ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

กรมศิลปากร จัดงานถวายผ้าพระกฐินพราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2557 ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี   วันที่ 17-18 ตุลาคม 2557 ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้กรมศิลปากร นำไปถวายพระสงฆ์ จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี กรมศิลปากรจึงจัดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2557 ณ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี  - วันที่ 17 ตุลาคม 2557 กำหนดพิธีอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานพร้อมเครื่องอานิสังสบริวาร และสมโภชน์องค์พระกฐิน ณ ศาลาการเปรียญวัดไชยชุมพลชนะสงคราม - วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 10.00 น. กำหนดพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ พระอุโบสถวัดไชยชุมพลชนะสงคราม โดยมีอธิบดีกรมศิลปากร คณะผู้บริหารกรมศิลปากร ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าประจำ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตลอดจนพ่อค้าและประชาชนในพื้นที่ ร่วมในพิธีการ ซึ่งในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมศิลปากรในปีนี้ มียอดเงินทำบุญถวาย ทั้งสิ้น 1,870,743.25 บาท      โดย : กลุ่มอำนวยการและประสานราชการ  สำนักบริหารกลาง ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์






***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อสุเรนทรจารีต คำพากย์ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงนฤบาลวรภาชน์ (มัย ไกรฤกษ์) ณ เมรุวัดธาตุทอง วันอังคารที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2515 สมุทรปราการ  โรงพิมพ์อักษรประเสริฐ 2515


วันศุกร์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ นางสาวอรุณี แซ่เล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ทุกคน ร่วมกันจัดกิจกรรม " Big Cleaning Day " ทำความสะอาดภายในห้องจัดแสดง และบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เพื่อเป็นการการป้องกันโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่


วัสดุ หินทราย แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย แบบบาปวน อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ 16 สถานที่พบ ได้จากการขุดแต่งพระธาตุพันขันอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทับหลัง คือ แผ่นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ใช้ประดับอยู่เหนือกรอบประตูปราสาทหิน ทำหน้าที่เป็นคานรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตอนบน ลวดลายบนทับหลังสามารถนำไปเปรียบเทียบกับปราสาทหินอื่นๆ ที่มีอายุจารึกการสร้างที่แน่นอน ทำให้กำหนดอายุโบราณสถานที่ไม่มีอายุการก่อสร้างที่แน่นอนได้ ทับหลังสลักภาพพระศิวะประทับนั่งอยู่ตรงกลางในท่ามหาราชลีลา (ชันเข่าขวา) อยู่ในซุ้มเรือนแก้วเหนือหน้ากาล (เกียรติมุข) หน้ากาลคายท่อนพวงมาลัยออกมาทั้ง 2 ข้าง และใช้มือทั้งสองยึดท่อนพวงมาลัยไว้ เบื้องขวาของพระศิวะมีภาพบุคคล 2 คน คือ ท้าวหิมวันต์ กำลังใช้มือทั้งสองประคองนางปารพตี (พระอุมา) ซึ่งเป็นธิดาของตนถวายแด่พระศิวะ ปลายซุ้มเรือนแก้วเป็นรูปนาค ทั้งด้านบนและด้านล่างของท่อนพวงมาลัยมีลายใบไม้ประกอบ ระหว่างลายใบไม้นี้ยังมีแกนชนวนเชื่อมกันซึ่งแสดงให้เห็นว่าทับหลังแผ่นนี้ยังสลักไม่เสร็จสมบูรณ์มาแต่เดิม ภาพเล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยพบแล้วจำนวน 4 แผ่นคือ ทับหลังที่วัดโพธิ์ย้อย อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ (ศิลปะแบบเกลียง-บาปวน) ทับหลังของมุขปราสาทประธานปราสาทเมืองต่ำ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ (ศิลปะแบบเกลียง-บาปวน) ทับหลังของโคปุระด้านทิศตะวันออกกู่พระโกนา (ศิลปะแบบบาปวน) และทับหลังของพระธาตุพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยทับหลังทั้งหมดนี้กำหนดอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 16 ทั้งสิ้น


อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 



นิทรรศการใต้ร่มพระบารมี ๒๓๕ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ พระเกียรติคุณ พระบรมราชจักรีวงศ์   ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา







***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก    มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  พันโท หลวงเจริญศัสตรารักษ์  (ชุ่ม เจริญศัสตรารักษ์)ณ เมรุ วัดจักรวรรดิราชาวาส  ๓ เมษายน ๒๕๐๘.   พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๐๘.


Messenger