ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
โคลงโลกนิติ
หนังสือโคลงโลกนิตินี้เป็นสุภาษิตเก่าแก่ แต่งมาแต่โบราณครั้งกรุงเก่า เดิมนักปราชญ์ผู้แต่งเที่ยวเลือกคาถาสุภาษิต ภาษาบาลีและสันสกฤต อันมีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ คือ คัมภีร์โลกนิติบ้าง คัมภีร์โลกนัยบ้าง ตลอดจนคัมภีร์พระธรรมบทก็มีเลือกคาถาสุภาษิตเหล่านั้นมาตั้งแล้วแปลแต่งเป็นคำโคลงไปทุก ๆ คาถา รวมเป็นเรื่องเรียกว่าโคลงโลกนิติเป็นสุภาษิตที่นั้บถือกันมาช้านาน
ชื่อเรื่อง เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ. 193/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 56.6 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เกร็ดความรู้อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณนอกกําแพงเมืองด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ำแควน้อย ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จํานวน ๔ โครง แต่ที่เห็นอยู่ในหลุมขุดค้นมีเพียง ๒ โครง อีก ๒ โครงไม่สามารถกําหนดอายุและเพศได้ เนื่องจากถูกรบกวนจากสัตว์ใน ดิน จึงได้นําขึ้นจากหลุมขุดค้นและนําไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า อําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี โครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเพศหญิง อายุประมาณ ๓๐-๓๕ ปี และโครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพศหญิง มีอายุ ประมาณ ๒๐-๓๐ ปี ทั้งสองโครงจะฝังรวมกับภาชนะดินเผา ภาชนะสําริด เครื่องมือเหล็ก และสําริด กําไลเปลือกหอยและสําริด ลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว แหล่งโบราณคดีที่เป็นหลุมฝังศพในลักษณะนี้พบหลายแห่งตามริมฝั่งแม่น้ํา แควน้อย ในเขตอําเภอไทรโยค จนถึงอําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี อันแสดงให้เห็น ถึงกลุ่มคนในวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ํา ก่อนที่จะมีการสร้างปราสาท เมืองสิงห์ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคยอยู่ มาเมื่อประมาณ ๒.๐๐๐ ปีมาแล้ว และเคยมีการติดต่อกับชุมชนอื่นเช่นที่บ้านดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เพราะหลักฐานต่าง ๆ ที่พบคล้ายคลึงกัน และมีอายุ ในช่วงปลายยุคโลหะเช่นเดียวกัน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/muangsing/index.php/th/%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99/13-event/132-historicalpark.html?option=com_content&view=article&layout=edit&id=121
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.100/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 78 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.130/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.4/1-3
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 19 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 32) ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2508 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : องค์การค้าคุรุสภา จำนวนหน้า : 284 หน้าสาระสังเขป : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 19 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 32) ว่าด้วยเรื่องราวหลายเรื่อง ว่าด้วยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสร้างโบสถ์ พระราชทานพวกบาทหลวงและทรงเอื้อเฟื้อต่าง ๆ ว่าด้วยข่าวข้าราชทูตไทยที่ไปครั้งแรกไปสูญหาย ว่าด้วยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระราชดำริจะส่งทูตไปอีก ว่าด้วยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระราชทานสิทธิในการซื้อสินค้าบางอย่างแก่บริษัทฝรั่งเศส ว่าด้วยสังฆราชดาโกลีเฝ้าและทูลลาไปเมืองจีน ว่าด้วยคอนซตันซ์ตินฟอลคอนขอร้องให้คณะบาทหลวงใช้คำพูดที่เกี่ยวด้วยพระเจ้าแผ่นดินและขุนนางให้เรียบร้อย ว่าด้วยสมเด็จพระนารายณ์ฯ สร้างโบสถ์พระราชทาน ว่าด้วยมองเซนเยอร์ลาโนบอกไปยังคณะต่างประเทศเรื่องให้หาของส่งเข้าไปถวายสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่าด้วยสมเด็จพระนารายณ์ฯ สร้างโบสถ์พระราชทานที่เมืองตะนาวศรีและที่เมืองละโว้ ว่าด้วยบาทหลวงถวายไม้กางเขนงาแด่สมเด็จพระนารายณ์ ฯลฯ
ตั้งแต่อดีตชาวจีนที่อพยพมายังสยามถือว่าเป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพาณิชย์กันเลยทีเดียว เพราะชาวจีนมาความชำนาญในการค้าขาย มองเห็นช่องทางธุรกิจการค้าหากำไรได้อย่างดี อีกทั้งสามัคคีและรักพวกพ้อง ชาวจีนในสยาม มีกล่าวถึงแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่ผู้เขียนขอเริ่มกล่าวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ที่มีเอกสารอ้างอิงได้เขียนไว้ว่า...การค้าทางทะเลเช่นเดียวกับการค้าขายในประเทศที่เกือบจะตกอยู่ใต้การควบคุมของชาวจีนโดยสิ้นเชิง...ชาวจีนที่อพยพมาสู่สยามในระยะนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะว่าราชสำนักสยามได้ปฏิบัติต่อชาวจีนเป็นอย่างดีเป็นพิเศษ... ชาวจีนเหล่านี้ได้มาพัฒนาเกษตรกรรมเพื่อการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพริกไทยและอ้อย... เนื่องจากเมืองจันทบุรี เป็นเมืองท่ามาแต่โบราณ ชาวจีนจึงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณหุบเขาของจันทบุรี(เขาสระบาป:ผู้เขียน) พร้อมทั้งปลูกพริกไทยเพื่อเป็นสินค้าออก และปลูกอ้อย เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุรา และทำน้ำตาลทราย เพื่อส่งออกเช่นกัน ช่วงนั้นไร่อ้อยที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่จันทบุรีและฉะเชิงเทรา นอกจากนั้นยังบันทึกว่า ...ชาวจีนที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของเมืองจันทบุรีเป็นจีนแต้จิ๋ว... นับเป็นเวลาหลายร้อยปีที่ชาวจีนได้มาตั้งถิ่นฐานในสยาม จวบจนทุกวันนี้ สิ่งยังพบได้ในชาวจีนคือการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น เช่นในวันตรุษจีน ชาวจีนต้องมีการ"จุดประทัด"ซึ่งเป็นคติความเชื่อของชาวจีนว่าเพื่อปัดเป่าความชั่วร้ายนั่นเอง ในเอกสารจดหมายเหตุ ชุดมณฑลจันทบุรี ช่วงพ.ศ.2470 พ.ศ.2472 และ พ.ศ.2473 พบการประกาศเรื่องการจุดประทัดในช่วงตรุษจีนว่าอนุญาตให้จุดได้แต่ต้องหาของมาครอบไม่ให้เปลวไฟกระเด็นไปในที่ต่างๆอาจเกิดอันตรายและป้องกันอัคคีภัย จากเอกสารจดหมายเหตุชุดนี้อาจจะเหมือนมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย แต่ในมุมมองของผู้เขียนมองว่าหน่วยงานราชการในสมัยนั้นได้ให้ความสำคัญและให้เกียรติกับชาวจีนเสมอกับชาวไทยนั่นเอง เนื่องในวันตรุษจีนปีนี้ ในฐานะที่ผู้เขียนเองก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีนคนหนึ่ง(บรรพบุรุษแซ่ลี้)จึงขออวยพรให้ทุกท่านและครอบครัวมีความสุขสมปรารถนาทุกประการนะคะ ---------------------------------------------------------ผู้เขียน : นางสุมลฑริกาญจณ์ มายะรังษี นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี---------------------------------------------------------อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท1.1/37 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องส่งประกาศจุดประทัดในลัทธิตรุสจีน (18 มกราคม 2470) หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท1.1/53 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องประกาศจุดประทัดในวันตรุสจีนประจำ พ.ศ. 2472 (28 มกราคม 2472) หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. (13)มท1.1/59 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดมณฑลจันทบุรี. เรื่องประกาศจุดประทัดในวันตรุษจีน ประจำ พ.ศ. 2473 (11 กุมภาพันธ์ 2473) สารสิน วีระผล. (2548). จิ้มก้องและกำไรการค้าไทย-จีน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
--- วันสังขานต์ล่อง ---
. วันสังขานต์ล่อง หรือ วันสังขารล่อง เป็นวันแรกของกิจกรรมปีใหม่เมือง (ในปี 2564 นี้ วันสังขานต์ล่องตรงกับวันที่ 14 เม.ย. )
. "สังขานต์" คือ คำเดียวกับ "สงกรานต์" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "ก้าวล่วงแล้ว" วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนา ตรงกับภาคกลาง คือ วันมหาสงกรานต์ ถือเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่า
. ในวันนี้คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่ จุดประทัด ยิงปืน เพื่อขับไล่เสนียด จัญไร ไหลล่องไปกับ “ปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์” ซึ่งจะแบกรับเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในชีวิตไปเททิ้งที่มหาสมุทร การไล่สังขานต์ด้วยเสียงประทัดที่ดังแต่เช้าตรู่ จึงทำให้ทุกคนตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาด บ้านเรือน ซักที่นอน หมอนมุ้ง แล้วอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดผ่องใส
. วันนี้ในเมืองเชียงใหม่จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ที่ประดิษฐาน ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เสด็จขึ้นบุษบกในช่วงเช้า และช่วงบ่ายอัญเชิญแห่ รอบเมืองเชียงใหม่ ให้ประชาชนได้ทำการสรงน้ำ และมีขบวนพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ เข้าร่วมแห่ ในขบวน การสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปสำคัญเมืองเชียงใหม่ ในช่วงประเพณีปีใหม่เมืองจะทำให้ เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+