ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,823 รายการ
วิหารธรรมศาลา ตั้งอยู่ในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ทางทิศตะวันออกขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ โดยมีส่วนท้ายของวิหารยื่นเข้าไปในระเบียงคด ซึ่งเป็นรูปแบบการวางผังของวัดขนาดใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนต้น วิหารธรรมศาลาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญในพุทธศักราช ๒๔๓๕ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถูปาภิบาล (ปาน) หลังจากนั้นได้รับการบูรณะสืบมาอีกหลายครั้ง ได้แก่ พุทธศักราช ๒๔๓๗, ๒๔๔๐, ๒๕๑๐, ๒๕๓๒, ๒๕๔๐ และในพุทธศักราช ๒๕๖๓ นี้ กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะวิหารธรรมศาลาอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงาน ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ตามแบบสถาปัตยกรรมไทย หน้าบันสลักไม้ประดับกระจกสีและมีจารึกระบุปีพุทธศักราชที่ปฏิสังขรณ์ (พุทธศักราช ๒๔๓๗ และ ๒๕๑๑) ส่วนท้ายของวิหารที่ยื่นเข้าไปในระเบียงคด มีการทำผนังกั้นจึงแยกออกเป็น ๒ ส่วน ทำให้พื้นที่ส่วนท้ายวิหารมีลักษณะเป็นห้องคล้ายกับส่วนของอาคารสมัยอยุธยาที่เรียกว่า “ท้ายจระนำ” เช่น ที่วิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา นอกจากนี้ ที่ผนังด้านหน้าของพระวิหารยังมีการประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางประทานอภัย เรียกว่า “พระพุทธรูปพระทนทกุมาร” และส่วนท้ายของวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติ เรียกว่า “พระนางเหมชาลา” การสร้างพระพุทธรูปดังกล่าว มาจากความเชื่อในตำนานพระธาตุและตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งระบุว่าเจ้าชายทนทกุมารและพระนางเหมชาลาได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาฝังไว้ยังหาดทรายแก้ว ภายหลังพระเจ้าศรีธรรมโศกราชมาพบพระบรมสารีริกธาตุจึงโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมืองขึ้น ณ หาดทรายแก้วจนสำเร็จ เมืองดังกล่าวก็คือ “เมืองนครศรีธรรมราช” และ พระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ “พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช” ภายในพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย เรียกว่า “พระธรรมศาลา” รวมทั้งพระพุทธรูปขนาดย่อม ข้างละ ๒ องค์ซ้อนกัน ที่ผนังด้านสกัดตรงข้ามกับพระธรรมศาลามีการประดิษฐานเจดีย์ทรงกลมประดับกระจกองค์หนึ่งเรียกว่า “เจดีย์สวรรค์” ซึ่งตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่าสร้างในศักราช ๒๑๘๑ เพื่อบรรจุอัฐิของพระยารามราชท้ายน้ำ ซึ่งเสียชีวิตระหว่างสงครามกับโจรสลัด จึงสันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้อาจมีอายุการสร้างในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของเจดีย์ในปัจจุบัน พบว่าภายหลังคงมีการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง กล่าวได้ว่า วิหารธรรมศาลาเป็นพระวิหารสำคัญในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช ที่ปรากฏให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของวัดในสมัยอยุธยา ทั้งลักษณะการวางตำแหน่งของพระวิหารตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน โดยมีส่วนท้ายของวิหารยื่นเข้าไปในระเบียงคด ซึ่งเป็นรูปแบบการวางตำแหน่งของวิหารในสมัยอยุธยาตอนต้น นอกจากนั้นพระวิหารหลังนี้ยังเต็มไปด้วยงานศิลปกรรมที่มีความสำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปยืนทรงเครื่องที่ผนังด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหาร ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเป็นรูปแบบศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ภายหลังได้รับการบูรณะสืบมาหลายครั้ง หน้าบันพระวิหารซึ่งสลักข้อความระบุปีพุทธศักราชที่บูรณะ พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย นามว่า “พระธรรมศาลา” และเจดีย์สวรรค์ ปัจจุบันพระวิหารหลังนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน ถือเป็นพระวิหารที่มีความสำคัญสืบเนื่องมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน -------------------------.........--เรียบเรียง/กราฟิก: นภัคมน ทองเฝือ นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช --------------------------------อ้างอิง: ๑) กรมศิลปากร. จารึกที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักโบราณคดีที่ ๑๔ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๐. (อัดสำเนา) ๒) กรมศิลปากร. ตำนานพระธาตุและตำนานเมืองนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๐. ๓) นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปตรวจราชการแหลมมลายู ร.ศ.๑๒๑ .กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๐. ๔) ประภัสสร์ ชูวิเชียร. พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชมหาสถูปแห่งคาบสมุทรภาคใต้. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๓. ๕) สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๔๒. ๖) สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช. “โบราณสถานและแหล่งโบราณคดีในพื้นที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช เล่ม ๓ นครศรีธรรมราช.” นครศรีธรรมราช: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช, ๒๕๕๔. (อัดสำเนา)
ชื่อเรื่อง : เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระผู้แต่ง : เสฐียร โกเศศปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๓สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : กรมศิลปากรจำนวนหน้า : ๑๔๔ หน้า เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ของ เสฐียร โกเศศ เล่มนี้ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายฉิ่ง แจ้งใจ โดย นางสาวระเบียบ แจ้งใจ ผู้เป็นธิดา ได้ติดต่อ ขออนุญาต กรมศิลปากร ในการจัดพิมพ์
ชื่อผู้แต่ง ราตรี โตเพ่งพัฒน์, ผู้เรียบเรียง
ชื่อเรื่อง โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียนเล่ม ๒
พิมพ์ครั้งที่ ๑
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๓ จำนวนหน้า ๑๗๖ หน้า
หมายเหตุ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นจากการดำเนินโครงการสำรวจตรวจหาโบราณ สถานในภูมิภาคต่างเพิ่มเติมจากที่เคยสำรวจไว้แล้วและเป็นเอกสารกองโบราณ คดีหมายเลข ๑๒/๒๕๓๓ เรื่อง โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน เล่ม ๒ ข้อมูลหน่วยศิลปากรที่ ๒ มี ๗ จังหวัด คือ สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี
พระพุทธรูปปูนปั้น
ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย (หมวดวัดตระกวน) พุทธศตวรรษที่ ๑๙
พบในพระอุระของพระพุทธรูปปูนปั้นที่วัดพระพายหลวง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ส่วนองค์พระพุทธรูปเหลือเฉพาะพระวรกายส่วนบนรัศมีชำรุดหักหายลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่งเป็นวงโค้ง พระโอษฐ์ล่างหนา พระหนุเป็นปมเด่นชัด มีปล้องพระศอสามชั้น ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฎิสั้นเหนือพระถัน ปลายเป็นรอยพับทบปรากฎร่องรอยของสีแดงบนส่วนของจีวรและสังฆาฎิ เศียรและองค์ท่อนบนของพระพุทธรูปปูนปั้นองค์นี้ พบอยู่ในพระอุระที่แตกปริออกของพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ (ปัจจุบันคงเหลือแต่เศียร) ประดิษฐานอยู่ในปรางค์องค์กลางในบรรดาปรางค์ ๓ องค์ของวัดพระพรายหลวง
จึงทำให้สันนิฐานได้ว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธรูปองค์นี้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เป็นที่สักการบูชามาก ครั้นเวลาผ่านไปแตกหักลงเหลือแต่ส่วนเศียรและองค์ท่อนบน พุทธศาสนิกชนสุโขทัยก็มิได้ทิ้งขว้างแต่สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อนำพระพุทธรูปองค์เล็กที่เหลืออยู่เพียงส่วนเศียรและองค์ท่อนบนมาบรรจุไว้ภายใน เมื่อกราบไหว้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ก็เท่ากับได้กราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์ที่บรรจุอยู่ภายในด้วย
ที่มาของข้อมูล :
แผ่นพับนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
ชื่อเรื่อง เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ. 193/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5.3 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.67/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 57 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 43 (14-18) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.100/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 5 x 58 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 59 (160-169) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (ทสหร-นคร-กัณฑ์) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.130/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 5 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง ต้นกำเนิดการใช้ใบลานจารหนังสือเรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.4/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)