ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง ประวัติวัดไกลกังวล (เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม)ครั้งที่ -ผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.3135 ป373สถานที่พิมพ์ ลพบุรีสำนักพิมพ์ กรุงไทยการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2553ลักษณะวัสดุ 92 หน้า : มีภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง วัดไกลกังวล – ประวัติ ลพบุรี – โบราณสถานภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับวัดไกลกังวล (เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม) จังหวัดชัยนาท
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 36.3 เซนติเมตร ปากกว้าง 44 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้น 4,500 - 3,000 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง ทรงกระบอก ปากแตร มีการตกแต่งด้วยลาย เชือกทาบ ขูดขีด ปั้นแปะ และรมควันให้เป็นสีดำสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง :พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/08/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
#องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
เรื่อง : คุณค่าที่ไม่ควรฆ่า เอกสารโบราณ : หนังสือใบลาน
"คัมภีร์ใบลาน" จัดเป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาโดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ตำรา โหราศาสตร์ วรรณกรรม และเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่คนในอดีตได้บันทึกไว้ โดยแสดงถึงสรรพวิทยาการความรู้และภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของคนในอดีต เราจึงควรตะหนักถึงควาสำคัญของการอนุรักษ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสรรพวิชาการต่าง ๆ ของชาติต่อไปในอนาคต
จัดทำโดย นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ
โรงเรียนหัวถนนวิทยา จังหวัดชลบุรี (เวลา 10.00 น.) จำนวน 55 คนวันพุธที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น. คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จากโรงเรียนหัวถนนวิทยา อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จำนวน ๕๕ คน เข้าศึกษาดูงาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ โดยมีว่าที่ร้อยตรี รุ่งเรือง ชื่นชม ตำแหน่ง พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ เป็นวิทยากรนำชมในครั้งนี้
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “Golden boy มรดกล้ำค่าทางศิลปวัฒนธรรม” วิทยากร นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
วันพุธ ที่ 8 มีนาคม 2566 ต้อนรับคณะนักเรียนจากวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 มาเยี่ยมชมสถานที่ โดย นางทัศนีย์ เทพไชย ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ กล่าวต้อนรับ และได้แนะนำมุมเอกสารโบราณ สมุดไทย คัมภีร์ใบลานให้กับน้องๆนักเรียน รวมไปถึงพี่ๆบรรณารักษ์ได้นำชมบริการต่างๆภายในห้องบริการ มีผู้เข้าชมจำนวน 173 คน
วันที่ 28 มีนาคม 2567 นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ และนางสาวปิยวรรณ พลอยสุกใส เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม Thailand Creative Cities Network (TCCN 2024) : นวัตกรรมเมือง (Cities Innovation) ณ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวต้อนรับ และ ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท. เป็นประธานในพิธีเปิด
สิงหบุราจารยานุสรณ์. พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2498. (พิมพ์เป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ ท่านเจ้าคุณพระสิงหบุราจารย์ (ฐิตาโภ ลบ) เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดสิงห์บุรี เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ วันที่ 20 ตุลาคม 2498).หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติของท่านเจ้าคุณพระสิงหบุราจารย์ และประวัติความเป็นมาแห่งคณะธรรมยุตจังหวัดสิงห์บุรี
ผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2521 สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ. เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ เริ่มประกาศพระศาสนาและประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่กุลบุตร ก็บังเกิดมีพระสงฆ์สาวกขึ้นในโลก ครั้นพระอริยสงฆ์สาวกมีมากขึ้น พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระศาสนาในที่ต่างๆ ในชมพูทวีป พระอริยสงฆ์เหล่านั้นต่างก็ได้ดำเนินการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรเป็นพระภิกษุสงฆ์ในที่ต่างๆ จากพุทธานุญาตก็เกิดมีคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาขึ้นตั้งแต่พุทธกาล ศาสนาที่คนไทนับถือกันอยู่ในสมัยเริ่มแรกแห่งอาณาจักรลานนาไท คงจะเป็นพุทธศาสนาทั้ง 2 นิกาย คือเถรวาทกับมหายาน ผสมกับศาสนาพราหมณ์ ศาสนาวิญญาณนิยม และความเชื่อถือทางไสยศาสตร์ โชคลางต่างๆ
ที่ตั้ง ถนนโพธิ์ศรี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พิกัดแผนที่ แผนที่ระวาง 5543 I มาตราส่วน 1: 50,000
พิมพ์ครั้งที่ 1 -RTSD ลำดับชุด L 7017
พิกัดกริด 48 QTE 647263
เส้นรุ้ง ๑๗ องศา ๒๔ ลิปดา ๔๐ ฟิลิปดา เหนือ
เส้นแวง ๑๐๒ องศา ๔๗ ลิปดา ๐๕ ฟิลิปดา ตะวันออก
สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน
๑.อาคารราชินูทิศ
ประวัติสังเขป
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ โดยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในจังหวัดร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนนารีอุปถัมภ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า “ ราชินูทิศ “ จึงเป็นชื่อเรียกของอาคารสืบมา
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
เป็นอาคาร ๒ ชั้น ทรงยุโรป ก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นด้านหน้า ซุ้มประตู-หน้าต่าง ก่อเป็นวงโค้ง ( ARCH ) สภาพสมบูรณ์และมีความสวยงาม
อายุสมัย ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ หรือประมาณ ๘๑ ปี มาแล้ว
ประเภทโบราณสถาน
อาคารโรงเรียนนารีอุปถัมภ์
ลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน
เป็นสำนักงานของศึกษานิเทศก์จังหวัดอุดรธานี ( ชั่วคราว ) มีโครงการจัดตั้งเป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานประจำเมืองอุดรธานี
การดำเนินงาน
๑.มีการปรับปรุงอาคารบางส่วนเพื่อเป็นสำนักงานศึกษานิเทศก์จังหวัดอุดรธานี
การขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ ง. วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑ พื้นที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๕๖ ตารางวา
ที่มาของข้อมูล
๑.ราชกิจจานุเบกษาเล่ม๑๑๕ ตอนพิเศษ ๔ ง.หน้า ๑ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๑.
๒.สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่ ๗ ขอนแก่น , ทำเนียบโบราณสถานอีสานบน ,เอกสารอัดสำเนา , ๒๕๔๒
การประชุมคณะผู้บริหารกรมศิลปากรประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ครั้งที่ 1/2558
วันที่ 31 ตุลาคม 2557 เวลา 9.30 น. นายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร และคณะผู้บริหารกรมศิลปากรร่วมประชุมผู้บริหาร
กรมศิลปากรประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 1/2558 ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร โดยได้มอบนโยบายในการปฏิบัติงาน การติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร เช่น การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
โดย : กลุ่มอำนวยการและประสานราชการ สำนักบริหารกลาง