ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ



ชื่อเรื่อง                                มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาดก)ชาตกฎฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (หิมพานต์-ฉกษัตริย์) สพ.บ.                                  417/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 4 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน                                           ชาดก บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม-ธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-รักทึบ-ลานดิบ-ล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺมเทศนา (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.36/1-4  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)  ชบ.บ.75/1-1ฉ  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.306/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 76 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อภิธมฺมปิฎก สงฺเขป(พระอภิธรรมรวม)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



จารึกหริปุญชปุรี (ลพ.15) ขนาด สูง ๑๔๒ ซม. กว้าง ๔๗.๕ ซม. หนา ๑๑.๕ ซม. ศิลาจารึกหินทราย จารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา มีจารึกจำนวน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ จำนวน ๓๒ บรรทัด  ขึ้นต้นด้วย ศุภมัสตุ อันเป็นคำขึ้นต้นหรือลงท้ายประกาศ หมายความว่า ขอความดีความงามจงมี ระบุศักราช  ๘๖๒ ตรงกับปี พ.ศ.๒๐๓๔ รัชสมัยพระ พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือพระเมืองแก้ว  กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๑๑ จารึกกล่าวถึง สมเด็จบพิตรมหาราชเจ้า ตนเป็นอธิบดีในศรีพิงคราษฎร์เชียงใหม่พร้อมด้วยพระราชมารดามีศรัทธาในพระพุทธศาสนาหมายจะให้เป็นหลักมั่นคงในเมือง “หริบุญชบุรี” ซึ่งคงเป็นชื่อเดิมของเมืองลำพูนที่สืบมาจากคำว่า หริภุญไชย จึงได้สร้างหอพระธรรมมณเฑียร อันอาเกียรณ์ไปด้วยคำมาส ซึ่งก็คือหอไตรสำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก ที่เกลื่อนกล่นหรือประดับไปด้วยไปด้วยทองคำ  ทรงให้สร้างพระไตรปิฏก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งอรรถคาถาฎีกาและอนุฎีกา รวมทั้งสิ้น เป็นคัมภีร์ ๔๒๐ คัมภีร์ และพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานไว้ในพระธรรมมนเฑียรนี้ อีกทั้งยังมีภาชนะที่ทำจากโลหะมีค่าชนิดต่างๆ เช่น  กลวนน้ำนาก น้ำต้นเงิน น้ำซ่วยมือเงิน (ภาชนะใส่น้ำทำจากเงิน) ทรงให้เงินทุนเพื่อนำดอกผลมาเป็นค่าใช้จ่ายซื้อหมากเมี่ยงและข้าวบูชาพระธรรม ทรงถวายข้าคน ๑๒ ครอบครัว เพื่อปฏิบัติรักษาหอพระไตรปิฎก ด้านที่ ๒ มี ๑๙ บรรทัด กล่าวถึงทรงห้ามให้ใช้ผู้คนเหล่านี้ (จำนวน ๑๒ ครอบครัว) ไปทำงานอย่างอื่น ขอให้ลุกหลานที่สืบไปแต่นี้จงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและรักษาสถานที่แห่งนี้ ตอนท้ายเป็นการขอบุญกุศลให้พระองค์เจริญด้วยทรัพย์ เกิดความแตกฉานในธรรมสามารถเทศนาสั่งสอนธรรมแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายให้บรรลุถึงยังพระนิพพาน นอกจากนี้ทั้งสองพระองค์ยังได้อุทิศพระราชกุศลผลบุญแกสมเด็จพระบิดา(พญายอดเชียงราย)  พระอัยกา(ท้าวบุญเรือง) และพระอัยยิกา และเทพทั้งหลายได้แก่ พระอินทร์ พระพรหม พระยมราช และจตุโลกบาล รวมถึง เทวดาองคืที่เป็นประธานใน "หริปุญชบุรี" จงมีความยินดีและมาช่วยปกปักรักษาสถานที่แห่งนี้ อ้างอิง ก่องแก้ว วีระประจักษ์  (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.                               เพ็ญสุภา สุคตะ ใจอินทร์. พระธาตุหริภุญไชย. เชียงใหม่ : สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่, ๒๕๕๓. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. จารึกหริปุญชปุรี. เข้าถึงเมื่อ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก  https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2074


          ฟ้อนเจิง เป็นการฟ้อนของผู้ชาย นับเป็นการรำอาวุธชนิดหนึ่ง คือการร่ายรำด้วยเชิงดาบและมือเปล่าในท่าทางต่างๆ ซึ่งมักจะแสดงออกในลีลาของนักรบ ซึ่งท่าในการฟ้อนเจิงนี้มีหลายสิบท่า รวมทั้งใช้ดาบและมือเปล่า สำหรับการใช้ดาบนั้นก็ใช้ตั้งแต่ดาบเดี่ยว ดาบคู่ และใช้ดาบ ๔ เล่ม ๘ เล่ม ๑๒ เล่ม ซึ่งผู้ฟ้อนจะต้องมีความสามารถเป็นพิเศษ และก่อนที่จะมีการฟ้อนเจิง ก็ต้องมีการฟ้อนตบมะผาบเสียก่อน การฟ้อนตบมะผาบ เป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่าที่ใช้ลีลาท่าทางยั่วเย้าให้คู่ปรปักษ์บันดาลโทสะ ในสมัยก่อนการรบกันใช้อาวุธสั้น เช่น ดาบ หอก แหลน เข้าโหมรันกัน โดยเหล่าทหารหาญจะรำดาบเข้าประชันกันเป็นคู่ๆ หรือเป็นพวกๆ ใครมีชั้นเชิงดีก็ชนะ ด้วยการรำตบมะผาบในท่าทางต่างๆ โดยถือหลักว่าคนที่มีโทสะจะขาดความยั้งคิด และเมื่อนั้นย่อมจะเสียเปรียบคนที่ใจเย็นว่า เมื่อมีการรำตบมะผาบแล้ว ก็จะมีการฟ้อนเจิงประกอบอีกด้วย เมื่อเห็นว่ามีความกล้าหาญพอแล้วก็เข้าปะทะกันได้ และการฟ้อนเจิงนั้น อาจจะใช้มือเปล่าได้ในท่าทางต่างๆ ที่ต้องใช้ความรวดเร็วว่องไว การเกร็งกล้ามเนื้อทุกส่วนเป็นการปลุกตัวเองไปก่อนที่จะเริ่มต่อสู้จริงๆ (หอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๓๒ : ๒๒)          ฟ้อนเจิง เป็นนาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทยทางภาคเหนือที่นำเอาเรื่องราวของศิลปะป้องกันตัว ซึ่งเมื่อครั้งอดีตผู้ชายชาวล้านนามักจะมีการแสวงหาเรียนรู้ “เจิง” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยให้กับตัวเอง ด้วยรูปแบบและลีลาท่าทางในการแสดงออกที่มีทั้งความเข้มแข็ง สง่างาม ที่ซ่อนเร้นชั้นเชิงอันเป็นแม่ไม้เฉพาะตน ซึ่งสลับท่าทาง ไปมา ยากในการที่จะทำความเข้าใจ ฟ้อนเจิงเป็นศิลปะการฟ้อนที่แสดงให้เห็นถึงชั้นเชิง ลีลาการต่อสู้ อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทย มีการต่อสู้ทั้งรุกและรับ หลอกล้อกันอย่างสนุกสนาน ประลองไหวพริบปฏิภาณกัน เอาชนะกันอย่างมีชั้นเชิงให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ข่มเหงเอาเปรียบกัน ฟ้อนเจิง แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑. ฟ้อนเจิงมือเปล่า ๒. ฟ้อนเจิงที่ใช้อาวุธ เช่น เจิงหอก เจิงดาบ เจิงไม้ค้อน เป็นต้น (สนั่น ธรรมธิ, ๒๕๓๗)          สำหรับการเรียนฟ้อนเจิงนั้น ผู้เรียนต้องหามื้อจั๋นวันดี เป็นวันอุดมฤกษ์ ไปขอเรียนกับครูที่มีความสามารถ โดยต้องมีการขึ้นขันหรือ การจัดเครื่องคารวะ คือกรวยดอกไม้ธูปเทียน พลู หมาก ข้าวเปลือก ข้าวสาร สุรา ผ้าขาว ผ้าแดง กล้วย อ้อย มะพร้าว และค่าครูตามกำหนด ครูบางท่านอาจเสี่ยงทายโดยให้ผู้จะสมัครเป็นศิษย์นำไก่ไปคนละตัว ครูเจิงคือผู้สอนฟ้อนเจิงจะขีดวงกลมที่ลานบ้านแล้วเชือดคอไก่ และโยนลงในวงนั้น หากไก่ของผู้ใดดิ้นออกไปตายนอกเขตวงกลม ก็คือว่าผีครูไม่อนุญาตให้เรียน และหากเรียนจนสำเร็จแล้ว ครูเจิง อนุญาตให้นำวิชาไปใช้ได้เรียกว่าปลดขันตั้ง โดยทำพิธียกขันตั้งคือพานเครื่องสักการะจากหิ้งผีครู แจกธูปเทียนดอกไม้จากในพานให้แก่ศิษย์ เป็นเสร็จพิธี (สนั่น ธรรมธิ, ๒๕๕๐)          กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรมการฟ้อนเจิง คือ ท่าทางที่ใช้ในการแสดงอย่างมีชั้นเชิง มีทั้งท่าทางที่เป็นการร่ายรําตามกระบวนท่าต่าง ๆ ตามแบบแผนที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ หรือเพื่อใช้ในการแสดง โดยท่ารํามีทั้งที่เป็นหลักสากล หรือท่ารําของแต่ละคนใช้ความสามารถในการแสดงเฉพาะตัว พลิกแพลง ดัดแปลง ประยุกต์ให้ดูสวยงาม ทั้งนี้สามารถฟ้อนโดยปราศจากอาวุธ หรือประกอบอาวุธ เช่น หอก ดาบ และไม้ค้อน เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นศิลปะของชาวล้านนาไม่ว่าจะใช้แสดงในงานบวช หรือประเพณีสำคัญต่าง ๆ จึงควรคู่แก่การอนุรักษ์ไว้ให้กับลูกหลานได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไปอย่างยั่งยืน--------------------------------------------------ผู้รวบรวมและเรียบเรียง : นายธีรบูลย์ มิตรมโนชัย นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่--------------------------------------------------แหล่งอ้างอิง : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ. สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิงขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ ๑). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https:// www.youtube.com/watch?v=3mL29vzCxlY. ๒๕๖๐. แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ. สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิงขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ ๒). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https:// www.youtube.com/watch?v=zGmd19oUvmQ . ๒๕๖๐. แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ. สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ฟ้อนเจิงขั้นพื้นฐาน (ตอนที่ ๓). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https:// www.youtube.com/watch?v=S-LpC0M9C6I. ๒๕๖๐. สนั่น ธรรมธิ. นาฏดุริยการล้านนา. เชียงใหม่ : สุเทพการพิมพ์, ๒๕๕๐. สนั่น ธรรมธิ (บรรณาธิการ). ฟ้อนเชิง : อิทธิพล ที่มีต่อฟ้อนล้านนา. เชียงใหม่ : โครงการศูนย์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๓๗. สนั่น ธรรมธิ และธนชัย มณีวรรณ์. สื่อเพื่อการ เรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนา ตอน ฟ้อนเชิง. [ซีดี - รอม]. เชียงใหม่ : โฮงเฮียนสืบสาน ภูมิปัญญาล้านนา, ๒๕๔๕. หอสมุดแห่งชาติ. ระบำ รำ ฟ้อน. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๓๒. หอสมุดแห่งชาติ. ระบำ รำ ฟ้อน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔, จาก: https: //www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/ 7209-ระบำ-รำ-ฟ้อน, ๒๕๖๐.




พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตอนที่ ๖ : การเสด็จออกมหาสมาคม เวลาบ่ายของวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ออกมหาสมาคมที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรี คณะทูต สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบทูลถวายพระพรชัยมงคล โดยมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี กราบทูลในนามคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทั่วพระราชอาณาจักร และพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ประธานรัฐสภา กราบทูลในนามประชาชนชาวไทย แล้วทรงมีพระบรมราชโองการตรัสตอบขอบใจทั่วกัน ที่มา : ณัฎฐภัทร จันทวิช. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๓๐. ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


ชื่อเรื่อง                                    มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (สุวรรณสาม) สพ.บ.                                       สพ.บ.420/2คหมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                     พุทธศาสนา                                                ชาดก                                                พระไตรปิฎก ประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                                42 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


#ของเด่นของดีพระนครคีรีเมืองพริบพรี ตอนที่ ๕      โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ก็คือ กระปุกน้ำมันทาผิว ยี่ห้อ Holloway's Ointment ถูกคิดค้นและผลิตโดย Thomas Holloway ตั้งแต่ปี ๑๘๓๗ เป็นยารักษาโรคทั่วไปที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น สำหรับโรคหลายชนิด เช่น โรคเกาต์ โรคไขข้อ แผลพุพอง เจ็บหน้าอก และปวดหัว      กระปุกทำจากกระเบื้อง พร้อมจานรองลายดอกไม้ติดกับโถ ขนาดของกระปุกสูง ๕.๕ ซม. กว้าง ๙.๘ ซม. ขนาดจานรอง สูง ๒ ซม. กว้าง ๑๔ ซม.      ภาพเครื่องหมายการค้า เป็นภาพไฮเจีย เทพีแห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ ที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ลักษณะคือ ผู้หญิงกำลังถือถ้วยยาที่มีงูกำลังพันอยู่ ที่บริเวณด้านซ้ายของเทพีปรากฏเด็กที่กำลังถือป้ายไม้กระดาน


ชื่อเรื่อง                               สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  อย.บ.4/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก             บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


พระซาวแปดลำพูน                                                                                                                                                                                                                                     ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗                                                                                                                                                                                                       ดินเผา                                                                                                                                                                                                                                                      กว้าง ๖ เซนติเมตร สูง ๑๐ เซนติเมตร                                                                                                                                                                                                          ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ พระพิมพ์ (Votive Tablets) หมายถึง พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพขนาดเล็ก ในพระพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นจากตราประทับหรือแม่พิมพ์ เพื่อเป็นเครื่องรำลึกแทนพระพุทธองค์ และสืบทอดพระพุทธศาสนาพระซาวแปดเป็นพระพิมพ์แบบพระพิมพ์แผง คือพระพิมพ์ในศิลปะหริภุญไชยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกาม นิยมทำเป็นพระพุทธรูปเรียงกันเป็นจำนวนมาก  พระซาวแปด ประกอบด้วยพระพุทธรูปปางสมาธิ มีประภามณฑล จำนวน ๒๘ องค์ มีทั้งสิ้น ๗ แถว ๔ แถวล่าง มีพระพุทธรูปแถวละ ๕ องค์ แถวที่ ๕ จำนวน ๔ องค์ แถวที่ ๖ จำนวน    ๓ องค์ แถวบนสุด ๑ องค์ รวม ๒๘ องค์ หมายถึง พระอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ตามคติพุทธศาสนาแบบเถรวาท  การเรียกชื่อพระพิมพ์ว่าพระซาวแปดเรียกตามความนิยมในการเรียกชื่อพระพิมพ์ศิลปะหริภุญไชยตามจำนวนของพระพุทธรูปที่ปรากฏบนพระพิมพ์อ้างอิง  กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๙๗), ๒๕๖๔.สุรพล ดำริห์กุล. ประวัติศาสตร์และศิลปะหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๗


Messenger