ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,820 รายการ

          วันศุกร์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการและตรวจการจ้างงาน ( ประจำงวดที่ ๒ ) โครงการบูรณะและจัดแสดงหออนุสรณ์เจ้าพระยายมราช โดยมีนางนิภา สังคนาคินทร์ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร นายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม พร้อมด้วยคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมและตรวจงานจ้าง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร



กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์” วิทยากรโดย นายสมชาย ณ นครพนม ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี (ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์), ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี, นางสาวสำเนา จาดทองคำ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า และนางสาวสุภมาศ ดวงสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในพฤหัสบดีที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร


     นาค เป็นสัตว์ในจินตนาการที่ได้รับแนวคิดมาจากสัตว์ที่มีอยู่จริงประเภทงูใหญ่ ซึ่งเป็นสัตว์ที่ได้รับการยกย่องบูชาแบบเทพเจ้ามาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ โดยเชื่อว่างูใหญ่หรือนาค เป็นสัญลักษณ์ของ สวรรค์ ท้องฟ้า และเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องน้ำและฝน สำหรับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นาค มีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าองค์สำคัญ ได้แก่ พระวิษณุ โดยนาคปรากฏร่วมกับพระวิษณุอนันตศายิน และพระศิวะกับงูเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ร่วมกันเสมอ ตามคติความเชื่อในศาสนาพุทธ พญานาคมุจลินท์ใช้กายกำบังให้พระพุทธเจ้าเมื่อเกิดพายุฝนเป็นเวลาเจ็ดวันขณะเสวยวิมุตติสุขในสัปดาห์ที่ ๖ ภายหลังทรงตรัสรู้ จึงเชื่อว่านาคเป็นสัญลักษณ์ของผู้พิทักษ์ดูแลพระพุทธศาสนา ความเชื่อเรื่องนาคที่ปรากฏในดินแดนไทย เป็นทั้งความเชื่อที่มีมาแต่เดิมและผสมผสานกับการรับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย       หลักฐานศิลปกรรม ประติมากรรมรูปนาคซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุด ที่สร้างขึ้นในท้องถิ่น มิได้เป็นการนำเข้ามาจากภายนอก เนื่องจากเป็นประติมากรรมปูนปั้นซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้ประดับติดเข้ากับผนังของศาสนสถาน ได้แก่ ชิ้นส่วนปูนปั้นรูปขนดนาคที่ฐานพระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประติมากรรมรูปนาคที่พบในสมัยทวารวดี ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยได้รับแบบอย่างมาจากศิลปะอินเดีย แบบอมราวดี คุปตะ และหลังคุปตะ เข้ามาผสมผสาน มักสร้างขึ้นเพื่อประดับศาสนสถาน ร่วมกับประติมากรรมรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ รูปบุคคล คนแคระ ลายพันธุ์พฤกษา และสัตว์แบกอยู่บริเวณส่วนฐานของเจดีย์ ทั้งนี้มีผู้ศึกษาเรื่องส่วนผสมของปูนปั้นสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่า ได้แก่ ปูนขาวกับน้ำอ้อยผสมกับทรายและเนื้อเยื่อจากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งผสมยางไม้ ซึ่งทำให้การยึดเกาะกันของส่วนผสมต่าง ๆ ทนทานยิ่งขึ้น      ในเมืองโบราณอู่ทอง พบหลักฐานประติมากรรมรูปนาคปูนปั้นที่เจดีย์หมายเลข ๓ และหมายเลข ๒๘ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อประดับส่วนฐาน หรือประดับองค์ประกอบอื่นๆ ของสถาปัตยกรรม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว หลักฐานประติมากรรมรูปนาคที่พบจากเมืองโบราณอู่ทอง ส่วนใหญ่ทำจากปูนปั้น และมักเกี่ยวข้องกับการตกแต่งศาสนสถานในศาสนาพุทธ ซึ่งประติมากรรมดังกล่าว น่าจะมีความหมายถึงความเป็นสิริมงคลและเป็นผู้พิทักษ์ดูแลพุทธสถานแห่งนั้น   เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕. วรรณา อัมพวัน. “เทคนิคเชิงช่างงานประติมากรรมปูนปั้นและดินเผาที่ใช้ในการประดับศาสนสถานสมัยทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓. สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ. “นาค” ในงานประติมากรรมสมัยทวารวดี. เอกสารประกอบงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ๑๑ – ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒.  อนุสรณ์ คุณประกิจ. “การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๙.




ชื่อเรื่อง                                เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) สพ.บ.                                  277/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           44 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พระสูตร                                           พระไตรปิฎก                                           พระยายม บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          วัดนักบุญยอเซฟ เป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานที่ดิน วัสดุและพระราชทรัพย์ก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๒๐๙ โดยบาทหลวง ไบซอพแลมเบิต เดลา มอทเต ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เดิมโบสถ์นี้สร้างด้วยไม้ ต่อมา พ.ศ. ๒๒๒๘ สร้างใหม่โดยการก่ออิฐถือปูนระหว่างรบกับพม่าโบสถ์นี้ใช้เป็นที่พักอาศัยหลบภัยสงครามและ ได้ถูกทำลายลงในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๗๔ บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เดินทางมาประเทศไทย จึงได้บูรณะและรวบรวมสัตบุรุษได้ประมาณ ๗๐ คน แล้วสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ชั่วคราวด้วยไม้ใช้หญ้าคามุงหลังคา พ.ศ. ๒๓๙๐           บาทหลวงอัลเบริ์ต ได้บูรณะต่อเติมโบสถ์ใหม่ตามแบบศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque) ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ หน้าต่างโบสถ์ทำด้วยกระจกสีซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระเยซู ใต้โบสถ์ใช้เป็นที่เก็บศพของบาทหลวงและสังฆราช ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ได้มีการบูรณะวัดอีกครั้งโดยบาทหลวงแบร์โร ปัจจุบันโบสถ์ของวัดนี้ยังงดงามและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทย ที่นับถือศาสนาคริสต์ ด้านนอกเต็มไปด้วยรูปปั้นกับคำสอนมากมายที่ให้เราได้เข้ามาชมกัน "หลักการพิพากษามีอย่างนี้ คือความสว่างเข้ามาในโลกแล้ว แต่มนุษย์รักความมืดมากกว่าความสว่าง เพราะกิจการของพวกเขาเลวทราม เพราะทุกคนที่ประพฤติชั่วก็เกลียดความสว่างเนื่องจากกลัวว่าการกระทำของตนจะปรากฏ" ยอห์น ๓:๑๙-๒๐------------------------------------------------------------------ผู้เรียบเรียง : นางสาวนฤมล ขจรเวช มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (นักศึกษาฝึกงาน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ) ------------------------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง :กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ศรเมืองการพิมพ์,๒๕๔๓. เลขหมู่ ๙๕๙.๓๑๔ ศ๕๒๘น วัดนักบุญยอแซฟ โบสถ์คริสต์สมัยกรุงศรีแห่งหนึ่งในอยุธยา. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://th.readme.me/ ๒๕๖๑. (๒๔กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔)


หลุก เป็นภาษาล้านนา หมายถึง กังหันวิดน้ำ เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน สร้างด้วยไม้ไผ่ ลักษณะเป็นวงกลมขนาดใหญ่ มีแกนตรงกลางสร้างด้วยไม้แข็งทำเป็นรูปกงล้อ มีแผงไม้ไผ่อยู่รอบกงล้อเพื่อรับกระแสน้ำโดยรอบกงล้อจะมีกระบอกไม้ไผ่ผูกติดอยู่สำหรับใส่น้ำ เมื่อแผงไม้ไผ่ถูกกระแสน้ำพัด กงล้อที่มีแผงไม้ไผ่และมีกระบอกใส่น้ำจะตักน้ำเข้าในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อหมุนขึ้นไปด้านบนสุด น้ำที่อยู่ในกระบอกด้านบนสุดจะเทลงมาในลำราง หลุกใช้ในการเกษตรกรรม เช่น การหมุนเพื่อสาวถังตักน้ำขึ้นจากบ่อ หมุนเพื่อวิดน้ำเข้านา มักใช้งานตามริมแม่น้ำใหญ่มีตลิ่งสูง ปัจจุบันหลุกไม่นิยมใช้อีกต่อไป เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่สิ้นเปลืองในการสร้าง และมีเทคโนโลยีที่มีความสะดวกเข้ามาทดแทน เช่น เครื่องสูบน้ำ แต่ยังปรากฏคำว่าหลุกอยู่ตามชื่อชุมชนที่เคยมีการใช้หลุกทำการเกษตรมาก่อน เช่น บ้านท่าหลุก ตำบลสันผีเสื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่,บ้านท่าหลุก ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน และบ้านหลุก ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุดนายบุญเสริม สาตราภัยอ้างอิง :๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.๒. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๖๒. หลุกวิดน้ำของคนล้านนา (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/105389, สืบค้นเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔.๓. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๖๑. ล้านนาคำเมือง : หลุก (Online). https://www.matichonweekly.com/column/article_102054, สืบค้นเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔.


ชื่อเรื่อง                                หนังสือเชตวัน (หนังสือเชตตวัน) สพ.บ.                                  303/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           98 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)  ชบ.บ.95ข/1-21  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.305/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 20 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124  (287-301) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



. เนื่องในวันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อเป็นการรำลึกถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ มาฝากแฟนเพจทุกท่านค่ะ /// พระราชประวัติ ///. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม โดยมีพระอิสริยยศคือ "พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร"/// ทรงเริ่มสนพระทัยในงานโบราณคดี ///. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับวิชาการโบราณคดีมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มศึกษาโบราณคดีและเริ่มสนพระทัยในเรื่องเครื่องรางของขลังตั้งแต่ทรงผนวชเป็นสามเณร พระภารกิจทางโบราณคดีที่ทรงทำอย่างแท้จริงนั้น อยู่ในช่วงที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘ ซึ่งต้องเสด็จทอดพระเนตรออกตรวจราชการตามหัวเมืองต่างๆ อยู่เป็นประจำ ทำให้พระองค์ได้พบเห็นเมืองโบราณ และโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ถูกทิ้งร้างซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยพระทัยรัก ในงานโบราณคดี พระองค์จึงทรงบันทึกเรื่องราวต่างๆที่ได้พบเห็นไว้ แล้วนำมาศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม /// การจัดการด้านพิพิธภัณฑ์ ///. จากที่กล่าวมาว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จออกตรวจราชการ ทรงพบโบราณวัตถุจำนวนมากที่เป็นหลักฐานที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย ถูกทิ้งอยู่ตามเมืองโบราณต่างๆ ทรงเก็บรวบรวมโบราณวัตถุเหล่านั้นมาเก็บรักษาไว้ โดยในขั้นแรกทรงให้เก็บรักษาไว้ ณ กระทรวงมหาดไทยก่อน และเมื่อทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภาก็ได้นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานวังหน้า (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครในปัจจุบัน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานวังหน้าให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ อีกทั้งยังประทานของส่วนพระองค์ให้ไปจัดแสดงด้วย ในการจัดแสดง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นผู้ควบคุมการจัดด้วยพระองค์เองโดยตลอด เมื่อทรงจัดแล้ว ก็ทรงฝึกคนให้มีความรู้ โดยถ่ายทอดวิชาการโบราณคดีและวิชาการพิพิธภัณฑสถานจากพระองค์ ผู้ที่ได้รับการฝึกสอนในขั้นแรกนั้น คือ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ คณบดีคนแรกของคณะโบราณคดี. สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีความรักและห่วงใยในพิพิธภัณฑสถานนี้มาก คราวที่พระองค์ต้องเสด็จไปอยู่ปีนัง ได้รับสั่งถึงหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ว่า “ฉันรักหลวงบริบาลฯ เท่าไร หลวงบริบาลฯ ทราบอยู่แล้ว ถ้ารักฉันตอบ ขอให้พยายามบำรุงรักษาพิพิธภัณฑสถานซึ่งเป็นของรักของฉันให้ถาวรต่อไป ดีกว่าสนองคุณด้วยประการอย่างอื่น”(ลายพระหัตถ์ถึงหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘). สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๘๖ ด้วยโรคพระหทัยพิการ“””””””””””””””””””””””””””””””””””””. จะเห็นได้ว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีคุณูปการต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทยอย่างมาก จนได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และนอกจากนี้ยังทรงได้รับการถวายพระนามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย" โดยกำหนดให้วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปี เป็น "วันดำรงราชานุภาพ" ค่ะ แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ --------------------------เอกสารอ้างอิงจิรัสสา คชาชีวะ. (2555). “โบราณคดีจากลายพระหัตถ์” ใน ๑๕๐ ปี สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับพัฒนาการโบราณคดีไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, หน้า 57-75.ดำรงราชานุภาพ.”ลายพระหัตถ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพถึง ศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์, สกุลบริบาลบุรีภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรงุ เทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ส.พ., ๒๕๒๙, หน้า ๑๒.------------------------------------------พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+


องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เรื่อง รูปบุคคลทรงครุฑ จากอโรคยาศาล สมัยพระเจ้าชัยวรวันที่ ๗ ตอน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗



Messenger