ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ


องค์ความรู้ เรื่อง ผ้าพระบฏ (ผ้าบฏ) วัดมหาธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย เรียบเรียง/ภาพ นางสาวกรกช พาณิชย์ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น



***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก  กรมอัยการ.  การปกครองและกฎหมายที่ใช้ในอินโดจีนฝรั่งเศส.  พระนคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, ๒๔๘๔.





หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    40 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    12 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  



เลขทะเบียน : นพ.บ.11/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 7 (74-82) ผูก 3หัวเรื่อง : จูฬวคฺคปาลิ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง        วิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พระยาและสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎร์นายก (เย็น สุวรรณปทม),พระยา ชื่อเรื่อง         พงศวดารเมืองสงขลา ครั้งที่พิมพ์     พิมพ์ครั้งที่ 9 สถานที่พิมพ์   นครหลวงกรุงเทพธนบุรี สำนักพิมพ์     โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่พิมพ์        2515   จำนวนหน้า     71 หน้า หมายเหตุ      จัดพิมพ์เนื่องในโอกาศทำบุญฉลองอายุ ๘๐ ปี นางทำนุ ประชากิจ (เชี้ยว ลิมปิษเฐียร)                    พงศวดารเมืองสงขลา ภาคที่ ๑ เรียบเรียงโดยพระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) ตั้งแต่สมัยเมืองสงขลา สมัยเจ้าเมืองสงขลาการตระกูล ณ สงขลา ภาคที่ ๑ ถึงสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองตระกูล ณ สงขลา ลำดับที่ ๔ .  ภาคที่ ๒ พระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราษฎร์นายก (เย็น สุวรรณปทม) เรียบเรียงต่อในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง) เจ้าเมืองตระกูล ณ สงขลา ลำดับที่ ๕ จนถึงสมัยพระยาวิเชียรคีรี (ชม) เจ้าเมืองตระกูล ณ สงขลา คนที่    ๘พงศารวดารฉบับนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองสงขลาในสมัยตระกูล ณ สงขลา เป็นเจ้าเมืองและประวัติตระกูล ณ สงขลา


ชื่อผู้แต่ง        :  -ชื่อเรื่อง         :   พุทธเจดีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างครั้งที่พิมพ์      :  พิมพ์ครั้งที่สองสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๙จำนวนหน้า     :   ๑๖๘ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายทองหล่อ  ทองบุญรอด ณ เมรุวัดพุทธโคดม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี  วันที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙                     หนังสือเรื่องพุทธเจดีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างนี้ ได้คัดมาจากเรื่องตำนานวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาและราชบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จัดการหอพระสมุดฯ ในเวลานั้น ได้เรียบเรียงขึ้นไว้เป็น ๒ ภาคด้วยกัน คือ ตำนานวัตถุสถาน  พ.ศ.๒๔๖๖ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง และตำนานวัตถุสถาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง เป็นหนังสือที่ให้ความรู้แก่ผู้อ่านอย่างกว้างขวาง เนื่องจากวัตถุสถานต่างๆ เช่นวัด พระราชวัง และสถานที่สำคัญอื่นๆ ส่วนใหญ่สร้างขึ้นใน ๒ รัชกาลนี้


 ชื่อผู้แต่ง          หอสมุดแห่งชาติ   ชื่อเรื่อง           จักวาฬทีปนี   ครั้งที่พิมพ์        -   สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร   สำนักพิมพ์        หจก.เซ็นทรัลเอ็กเพรสศึกษาการพิมพ์    ปีที่พิมพ์          พ.ศ. 2523                 จำนวนหน้า 526 หน้า   หมายเหตุ         -                                                       วัตถุประสงค์ของการจัดพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ มี ๓ ประการ คือ   ๑. เพื่อให้มีคัมภีร์จักกวาฬทีปนี อักษรไทย สำหรับใช้ศึกษาค้นคว้าประการหนึ่ง   ๒. ให้มีหนังสือประเภทโลกศาสตร์เพื่อเผยแพร่และศึกษาแนวความคิดเรื่องโลกตามแนว   ศาสนาเพิ่มขึ้นประการหนึ่ง   ๓. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้สนใจค้นคว้าศึกษาวิชาประเภทวรรณคดีบาลี   อีกประการหนึ่ง


           รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ในขณะครองราชย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2545          ผู้แต่ง                   สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล          โรงพิมพ์                เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป         ปีที่พิมพ์                2545         ภาษา                    ไทย - อังกฤษ          รูปแบบ                 pdf           เลขทะเบียน          หช.จบ. 045 จบ (ร) (194)


          วัดท่าเรือ (ร้าง) ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์การ้อง ๕ ตําบลช่องสะแก อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีปัจจุบัน มีสภาพเป็นพื้นที่โล่งไม่มีโบราณสถานและสิ่งก่อสร้างใด ๆ หลงเหลือ ด้านประวัติที่มาไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้างรวมถึงถูกทิ้งร้างตั้งแต่เมื่อใด //จากการสอบถามคุณลุงวันชัย สีรุ้ง เจ้าของพื้นที่คนปัจจุบัน ทําให้ทราบว่าแต่เดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้มีเพียงเจดีย์ที่มีความเสียหายมาก คล้ายกับวัดทุ่งเสือข้าม และเนื่องจากไม่ได้รับการบูรณะจึงมีการเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จนมีสภาพดังที่เห็นในปัจจุบัน           ที่ตั้งของวัดท่าเรือ ตั้งอยู่บริเวณแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของทางรถไฟในปัจจุบัน บริเวณพื้นที่ของวัดทางทิศใต้ติดกับถนนโพธิ์การ้อง๕ ฝั่งตรงข้ามของถนนมีลําคลองขนาดเล็กจากวัดโคกหม้อไหลผ่าน ถัดลงไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดโคกหม้อ เนื่องจากบริเวณทิศใต้ของพื้นที่มีลําคลองไหลผ่าน ประกอบกับชื่อวัดคือ วัดท่าเรือ ซึ่งเป็นชื่อที่มาจากความนิยมการตั้งชื่อสถานที่ตามลักษณะโดดเด่นทางภูมิศาสตร์ของคนในสมัยก่อนเพื่อง่ายแก่การจดจํา จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจจะเคยเป็นพื้นที่ติดต่อขนส่งสินค้าทางเรือกับชุมชนอื่น ส่วนด้านทิศตะวันตกห่างไปประมาณ ๑ กิโลเมตร คือแนวเขตกําแพงเมืองเก่า ปัจจุบันสร้างเป็นถนน ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ถนนสูง           แผนผังเนื่องจากพบเพียงเศษอิฐ เศษกระเบื้องดินเผา และ เศษภาชนะดินเผา ที่อยู่กระจัดกระจายทั่วบริเวณ จึงทําให้ไม่สามารถระบุตําแหน่งที่ตั้งของโบราณสถานได้อย่างชัดเจน แต่สามารถศึกษารายละเอียดโบราณวัตถุต่างๆที่พบได้แก่ อิฐ พบทั้งอิฐลักษณะสมบูรณ์ ขนาดประมาณ ๑๓ x ๑๘ x ๖ เซนติเมตร และเศษอิฐ กระจายตัวทั่ว บริเวณพื้นที่รวมถึงด้านข้างของลําคลองเนื้อวัสดุทําจากดินเผาผสมฟางข้าว มีสีส้มอมแดงจากการพบอิฐที่มีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน ทั้งยังมีการผสมฟางข้าวลงไปในเนื้อดิน แสดงความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของอิฐในศิลปะสมัยอยุธยา จึงสันนิษฐานว่าตัวสถาปัตยกรรมก่อนหน้านี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะอยุธยา           เศษกระเบื้องดินเผา พบเศษกระเบื้องดินเผาบริเวณใกล้แนวพุ่มไม้ โดยสามารถแยกได้เป็นกระเบื้องกาบูตัวผู้และกระเบื้องกาบูตัวเมีย เนื้อวัสดุทําจากดินเผา มีสีส้ม จากการพบเศษกระเบื้องดินเผา จึงสันนิษฐานว่าเดิมพื้นที่ตรงนี้น่าจะมีอาคารหลังคาคลุมอย่างแน่นอน และด้วยรูปแบบลักษณะของกระเบื้องมีความเด่นชัดว่าเป็นกระเบื้องกาบู จึงสันนิษฐานต่อว่า อาคารหลังคาคลุมดังกล่าวน่าจะเป็นอุโบสถหรือวิหาร เพราะเป็นความนิยมของงานสถาปัตยกรรมไทยที่นิยมใช้กระเบื้องกาบูในการประดับชั้นหลังคา           เศษภาชนะดินเผา พบบริเวณใกล้แนวพุ่มไม้เช่นเดียวกับเศษกระเบื้องดินเผา ส่วนมากเป็นชิ้นส่วนของลําตัว เนื้อวัสดุทําจากดินเผา มีสีส้ม ขึ้นรูปโดยการใช้นิ้วมือ มีการตกแต่งเป็นลวดลายเชือกทาบ และการขูดขีดเป็นลวดลาย จากการพบเศษภาชนะดินเผาที่มีลายเชือกทาบ ซึ่งเป็นลวดลายที่มีปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง โดยมีระยะห่างกันทั้งช่วงเวลาและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่แห่งนี้อาจมีการผสมผสานหรือการส่งต่อวัฒนธรรมจากพื้นที่อื่นเข้ามา ภาพที่ 1 พื้นที่บริเวณวัดท่าเรือในปัจจุบัน ภาพที่ 2 เศษกระเบื้องดินเผา และเศษภาชนะดินเผาที่กระจายตัวทั่วบริเวณ ภาพที่ 3 เศษอิฐ ที่พบในบริเวณวัดท่าเรือ ภาพที่ 4 เศษภาชนะดิน ภาพที่ 5 เศษกระเบื้องดินเผา ผู้เรียบเรียงข้อมูล : นายณัฐพล ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ที่มาข้อมูล: นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2558. รายงานการสำรวจโบราณสถานและศาสนสถานภายในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. จังหวัดเพชรบุรี : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. บุญมี พิบูลย์สมบัติ, 2559. “วัดร้าง จากเส้นทางไปวัดพระรูป.” ที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์พัดยศ พระพิพิธพัชโรดม : 118-151.


Messenger