ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 4 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง ธรรมเทศนา วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 14 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
เลขทะเบียน : นพ.บ.10/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 6 (62-73) ผูก 12หัวเรื่อง : ศัพปาจิตตีย์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , พระบาทสมเด็จพระชื่อเรื่อง : ธรรมา ธรรมะ สงครามครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่สิบสองสถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชุมนุมช่างปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๘จำนวนหน้า : ๕๖ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาวาโท หม่อมราชวงศ์ชัชพงษ์ ศรีธวัช ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ ๒๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ เรื่องธรรมา ธรรมมะ สงคราม นี้ เป็นบทพากย์โขน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ ดำเนินความตามเค้าเรื่องในธรรมชาดก เอกาทสนิบาตกล่าวถึงธรรมเทพบุตรผู้รักษาความเป็นธรรม
ชื่อผู้แต่ง : ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดารภาคที่๗๕ (ปราบเงี้ยว ตอนที่ ๑)ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่สองสถานที่พิมพ์ : กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๗จำนวนหน้า : ๑๓๒ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.ท.พระยาทัพพสาธก์เสนา (นวม ฤทธาคนี) ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๗ หนังสือเรื่องปราบเงี้ยวซึ่งตีพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นเพียงจดหมายและโทรเลขจากผู้ไปปราบปราม และเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติราชการอยู่แถบเมืองแพร่และเมืองใกล้เคียง ซึ่งล้วนเกี่ยวกับเหตุดการณ์นี้ทั้งนั้น
ชื่อผู้แต่ง : ศิลปากร , กรม
ชื่อเรื่อง : เครื่องนมัสการและโต๊ะหมู่บูชา
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๒๓
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : ๙๐ หน้า
หมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงหรั่ง กันตารัติ
กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่า การจัดตั้งเครื่องสักการะเป็นศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยที่มีสืบมาแต่โบราณ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณี
พวงพร ศรีสมบูรณ์. การดูแลรักษาหนังสือโบราณ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2561. รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรม ความเสี่ยงและแนวทางการดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรม ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาหนังสือโบราณ ปัจจัย สาเหตุความเสี่ยงที่ทำให้หนังสือโบราณเสื่อมสภาพ ตลอดจนแนวทางป้องกันการเสื่อมสภาพของหนังสือโบราณ
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในช่วงเวลาดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2532 จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ (ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี) มีดำริที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์เทิดพระเกียรติพระองค์ และเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงงานโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเกษตรในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าชมและได้รับองค์ความรู้ที่เป็นอาชีพหลักของชาวไทย การก่อตั้งโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เกิดขึ้นจากความร่วมมือทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจังหวัดสุพรรณบุรีจัดหางบประมาณในการก่อสร้างเป็นหลัก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกรมศิลปากรรับผิดชอบในการออกแบบก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ซึ่งมีแนวทางการออกแบบภายใต้แนวความคิดของบ้านเรือนไทยภาคกลางที่มีใต้ถุนสูง กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สถาปนิกผู้ออกแบบโดย นายอุดม สกุลพาณิชย์ สถาปนิก กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี (หลังแรก) เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาด 19.20 เมตร x 25.20 เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางข้าวของชาวนา ซึ่งเป็นลักษณะที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคกลาง เป็นแนวความคิดหลักในการออกแบบอาคารพิพิธภัณฑ์ การก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2532 และกระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้นกรมศิลปากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) ได้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 117 ตอนที่ 112 วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533 วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ณ บริเวณ ศาลากลาง (หลังเก่า) ถนนประชาธิปไตย ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่รวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ที่พระองค์ทรงใช้เมื่อครั้งทรงทำนาประวัติศาสตร์ที่บึงไผ่แขก ตลอดจนนิทรรศการข้อมูลความรู้ด้านการทำนา ประเพณี วิถีชีวิตของชาวนาไทย วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ จากนั้นเป็นต้นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี ได้เปิดบริการให้ประชาชนเข้าชม โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการเข้าชมจวบจนปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี เปิดให้บริการเป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว ข้อมูลประกอบการเรียบเรียง : นายปณิธาน เจริญใจ สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เครดิตภาพถ่าย : หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี, นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ (บันทึกภาพวันที่ 1 เมษายน 2563)ที่มาของข้อมูล: Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum เผยแพร่วันที่ 20 เม.ย. 2563
สมเด็จพระสังฆราช. ประวัติวัดราชผาติการาม. พระนคร : โรงพิมพ์ทรงธรรม, 2480.
ประวัติการก่อสร้างวัดราชผาติการาม เดิมชื่อว่าวัดส้มเกลี้ยง อธิบายอาณาเขต ที่ตั้ง การปฏิสังขรณ์วัดครั้งต่างๆ สิ่งสำคัญที่มีอยู่ในวัด ถาวรวัตถุที่จัดแสดงในวัด และลำดับชื่อพร้อมประวัติของเจ้าอาวาส
ชื่อเรื่อง : สำเนาพระธรรมเทศนา และ คติพจน์ - บทประพันธ์
ชื่อผู้แต่ง : -
ปีที่พิมพ์ : 2500
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 278 หน้า
สาระสังเขป : สำเนาพระธรรมเทศนา เป็นพระธรรมเทศนาซึ่งพระเถรานุเถระถวายและแสดงที่ประดิษฐานโกศศพเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ รวม 38 กัณฑ์ แต่ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมมาเพียง 18 กัณฑ์ ตัวอย่างเช่น วุฑฒาจริยานุสสติกถา โดยสมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร ปูชนียกถา โดยพระประสิทธิศีลคุณ วัดประยุรวงศาวาส สังคหวัตถุกถา โดยพระครูปลัดโพธิวัฒน์ วัดอนงคาราม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคติพจน์ - บทประพันธ์จากพระเถระผู้ใหญ่และท่านผู้ทรงเกียรติรวมอยู่ด้วย
ชื่อผู้แต่ง พุทธทาส
ชื่อเรื่อง ชุมนุมข้อคิดอิสระของพุทธทาสภิกขุ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ สุราษฎร์ธานี
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ธรรมสถาน
ปีที่พิมพ์ 2499
จำนวนหน้า 261 หน้า
หมายเหตุ ชุมนุมข้อคิดอิสระของพุทธทาสภิกขุ เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความที่ท่านพุทธทาสเขียนไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2476 จนถึงปัจจุบัน(พ.ศ. 2499 ) ซึ่งกองตำราคณะธรรมทานรวบรวมจัดพิมพ์จำนวน 40 เรื่อง
ชื่อเรื่อง สารานุกูล เล่ม 10 ปีที่ 4 นางผีเสื้อฤดูฝนผู้แต่ง -ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ความรู้ทั่วไปเลขหมู่ 030 อ839สสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สารานุกูลปีที่พิมพ์ 2471ลักษณะวัสดุ 56 หน้าหัวเรื่อง รวมเรื่อง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน), 2417-2505ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก เป็นวารสารรายสัปดาห์ที่กำหนดออกทุกวันเสาร์ ภายในเล่มจะประกอบด้วยนวนิยายที่มีเนื้อหาต่อจากฉบับที่แล้ว, เกมส์ตอบปัญหา, ความทั่วไป และการโฆษณาขายสินค้าต่างๆ