเดินทาง
๒.๑ สำรวจและศึกษาเปรียบเทียบโบราณสถานในประเทศกัมพูชาที่มีอิทธิพลต่อการก่อสร้างศาสนสถานในประเทศไทย
๒.๒ เพื่อสำรวจร่องรอยการกระจายตัวของศาสนสถานเขมรในพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม
๓. กำหนดเวลา
ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๓ มีนาคม ๒๕๕๗
๔. สถานที่
จังหวัดพระวิหาร จังหวัดสตึงเตรง และจังหวัดรัตนคีรี
๕. หน่วยงานผู้จัด
๑. องค์การอัปสรา
๒. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
๓. กรมศิลปากร
๖. หน่วยงานสนับสนุน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
๗. กิจกรรม
เป็นการสำรวจทางโบราณคดีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องโครงการศึกษาความเชื่อมโยงทางวัฒน ธรรมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำการสำรวจค้นหาและศึกษาร่องรอยโบราณสถานในเขตประเทศเวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว ไทย และสหภาพเมียนมาร์ ในการสำรวจรอบนี้มุ่งทำการสำรวจในพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาเนื่องจากเป็นเขตที่มีการสำรวจศึกษาน้อยเนื่องจากเป็นพื้นที่รกร้าง ยากแก่การเข้าถึง แต่มีความสำคัญในสถานะที่ปรากฏหลักฐานในสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างหนาแน่น มีกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้
๗.๑ การวางแผนการสำรวจ การจัดหาภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่ และการจัดเตรียมแผนผังการสำรวจและการนำทาง การจัดเตรียมยานพาหนะ ได้แก่ จักรยานยนต์ รถฟาร์มเกษตร การจัดเตรียมเสบียง น้ำดื่มเพื่อเดินสำรวจระยะทางไกล
๗.๒ การสำรวจและวิเคราะห์หลักฐาน
๗.๒.๑ บันทึกข้อมูลทั่วไปของสถานที่ที่พบ ได้แก่ เส้นทางการเดิน (Tracks) พิกัดภูมิศาสตร์ (WGS84) ระยะเวลา ความเร็ว ความสูงของพื้นที่ ความลาดเอียงของภูมิประเทศ รวมทั้งอุณหภูมิ
๗.๒.๒ บันทึกข้อมูลด้านกายภาพ ได้แก่ ชื่อ ที่ตั้ง เขตการปกครอง รูปแบบสิ่งก่อสร้าง วัสดุการก่อสร้าง สภาพความเสียหาย รูปแบบศิลปะ อายุสมัยการก่อสร้าง ความสัมพันธ์ด้านตำแหน่งที่ตั้งกับโบราณสถานใกล้เคียง ร่องรอยอิทธิพลของรูปแบบศิลปะต่างถิ่น
๗.๓ การสรุปข้อมูลศึกษาและจัดทำแผนที่ ทำการพล็อตตำแหน่งโบราณสถานที่สำรวจพบลงบนแผนที่ ภาพถ่ายดาวเทียม และศึกษาความสัมพันธ์ด้านตำแหน่งกับโบราณสถานข้างเคียง
๘. คณะผู้แทนไทย
นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เพชรบูรณ์
๙. สรุปสาระของกิจกรรม การสำรวจในครั้งนี้มีความมุ่งหมายศึกษาร่องรอยศิลปะแบบถาราบริวัติที่ปรากฏหนาแน่นในเขตจังหวัดสตึงเตรง แต่ได้ทำการสำรวจในพื้นที่จังหวัดพระวิหาร จังหวัดรัตนคีรีซึ่งเป็นเขตที่ยังมีการสำรวจไม่มากพอ และส่วนมากได้พบโบราณสถานขนาดเล็กในสภาพพังทลายเหลือแต่ชั้นฐานคล้ายกับในประเทศไทย ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ๑ ในเขตจังหวัดพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับถนนโบราณจากเมืองพระนครไปวัดภู แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว โดยได้พบสะพานก่อด้วยศิลาแลงในบริเวณนี้ด้วย
ถาลาบริวัติ
เป็นชื่อเมืองบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามกับที่ตั้งตัวจังหวัดสตึงเตรง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซซานที่มาบรรจบกับแม่น้ำโขง บริเวณที่ตั้งเมืองถาลาบริวัติแม่น้ำนี้มีความกว้างประมาณ ๑.๔ กิโลเมตร การข้ามฝั่งไปยังตัวจังหวัดต้องอาศัยแพขนานยนต์ ตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำพบโบราณสถานกระจายทั่วทั้งบริเวณ ปัจจุบัน Piphal Heng นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาไวอิ แห่งมานัว กำลังทำการศึกษาวิจัยในพื้นที่นี้ภายใต้การควบคุมของ ศาสตราจารย์ มิเรียม สตาร์ก โดยได้ทำการบันทึกตำแหน่งโบราณสถานที่กระจายทั้งพื้นที่ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของพื้นที่ที่มีสิ่งก่อสร้างอย่างหนาแน่น และทำการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อศึกษาลำดับสมัยทางวัฒนธรรมโดยอาศัยรูปแบบภาชนะดินเผาเป็นเกณฑ์ในการจำแนก โดยในขณะนี้ได้พบภาชนะแบบกุณฑีมีพวยเป็นรูปแบบเด่นมีการตกแต่งประณีตที่ระบุถึงการอยู่อาศัยในสมัยก่อนเมืองพระนคร ในขณะที่กลุ่มเครื่องถ้วยจีนแบบชิงไป๋และเครื่องถ้วยกุเลน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เป็นหลักฐานการอยู่อาศัยในสมัยเมืองพระนคร ดังนั้นวัตถุทางวัฒนธรรมที่พบ ณ เมืองถาลาบริวัติซึ่งถูกจัดเป็นศิลปะแบบก่อนเมืองพระนครนั้นยังได้พบการอยู่อาศัยต่อเนื่องมายาวนาน การขุดค้นในบริเวณซากโบราณสถานยังพบร่องรอยการก่อสร้างซ้อนทับเป็นทางเดิน พื้นอิฐ นอกจากนั้นยังพบร่องรอยแนวอิฐ ชั้นพื้นอิฐอยู่ทั่วไปเป็นบริเวณกว้าง
ศิลปะแบบถาราบริวัติ
ในพื้นที่ที่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างอย่างหนาแน่นแสดงรูปแบบศิลปะแบบเอกลักษณ์และถูกจัดให้เป็นอีกสมัยหนึ่งในช่วงก่อนเมืองพระนครในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีรูปแบบที่สำคัญปรากฏบนทับหลังซึ่งค้นพบในประเทศไทยด้วยจำนวน ๔ แผ่น มีลักษณะที่สำคัญประกอบด้วยวงโค้ง ๒ วงอยู่ตรงกลางทับหลัง มีมกร ๒ ตัวหันหน้าเข้าหากันอยู่ที่ปลายวงโค้งทั้งสองด้าน มกรมีรูปร่างเตี้ย อ้วน ศีรษะใหญ่ มีหางม้วนเป็นลายใบไม้ เท้าสั้นพับอยู่ด้านหน้า บางตัวเหลือแต่ศีรษะและเท้า งวงใหญ่ม้วนขึ้นด้านบนปลายม้วนเข้าด้านใน ริมฝีปากบนมีเขี้ยวคล้ายงาช้าง ฟันอาจแสดงเป็นรอยหยัก มีเขาประกอบอยู่กับนัยน์ตา มกรนี้บางครั้งมีคนขี่และไม่มีฐานรองรับ วงโค้งมักประดับด้วยแนวลายประคำเป็นขอบมีลายดอกไม้กลมขนาดใหญ่หรือลายดอกไม้เล็กๆท่ามกลางลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนและลายก้านขดเล็กๆ หน้าปากมกรมีลายเส้นโค้งหรือเส้นตรงอาจประดับด้วยลูกประคำ เหนือวงโค้งมีลายใบไม้ม้วนพร้อมกับลายพวงมาลัยคู่หรือเดี่ยว ระหว่างลายพวงมาลัยมีพวงอุบะคั่นอยู่ลายวงรูปไข่มักมีขอบสองชั้นเป็นลายแนวลูกประคำหรือลายเส้นนูนและมีลายใบไม้ม้วนอยู่รอบนอก มีรูปบุคคลยืนอยู่ภายในวงรูปไข่บางครั้งเป็นครุฑถืองู
รูปแบบศิลปะถาลาบริวัติค้นพบในประเทศไทยเป็นทับหลังจำนวน ๒ ชิ้นที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี วัดบนเขาพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรี และที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
รูปแบบศิลปะที่เก่าแก่กว่าศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกสมัยของพระเจ้าอีสาณวรมัน ในบริเวณจังหวัดกำปงธม ทางตะวันออกฉียงใต้ของเมืองพระนคร ทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่าในบริเวณเมืองถาราบริวัติเป็นที่ตั้งของเมืองภวปุระซึ่งเป็นที่พำนักของพระเจ้าภววรมันกษัตริย์แห่งเจนละผู้ซึ่งเข้าทำลายอาณาจักรฟูนันจนต้องย้ายราชธานีจากวยาธปุระ (บาพนม) ไปยังอังกอร์บอเรยหรือนครบุรี จารึกในสมัยพระองค์พบเพียงไม่กี่หลักได้แก่จารึกพนมบันทายนางกล่าวถึงการประดิษฐานศิวลึงค์ และจารึกวังไผ่ใกล้เมืองศรีเทพซึ่งมีการอ้างถึงพระนามของพระเจ้าภววรมัน ต่อมาพระเจ้าจิตรเสนได้ขึ้นครองราชย์ในราวพ.ศ.๑๑๕๐ และมีการสร้างจารึกปักอยู่ทั่วไปจนถึงลุ่มแม่น้ำมูล หลังจากรัชกาลพระเจ้าจิตรเสน โอรสของพระองค์คือพระเจ้าอีสาณวรมันได้ขึ้นครองราชย์ต่อแต่ได้ย้ายไปประทับที่อีสาณปุระ หรือสมโบร์ไพรกุกในเขตจังหวัดกำปงธมในปัจจุบัน
จังหวัดรัตนคีรี
เป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกลอยู่ติดพรมแดนระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนามและเป็นเขตที่พบโบราณสถานเพียงไม่กี่แห่งและเข้าถึงได้ยากในอดีตมีสภาพเป็นป่ารกทึบเต็มไปด้วยสัตว์ป่าแต่ปัจจุบันป่าถูกทำลายไปมากและเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มเจียลายซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การรบระหว่างชาวเขมรและจาม การสำรวจได้เดินทางไปยังปราสาทยะนางซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Drang ซึ่งไหลมาจากเวียดนามเข้ามาฝั่งกัมพูชา ปราสาทยะนางมีขนาด ๖.๒x๘ เมตร เป็นศาสนสถานก่อด้วยอิฐหลังเดี่ยว เป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขยื่นออกด้านหน้า ผนังอาคารเซาะเป็นร่องตามแบบศาสนสถานจาม และมีการเตรียมผนังไว้สำหรับประดิษฐานรูปเคารพ หรือส่วนประติมากรรมประดับผนังอาคาร ภายในห้องครรภคฤหะไม่ปรากฏรูปเคารพ สภาพทั่วไปอยู่ในสภาพทรุดโทรม ชั้นหลังคาพังทลายโครงสร้างผนังแยก ทรุด บางส่วนถูกเจาะทำลาย การปรากฏศาสนสถานแบบจามด้านตะวันตกสุดของอาณาจักรจามปาและอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมการขนส่งสินค้า ของป่า จากกลุ่มชนเจียลายซึ่งมีถิ่นฐานอยู่บริเวณนี้เพื่อป้อนสู่ศูนย์กลางที่เมืองวิชัย
๑๐. ข้อเสนอแนะ
ไม่มี
นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ