ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,822 รายการ

แนะนำหนังสือน่าอ่าน วชิรพล วันเพ็ญ. Born to be หมอ Exclusive. นนทบุรี: ไอดีซีฯ, 2562. 280 หน้า. ภาพประกอบ. 195 บาท. เนื้อหาเป็นคู่มือที่บอกถึงเส้นทางสู่การเรียน และประกอบอาชีพแพทย์ ว่ามีความยากง่ายอย่างไร มีการเรียนอย่างไร โดยจะมีพี่รหัสมาถ่ายทอดประสบการณ์ในการเรียนแพทย์มาเล่าให้รับรู้ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายสำหรับคนที่สนใจจะเรียนต่อทางด้านการแพทย์ สามารถอ่านเนื้อหาได้จากหนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจอย่างละเอียดเพื่อการเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียนทางด้านนี้โดยตรง 610.92 ว151บ ( ห้องทั่วไป 2 )


เลขทะเบียน : นพ.บ.426/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 14 หน้า ; 4 x 59.5 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153  (109-119) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.567/1                               ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 22 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186  (347-356) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ “อาสาสมัครเครือข่ายโบราณคดีใต้น้ำ” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสอดส่องดูแลและแจ้งพบแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ โดยในปีนี้ กองโบราณคดีใต้น้ำจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 18 คน จากผู้สมัครทั้งหมด  กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับแหล่งมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ การทำงานโบราณคดีใต้น้ำ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานโบราณคดีใต้น้ำ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมนอกที่ตั้งโดยผู้เข้าอบรมจะร่วมเดินทางไปกับเรือสำรวจของเรา (เรือแววมยุรา) เพื่อชมและทดลองทำกิจกรรมสาธิตการเก็บข้อมูลทางโบราณคดีใต้น้ำเพื่อการแจ้งพบแหล่งโบราณคดี            กิจกรรมจะจัดระหว่างวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 นี้ ณ สำนักงานกองโบราณคดีใต้น้ำ จังหวัดจันทบุรี และแหล่งดำน้ำหินบอยเซ็น จ.จันทบุรี  ผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับการขึ้นบัญชีเป็นเครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ (อส.มศ.) มีบัตรประจำตัว มีสิทธิเข้าชมแหล่งเรียนรู้ของกรมศิลปากร ฟรี รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรม อส.มศ.ในอนาคต ปิดรับสมัคร :         14 พฤษภาคม 2566 ประกาศรายชื่อ :   16 พฤษภาคม 2566 อบรม :                  27-28 พฤษภาคม 2566 คุณสมบัติผู้สมัคร :           1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย สุขภาพแข็งแรง มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง           2) มีความสนใจในเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมใต้น้ำ           3) สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดโครงการ           ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนสมัครเพื่อเข้ารับการคัดเลือกผ่าน Google Forms ตามลิงค์นี้ได้เลย https://forms.gle/jRMbwSWuFLYa4bQC9


ชื่อเรื่อง                               กจฺจายนมูล (ศัพท์นาม - การก)สพ.บ.                                 429/ก/11ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน หมวดหมู่                            พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                      32 หน้า : กว้าง 4.8 ซม.  ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                              พุทธศาสนา                                            คัมภีร์สัททาวิเสส                                            ศัพท์การกบทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ  ได้รับบริจาคมาจาก วัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


องค์ความรู้ : สำนักการสังคีต เรื่อง โอ้ะ! พี่เป็นห่วงนัก เจ้าดวงเดือนเอย... เรียบเรียงฉลองพระเดชพระคุณเนื่องในวาระคล้ายวันประสูติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เป็นปีที่ ๑๔๐ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๕ โดย ธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ บรรดาเพลงไทยหลาย ๆ เพลงคงมีเพียงไม่กี่เพลงเท่านั้น ที่ยังคงเป็นเพลงที่มีความทันสมัยใหม่เสมอและไม่เคยตกยุคสมัยหรือเลือนหายไปจากสังคมไทย ถึงแม้ว่าเพลงเหล่านั้นจะผ่านระยะเวลามานานเท่าใด แต่ทว่ายังสามารถนำมาปรับปรุงและดัดแปลงทำนองให้มีความสอดคล้องและตอบสนองกับความนิยมของคนในสังคมแต่ละยุคสมัยได้อยู่ตลอด หนึ่งในเพลงที่มีคุณสมบัติที่ว่านี้ คงไม่พ้นที่จะกล่าวถึง “เพลงลาวดำเนินเกวียน” หรือที่คนโดยทั่วไปนิยมเรียกเพลงนี้ว่า “เพลงลาวดวงเดือน” เพลงไทยซึ่งได้รับความนิยมในวงการดนตรีและขับร้องกันแพร่หลายมาอย่างยาวนานมากกว่าศตวรรษ ซึ่งบทขับร้องและทำนองของเพลงนั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามรกฎ ทรงพระนิพนธ์ขึ้นราวพุทธศักราช ๒๔๔๙-๒๔๕๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมประสูติเมื่อวันพุธ ที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๒๕ ทรงเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่โปรดดนตรีไทยเป็นอย่างมากดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงมีวงปี่พาทย์ส่วนพระองค์อยู่วงหนึ่ง ด้วยสันนิษฐานว่านักดนตรีในวงนี้เป็นนักดนตรีที่เคยอยู่ในสังกัดของเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ผู้ก่อตั้งโรงละครปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre) ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของพระองค์มาก่อน ต่อมาเมื่อพระองค์ได้รับพระราชทานตำหนักใหม่จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพื้นที่บ้านของเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) แถวบริเวณท่าเตียนแล้ว จึงทรงตั้งวงดนตรีส่วนพระองค์ขึ้นและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “วงพระองค์เพ็ญ” โดยมีนักดนตรีประจำวงคนสำคัญ คือ นายปั้น บัวทั่ง ปู่ของนายพัฒน์ (พีรศิษย์) บัวทั่ง อดีตดุริยางคศิลปิน สังกัดกรมศิลปากร นอกจากนี้ในบางครั้งยังโปรดให้พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) แต่เมื่อครั้งยังเป็นนายแปลก เข้าไปช่วยต่อเพลงให้กับนักดนตรีในวงดนตรีส่วนพระองค์อีกด้วย ต่อมาเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ในพุทธศักราช ๒๔๕๒ แล้ว การบรรเลงและขับร้องดนตรีไทยวงพระองค์เพ็ญจึงยุติลง ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม จะทรงสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชนมายุได้เพียง ๒๘ พรรษา แต่พระองค์ได้ทรงสร้างสรรค์ผลงานพระนิพนธ์ทำนองและบทขับร้องเพลงไทยไว้หลายเพลงด้วยกัน ดังที่ พูนพิศ อมาตยกุล ได้อธิบายไว้ว่า ในระหว่างพุทธศักราช ๒๔๕๐-๒๔๕๒ ได้ทรงนิพนธ์บทร้องเพลงไว้เป็นอันมาก อาทิ บทร้องเพลงลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เพลงแป๊ะ ฯลฯ เป็นที่น่าสังเกตว่า บทร้องที่ทรงนิพนธ์ส่วนมากมักจะมีเรื่องเกี่ยวกับพระจันทร์อันเกี่ยวด้วยพระนามเดิม “เพ็ญพัฒนพงศ์” และได้ทรงนิพนธ์เพลงขึ้นเพลงหนึ่ง ประทานชื่อว่า “ลาวดำเนินเกวียน” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ลาวดวงเดือน” ซึ่งเป็นเพลงไทยที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุด(พูนพิศ อมาตยกุลและคณะ, ๒๕๓๒: ๑๙๐) จากข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นว่าพระนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดนั้น คือ เพลงลาวดวงเดือน ซึ่งเพลงนี้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นขณะเสด็จไปทรงราชการที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและในระหว่างการเดินทางนั้น บางจุดพระองค์ต้องประทับเกวียนเป็นพาหนะ ด้วยเหตุนี้จึงประทานนามเพลงนี้แต่แรกว่า “เพลงลาวดำเนินเกวียน” แต่ด้วยบทขับร้องของเพลงนี้ขึ้นต้นว่า “...โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย...” ต่อมาคนโดยทั่วไปจึงเรียกเพลงนี้ว่า “เพลงลาวดวงเดือน” สำหรับลักษณะทำนองของเพลงนี้ เป็นเพลงไทยสำเนียงลาว อัตราจังหวะสองชั้น มี ๓ ท่อน หน้าทับลาว มีบันไดเสียงของเพลงอยู่ในกลุ่มเสียงทางเพียงออบน (กลุ่มเสียงปัญจมูลที่ ๔ ด ร ม X ซ ล X) ซึ่งเป็นกลุ่มเสียงที่นิยมใช้ในเพลงไทยสำเนียงลาวโดยทั่วไปโดยเพลงนี้ไม่ปรากฏการเปลี่ยนกลุ่มเสียงในระหว่างทำนองเพลง ส่วนการดำเนินทำนองของเพลงนั้น พบว่ามีลักษณะการดำเนินทำนองแบบบังคับทางนอกจากนี้ วาคภัฎ ศรีวรพจน์ ยังได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับทำนองของเพลงลาวดวงเดือนในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงการตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการรับอิทธิพลและแรงบันดาลใจในการประพันธ์ทำนองเพลงลาวดวงเดือนที่มาจากเพลงตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ ความว่า ลักษณะทำนองและเสียงของลูกตกรวมถึงกลุ่มเสียงของเพลงลาวดวงเดือนนั้นหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันกับทำนองของเพลงลาวเล่นน้ำ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นระบบเสียงของการประพันธ์เพลงไทยสำเนียงลาวโดยทั่วไปที่นิยมกันในยุคสมัยนั้น นอกจากนี้เพลงลาวดวงเดือนยังมีทำนองและเสียงลูกตกของเพลงที่คล้ายกันกับเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)ในดนตรีตะวันตกอีกด้วยด้วยเหตุนี้จึงสันนิษฐานว่าคงเพราะด้วยเสด็จในกรมทรงเป็นนักเรียนนอก จึงอาจทรงเคยฟังการบรรเลงเพลงดนตรีในวัฒนธรรมตะวันตกมาก่อนและเมื่อทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนขึ้น จึงอาจได้รับอิทธิพลหรือแรงบันดาลใจบางประการจากเพลงดังกล่าวมาใช้เป็นแนวทางในการประพันธ์เพลงลาวดวงเดือน (วาคภัฎ ศรีวรพจน์, สัมภาษณ์, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕) ในขณะที่ อัจยุติ สังข์เกษมยังได้อธิบายถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7) กับเพลงลาวดวงเดือน ไว้อย่างสอดคล้อง ความว่า เพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)ประพันธ์ทำนองโดยอันโตญีน ดโวชาก (Antonín Dvorak) คีตกวีชาวเช็กเมื่อคริสต์ศักราช ๑๘๙๔ หากพิจารณาทำนองของเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)ในช่วงTheme A กับเพลงลาวดวงเดือนท่อน ๑ แล้ว จะพบว่ามีการใช้ลักษณะของการประพันธ์เพลงที่คล้ายคลึงกันตรงที่ประพันธ์ให้โน้ตตัวแรกของเพลงและโน้ตตัวสุดท้ายของท่อนเพลงขึ้นและจบเป็นเสียงโน้ตตัวเดียวกันนอกจากนี้ถ้าหากนำเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)ในช่วงTheme A มาจดบันทึกเป็นโน้ตแบบไทยแล้วเปลี่ยนบันไดเสียง (Transpose) จากนั้นนำมาเทียบกับโน้ตเพลงลาวดวงเดือนแล้ว จะพบว่าโน้ตเพลงลาวดวงเดือนนั้น ได้ถูกขยายทำนองเพลงขึ้นเป็นอีกเท่าหนึ่งของเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)ในช่วงTheme A อีกด้วย(อัจยุติ สังข์เกษม, สัมภาษณ์, ๘ กันยายน ๒๕๖๕) จากข้อมูลข้างต้นที่มีการตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)และเพลงลาวดวงเดือนนั้น หากพิจารณาดูแล้วจะพบว่าเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7)เป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อคริสต์ศักราช ๑๘๙๔ ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๓๗ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับปีที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม เสด็จไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษในพุทธศักราช ๒๔๓๙ พอดี จึงอาจเป็นไปได้ที่ลักษณะการประพันธ์เพลงในทำนองลักษณะนี้คงจะเป็นที่นิยมกันอยู่ในยุคสมัยนั้นและพระองค์อาจทรงเคยฟัง ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม จะทรงนำเพลงฮิวเมอเรสก์ส (Humoresqueop.101 No.7) มาเป็นแนวทางสำหรับทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนหรือไม่นั้น ผู้เขียนไม่สามารถยืนยันได้เพราะข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นแต่เพียงข้อมูลที่ผู้เขียนตั้งข้อสันนิษฐานขึ้นมาเพียงเท่านั้น สำหรับบทขับร้องของเพลงลาวดวงเดือนนั้น เนื่องจากผ่านระยะเวลามานานเกินศตวรรษ ด้วยเหตุนี้ประวัติของเพลงรวมถึงคำร้องบางคำที่นำมาร้องในแต่ละครั้งหรือแต่ละบุคคล จึงอาจกลายไปจากเดิมบ้างดังที่ชัยพัฒน์ อุดมมะนะ ทายาทรุ่นที่ ๕ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ได้แสดงทรรศนะถึงประวัติของเพลงและบทขับร้องของเพลงลาวดวงเดือนไว้ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับความรักระหว่างเสด็จในกรมกับเจ้าหญิงล้านนา จนกลายเป็นเหตุให้เสด็จในกรมต้องทรงพระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนนั้น จะจริงหรือไม่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้เพราะในราชสกุลไม่ได้กล่าวถึงเรื่องราวที่ว่านี้แต่อย่างใด ส่วนผู้ที่ขับร้องเพลงนี้เป็นคนแรกนั้น คือ หลวงอำนาจณรงค์ราญ (ไพฑูรย์ เพ็ญกุล) โดยมีเสด็จในกรมเป็นผู้รับสั่งให้คุณหลวงร้อง สำหรับบทขับร้องของเพลงลาวดวงเดือนที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างไปจากบทพระนิพนธ์ของเดิมอยู่บ้าง เพราะคำร้องที่ทรงพระนิพนธ์นั้น จะต้องปรากฏคำร้องจำพวก เอ๊ะ ! โอ้ะ ! เช่นนี้เป็นต้น ซึ่งบทขับร้องที่นำมาร้องกันในปัจจุบันไม่ปรากฏคำเหล่านี้แล้ว อย่างเช่นคำร้องในท่อนสามของเพลงนั้น ปัจจุบันร้องกันว่า “...หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย...” ถ้าจะร้องให้ถูกต้องตามบทขับร้องที่ทรงพระนิพนธ์ไว้แต่เดิมแล้วนั้นจะต้องเป็น “...หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ เอ๊ะ ! หอมกลิ่นคล้าย กลิ่นสูเรียมเอย...” ซึ่งหลักฐานบทขับร้องที่ถูกต้องที่สุดนั้น คือ บทขับร้องเพลงลาวดวงเดือนที่ตีพิมพ์อยู่ในหนังสือที่ระลึกงานงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าเผ่าเพ็ญพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ พระโอรสของเสด็จในกรม (ชัยพัฒน์ อุดมมะนะ, สัมภาษณ์, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕) “เพลงลาวดำเนินเกวียน” หรือ “เพลงลาวดวงเดือน” นอกจากจะนิยมนำมาบรรเลงและขับร้องโดยทั่วไปแล้ว ต่อมายังถูกนำมาบรรจุเป็นเพลงสำหรับประกอบการแสดงชุด “ฟ้อนดวงเดือน” อีกด้วย โดยการแสดงชุดนี้กรมศิลปากรได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ เพื่อสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสที่พระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแก่พระราชอาคันตุกะเป็นการส่วนพระองค์ โดยมีนายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติเป็นผู้นำเพลงลาวดวงเดือนไปบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ถวายทอดพระเนตร ส่วนท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ เเละเนื่องจากบทขับร้องของเพลงนี้ เป็นการรำพันถึงความรักของชายหนุ่มที่มีต่อหญิงสาว การแสดงฟ้อนดวงเดือนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่นี้ จึงแสดงลีลาท่าทางเกี้ยวพาราสีที่งดงามตามแบบนาฏศิลป์ไทย ฟ้อนดวงเดือนชุดนี้ได้จัดแสดงถวายทอดพระเนตรหลายครั้ง อาทิ ในโอกาสทรงรับรองพระราชอาคันตุกะ คือ เจ้าชายเฟรด เดริค วิลเฮล์ม ฟรอน บรัสสัน แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ สวนศิวาลัย ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ ในโอกาสพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแก่เจ้าชายและเจ้าหญิงฮิตาชิ ณ พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ และครั้งที่ ๓ ในโอกาสพระราชทานเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแก่พระสหาย ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ นอกจากนี้กรมศิลปากรยังได้นำการแสดงชุดนี้ออกแสดงในโอกาสต่าง ๆ อีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน ในบั้นปลายพระชนม์ชีพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมทรงพระประชวรด้วยพระโรควัณโรคภายในและสิ้นพระชนม์เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช๒๔๕๒สิริพระชนมายุได้๒๘พรรษา ถึงแม้พระองค์จะสิ้นพระชนม์มาเป็นเวลาถึง ๑๑๓ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้แต่ทว่าผลงานพระนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนของพระองค์นั้น ยังคงเป็นเพลงไทยที่ได้รับความนิยมและอยู่ในสังคมไทยมาตลอดมิได้สูญหายไปตามกาลเวลา กล่าวได้ว่า “เพลงลาวดำเนินเกวียน” หรือ “เพลงลาวดวงเดือน”นี้นับเป็นเพลงไทยเพลงหนึ่งที่มีความทันสมัยใหม่เสมอและยังคงอยู่ในความทรงจำและความประทับใจของคนไทยมาอย่างยาวนานมากกว่าศตวรรษ รายการอ้างอิง ชัยพัฒน์ อุดมมะนะ.สัมภาษณ์, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕. พูนพิศ อมาตยกุลและคณะ. นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้ว,๒๕๓๒. วาคภัฎศรีวรพจน์. ดุริยางคศิลปินชำนาญงาน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร.สัมภาษณ์, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕. อัจยุติ สังข์เกษม. ดุริยางคศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร.สัมภาษณ์, ๘ กันยายน ๒๕๖๕.


อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา.  ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย.      กรุงเทพฯ: กองวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๑๕.           ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทยเป็นตอนหนึ่งของเรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทย กล่าวถึงเรื่องราวประเพณีการแต่งงานของไทย ประกอบด้วย ลักษณะวิธีแต่งงาน เฒ่าแก่ทาบทาม ขันหมากหมั้น ฤกษ์และวันเดือนเกี่ยวกับการแต่งงาน เรือนหอ ขันหมากเอกโท ขนมแต่งงาน ปิดประตูขันหมาก เปิดเตียบ วิธีไหว้ผี เรื่องตักบาตรของบ่าวสาว พิธีซัดน้ำ พิธีเกี่ยวก้อย นอนเฝ้าหอ และ ปูที่นอนและส่งตัวเจ้าสาว เป็นต้น


          เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช 2566 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ได้จัดกิจกรรรมบรรยาย “ศาสตร์แห่งการอนุรักษ์ : ภาพวาดสีน้ำมันสำเนาแห่งอดีต”  เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และทางด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทภาพวาดสีน้ำมัน ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ โดยการบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และวิธีการอนุรักษ์จิตรกรรมผ่าน ภาพวาดสีน้ำมันที่จัดแสดง ณ พระที่นั่งจันทรพิศาล จำนวน 3 ภาพ ซึ่งล้วนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์สำคัญและบุคคลสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์ผู้ปรีชาแห่งกรุงศรีอยุธยา           1. ภาพสมเด็จพระนารายณ์รับราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จาก เชอวาเลีย เดอโชมองต์ วาดเมื่อพ.ศ. 2509 โดยอาจารย์จำรัส  เกียรติก้อง ศิลปินเอกด้านภาพเหมือน           2. ภาพออกพระวิสุทธสุนทร (โกษาปาน) วาดโดยอาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2549                      3. ภาพคณะราชทูตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ถวายพระราชสาสน์ที่สำนักวาติกัน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือศิลปินชาวต่างชาติ           กิจกรรมในครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถลงทะเบียนที่ QR CODE ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ภายในวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 036-411-458 ต่อ 107, 090-426-1284 หรือ Inbox Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ : King Narai National Museum หรือลงทะเบียนกดที่นี่ https://forms.gle/mHoGcPJZnxpLo8r66


โรคภัยไข้เจ๊บสมัยนี้มีมากมายแล้วคนที่บ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์เค้าเจ็บป่วยอะไรบ้างนะเชิญพบกับผลงานของนางสาวปิยะภัทร ราชวัตรนักศึกษาฝึกสหกิจสาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนครพนม


 เรื่องราว "รามเกียรติ์" ตอน กุมภกรรณทดน้ำ เล่าเรื่องตอน กุมภกรรณ ผู้เป็นน้องชายของทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา อาสารบกับกองทัพของพระราม โดยคิดอุบายตัดศึก ด้วยการเนรมิตกายให้ใหญ่โตเท่ากับภูเขา แล้วนอนขวางทางน้ำไม่ให้ไหลไปยังเขาวงกต อันเป็นที่ตั้งของกองทัพพระราม เหล่าไพร่พลของพระรามจะได้อดน้ำตายภายใน ๗ วัน    แต่เมื่อพระรามรู้อุบายของกุมภกรรณจากภิเภกแล้ว จึงมอบให้หนุมานทหารเอก ไปทำลายพิธีทดน้ำของกุมภกรรณนั้น จากนั้นจึงเกิดการต่อสู้กัน จนกุมภกรรณพ่ายแพ้หนีกลับเข้าเมืองลงกาไป  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระระเบียงคดด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร #กุมภกรรณทดน้ำ โขนพระราชทานเครดิต : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร เมืองลงกากุมภกรรณ น้องชายของทศกัณฐ์กุมภกรรณอาสาพี่ชาย ทำพิธีทดน้ำ เพื่อให้ทัพของพระรามขาดแคลนน้ำกุมภกรรณ ทำพิธีทดน้ำที่แหล่งต้นน้ำที่จะไหลไปเขามรกตอันเป็นที่ตั้งของกองทัพพระราม แล้วเนรมิตกายให้ใหญ่โตเท่าภูเขา แล้วนอนขวางทางน้ำ(พร้อมเนรมิตกายไม่ให้ใครเห็นได้) เพื่อไม่ให้น้ำไหลไปถึงที่ตั้งของกองทัพพระรามได้ พลับพลาที่ตั้งทัพของพระราม- สุครีพ กลาบทูลพระรามถึงความแห้งขอดของแม่น้ำ - ภิเภก กราบทูลพระรามว่า เป็นพิธีการทดน้ำของกุมภกรรณ แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน - หนุมานอาสาไปสืบความ ด้วยการแปลงเป็นเหยี่ยว บินไปยังวังของกุมภกรรณ กุมภกรรณทดน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำแห่งขอด และหนุมานได้ทำลายพิธีกรรมนั้นสำเร็จ เหยี่ยวแปลงหนุมาน ได้ใจความว่าเหล่าสนมกำนัลเหล่านี้เป็นผู้ที่ต้องจัดหาดอกไม้ไปให้กับกุมภกรรณเหยี่ยวแปลงจึงจับนางสนมกำนัลคนหนึ่งไปฆ่าเสียเหยี่ยวแปลงจึงจับนางสนมกำนัลคนหนึ่งไปฆ่า แล้วแปลงร่างเป็นนางสนมนั้น เพื่อแฝงตัวไปยังที่กุมภกรรณทำพิธีหนุมานแปลงร่างเป็นนางสนมนั้น เพื่อแฝงตัวไปยังที่กุมภกรรณทำพิธี และท้ายที่สุดก็ได้ทำลายพิธีทดน้ำของกุมภกรรณหนุมานทำลายพิธีทดน้ำของกุมภกรรณได้สำเร็จ ห้องที่ ๑๒ "กุมภกรรณอาสาทำพิธีทดน้ำ" -นายเจริญ ช่างทอง -นายกำจัด ประดิษฐ์เขียน เขียน พ.ศ.๒๔๗๔ -นายสังเวียน ชุ่มภาณี เขียนซ่อม พ.ศ.๒๕๑๖  


          วันอังคารที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. กลุ่มคลังและพัสดุ กรมศิลปากร เริ่มเปิดให้ผู้ที่มีบัตรจองเข้ารับพระพุทธสิหิงค์ จำลอง รุ่น ครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๖๖ และเหรียญพระพุทธสิหิงค์ เป็นวันแรก โดยมีผู้ที่มีบัตรคิวสั่งจองพระพุทธสิหิงค์ จำลอง เข้ามารับเป็นจำนวนมาก             ทัังนี้ การจัดสร้างพระพุทธสิหิงค์ จำลอง รุ่น ครบรอบ ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๖๖ จัดสร้างขึ้นเพื่อหารายได้นำเข้ากองทุนโบราณคดี เพื่อใช้ในการบูรณะโบราณสถาน และกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ


นิทรรศการหมุนเวียน   "Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี   ประจำเดือน "ธันวาคม" เชิญพบกับ  "โถพร้อมฝา" (CELADON) ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง พระนอนที่วัดพระนอน ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


นาคทัณฑ์ - คันทวย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่่ ๒๔ไม้แกะสลัก สูง ๑๖๕ ซม. กว้าง ๕๔ ซม.ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ นาคทัณฑ์ เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ ส่วนในภาษาไทยภาคกลาง เรียกว่าคันทวย หมายถึงส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม สำหรับค้ำยันรองรับส่วนของชายคา โครงสร้างเป็นแผ่นไม้ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  สลักวและฉลุลวดลายอย่างวิจิตรงดงามนาคทัณฑ์หรือคันทวยนี้ เดิมคงเป็นส่วนประกอบของวิหารใดวิหารหนึ่ง                           ภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย ด้วยเดิมประกอบด้วยวิหารที่สร้างจากไม้มีทั้งวิหารขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อมีการบูรณะวิหารเหล่านั้น ส่วนประกอบสถาปัตยกรรมบางประเภท         อย่างเช่น นาคทัณฑ์ หรือคันทวย ซึ่งเป็นส่วนรองรับหลังคาที่เสื่อมสภาพช้ากว่าส่วนประกอบอื่นๆ หลงเหลือไว้สำหรับศึกษารูปแบบทางลวดลาย เทคนิคทางเชิงช่างได้ นาคทัณฑ์ทรงสามเหลี่ยมมุมฉาก ส่วนบนเป็นชุดบัวหงาย สลักเป็นรูปตัวลวง เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายนาค ลำตัวยาว มีหงอน มีเขา ปีก และเท้า จำนวน ๔ เท้า ปลายหางเป็นช่อกระหนก พื้นหลังสลักลายช่อพันธุ์พฤกษา ถัดลงมาเป็นชุดฐานบัวลูกแก้วออกไก่ กลีบบัวมีขนาดใหญ่ ส่วนล่างสุดสลักเป็นลายก้านขดในกรอบสามเหลี่ยมยาวตลอดปลายนาคทัณฑ์ ในศิลปะล้านนา พบว่ามีการประดับตัวลวงหรือพญาลวง ที่เป็นสัตว์มีรูปร่างยาวคล้ายงูหรือนาค  มีหงอน มีเครา ครีบ และที่สำคัญคือมีปีกและขา 4 ขา คำว่าลวง คงมีที่มาจากคำว่า หลง               ในภาษาจีนที่แปลว่ามังกร ตัวแทนของธาตุไฟ มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ โดยนำมาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องนาคที่มีอยู่เดิม นิยมในงานช่างล้านนาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา อ้างอิงปรัชญา เหลืองแดง. “มังกรจีนในงานประดับหลังคาพุทธสถานไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔.” วิทยนิพน์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, วิหารล้านนา กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ ๒๕๔๔


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : สร้างโรงเรียนที่ดอกคำใต้ -- เมื่อร้อยกว่าปีก่อน ได้มีการสร้างโรงเรียนขึ้นที่อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในเอกสารจดหมายเหตุชุด กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ วันที่ 20 สิงหาคม ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการในขณะนั้น ได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ราชเลขานุการ ความในหนังสือกล่าวถึงการบริจาคทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธาเพื่อสร้างโรงเรียนและบริจาคสิ่งของให้กับโรงเรียนแห่งต่างๆ ในมณฑลพายัพ จำนวน 4 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโรงเรียนที่อำเภอดอกคำใต้ โดยระบุว่า นายทรัพย์ นายอำเภอดอกคำใต้ (ขณะนั้นยังขึ้นอยู่กับเมืองหรือจังหวัดเชียงราย) ได้จัดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนสมาคมพิทยาทาน” เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454) มีนักเรียน 17 คน แม้จะไม่ได้ระบุจำนวนครูผู้สอนแต่มีการระบุว่าเงินเดือนครูเดือนละ 20 บาทนั้น กรมการอำเภอและเสมียนพนักงานเป็นผู้ออกให้ เป็นที่น่าเสียดายว่า หนังสือราชการฉบับนี้ได้ให้รายละเอียดของโรงเรียนสมาคมพิทยาทานไว้แต่เพียงเท่านี้ และในเวลาต่อมา ชื่อของโรงเรียนแห่งนี้ก็ค่อยๆ สูญหายไปจนไม่ปรากฏที่อำเภอดอกคำใต้อีกแล้วในปัจจุบัน ฉะนั้นจึงควรจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมกันต่อไปว่า โรงเรียนแห่งนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เปิดสอนนักเรียนชั้นใดบ้าง และปิดตัวลงไปเมื่อใดผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: 1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการ มร.6 ศ/4 เรื่อง สร้างโรงเรียนวัดบุญเกิด อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดเชียงราย [ 20 ส.ค. 131 ].2. “แจ้งความกระทรวงธรรมการ พแนกศึกษาธิการ เรื่อง สร้างโรงเรียนแลให้สิ่งของบำรุงโรงเรียน.” (ร.ศ. 131) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 29, ตอน ง (25 สิงหาคม): 1188-1190.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


Messenger