ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

สวัสดีทุกท่านค่ะ ช่วงนี้ก็ใกล้เข้าสู่เทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2565 กันแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ของเราก็มี #องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พร้อมกิจกรรมดีๆ มาต้อนรับเทศกาลปีใหม่ที่จะถึงนี้ กับองค์ความรู้เรื่อง "พระพุทธรูปไม้ ศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์" พระพุทธรูปสมัยนี้มีลักษณะอย่างไร และความสำคัญเช่นไร มาติดตามไปพร้อมๆ กันเลยค่าา..ประเทศเมียนมาร์เป็นประเทศที่เป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนอุษาคเนย์ รูปแบบงานศิลปกรรม และวัฒนธรรมมากมายจากพม่าหรือเมียนมาร์ได้มีความเกี่ยวข้องหรือส่งอิทธิพลต่องานศิลปกรรมในประเทศไทยหลายยุคสมัย ทั้งในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรมฝาผนัง นับตั้งแต่สมัยทวารวดี หริภุญไชย สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรามักจะพบศิลปะพม่ามีอิทธิพลโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในศิลปะล้านนา และรัตนโกสินทร์ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ที่มีการอพยพและกวาดต้อนชาวมอญ พม่า เข้ามายังสยาม และการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาทำกิจการป่าไม้ของชาวพม่าและชาวไทใหญ่ในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่าน ชาวมอญ พม่า และไทใหญ่ เมื่อย้ายถิ่นฐานมาอาศัยในประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว ก็ได้นำช่างมาก่อสร้างวัด อาคาร ศาสนสถานในรูปแบบศิลปะของเชื้อชาติตนเข้ามาด้วย พระพุทธรูปจึงเป็นประติมากรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่นิยมสร้างพร้อมกันกับการสร้างศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธของชาวมอญ พม่า และไทใหญ่.ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25 ตรงกับสมัยราชวงศ์คองบอง (อลองพระ) (พ.ศ. 2295 – 2428) ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองอังวะ อมรปุระ และมัณฑะเลย์ ทั้งนี้ ศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์น่าจะเป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะพม่าที่คุ้นตาของคนไทยมากที่สุด ทั้งการสร้างเจดีย์และอาคารทรงปยาทาด อันเป็นอาคารที่มีเรือนยอดซ้อนชั้นกันหลายๆ ชั้น มักนิยมสร้างเป็นอุโบสถ วิหาร หรือหอไตร ในส่วนของพระพุทธรูปสมัยมัณฑะเลย์ มีการสร้างด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทั้งโลหะผสม (สำริดหรือทองเหลือง) หินอ่อน ปูน รักสมุก (การใช้ไม้ไผ่สานโครงให้เป็นรูปทรงพระพุทธรูป จากนั้นช่างจะใช้เถ้าถ่านหรือเศษขี้เลื่อยที่ได้จากการเผาคัมภีร์ใบลานต่างๆ มาพอกทับโครงไม้ไผ่สาน เมื่อวัสดุที่พอกแห้งดีแล้ว จึงทำการลงรักและตกแต่งพระพุทธรูปให้มีความสวยงามตามรูปแบบศิลปะ) และไม้ ซึ่งเป็นวัสดุประเภทหนึ่งทีนิยมนำมาสร้างพระพุทธรูปอย่างมาก.พระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ มีลักษณะที่โดดเด่น คือ พระพุทธรูปมีความสมจริงคล้ายมนุษย์ โดยส่วนพระพักตร์มีการสร้างให้พระเนตรมองตรง และประดับอัญมณี เช่น นิลและมุก เพื่อให้คล้ายดวงตาของมนุษย์ พระโอษฐ์มีลักษณะสมจริง ขมวดพระเกศาเล็กมาก อุษณีษะ (มวยผม) สูงมาก และไม่มีรัศมี ริ้วจีวรเป็นริ้วแบบธรรมชาติ ปลายจีวรเป็นหยักโค้งไปมา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลการสร้างริ้วจีวรเช่นนี้มาจากศิลปะจีน กรอบพระพักตร์เป็นแถบหนา มีไรพระศก และมักทำลวดลายพร้อมประดับอัญมณีหรือกระจกสีที่กรอบพระพักตร์และขอบจีวร คล้ายพระพุทธรูปทรงเครื่อง (พระพุทธรูปที่มีการทรงเครื่องประดับต่างๆ อย่างกษัตริย์ อาทิ มงกุฎ กุลฑล กรองศอ สังวาลย์ และทับทรวง เป็นต้น) ขณะเดียวกันพระพุทธรูปทรงเครื่องเองก็ยังคงนิยมสร้างในสมัยนี้อยู่ โดยสืบทอดแนวคิดมาจากสมัยอังวะ (ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 24) ตามคติชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งในคัมภีร์พุทธศาสนา นิกายเถรวาท ที่ชาวพม่าให้ความเคารพนับถือ ในพุทธประวัติได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เนรมิตพระองค์ให้มีขนาดพระวรกายใหญ่โต พร้อมทรงเครื่องประดับอย่างกษัตริย์ เพื่อสั่งสอนพญาชมพูบดีผู้เป็นกษัตริย์ที่ไม่ยอมรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งพญาชมพูบดีเชื่อฟังในคำสอนของพระพุทธเจ้าและออกผนวช จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด.พระพุทธรูปศิลปะพม่า ไม่ได้มีเพียงสกุลช่างหลวงของพม่าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังมีสกุลช่างอื่นๆ อีกมากที่มีลักษณะปลีกย่อยแตกต่างกันไปตามชาติพันธุ์นั้นๆ อาทิ สกุลช่างมอญ สกุลช่างอาระกัน (ยะไข่) และสกุลช่างไทใหญ่ เป็นต้น แต่ในสมัยมัณฑะเลย์อาจถือได้ว่าเป็นยุคศิลปะบริสุทธิ์ของพม่า เนื่องจากมีการรวบรวมเอาศิลปะจากสกุลช่างต่างๆ มาพัฒนาเป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้ ในช่วงยุคหลังมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปไม้ศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์จึงได้รับความนิยมในกลุ่มนักสะสมของเก่า หรือผู้ค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จึงมีการผลิตซ้ำพระพุทธรูปไม้รูปแบบศิลปะพม่าสมัยมัณฑะเลย์ เพื่อนำเข้าหรือส่งออกเป็นจำนวนมาก นี่จึงเป็นหลักฐานที่บ่งบอกถึงสุนทรียภาพของพระพุทธรูปศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ เป็นที่ยอมรับว่ามีความงดงามอย่างมีเอกลักษณ์ตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน.เอกสารอ้างอิง1). เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3).  นนทบุรี: สำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส.2). ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2557). ศิลปะพม่า.  กรุงเทพฯ: มติชน.3). สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์. (2550). พระพุทธรูปศิลปะพม่า ประวัติศาสตร์ชนชาติพม่ากับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนา.  กรุงเทพฯ: สยามอินเตอร์เนชั่นแนลบุคส์..พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมสักการะพระสิงห์ และพระพุทธรูปไม้ พระอุปคุตและพระสาวกไม้ รูปแบบศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ รวม 9 องค์ พร้อมทั้งสักการะพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 นี้ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2564 – 30 มกราคม 2565 .พิเศษ!! พิพิธภัณฑ์ของเรามีของขวัญปีใหม่แจกให้ทุกท่านที่เข้าชมนิทรรศการฟรี ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม และตลอดเดือนมกราคม 2565 หรือจนกว่าของจะหมด รีบมาชมกันเยอะๆ นะคะ


           สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยหลายแห่ง เช่น เจดีย์หรืออาคารต่าง ๆ มักมีการประดับประดาด้วยประติมากรรมมากมาย หนึ่งในนั้นคือประติมากรรมรูป มกร สัตว์ผสมที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่ไปยังลังกาและดินแดนอุษาคเนย์ ดังพบงานศิลปกรรมรูปมกรตามพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เป็นต้น          ในดินแดนประเทศไทย มีการค้นพบประติมากรรมรูปมกรในหลายวัฒนธรรม เช่น ทวารวดี ลพบุรี หริภุญไชย ล้านนา รวมถึงสุโขทัย การสร้างมกรในสมัยสุโขทัยปรากฏพบในงานปูนปั้นประดับศาสนสถาน ซึ่งรับอิทธิพลจากศิลปะเขมร มีลักษณะเป็นมกรคายนาคประดับอยู่บริเวณปลายกรอบหน้าบัน ก่อนจะพัฒนามาเป็นมกรสังคโลกซึ่งสร้างเลียนแบบมาจากงานปูนปั้น และปรับเปลี่ยนกลายเป็นมกรที่มีการผสมผสานระหว่างอิทธิพลศิลปะจีนและศิลปะเขมรในที่สุด โดยมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดปะปนกัน เช่น มีเขาเหมือน กวาง มีงวงเหมือนช้าง มีปากเหมือนสิงห์ มีเคราเหมือนแพะ มีขาเหมือนจระเข้ และลำตัวมีเกล็ดเหมือนปลา          นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าประติมากรรมรูปมกรเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับสถาปัตยกรรม ตามแนวคิดและความเชื่อหลายประการที่เข้ามาพร้อมกับคติการสร้างมกร อาทิ การเป็นสัญลักษณ์แทนน้ำ ซึ่งในความเชื่อของคนโบราณเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ การทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ดูแลศาสนสถาน รวมไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมซึ่งเปรียบมกรเป็นวิชชาและนาคเป็นอวิชชา เมื่อมกรกลืนกินนาคจึงหมายถึงการนำวิชชาไปครอบอวิชชานั่นเอง          มกร จึงถือเป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงความชาญฉลาดของคนสมัยสุโขทัยที่รับเอาคติความเชื่อและอิทธิพลทางศิลปะจากดินแดนต่าง ๆ แล้วนำมาผสมผสานจนเกิดเป็นงานศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่ยังหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลัง---------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก---------------------------------------------------------------อ้างอิง โชติกา นุ่นชู. มกรคายนาค พุทธศิลป์แห่งดินแดนล้านนาไทย [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก silpa-mag.com/culture/article_35141 เพ็ญสุภา สุขคตะ. นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอม ลังกา พุกาม จีนในล้านนา (1) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก matichonweekly.com/column/article_371989 _______. นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอม ลังกา พุกาม จีนในล้านนา (2) [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๔. เข้าถึงได้จาก matichonweekly.com/column/article_374305



-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: วีรกรรม “หมอเมืองกรุง” กับการปลูกฝีที่เมืองน่าน -- เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ ถือเป็นโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันทางลมหายใจ จึงสามารถระบาดไปได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง ประกอบกับยังไม่มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แม้ต่อมาจะเริ่มมีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษกันมากขึ้น แต่ในหัวเมืองที่อยู่ห่างไกลยังคงเข้าไม่ถึงการรักษาแบบใหม่นี้ จึงต้องเผชิญกับภัยร้ายจากไข้ทรพิษอยู่เสมอ แต่ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุ ทำให้เราได้เห็นบทบาทของหมอคนหนึ่ง ที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังดินแดนที่ห่างไกลในภาคเหนือด้วยความตั้งใจที่จะช่วยให้โรคร้ายนี้หมดไป วันที่ 7 เมษายน ร.ศ. 113  (พ.ศ. 2437) พระพรหมสุรินทร์ ข้าหลวงประจำรักษาราชการนครเมืองน่าน ได้มีใบบอกกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นว่า ในเขตแขวงนครเมืองน่าน เมื่อเกิดไข้ทรพิษขึ้น มักจะทำให้เกิดอันตรายต่อราษฎรเป็นจำนวนมาก จนเมื่อเดือนมกราคม ร.ศ. 112 (นับอย่างปฏิทินปัจจุบันคือ พ.ศ. 2437) ที่ผ่านมา ได้มีหมอจากกรุงเทพฯ คนหนึ่งชื่อหมอสุด มาประกอบกิจการรับปลูกฝีในนครเมืองน่าน คิดค่ารักษาขั้นต่ำเพียงคนละ 32 อัฐ แต่ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือจากเจ้านาย ข้าราชการและราษฎรมากนัก ต่อมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 112 พระพรหมสุรินทร์ได้ไปตรวจราชการทางเมืองเชียงของ ได้ทราบว่าที่เมืองไชยพรหม (อยู่ในเขตอำเภอท่าวังผาในปัจจุบัน) มีการระบาดของไข้ทรพิษ ราษฎรได้รับความลำบากจนถึงแก่ชีวิตไปหลายคน จึงว่าจ้างให้หมอสุดไปทำการปลูกฝีให้ราษฎร โดยท้าวพระยากรมการและราษฎรในเมืองที่ให้ความไว้วางใจ ได้นำบุตรหลานมาให้หมอสุดปลูกฝีจำนวน 217 คน หมอสุดทำการอยู่ที่เมืองไชยพรหม 24 วัน จึงได้รับอนุญาตให้กลับลงมาที่นครเมืองน่าน เมื่อสถานการณ์ไข้ทรพิษเสื่อมคลายลง พระพรหมสุรินทร์ได้นำผลการปลูกฝีของหมอสุดไปปรึกษากับเจ้าราชวงษ์ ผู้รักษาราชการนครเมืองน่าน และท้าวพระยานครเมืองน่าน จึงตกลงกันว่าจะจ่ายค่าบำเหน็จให้หมอสุดเป็นเงิน 100 รูเปีย ทางด้านของหมอสุดเองก็ได้เขียนรายงานเกี่ยวกับการปลูกฝีที่เมืองไชยพรหม ซึ่งรายงานฉบับนี้ทำให้เราทราบถึงความยากลำบากในการรักษาโรคระบาดในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่ไม่มีใครรู้จักวิทยาการทางแพทย์สมัยใหม่มาก่อน เนื่องจากยังมีราษฎรส่วนหนึ่งที่ไม่เชื่อถือ และไม่ยอมมาปลูกฝีด้วยหลายสาเหตุ เช่น เชื่อว่าเมื่อปลูกฝีแล้วหากเกิดไข้ทรพิษขึ้นอีกจะล้มตายมากกว่าไม่ปลูกฝี หรือเชื่อว่าหากปลูกฝีแล้ว เจ้านายเมืองน่านจะให้คนไปเก็บเงินจากคนที่ได้รับการปลูกฝี เป็นต้น  เป็นที่น่าเสียดายว่า เรายังไม่พบข้อมูลว่าหมอสุดผู้นี้เป็นใคร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และใช้ชีวิตต่อมาอย่างไรหลังจากการปลูกฝีครั้งนี้ ซึ่งคงต้องสืบค้นจากเอกสารอื่นๆ ต่อไป แต่อย่างน้อยเราขอชื่นชมในวีรกรรมของหมอสุด ที่ยอมเดินทางจากเมืองหลวงไปสู่ดินแดนที่ห่างไกล และอุทิศตนเพื่อการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่โรคระบาดที่เสี่ยงอันตรายแต่เพียงผู้เดียว แม้จะต้องเจออุปสรรคใดๆ ก็ตามผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 กระทรวงศึกษาธิการ ร.5 ศ. 24/15 เรื่อง ปลูกไข้ทรพิษแขวงนครน่าน [ร.ศ. 113]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


กองโบราณคดีใต้น้ำขอแนะนำแหล่งเรือจมอีกแห่ง ที่จมอยู่ทางด้านทะเลอันดามัน คือแหล่งเรือจมบ้านบางสัก จังหวัดพังงา


ชื่อเรื่อง                                    มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (สุวรรณสาม) สพ.บ.                                       สพ.บ.420/2ขหมวดหมู่                                  พระพุทธศาสนาภาษา                                       บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง                                     พุทธศาสนา                                                ชาดก                                                พระไตรปิฎก ประเภทวัสดุ/มีเดีย                    คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ                                50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก              เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


       50Royalinmemory ๘ มิถุนายน ๒๔๑๗ (๑๔๘ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ [สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๕ พระองค์เจ้าชั้นเอก]        พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับเจ้าจอมมารดาอ่วม (สกุลเดิม พิศลยบุตร) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ มีพระโอรส-ธิดา ๑๒ พระองค์ ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร ณ อยุธยา สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๗๔ พระชันษา ๕๘ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๘๓.)       Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๑๖ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖)     (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


          กรมศิลปากร โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมนิทรรศการเรื่อง “ช้างมงคล” เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับช้างจากเอกสารโบราณ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ           ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับสังคมมนุษย์มาแต่โบราณกาล แม้โดยธรรมชาติช้างเป็นสัตว์ป่ารูปร่างใหญ่โตมีพละกำลังมากมายมหาศาล แต่ช้างก็มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ มีอิริยาบถที่สง่างาม เฉลียวฉลาด แข็งแรง อดทน สามารถฝึกสอนให้เรียนรู้ได้ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พระเจ้าแผ่นดินของไทยในสมัยโบราณ ทรงใช้ช้างเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญสำหรับกองทัพ โดยใช้ช้างเป็นส่วนหนึ่งของกำลังพลในการต่อสู้ขณะทำสงคราม ด้วยวิธีการชนกับช้างข้าศึก ใช้แทนกำลังทหารเพื่อทำลายประตูเมือง กำแพงเมือง ป้อม ค่าย บุกไล่ ทำลายทหารในกองทัพข้าศึก ใช้เป็นพาหนะบรรทุกปืนใหญ่ และสิ่งของเครื่องสรรพาวุธยุทโปกรณ์ รวมทั้งสัมภาระต่างๆ การศึกสงครามแต่ละครั้ง ช้างมีส่วนช่วยปกป้องรักษาบ้านเมืองให้พ้นภัย และขยายขอบเขตของอาณาจักรให้กว้างขวางออกไป           เมื่อบ้านเมืองเลิกใช้ช้างเพื่อการศึกสงคราม อีกทั้งกรมพระคชบาลของหลวงก็เลิกล้มไป ความรู้เกี่ยวกับช้างจึงหมดความจำเป็นสำหรับกิจการบ้านเมือง เป็นเหตุให้ความต้องการอยากเรียนรู้เรื่องช้างหมดไปด้วย เมื่อขาดการสืบทอดผู้มีความรู้เรื่องช้างก็ลดจำนวนลงเป็นลำดับ ปัจจุบันคนรักช้างได้พยายามฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับช้างมากขึ้น นับเป็นนิมิตอันดีอย่างยิ่งที่มรดกวัฒนธรรมของชาติชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งนี้ เริ่มได้รับความสนใจ มีความพยายามรื้อฟื้นให้มีการเผยแพร่และสืบทอด จึงเป็นที่มาของการจัดนิทรรศการในครั้งนี้            นิทรรศการ เรื่อง ช้างมงคล มีเนื้อหานิทรรศการแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ นำเสนอความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในสมัยโบราณที่ใช้เรียกอวัยวะส่วนต่างๆ ของช้าง ส่วนที่ ๒ จะเป็นความรู้เกี่ยวกับการกำเนิดของช้างมงคลตามตำราคชศาสตร์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณว่าช้างศุภลักษณ์ หรือช้างที่มีลักษณะมงคล พร้อมทั้งมีภาพประกอบจากเอกสารโบราณ ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ตระกูล คือ ๑. ช้างตระกูลอิศวรพงศ์ ๒. ช้างตระกูลพรหมพงศ์ ๓. ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ ๔. ช้างตระกูลอัคนิพงศ์ ส่วนที่ ๓  ทำเนียบนามช้างหลวงประจำรัชกาลในราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - รัชกาลที่ ๙ พร้อมจัดแสดงเอกสารโบราณที่บันทึกทำเนียบนามช้างสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนที่ ๔  การเปรียบเทียบความแตกต่างลักษณะทางกายภาพและถิ่นฐานระหว่างช้างเอเชียและช้างแอฟริกา ส่วนที่ ๕  การนำเสนอสารคดีเรื่องช้างไทย และการเล่นเกมส์โชคช้าง เป็นการเสี่ยงทายจากตำราโบราณ เพื่อให้ผู้ที่เข้าชมนิทรรศการได้ร่วมสนุก           ผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการหมุนเวียน เรื่อง “ช้างมงคล” ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕  วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. (หยุดวันนักขัตฤกษ์) ณ  ห้องวชิรญาณ  ๒ – ๓ อาคาร ๒ ชั้น ๑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ  


#มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๕๗ วันประสูติพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช.หม่อมเจ้าชายพีรพงศ์ภาณุเดช เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๕๗ มีพระนามลำลองว่า พระองค์ชายพีระ.ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่วิทยาลัยอีตัน, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ก่อนเปลี่ยนไปทรงศึกษาด้านประติมากรรม ที่ Byam Shaw School of Art.ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ ถึงรัชกาลที่ ๘ เป็นนายร้อยตรีทหารบก.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช ทรงโปรดการแข่งขันขับรถ โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อปลายปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ทั้งสองพระองค์ทรงนำรถรอมิวลุสมาทรงขับโชว์ และทรงจัดประลองความเร็วที่ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๐ โดยราชยานยนต์สมาคมแห่งสยาม และจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมที่วังจักรพงษ์ ขณะนั้นอยู่ในช่วงงานฉลองรัฐธรรมนูญ มีผู้คนเข้ามาชมเป็นจำนวนมาก.ในพุทธศักราช ๒๔๘๒ ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญ ในการเตรียมการจัดการแข่งขันกรุงเทพกรังด์ปรีซ์ (Bangkok Grand Prix) โดยเชิญนักแข่งชั้นนำมาแข่งขันบนเส้นทางรอบสนามหลวงและพระบรมมหาราชวัง ระยะทาง ๒ ไมล์ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๒ แต่การแข่งขันนี้ต้องยกเลิกไป เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นเสียก่อน.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระราชชนก.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๘ สิริพระชันษา ๗๑ ปี.ภาพ : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช


ชื่อเรื่อง                               สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  อย.บ.4/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           40 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก             บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


#องค์ความรู้อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรการกำหนดอายุสมัยเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกไม่ปรากฏแนวกำแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตวัดเรียกลักษณะนี้ว่า “อุทกสีมา” ซึ่งเป็นรูปแบบแผงผังวัดที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยวิหารก่อด้วยอิฐปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐานอาคาร ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม สภาพค่อนข้างสมบูรณ์  ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานในผังสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันสามชั้น จากนั้นเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น อยู่ในผังสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกฟักเพิ่มมุมไม้ยี่สิบซ้อนกันสองชั้น (ชั้นแว่นฟ้า) ตามด้วยส่วนเรือนธาตุเพิ่มมุมไม้ยี่สิบรองรับส่วนยอดทรงดอกบัวตูม ส่วนปลีหักหาย.เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม มีที่มาของชื่อตามลักษณะของส่วนยอดซึ่งคล้ายดอกบัวตูม และการพบเจดีย์ลักษณะเดียวกันบางองค์ ปรากฏการทำกลีบบัวประดับทรงดอกบัวตูม โดยชื่อของเจดีย์ทรงนี้เรียกกันหลายอย่างอาทิเช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ทรงทะนาน หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์.เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมนี้ถือเป็นรูปแบบเฉพาะของสถาปัตยกรรมสุโขทัย เนื่องจากพบเจดีย์ทรงนี้อย่างแพร่หลายตามหัวเมืองต่าง ๆ หรือที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุโขทัย มีรายละเอียดส่วนประกอบโดยรวม ดังนี้.ส่วนฐาน ประกอบด้วยฐานหน้ากระดานหรือฐานเขียงอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3-5 ฐาน รองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ (บัวคว่ำ-บัวหงาย) ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 ฐาน ซึ่งมีลักษณะเป็นฐานบัวที่ยืดท้องไม้สูงประดับลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น.ส่วนกลาง ประกอบด้วยชุดฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน 2 ฐาน ส่วนใหญ่อยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบ นิยมเรียกชุดฐานบัวทั้งสองฐานนี้ว่า “ชั้นแว่นฟ้า” ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของเรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุมไม้ยี่สิบเช่นเดียวกับฐาน มี 2 รูปแบบ คือ เรือนธาตุไม่มีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งพบมากที่สุด และรูปแบบเรือนธาตุมีจระนำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ด้าน ซึ่งพบเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น เช่น เจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย.ส่วนยอด ประกอบด้วยส่วนที่เชื่อมต่อเหนือเรือนธาตุมีชั้นซ้อน 1 ชั้น ประดับด้วยบรรพแถลง และกลีบขนุน แล้วจึงต่อด้วยส่วนยอด คือ ส่วนองค์ระฆัง ประกอบด้วยองค์ระฆังที่เป็นทรงพุ่มคล้ายดอกบัวตูม และเหนือส่วนยอดของดอกบัวตูมทำเป็นวงแหวนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ลักษณะเดียวกับปล้องไฉนของเจดีย์ทรงระฆังรองรับส่วนยอดสุดคือ ปลี.ทั้งนี้ซุ้มบรรพแถลงของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมักพบการประดับหน้ากาลเต็มพื้นที่ คาดว่าน่าจะเป็นเพราะบรรพแถลงมีขนาดเล็กมาก และอยู่สูง เช่น เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว .นอกจากนี้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมบางกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และเป็นเจดีย์ประธานอันสำคัญที่สุดของวัดจะมีการทำบันไดบริเวณส่วนฐานด้านทิศตะวันออกขึ้นไปถึงส่วนเรือนธาตุ .โดยรวมแล้วเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมมีลักษณะรูปแบบเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น จะมีเพียงบางองค์ที่มีลักษณะแตกต่างไปคือ มีองค์ประกอบไม่ครบถ้วนตามระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป เช่น ไม่มีชั้นเขียง ไม่มีชั้นแว่นฟ้า มีชั้นแว่นฟ้าเพียงชั้นเดียว หรือมีการเพิ่มชั้นฐานบัว เป็นต้น.ตัวอย่างเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ในเมืองสุโขทัย ได้แก่ เจดีย์ประธาน วัดมหาธาตุ, เจดีย์วัดอโสการาม และเจดีย์ประธานวัดตระพังเงิน เป็นต้น..การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบรูปแบบสถาปัตยกรรม และอ้างอิงจากอายุของวัดที่พบรูปแบบสถาปัตยกรรมเดียวกัน ในที่นี้จึงทำการกำหนดอายุเปรียบเทียบโดยใช้เจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเป็นสื่อกลางในการอ้างอิงระหว่างวัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร และเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัย.1. หลักฐานทางโบราณคดีประเภทจารึก : ปรากฏจารึกวัดอโสการาม ซึ่งเป็นวัดที่ทำการขุดแต่งพบส่วนยอดของเจดีย์ลักษณะทรงยอดดอกบัวตูม โดยจารึกเป็นอักษรไทย ภาษาไทย อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรขอม ภาษาบาลี กล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม ระบุปีพุทธศักราช 1956.นอกจากนี้ยังพบจารึกภายในบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย เช่น จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด อักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พุทธศักราช 1935, จารึกเจดีย์น้อย อักษรสุโขทัย-ขอมสุโขทัย ภาษาไทย-สันสกฤต พุทธศตวรรษที่ 20-21 และจารึกลานทองสมเด็จพระมหาเถรจุฑามุณี อักษรไทยสุโขทัย-ธรรมล้านนา ภาษาไทย-บาลี พุทธศักราช 1919.2. หลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการดำเนินการโครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย โดยการดำเนินงานของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย ขนาดหลุม 2x2 เมตร จำนวน 2 หลุม แบ่งประเภทการกำหนดอายุโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีเป็น 2 ประเภท ได้แก่.การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีเปรียบเทียบ.ชิ้นส่วนภาชนะแหล่งเตาสุโขทัย ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเขียนลายสีดำบนพื้นสีขาวลวดลายกงจักร ลายปลาในวงกลม ลายดอกไม้หรือลายพันธุ์พฤกษา ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งน้ำเคลือบสีเขียวหรือสังคโลกจากแหล่งเตาสุโขทัย กำหนดอายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20.เครื่องถ้วยจีน ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีสามารถกำหนดอายุคร่าวๆได้ว่า ชิ้นที่พบว่ามีอายุเก่าสุดอยู่ในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ (ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ต่อมาคือสมัยเยวี๋ยน (ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 - ปลายพุทธศตวรรษที่ 19) และสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.1911-2187) นอกจากนั้นยังพบภาชนะสำริดตกแต่งผิวด้านนอก-ด้านในด้วยวิธีถมปัด อายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงราวพุทธศตวรรษที่ 22 โดยเมื่อเปรียบเทียบชั้นดินวัฒนธรรมแล้วพบว่าเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุสมัยอยู่ในช่วงราชวงศ์หมิงเหล่านี้ อยู่ในชั้นดินที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย ร่วมสมัยกับชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งรูปทรงต่างๆ และชิ้นส่วนถ้วยชามสังคโลก..การกำหนดอายุสมัยโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ จากรายงานผลการกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS Dating ตัวอย่างถ่าน และเปลือกหอยจากการดำเนินงานการขุดค้นทางโบราณคดี โครงการวิจัยการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2561 นำตัวอย่างถ่านที่พบในหลุมขุดค้นที่ 2 (TP.2) ทางทิศตะวันตกของวัดตระพังเงิน ระดับความลึกสมมติที่ 11 (160-170 cm.dt.) ไปกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการเร่งอนุภาคมวลสาร (AMS) มีค่าอายุอยู่ในช่วงพุทธศักราช 1690-1758  ซึ่งมีอายุเก่ากว่าสมัยสุโขทัย โดยในระดับชั้นเดียวกันนี้พบโบราณวัตถุที่มีอายุสมัยร่วมกันคือ ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ กำหนดอายุโดยวิธีเปรียบเทียบราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18..ผลการดำเนินงานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าหลุมขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณทิศตะวันตกของวัดตระพังเงินมี 2 ชั้นวัฒนธรรม ได้แก่ ชั้นที่อยู่อาศัยในยุคเริ่มแรกสุโขทัย และชั้นที่อยู่อาศัยสมัยสุโขทัย และจากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวข้างต้น สันนิษฐานว่าช่วงเวลาการสร้างวัดที่ปรากฏศิลปกรรมเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมอย่างช้าที่สุดคือช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20.ดังนั้นการปรากฏรูปแบบเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมที่วัดเจดีย์กลางทุ่ง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และวัดตระพังเงิน เมืองสุโขทัย สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากอายุสมัยแห่งการก่อสร้างวัดทั้งสองแห่งที่อยู่ร่วมสมัยกันในฐานะที่เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัย..เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, 2519. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2542.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย : แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบ และการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : โครงการเจดีย์ในประเทศไทย แนวคิด คติการสร้าง พัฒนาการทางรูปแบบและการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์, สนับสนุนทุนวิจัยโดย สถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.                    . เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.                    . ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.                    . ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สมาพันธ์, 2563.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัยปีงบประมาณ 2561. ม.ป.ท. : โครงการการศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย, อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ม.ป.ป.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           55/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                               34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1ช เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 158/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง             วิพุธโยคะ  รัตนะรังษี ชื่อเรื่อง               เพชรน้ำหนึ่งของโบราณาจารย์ ครั้งที่พิมพ์          พิมพ์ครั้งที่สอง สถานที่พิมพ์        วังพูรพา สำนักพิมพ์          โอเดียนสโตร์ ปีที่พิมพ์              ๒๕๒๕ จำนวนหน้า          ๖๔๐  หน้า                          ผู้รวบรวมเรียบเรียงได้ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า ๕๐ ปี ในการศึกษาเรียนรู้ ทดสอบบรรดาสรรพวิทยาการแขนงต่าง ๆ ที่ท่านโบราณาจารย์ในสมัยพุทธกาลสมัยกลางและสมัยปัจจุบัน ได้คิดค้น ได้นำออกใช้ ได้ประสบผล และได้บันทึกไว้เป็นตำรา นับตั้งแต่ระบบเส้นลายของร่างกาย สรรพคุณของพืช ตัวยาสมุนไพร ที่จะนำมารักษาโรค พระเวทย์คาถาต่างๆ ให้ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบของอวัยวะและแผนผังแสดงจุดต่าง ๆ เพื่อนวดรักษาโรคอย่างละเอียด เป็นต้น


Messenger