ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ

ห้องวรรณกรรมเมืองสุพรรณจัดแสดงเรื่องราวของวรรณกรรมสำคัญ สองเรื่อง ที่เกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ได้รับการยกย่องจากวรรคดีสโมสรให้เป็นเลิศประเภทกลอนเสภา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและโคลงนิราศสุพรรณซึ่งประพันธ์โดยสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมทั้งสองเรื่องเปรียบเสมือนภาพสะท้อนวิถีชีวิตขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสุพรรณบุรีในอดีตโคลงนิราศสุพรรณโคลงนิราศสุพรรณเป็นวรรณกรรมที่บันทึกสภาพบ้านเมืองของสุพรรณบุรีในอดีตเมื่อครั้งสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้ประพันธ์ได้เดินทางมาสุพรรณ ในพุทธศักราช 2379 ขึ้น สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงมีคุณค่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์เมืองสุพรรณในอดีต สุนทรภู่ได้ประพันธ์โคลงนิราศสุพรรณ ซึ่งเป็นโคลงสี่สุภาพเพียงเรื่องเดียวของท่านเชื่อกันว่าท่านประพันธ์เรื่องนี้เป็นโคลงเพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ถึงความสามารถในการแต่งโคลงสี่สุภาพของท่าน ว่าท่านสามารถแต่งได้ดีเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อแก้คำท้าทายที่ว่าท่านแต่งได้ดีแต่กลอน ต้นฉบับโคลองนิราศสุพรรณนี้เป็นสมุดไทยดำสามเล่ม เขียนด้วยดินสอขาว พิมพ์รวมเป็นเล่มสมบูรณ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2510 ลายมือในสมุดไทยนี้มีรอยแก้ไขหลายแห่ง วิธีเขียนและการสะกดการันต์เป็นแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งยังไม่มีแบบแผนการสะกดเช่นในปัจจุบัน จะเขียนตามเสียง เช่น ผกา เขียน พกา, สุพรรณบุรี เขียนเป็น สูพันบุรี เป็นต้น16       ในการเดินทางครั้งนั้น สุนทรภู่อยู่ในสมณเพศ เดินทางมาทางเรือ เมื่อราว พ.ศ. 2379 พร้อมบุตรทั้งสาม คือ หนูพัด หนูตาบ หนูน้อย และนายรอด ที่เป็นทั้งคนนำทางและนายท้ายเรือ การเดินทางมาเพื่อค้นหาแร่ปรอทสำหรับการเล่นแร่แปรธาตุ ในพื้นที่แถบอำเภอด่านช้างปัจจุบันคณะสุนทรภู่ออกเดินทางจากท่าน้ำวัดเทพธิดาราม ผ่านคลองมหานาค คลองโอ่งอ่าง ออกแม่น้ำเจ้าพระยาเมหรือคลองบางกอกน้อยในปัจจุบัน เข้าคลองบางใหญ่ออกแม่น้ำนครไชยศรีขึ้นเหนือเข้าสู่เขตแม่น้ำสุพรรณบุรี ถึงบ้างทึงขึ้นบกเดินเท้าเข้าป่าที่วังหิน เพื่อค้นหาแร่ปรอทในป่าลึกแต่ไม่พบ จึงกลับมาลงเรือที่บ้านสองพี่น้อง ระหว่างทางสุนทรภู่ได้แต่งโคลงนิราศ โดยพรรณนาถึงความสวยงามของธรรมชาติ ชื่อหมู่บ้านสถานที่ต่าง ๆ ลักษณะบ้านเมือง พืชพรรณ สรรพสัตว์ วิถีชีวิตชาวสุพรรณเชื้อชาติต่าง ๆ ที่พบเห็นระหว่างทาง ประกอบกับการรำพันถึงหญิงอันเป็นที่รัก เป็นโคลองนิราศยาวถึง 462 บท เนื้อความในโคลงนี้จึงเสมือนบันทึกสภาพบ้านเมืองของเมืองสุพรรณเมื่อเกือบ 200 ปี ที่แล้ว ปัจจุบันหลายแห่งยังคงสภาพคล้ายในสมัยสุนทรภู่หลายแห่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง โคลงนิราศสุพรรณจึงเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นที่ใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาสภาพเดิม ในอดีตก่อนการเปลี่ยนแปลงได้ ดังตัวอย่างโคลง17 ต่อไปนี้   ….ชุมนักผักตบซ้อน บอนแซง บอนสุพรรณหั่นแกง อร่อยแท้ บอนบางกอกดอกแสลง เหลือแหล่แม่เอย บอนปากยากจแก้ ไม่สริ้นลิ้นบอน….   …ฝั่งซ้ายฝ่ายฟากโฟ้น พิสดาร มีวัดพระรูปบูราณ ท่านสร้าง ที่ถัดวัดประตูสาร สงสู่อยู่เอย หย่อมย่านบ้านบ้านขุนช้าง ชิดข้างสวนบันลังฯ….ขุนช้าง–ขุนแผนขุนช้าง – ขุนแผนเป็นนิทานคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมานานนับร้อยปี มีเค้าโครงเรื่องจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาตอนต้น เมื่อครั้งทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงทอง โดยผูกเรื่องให้ตัวเอกรับราชการเป็นขุนนานใต้เบื้องยุคลบาทพระมหากษัตรยิ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามเนื้อเรื่องคือ สมเด็จพระพันวษา ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระนามหนึ่งของด้วยเป็นเรื่องราวของความรัก ความหึงหวงระหว่างหญิง – ชาย เล่ห์เหลี่ยมกลโกงระหว่างเพื่อน ความเชื่อทางไสยศาสตร์ มนต์ดำและการทำสงคราม ให้อรรถรสครบทุกอารมณ์ จึงเป็นที่นิยมจนได้นำไปประพันธ์ใหม่เป็นร้อยกรองประเภท กลอนเสภา ใช้ขับเล่าประกอบเสียงกรับอันไพเราะ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาภายหลังเสียกรุง พุทธศักราช 2310 ต้นฉบับกลอนเสภาสูญหายไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงโปรดให้ประชุมกวีเอกของราชสำนัก เพื่อชำระกลอนเสภาขุนช้าง – ขุนแผน จากความทรงจำของช่างขับเสภาที่รอดชีวิตมาจากสงคราม และแต่งบทกลอนเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ได้มีการแต่งกลอนเพิ่มเติมต่อมาจนสมบูรณ์13 เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นเลิศในประเภทกลอนเสภาตัวเอกของเรื่องขุนช้าง – ขุนแผน ล้วนมีพื้นเพเป็นชาวสุพรรณบุรี ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาทั้งขุนแผนผู้เป็นพระเอก นางพิมพิลาไลยเป็นนางเอก และขุนช้างเป็นผู้ร้าย เรื่องดำเนินไปด้วยเหตุการณ์ชิงรักหักสวาทของตัวเอกทั้งสามตั้งแต่เด็ก กระทั่งเติบโต ถึงชั้นลูกหลาน โดยสอดแทรกเนื้อหาของประเพณี วัฒนธรรม และหลักจริยธรรมในสังคมไทย เช่น ประเพณีการบวชเรียน พิธีแต่งงาน การปลงศพ ผลการประพฤติดี ประพฤติชั่ว ความเคารพนับถือในเครือญาติ ความเชื่อ ไสยศาสตร์ และความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ที่สื่อถึงผู้อ่านและผู้ฟังได้ นับเป็นคุณค่าที่สมบูรณ์ของวรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากภาพสะท้อนถึงวิถีชีวิตชาไทยสมัยอยุธยา – รัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้ว การที่เนื้อหาและฉากในเรื่องถูกผูกให้เป็นตำนานของชื่อสถานที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เช่นวัดป่าเลไลย์ วัดแค วัดตระไกร บ้านไร่ฝ้าย บ้านท่าสิบเบี้ย เป็นต้น สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันของชาวสุพรรณต่อนิทานเรื่องนี้ ยิ่งเมื่อได้รับเลือกไปประพันธ์เป็นกลอนเสภา ที่ได้รับยกย่องเป็นสุดยอดแห่งกลอนเสภาไทยจากวรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6 ยิ่งเป้นความภาคภูมิใจของชาวสุพรรณและถือเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสุพรรณมาตั้งแต่อดีต โดยเห็นได้จากการตั้งชื่อเรือเมล์ขาว – แดง ตามชื่อตัวเอกในเรื่องถึงสมัยปัจจุบันก็ยังตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย เป็นชื่อตัวละครในเรื่องขุนช้าง – ขุนแผนอีกด้วย


พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ






***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก    สิ่งละอัน - พรรณละน้อย  ในงานพระราชทานเพลิงศพ  ร.ต.ท.นุตร์  รัตนภุมมะ  ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม  ๓ ม.ค. ๐๙.  พระนคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๐๙.


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


รายงานการเดินทางไปราชการ ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (ระหว่างวันที่ ๔ – ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗)   ๑.     หัวข้อเรื่อง       การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประวัติศาสตร์พม่าจากมุมมองของนักวิชาการพม่า” (Myanmar History from Myanmar Perspectives)   ๒.     วัตถุประสงค์     ๑. เพื่อให้ความรู้แก่ประเทศสมาชิกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พม่าโดยภาพรวม ๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเดินทางไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญตามเมืองต่าง ๆ ๓. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกันทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมจารีตประเพณี   ๓.     กำหนดเวลา     ๔ – ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗   ๔.     สถานที่           ๑. ศูนย์ระดับภูมิภาคเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณีของซีมีโอ (SEAMEO Regional Centre for History and Tradition – SEAMEO CHAT) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ๒. แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเมืองย่างกุ้ง หงสาวดี (พะโค) มัณฑะเลย์ อังวะ สะกาย อมรปุระ และพุกาม ๕.     ผู้จัดการอบรม   ศูนย์ระดับภูมิภาคเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์และประเพณีของซีมีโอ (SEAMEO Regional Centre for History and Tradition – SEAMEO CHAT)   ๖.     กิจกรรม          แบ่งเป็น ๒ ภาค ภาคแรก  การบรรยายทางวิชาการ ระหว่างวันที่ ๕ – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗   ประกอบการฉายภาพนิ่ง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ภาคสอง  ทัศนศึกษาสถานที่สำคัญ แหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีต่าง ๆ        ระหว่างวันที่ ๗ – ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗   ๗.   ผู้เข้าอบรม       โครงการสัมมนาครั้งนี้มีผู้แทนจากประเทศในกลุ่มอาเซียนเข้าร่วม จำนวน ๖ คน ดังนี้ ผู้แทนจากประเทศไทย จำนวน ๔ คน ได้แก่ ๑. นางสาวสุธีรา  สัตยพันธ์         นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ ๒. นางสาวอาทิพร  ผาจันดา       นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ ๓. นางสาวกมลพรรณ  บุญสุทธิ์    นักอักษรศาสตร์ ๔. นายอลงกรณ์  จุฑาเกตุ          นักวิจัยจาก SEAMEO SPAFA ประเทศไทย ผู้แทนจากประเทศมาเลเซีย จำนวน ๑ คน ได้แก่ ๑.      Mrs. Rozilawati Binti Abd Kadir     นักวิจัยจาก SEAMEO SEN Malaysia ผู้แทนจากประเทศกัมพูชา จำนวน ๑ คน ได้แก่ ๑.      Prof. Sombo Manara        Deputy Director, History Department. Royal University of Phnom Penh, Cambodia.   คณะผู้เข้าร่วมโครงการสัมมนาทางวิชาการกับ Mr. Myo Aung Director ของศูนย์ SEAMEO CHAT   ๘.     สรุปสาระของกิจกรรม   วันอังคารที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๐๐ น.                  ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเที่ยวบิน TG 303 ๐๙.๔๕ น.                  ถึงท่าอากาศยาน Yangon International Airport กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เดินทางไปยังโรงแรมที่พัก Bo Myat Tun, Bo Myat Tun Street, Yangon. โดยรถยนต์ของ SEAMEO CHAT ๑๒.๓๐ น.                  ออกจากที่พัก                                       เดินทางไปชมวิถีชีวิตชาวเมืองย่างกุ้งและย่านธุรกิจสำคัญ เช่น ตลาดจีน (Chinese Market) ตลาดไลออน (Lion Market) ย่านชุมชนชาวอินเดีย หรือตลาดแขก (Indian Market) ซึ่งชาวพม่าทั่วไปเรียกว่า เตงจีซาย (Thien Gyi Zei) และตลาดโบโจ๊ะ หรือ ตลาดสก๊อต (Scott Market)                                       ชมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสถาปัตยกรรมยุคอาณานิคมของอังกฤษ ได้แก่ ศาลสูง หรือ Victorian High Court Building โรงพยาบาลกลางประจำกรุงย่างกุ้ง (Yangon General Hospital) ซึ่งเดิมสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ประจำเมือง ชมโบสถ์คริสต์ และโรงแรมเก่าแก่ริมน้ำ คือ โรงแรมสแตรนด์ (Strand Hotel) ชมสถานที่สำคัญอื่น ๆ โดยรอบ                              - เจดีย์สุเล (Sula Pagoda) เป็นเจดีย์หลักที่อยู่ใจกลางเมืองย่างกุ้ง ชาวพม่านับถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นสมัยอังกฤษปกครองพม่า เจดีย์สุเลมีลักษณะทรวดทรงเป็นเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม สูง ๑๕๗ ฟุต มีสีทองอร่ามอยู่ใจกลางนครย่างกุ้ง นักท่องเที่ยวหลายคนมักจะยึดเจดีย์สุเลไว้เป็นสัญลักษณ์ใจกลางเมือง                              - ถนนสแตรนด์ (Strand Road) ถนนเลียบชายฝั่งแม่น้ำย่างกุ้ง เป็นถนนที่อังกฤษสร้างไว้ให้ มีท่าเรือขนาดใหญ่หลายแห่ง มีผู้คนสัญจรไปมาระหว่างฝั่งเมืองย่างกุ้งและฝั่งเมืองสิเรียม ซึ่งเป็นเมืองท่าเก่าแก่ของโปรตุเกส ปัจจุบันเป็นเมืองค้าขายและมีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของพม่า จากริมแม่น้ำฝั่งถนนสแตรนด์จะเห็นผู้คนสัญจรไปมาด้วยเรือหางยาวขนาดเล็ก และฝูงนกนางนวลนับร้อยตัวบินรายล้อมเรือยามอาทิตย์อัสดง เป็นบรรยากาศที่สวยงามและน่าตื่นตา เป็นทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำย่างกุ้งที่ประทับใจนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นอย่างยิ่ง                              - เจดีย์โบตะตาวน์ (Botataung Pagoda) มีความหมายว่า เจดีย์นายทหาร ๑,๐๐๐ นาย ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อราว ๒,๐๐๐ ปีก่อน พระเจ้าโอกะลาปะ กษัตริย์มอญทรงบัญชาให้นายทหารระดับแม่ทัพตั้งแถวถวายสักการะแด่พระเกศธาตุที่นายวานิชสองพี่น้องอัญเชิญมาทางเรือและมาขึ้นฝั่งที่เมืองตะเกิงหรือดากอง ณ บริเวณนี้ จึงสร้างเจดีย์โบตะตาวน์ไว้เป็นที่ระลึก พร้อมทั้งแบ่งพระเกศธาตุ ๑ เส้นมาบรรจุไว้ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดถล่มกรุงย่างกุ้ง ทำให้เจดีย์องค์นี้ถูกทำลายพังพินาศ ระหว่างการบูรณะได้พบผอบบรรจุพระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุตามตำนาน ต่อมาได้นำมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์ใหม่ ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๖   ภาคแรก                   การบรรยายทางวิชาการ ระหว่างวันที่ ๕ – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๓๐ น.                  ออกเดินทางจากที่พักไปศูนย์ SEAMEO CHAT ๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น.      พิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ๐๙.๑๕ – ๑๐.๓๐ น.      การบรรยายเรื่อง “ภูมิหลังประวัติศาสตร์พม่า” (Myanmar Historical Background) โดย Mr. U Myo Aung, Rtd. Director, SEAMEO CHAT ๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐ น.      การบรรยายเรื่อง “ศิลปะและสถาปัตยกรรมในเมืองพุกาม” (Bagan : Art & Architecture) โดย Prof. Tun Aung Chain, Rtd. Director, SEAMEO CHAT ๑๓.๐๐ – ๑๔.๑๕ น.      การบรรยายเรื่อง “อาณาจักรพยูโบราณในเมียนมาร์” (Ancient Pyu Cities in Myanmar) โดย Dr. San Shwe, Professor/Head, Archeology Department, Yangon University. ๑๔.๑๕ – ๑๕.๓๐ น.      การบรรยายเรื่อง “หงสาวดี : การค้าทางทะเลและอาณาจักรในภาคพื้นทวีป” (Hanthawaddy : Maritime Trade and Land Empire) โดย Dr. Win Myat Aung, Senior Officer, Research & Development, SEAMEO CHAT ๑๕.๔๕ – ๑๗.๐๐ น.      การบรรยายเรื่อง “ประวัติศาสตร์ย่างกุ้ง” (History of Yangon) โดย Dr. Naw Si Blut, Senior Officer, Research & Development, SEAMEO CHAT   วันพฤหัสบดีที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๓๐ น.                  ออกเดินทางจากที่พักไปศูนย์ SEAMEO CHAT ๐๙.๑๕ – ๑๐.๓๐ น.      การบรรยายเรื่อง “มัณฑะเลย์ : ราชสำนักและราชธานี” (Mandalay : The Court & The City) โดย Mr. U Myo Aung ๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐ น.      Orientation on Field Study ๑๓.๓๐ – ๑๘.๐๐ น.      ทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติย่างกุ้ง พระมหาเจดีย์ชเวดากอง และเยี่ยมชมอาณาบริเวณย่านเมืองเก่า     ภาคสอง                   ทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถานสำคัญในเมืองต่าง ๆ วันศุกร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๐๐ น.                  ออกเดินทางจากที่พักโรงแรม Bo Myat Tun โดยรถยนต์ของ SEAMEO CHAT ๑๐.๐๐ น.                  ถึงเมืองพะโค (Bago) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามเมืองหงสาวดี                              - เยี่ยมชมโบราณสถานและศาสนสถานสำคัญๆ ภายในเมืองพะโค ได้แก่                              - พระเจดีย์ชเวมอว์ดอว์ (Shwe Maw Daw) หรือพระธาตุมุเตา                              - พระพุทธไสยาสน์ชเวตาลยอง (Shwe Tha Hlyaung)                              - พระราชวังกัมบอสะตาดี หรือพระราชวังหงสาวดี (Kambaezathadi Palace)                              - พระมหาเจดีย์ (Maha Zedi)                              - วัดไจ้ปุน (kyaikpon Pagoda)                              - วัดหงสา                              - วัดกัลยาณีสีมา ๑๖.๐๐ น.                  กลับถึงย่างกุ้ง                              - เยี่ยมชมวัดเจ๊าดอว์จี (Kyauktawgyi Pagoda)                              - โรงเลี้ยงช้างเผือก ๑๘.๓๐ น.                  กลับเข้าที่พักโรงแรม Bo Myat Tun   วันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๕.๐๐ น.                  ออกจากที่พักโรงแรม Bo Myat Tun ไปสนามบินย่างกุ้ง ๐๘.๓๐ น.                  ออกเดินทางจากสนามบินย่างกุ้ง เดินทางไปมัณฑะเลย์ ๑๐.๐๐ น.                  ถึงสนามบินเมืองมัณฑะเลย์ และเดินทางไปทัศนศึกษากลุ่มเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอิระวดี (Ayeyawaddy River) คือเมืองอมรปุระ (Amarapura) พร้อมเยี่ยมชมโบราณสถานและสถานที่สำคัญ ได้แก่                              - วัดเจ๊าดอว์จี (Kyauktawgyi Paya)                              - ทะเลสาบตองตะมาน (Taungthman Lake)                              - สะพานอูเบ็ง (U Bein Bridge)                              ชมแหล่งปักผ้า  หุ่นกระบอก  ไม้แกะสลัก                              - ผ้าปักลายนูน ทำด้วยไหมดิ้นเงิน ทอง ทำเป็นของใช้และเครื่องประดับบ้าน                              - หุ่นกระบอก ทำเป็นรูปคน สัตว์ สามารถชักเดินได้เหมือนจริง หุ่นกระบอกเป็นสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน สามารถสร้างรายได้                              - ไม้แกะสลัก ใช้เป็นประตู หน้าต่าง หน้าบัน และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน                              แหล่งแกะสลักหิน ไม้ ทองเหลือง และสำริด เป็นย่านชุมชนขนาดใหญ่ที่สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรม อาทิ การแกะสลักหินอ่อนเป็นรูปพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ฯลฯ                              - การแกะสลักไม้ เช่น หน้าบัน บานประตู หน้าต่าง ลูกกรง ฯลฯ                              - การทำทองเหลือง เช่น กระดิ่ง เครื่องถ้วย กาน้ำ ฯลฯ                              - การทำสำริด เช่น พระพุทธรูป เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ                              แหล่งทอผ้าไหม ที่ Shwe Sin Tai Silkwear สาธิตการทอผ้าด้วยกระสวยร้อย ทอเป็นลายพื้นเมือง                              - เยี่ยมชมพระราชวังมัณฑะเลย์ - ทัศนศึกษาเจดีย์สันทะมุนี (Sandamuni Pagoda) วัดกุโสดอ (Kuthodaw Pagoda) และวัดอะตุ๊หม่าชิ (Ahtumashi Kyaung) - ทัศนศึกษา ณ มัณฑะเลย์คีรี (Mandalay Hill) ๑๘.๓๐ น.                  กลับเข้าที่พักโรงแรม Mandalay Inn   วันอาทิตย์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๓๐ น.                  ออกจากที่พัก ไปชม แหล่งทองคำเปลว ที่ King Galon Gold Leaf Workshopชมสาธิตการตีทองคำเปลว ซึ่งมีเพียงสองประเทศในโลกที่ผลิตทองคำเปลว คือ ไทย และพม่า ขั้นตอนการทำคล้ายกัน ต่างกันที่กระดาษห่อทองคำเปลวของพม่าทำจากไม้ไผ่หมักจนเปื่อยยุ่ย เมื่อนำมาทำเป็นกระดาษห่อ จะเหนียวและทนทานกว่ากระดาษของไทย ๑๐.๐๐ น.                  เดินทางไปยังกลุ่มเมืองโบราณ ลุ่มแม่น้ำอิระวดีตอนบน คือ เมืองอังวะ (Inwa) หรือเมือง อมรปุระ เป็นเมืองร่วมสมัยเดียวกับเมือง พะโค เมืองอังวะตั้งอยู่เหนือเมืองพุกาม ติดกับฝั่งซ้ายของแม่น้ำอิระวดี ถัดจากอังวะขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อยคือที่ตั้งของเมืองอมรปุระ และทางเหนือต่อจากเมืองอมรปุระขึ้นไปคือเมืองมัณฑะเลย์และเมืองชเวโบ จากนั้นเข้าชมโบราณสถานสำคัญในเมืองอังวะ ได้แก่                              หอชมเมืองอังวะ (Watch Tower) ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง สูงประมาณ ๓๐ เมตร มีบันไดเวียนขึ้นไปถึงข้างบนยอดหอคอย จะมองเห็นทัศนียภาพเมืองอังวะได้ชัดเจน                              วัดมหาออง มเย บองซาน (Maha Aung Mye Bon San) ซึ่งเป็นวัดสำคัญ ผู้สร้างคือ พระนางนันมาดอว์เมนุ (Nan Ma Daw Menu) มีลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐตกแต่งเลียนแบบเครื่องไม้ในศิลปะพม่า ภายในมีพระพุทธรูป ตู้พระธรรม เสาไม้ภายในหน้าพระประธานประดับด้วยภาพไม้แกะสลัก                              วัดไม้สักบากะยา (Bagaya Kyaung) ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองอังวะทางทิศใต้ เป็นอาคารไม้สักทั้งหลัง แกะสลักเป็นลวดลายละเอียดประณีต ๑๑.๓๐ น.                  ข้ามสะพานอังวะ หรือสะพานสะแคงไปยังฝั่งเมืองสะแคง (สะกาย Sagaing) ชมทิวทัศน์บนยอดเขาสะกาย และชมโบราณสถานสำคัญ เช่น เจดีย์เกามูดอว์ เป็นต้น ๑๓.๓๐ น.                  ทัศนศึกษาวัดพระมหามัยมุนี (Maha Muni pagoda) และวัดชเวนันดอว์ (Shwe Nan Daw Monastery) ๑๖.๓๕ น.                  ออกเดินทางจากสนามบินเมืองมัณฑะเลย์ (Mandalay Airport) ๑๗.๐๐ น.                  ถึงสนามบินเมืองพุกาม (Bagan) ๑๘.๐๐ น.                  ถึงที่พักโรงแรม Prince Hotel เมืองพุกาม   วันจันทร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๐๐ น.                  ออกจากที่พักโรงแรม Prince Hotel โดยรถยนต์ของ SEAMEO CHAT และทัศนศึกษาสถานที่สำคัญภายในเมืองพุกาม ได้แก่                              - เจดีย์โลกะนันทะ (Lawkananda Pagoda)                              - เจดีย์เปตเลค (Phetleik Pagoda)                              - วัด Seinnyet Ama Temple และเจดีย์ Siennyet Pagoda                              - ตำหนัก Soemingyi Monastery                              - วัดนันพญา (Nanpaya Temple)                              - วัดนาคายน (Nagayon Temple)                              - วัดกุบยอกจี (Gubyaukgyi Temple/Myinkaba)                              - วัดอภัยทาน (Apeyadana Temple) ๑๔.๐๐ – ๑๘.๓๐ น.      - ทัศนศึกษาวัดทัตพยินยู หรือวัดสัพพัญญู (Thatbyinnyu Temple)                              - วัด Ngakywenadaung                              - วัด Pahtothamya                              - วัดธรรมยางจี (Dhammayangyi Temple) และเจดีย์ธรรมยางจี                              - เจดีย์ชเวซานดอว์ (Shwe San Daw Pagoda)                              - มิงกาลาเจดีย์ (Mingalazedi Pagoda) ๑๘.๔๕ น.                  กลับเข้าที่พักโรงแรม Prince Hotel   วันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๘.๓๐ น.                  ออกจากโรงแรมที่พัก ทัศนศึกษาหมู่บ้าน Minanthu หมู่บ้านทอผ้าและงานหัตถกรรม                              - เจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Pagoda)                              - เจดีย์สะปาดา (Sapada Pagoda)                              - วัด Gubyaukgyi (Wetkyi-in)                              - เจดีย์บูพญา (Bupaya Pagoda) ๑๕.๓๐ น.                  - ทัศนศึกษาวัดอานันทะ (Ananda Temple) และวัดติโลมินโล (Htilominlo Temple) ๑๙.๐๐ น.                  เดินทางกลับเมืองย่างกุ้งโดยเครื่องบินสายการบิน Yangon Airways ๒๐.๐๐ น.                  ถึงเมืองย่างกุ้ง และเข้าที่พักโรงแรม Bo Myat Tun   วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ๐๙.๐๐ น.                  ออกจากที่พักไปชมพระมหาเจดีย์ชเวดากอง และชมวิถีชีวิตตลอดจนการประกอบอาชีพต่าง ๆ ของชาวพม่าในเมืองย่างกุ้ง ๑๗.๓๐ น.                  ออกจากที่พักโรงแรม Bo Myat Tun เดินทางไปสนามบินมินกาลาดง ๑๘.๔๐ น.                  ออกเดินทางจากเมืองย่างกุ้ง โดยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG 306 ๒๒.๓๐ น.                  ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ และเดินทางกลับบ้านพัก


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    50 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          ธรรมเทศนา                                    อานิสงส์ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    10 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 59 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534  




เลขทะเบียน : นพ.บ.11/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า  ; 4 x 56 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 7 (74-82) ผูก 1หัวเรื่อง : จูฬวคฺคปาลิ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง          แปลก  พิบูลสงคราม,จอมพล ชื่อเรื่อง           ประวัติศาสตร์สุโขทัย ภาค 1 ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        บริษัทไทยบริการ จำกัด ปีที่พิมพ์          2498 จำนวนหน้า      285  หน้า รายละเอียด           หนังสือ ประวัติศาสตร์สุโขทัย ภาค 1  เป็นหนังสือที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) ได้จัดพิมพ์แจกเนื่องในวาระคล้ายวันเกิด          14 กรกฎาคม พุทธศักราช 2498 เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย สมัยสุโขทัยซึ่งเป็นสมัยแรก ในประวัติศาสตร์ที่ไทยเริ่มตั้งตัวได้เป็นหลักฐานในดินแดน      อันแน่นอน ไม่ต้องเร่ร่อนพเนจรอพยพเหมือนสมัยก่อน เป็นสมัยแรกที่มีศิลาจารึก มีศิลปะทั้งด้านประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่า      ที่พึงสงวนไว้ เพื่อช่วยกันรับผิดชอบในความเสื่อมความเจริญของประเทศชาติ ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยที่เคยรุ่งเรืองมาแล้วเพื่อเผยแพร่ความรู้     ที่เป็นประโยชน์แก่พี่น้องร่วมชาติอย่างกว้างขวาง  จะได้เป็นแรงจูงใจให้ร่วมกันสามัคคี เพื่อสร้างความเจริญแก่ประเทศชาติทุกวิถีทางและจะได้อยู่ในความ   ทรงจำและเป็นเครื่องเตือนใจให้กับคนไทยทุกๆ คนตลอดไป      


ชื่อผู้แต่ง        :  ศิลปากร,กรมชื่อเรื่อง         :   ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากรครั้งที่พิมพ์      :  พิมพ์ครั้งที่เจ็ดสิบสองสถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์      :   โรงพิมพ์ไทยแบบเรียนปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๘จำนวนหน้า     :   ๑๐๖ หน้าหมายเหตุ        :  พิมพ์เป็นอนุสรณืในงานฌาปนกิจศพ  นางปาหนัน  คุ้มภัย  ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส  วันที่  ๑๖  มีนาคม พทธศักราช ๒๕๑๘                     เรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของกรมศิลปากร มีเรื่องต่างๆ รวม ๕  เรื่องคือ ๑.ประเพณีทำบุญ ๒.ประเพณีเลี้ยงลูก ๓.ประเพณีบวชนาค๔.ประเพณีแต่งงาน ๕.ประเพณีทำศพ  


Messenger