ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ
ติโลกนยวินิจฺฉย (ไตรโลกนยฺยวินิจฺฉย)
ชบ.บ.95ข/1-20
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.305/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 18 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 124 (287-301) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สตฺตปฺปกรณาภิรมฺม (อภิธัมมสังคิณี-พระมาหาปัฏฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
"ซุ้มประตูป่า". ซุ้มประตูป่า หมายถึง ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า ซึ่งมักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน. ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยการนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกไม้ต่างๆ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก. การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่าย อีกทั้งยังมีโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งอีกด้วย""""""""""""""""""""""""""""""". เอกสารอ้างอิงมณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.. ภาพถ่าย โดย คุณกานต์ธีรา ไชยนวล"""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+
องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง พระธาตุนารายณ์เจงเวง ค้นคว้าและเรียบเรียง : นายดุสิต ทุมมากรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
ชื่อเรื่อง มหานิปาต (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกปาลิ ขุทฺทกนิกาย (คาถาพัน)สพ.บ. 419/2หมวดหมู่ พระพุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พระพุทธศาสนา ชาตกประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 80 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
50Royalinmemory ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๒๓ (๑๔๒ ปีก่อน) - วันประสูติพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ [พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น ๔ พระองค์เจ้าชั้นโท]
พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (พระนามเดิม : หม่อมเจ้าอรพัทธ์ประไพ จักรพันธุ์) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าวรวงศ์เธอฯ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๗๓ พระชันษา ๕๐ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๑๕๘.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔๒ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
#มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๓๔ วันประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๖๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพร้อม ประสูติเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๓๔.ทรงมีพระเชษฐา และพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม.ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระชันษา ๕ – ๖ ปี ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง ทั้งพระอักษรภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จนถึงพระชันษา ๑๖ ปี จึงทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง.หลังเจ้าจอมมารดาพร้อม พระมารดาถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พร้อมกับพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย ให้อยู่ในการอภิบาลเป็นพระราชโอรสพระราชธิดาบุญธรรมของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า).พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ที่ดำรงพระชนม์อยู่เป็นลำดับสุดท้าย และมีพระชนมายุยืนยาวกว่าพระราชโอรสธิดาทั้งหมดในรัชกาลนั้น สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๕ สิริพระชันษา ๙๑ ปี .พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรนับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากพระบรมชนกนาถ.ภาพ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
พระพุทธรูปในมณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถวัดพระสี่อิริยาบถเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองกำแพงเพชร สิ่งก่อสร้างสำคัญที่เป็นแกนหลักของวัดประกอบด้วยวิหาร ด้านหลังวิหารคือมณฑปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว เป็นทรงจตุรมุข ทำมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ทิศ มีแกนกลางเป็นโครงสร้างรับน้ำหนักของอาคารลักษณะก่อเป็นแท่งสี่เหลี่ยมแต่ละด้านก่อผนังให้เว้าเข้าไปและประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น โดยผนังด้านตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา ด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืน และด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปนอน โดยปรากฏมณฑปลักษณะคล้ายกันนี้ที่วัดเชตุพน ตั้งอยู่นอกเมืองสุโขทัยทางด้านทิศใต้.. มณฑป ตามความหมายในศัพทานุกรมโบราณคดี มีสองความหมาย ได้แก่.ความหมายในสถาปัตยกรรมไทย หมายถึง อาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัสสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานสิ่งที่ควรเคารพบูชา เช่น พระพุทธรูป อาจมีลักษณะคล้ายบุษบกแต่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถเข้าไปใช้สอยพื้นที่ด้านในได้.ความหมายในสถาปัตยกรรมอินเดียและเขมร หมายถึง อาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทโดยมีมุขกระสันเป็นส่วนเชื่อมต่อ ใช้ประดิษฐานรูปเคารพและทำพิธีกรรมทางศาสนา.. เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ (เสด็จประพาสต้น) ในปีพุทธศักราช 2449 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงลักษณะมณฑปประดิษฐานพระสี่อิริยาบถ ความว่า.“...ชิ้นกลางเห็นจะเป็นวิหารยอดจัตุรมุข แต่สูงใหญ่เหลือเกิน มุขหน้าเป็นพระเดิน มุขหลังเป็นพระยืน มุขซ้ายเป็นพระนอน มุขขวาเป็นพระนั่ง ที่มุมปั้นเป็นรูปนารายณ์ขี่ครุฑใหญ่มาก จะรับหลังคาอย่างไรน่าคิด แต่พระเหล่านี้เป็นพระปั้นด้วยปูน ใครจะมาซ่อมมาทำเพิ่มเติมอย่างไรภายหลัง แต่รูปพรรณสัณฐานคงเป็นพระกำแพง ไม่ใช่ช่างเมืองอื่นมาทำ พระยืนนั้นขนาดพระโลกนาถวัดเชตุพน แต่ประเปรียวกว่า...”.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารทรงเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปีพุทธศักราช 2450 และพระราชนิพนธ์ถึงวัดพระสี่อิริยาบถ ความว่า.“...วัดพระสี่อิริยาบถมีชิ้นสำคัญอยู่คือ วิหารสี่คูหา มีพระยืนด้านหนึ่ง พระนั่งด้านหนึ่ง พระลีลาด้านหนึ่ง พระไสยาสน์ด้านหนึ่ง พระยืน พระนั่ง พระลีลา ยังพอเป็นรูปร่างเห็นได้ถนัด แต่พระนอนนั้นชำรุดจนไม่เป็นรูป รอบวิหารมีผนังลูกกรงโปร่ง มองเข้าไปข้างในได้ทั้งสี่ด้าน...”..ลักษณะพระพุทธรูปในอิริยาบถทั้งสี่ประดิษฐานรอบแกนกลางของมณฑปแต่ละด้านดังนี้..ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถเดิน หรือลีลา ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นและปรากฏอย่างแพร่หลายในศิลปะแบบสุโขทัย ทั้งพระพุทธรูปแบบลอยตัวที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เมืองศรีสัชนาลัย และเป็นภาพปูนปั้นเพื่อสื่อถึงพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ที่มณฑปวัดตระพังทองหลาง เมืองสุโขทัย นอกจากนี้ยังพบการจารภาพพระพุทธรูปลีลาบนจารึกวัดสรศักดิ์ ระบุปีพุทธศักราช 1960 กล่าวถึงการสร้างวัดของนายอินทสรศักดิ์ มีการสร้างเจดีย์มีช้างรอบ และประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา (พระเจ้าหย่อนตีน) ดังปรากฏข้อความในจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 15-16 ความว่า.“...พระมหาเถรเจ้า จึงพ่ออยู่หัว เจ้าธนิมนต์เข้าชุมนุมกับพระเชตุพน อยู่มาสบวันดี จึงพระมหาเถรเจ้าก็ระบิตริในใจแลมารจนามหาเจดีย์มีช้างรอบ ประกอบด้วยพระเจ้าหย่อนตีน แลพระวิหารแลหอพระแล้วเสร็จ...”.ด้านทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปอิริยาบถนั่ง หลงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนพระเพลาของพระพุทธรูปในลักษณะประทับนั่งสมาธิราบ แต่ส่วนพระกรและพระหัตถ์สำหรับแสดงมุทราของพระพุทธรูปไม่ปรากฏว่าแสดงปางมารวิชัย หรือปางสมาธิ.ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง 9.60 เมตร ส่วนพระกรซ้ายไม่สมบูรณ์ สันนิษฐานว่าแสดงปางประทานอภัย พุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงศิลปะสุโขทัย สกุลช่างกำแพงเพชร อันได้แก่ พระพักตร์ยาวกว่าพระพุทธรูปหมวดใหญ่ ศิลปะสุโขทัย พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม.ด้านทิศเหนือสันนิษฐานว่าประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนอนหรือไสยาสน์ แม้จะมีสภาพไม่สมบูรณ์แล้ว แต่สามารถสังเกตได้จากก้อนศิลาแลงที่วางเรียงต่อกันทรงสามเหลี่ยมเป็นพระเขนยสำหรับวางพระเศียรขององค์พระพุทธรูป..การตีความเรื่องคติการสร้างพระพุทธรูปสี่อิริยาบถที่ประดิษฐานในมณฑปนั้น มีนักวิชาการสันนิษฐานไว้ 3 แนวทาง ดังนี้. 1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. มรว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ในบทความ เรื่อง กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ ได้เสนอความหมายของพระพุทธรูปสี่อิริยาบถว่า มีนัยยะถึงการปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา คือ หลักสติปัฏฐาน 4 อันเป็นหลักในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการกำหนดสติให้ตั้งมั่นในฐานทั้ง 4 ซึ่งประกอบด้วย กาย เวทนา จิต และธรรม โดยเฉพาะ ฐานกาย ซึ่งมีการกล่าวถึงการพิจารณาอิริยาบถหลักทั้ง 4 คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน .2. นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เสนอว่าเป็นการแสดงถึงกิจวัตร และการพักผ่อนของพระพุทธเจ้าในรอบวัน คือ นั่ง หมายถึง การประทับนั่งในตอนเช้าก่อนเสด็จออกบิณฑบาต ยืน หมายถึง การประทับยืนในตอนเพลเพื่อแสดงโอวาท นอน หมายถึง การไสยาสน์ในตอนบ่ายและก่อนรุ่งแจ้ง และ เดิน หมายถึง การเสด็จพระราชดำเนินจงกรมเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้าในเวลาหลังเที่ยงคืน .3. ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ สันนิษฐานว่าพระสี่อิริยาบถนี้สื่อถึงพุทธประวัติในตอนต่าง ๆ โดยพระพุทธรูปในอิริยาบถเดินแสดงถึงตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธรูปในอิริยาบถนั่งแสดงถึงตอนตรัสรู้ พระพุทธรูปในอิริยาบถยืนแสดงปางประทานอภัยสื่อถึงตอนประทานเทศนา และพระพุทธรูปในอิริยาบถนอนแสดงถึงตอนปรินิพพาน.. วัดพระสี่อิริยาบถสามารถกำหนดอายุได้จากการพบแผ่นจารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย ที่ระบุว่าจารขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1963 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา และรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) แห่งเมืองสุโขทัย โดยเนื้อความในจารึกกล่าวถึง สมเด็จพ่อพระยาสอยได้เสวยราชย์ที่บุรีศรีกำแพงเพชร และสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลีฯ ได้ประดิษฐานผอบพระรัตนธาตุเจ้า...เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2542.พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2519.พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. “พระสี่อิริยาบถ.” ศิลปวัฒนธรรม. 16,11 (กันยายน 2538) : 118-121.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ : จังหวัดกำแพงเพชร, 2549.มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.ศิริปุณย์ ดิสริยะกุล. “การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดพระสี่อิริยาบถ จังหวัดกำแพงเพชร” วิทยานิพนธ์ระดับศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. “กลุ่มพระพุทธรูปสี่อิริยาบถในศิลปะสุโขทัย : ความหมายทางพระพุทธศาสนาบางประการ”. เมืองโบราณ. 13,3 (กรกฎาคม-กันยายน 2530) : 57-61.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 55/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1จ เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 158/4เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ ( ม.ล.สิริอิศรเสนา )
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ ม.ป.ท
สำนักพิมพ์ ม.ป.พ.
ปีที่พิมพ์ 2532
จำนวนหน้า 87 หน้า
หมายเหตุ ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ล.สิริ อิศรเสนา )
รายละเอียด
หนังสือที่ระลึกงานศพ ม.ล.สิริ อิศรเสนา เนื้อหาประกอบด้วยเชื้อพระวงศ์เจ้าพระยามหาเถระ (ขุนนาค ) พระราชธิดาในร.๕ วังหลวงและวังหน้าในกรุงรัตนโกสินทร์ ความรัก และความแค้นของกวีเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ (พระองค์เจ้าทิมกร) เจ้านายที่ต้องพระราชอาญาในกรุงรัตนโกสินทร์ มหาเปรียญ 18 ประโยค สมญานามผู้มีบรรดาศักดิ์ ขรัวตา ขรัวยาย สกุลอิสลาม มอญ จีน บรรพบุรุษของราชนิกูล ร.5 การตายให้ถูกเวลา พระตำหนักสวนสี่ฤดู ทูลกระหม่อมฟ้าหญิง ความสัมพันธ์ของราชวงศ์จักรีและวงศ์เมืองนครศรีธรรมราชและพระมเหสีเทวี