ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,821 รายการ

 ชื่อผู้แต่ง  :  วรรณิภา  ณ สงขลา   ชื่อเรื่อง  :  การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง   ปีที่พิมพ์  :  ๒๕๒๘   ครั้งที่พิมพ์  :  -   สถานที่พิมพ์  : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์  :  อมรินทร์การพิมพ์   จำนวนหน้า  :  ๑๓๐ หน้า   หมายเหตุ  :  กรมศิลปากร จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส การจัดนิทรรศการ การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง พระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง เป็นหนังสือวิชาการที่ให้ความรู้ ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังโดยตรง จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อถวายท่านเจ้าอาวาสวัดที่มีจิตรกรรมฝาผนังทั่วประเทศ  


ชื่อเรื่อง : สุภาษิตต่าง ๆ ตายแล้วไปไหน ความขบขัน การแต่งงาน ลักษณะของคน รัฐบุรุษคนสำคัญในปัจจุบัน มนุสสปฏิวัติ ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ, พล.ต. หลวง ปีที่พิมพ์ : 2504 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภา จำนวนหน้า : 288 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้รวมรวมปาฐกถาของ พล.ต. หลวงวิจิตรวาทการ ทั้งหมด 7 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่องสุภาษิตต่าง ๆ สุภาษิตที่นำมากล่าวมีที่มาจากหลายชาติหลายภาษา โดยได้อธิบายถึงความหมายและคติสอนใจ 2. เรื่องตายแล้วไปไหน ความตายเป็นธรรมชาติอันหนึ่งซึ่งไม่มีใครหนีพ้น ดังที่พระพุทธเจ้าให้พึงระลึกไว้ว่า ไม่มีอนุสสติอันใดที่จะให้ผลานิสงส์มากเท่ามรณานุสสติ 3. เรื่องความขบขัน ความขบขันก็มีหลักทางวิชาการ การจะขันเรื่องใดต้องขบให้แตกก่อนว่าเป็นเรื่องน่าขันหรือไม่ บางเรื่องเป็นเรื่องน่าขันสำหรับเราแต่ผู้อื่นไม่ได้มองว่าน่าขัน 4. เรื่องการแต่งงาน เป็นการชี้ให้เห็นถึงมุมมองของการแต่งงานที่มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ๕. เรื่องลักษณะของคน "หน้าที่" เป็นสิ่งสำคัญของมนุษย์ ความรักความซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นข้อสำคัญที่จะทำให้คนเป็นคนดี 6. เรื่องรัฐบุรุษคนสำคัญในปัจจุบัน กล่าวถึงรัฐบุรุษที่น่ายกย่อง ได้แก่ เดวาเลรา สตาลิน มุสโสลินี ฮิตเลอร์ มหาตมะคานธี และเยาวหราล เนหรู 7. เรื่องมนุสสปฏิวัติ มนุสสปฏิวัติส่วนสำคัญที่ต้องทำคือการปลูกความขยันขันแข็งในการทำงาน ปลูกความนิยมในงานอาชีพ และเพาะนิสัยพึ่งตนเอง


          สืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2528 - 2529 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการทำปุ๋ยหมัก ทำนาและเกี่ยวข้าวที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ที่มีการเพาะปลูกข้าวมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ถึง 3 ครั้ง (ในขณะนั้น) ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อเกษตรกรชาวไทย ในด้านการพัฒนาการทำนา และที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นผู้ให้ขวัญกำลังใจแก่ชาวนาไทยอย่างใหญ่หลวง           พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมายังจังหวัดสุพรรณบุรีในพระราชกรณียกิจด้านการเกษตร ในช่วงปี พ.ศ. 2528 - 2529 (ก่อนการก่อตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย หลังแรก) รวม 4 ครั้ง ในห้วงเวลาดังกล่าว           ครั้งที่ 1 วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2528 พระองค์ทรงทอดพระเนตรการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ณ บ้านแหลมสะแก (บึงฉวากในปัจจุบัน) ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี           ครั้งที่ 2 วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528 พระองค์ทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชต่าง ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวจังหวัดสุพรรณบุรี และเกษตรกรชาวไทย ตามโครงการรณรงค์จัดทำปุ๋ยหมัก เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกรนำไปปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ณ บ้านแหลมสะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี           ครั้งที่ 3 วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2529 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ บึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี           ครั้งที่ 4 วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2529 พระองค์ทรงนำพสกนิกรเก็บเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิต ณ บึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อทรงเกี่ยวข้าวแล้วทรงนำข้าวป้อนเข้าเครื่องนวดข้าว ผลปรากฏว่าได้เมล็ดข้าวจำนวน 1,047 กิโลกรัมต่อไร่ หรือไร่ละ 104 ถัง และได้พระราชทานข้าวที่ทรงเกี่ยวแก่เกษตรกรผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จ พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงหว่านข้าวในแปลงนาสาธิตบึงไผ่แขกด้วยพระองค์เอง ทรงถอดรองพระบาท ย่ำท้องนาด้วยพระบาทเปล่า (พระบรมฉายาลักษณ์จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี) พระบรมฉายาลักษณ์ขณะทรงเกี่ยวข้าวในแปลงนาสาธิตบึงไผ่แขกด้วยพระองค์เอง เพื่อเป็นปฐมฤกษ์และเป็นขวัญกำลังใจแก่พสกนิกรเกษตรกรชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นพระมหากรุณาล้นเกล้าล้นกระหม่อม (พระบรมฉายาลักษณ์จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี) หมายเหตุ : อนุเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมโดย หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ภาพจาก หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มาของข้อมูล : Facebook Page : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum เผยแพร่ข้อมูลในวันที่ 16 เม.ย. 2563  


สวัสดีค่ะ ขอเชิญชวนน้องๆ และครอบครัว มาท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และร่วมทำกิจกรรมสนุกๆในวันหยุดนี้ร่วมกันค่ะ กิจกรรมสุดพิเศษทุกๆวันเสาร์ อาทิตย์ ประจำเดือนกรกฎาคม "ร้อยกำไลลูกปัด"ฟรี ทุกกิจกรรม




ชื่อเรื่อง : สุบินคำกาพย์ ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม จำนวนหน้า : 354 หน้า สาระสังเขป : เรื่องสุบินคำกาพย์ เป็นนิทานคติธรรมสอนใจให้เห็นโทษของการทำบาป และคุณของการทำบุญ เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า เมืองสาวัตถีมีนายพรานป่าคนหนึ่งเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ เจ้าเมืองจึงตั้งให้เป็นขุนพฤกษาดูแลป่า มีลูกชายชื่อสุบินกุมาร เมื่อสุบินกุมารอายุได้ 7 ปี บิดาเสียชีวิต ด้วยมีนิสัยฝักใฝ่ในพระธรรม สุบินกุมารจึงขอลานางสุภาคีผู้เป็นมารดาไปบวชเรียนเป็นสามเณร วันหนึ่งพระยมใช้ให้ท้าวจตุโลกบาลไปค้นหามนุษย์ที่ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมเพื่อนำมาจารึกชื่อไว้ในแผ่นทองคำ ส่วนคนใจบาปให้บันทึกชื่อไว้ด้วยเลือดในแผ่นหนังสุนัข ท้าวจตุโลกบาลไปพบนางสุภาคีผู้ไม่รู้จักบาปบุญ นางจึงตกนรก สีเหลืองของไฟนรกทำให้นางนึกถึงสีจีวรของลูกจึงได้ร้องขอให้ลูกช่วย  ปรากฏว่ามีดอกบัวบานผุดขึ้นมารับร่างของนางและเกิดฝนสวรรค์ตกลงในนรกทำให้สัตว์นรกได้ทุเลาความร้อนด้วยบุญของเณรสุบิน พระยมจึงให้ส่งนางคืนกลับโลกมนุษย์ เมื่อนางกลับมาได้ตรงไปที่วัดและเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นชาวบ้านฟัง คนที่ได้ฟังต่างก็กลัวบาปและกลับใจประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม


THAI CULTURE, NEW SERIES No. 16 THAI MUSIC IN WESTERN NOTATION BY PHRA CHEN DURIYANGA


ชื่อผู้แต่ง        พระอุปัชฌาย์ทอง    มุณีเพ็ชรรัตน์ ชื่อเรื่อง         หนังสือคาระวะ ๗ ประการ ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์   - สำนักพิมพ์     - ปีที่พิมพ์        2497           จำนวนหน้า    17   หน้า หมายเหตุ       พิมพ์แจกไว้เป็นที่ระลึกในงานฉลองโรงพระอุโบสถ วัดคลองแห ตำบลคลองแห อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา                   หนังสือคาระวะ ๗ ประการ เป็นการรวบรวม จากตำราเก่าๆ พิมพ์แจกเป็นที่ระลึก ในงานฉลองพระอุโบสถวัดคลองแห ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา สิ่งที่ควรไหว้และสักการะ ได้แก่ ๑.พุทธะคาระวะตา ๒.ธัมมคาระวะตา ๓.สังฆคาระวะตา  ๔.สิกขะคาระวะตา ๕.สมาธิคาระวะตา ๖.อัปปมาทคาระวะตา  ๗. ปติสันถาระคาระวะตา



ชื่อเรื่อง                     ศาสนวงศ์หรือประวัติศาสนาผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                     294.309 พ347ศสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุปีที่พิมพ์                    2506ลักษณะวัสดุ               490 หน้าหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา – ประวัติ                              สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน), 2417-2505ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก       เรื่องศาสนวงศ์หรือประวัติศาสนานี้ พระปัญญาสามี พระภิกษุชาวพม่า แต่งเป็นภาษามคธ โดยสอบทานกับคัมภีร์ที่ท่านโบราณจารย์แต่งไว้เป็นภาพม่า เป็นเรื่องที่กล่าวถึงพุทธประวัติเริ่มตั้งแต่ตอนประสูติจนถึงการเผยแผ่พุทธศาสนาออกไปในต่างประเทศ เช่น เกาะสีหฬ (ลังกา) แคว้นสุวรรณภูมิ แคว้นโยนก แคว้นวนวาสี แคว้นอปรันตะ แคว้นกัสมีรคันธาระ แคว้นมหิงสกะ แคว้นมหารัฐ และแคว้นจีน


          หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปเคารพ โบราณสถาน จารึก พงศาวดาร และจดหมายเหตุ เป็นต้น ในบรรดาหลักฐานที่กล่าวมา จารึก ถือเป็นหลักฐานชั้นต้นประเภทลายลักษณ์อักษรที่สำคัญและน่าเชื่อถือที่สุดเนื่องจากทำขึ้นในช่วงเวลาที่เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น และบางจารึกมีการระบุศักราชหรือชื่อผู้สร้าง โดยจารึกที่พบในภาคใต้มักเป็นตัวอักษรและภาษาที่ใช้กันในประเทศอินเดียสมัยโบราณ           จารึกที่แสดงถึงการเข้ามาชาวอินเดียที่พบในแหล่งโบราณคดีฝั่งอันดามัน คือ จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง และจารึกเขาพระนารายณ์ (จารึกหลักที่ ๒๖) โดยมีรายละเอียดดังนี้ จารึกบนหินลองเครื่องมือของช่างทอง อักษร/ภาษา : อักษรพราหมี ภาษาทมิฬ อายุ : พุทธศตวรรษที่ ๘-๙ พบที่ : แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) จังหวัดกระบี่ คำอ่าน-คำแปล : อ่านว่า เปรุมปาทัน กัล แปลว่า หินของนายเปรุมปาทัน หรือ อ่านว่า เปรุมปาตัน กัล แปลว่า หินลองเครื่องมือของช่างทองผู้ยิ่งใหญ่ (หรือช่างทองอาวุโส) คำว่า เปรุมปาทัน แปลตามตัวอักษรได้ว่า ตีนโตภาพ : พิพิธภัณฑสถานคลองท่อม จังหวัดกระบี่           การพบหินลองเครื่องมือของช่างทองที่มีจารึกภาษาทมิฬในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘-๙ นี้ อาจสะท้อนให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด (คลองท่อม) เป็นเมืองท่าโบราณที่มีชาวอินเดียใต้ที่เป็นช่างฝีมือเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ สอดคล้องกับอายุสมัยของแหล่งและการพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เช่น ลูกปัดหินประเภทกึ่งอัญมณี (semi–precious) ทั้งแบบเรียบ และแบบฝังสี (etched bead) ลูกปัดแก้ว (glass bead) ลูกปัดแก้วหลายสี (striped bead) ลูกปัดมีตา (eye bead) หัวแหวนสลักจากหินมีค่า (intaglios-cameo) เหรียญ และตราประทับ เป็นต้น ---------------------------------------ค้นคว้า/เรียบเรียงข้อมูล : น.ส.สุขกมล วงศ์สวรรค์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ---------------------------------------อ้างอิง : - อมรา ศรีสุชาติ. ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๗.- Wheatley,Paul. The Golden Khersonese. Kuala Lumpur: University of Malay Press, ๑๙๖๑.


ชื่อเรื่อง : ปมด้อยของรัฐบุรุษในโลก   ผู้แต่ง : อารยันตคุปต์   ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๕   สถานที่พิมพ์ : พระนคร   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์จำลองศิลป                                  ปมด้อยของรัฐบุรุษในโลก เล่มนี้ เน้นหนักไปในทางประวัติศาสตร์ เมื่อพูดรวมๆ คำว่า ด้อย มีหลายแง่หลายด้าน เช่น ด้อนในทางรูปร่าง และกิริยาวาจา ด้อยในทางวิชาความรู้ ฯลฯ เมื่อสรุปแคบๆ รวมทั้งหมดทั้งเล่ม ก็คือ ด้อยในทางมนุษย์ธรรม หรือพรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นจุดสำคัญแห่งลัทธิสากลนิยม และสมนุษย์ทั่วโลกย่อมเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกัน


          วันนี้ (วันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓) เวลา ๑๐.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี ๒๕๖๓ ณ วัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ในพื้นที่เข้าร่วมในพิธี           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม นำผ้าพระกฐินพระราชทานไปถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดพระงาม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยจัดให้มีพิธีสมโภชองค์พระกฐิน ในวันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๓ และประกอบ พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ในวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ พร้อมทั้งบริจาคปัจจัยนำเข้าสบทบถวายบำรุง พระอารามหลวง วัดพระงาม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๔,๐๓๘,๐๐๐ บาท (สี่ล้านสามหมื่นแปดพันบาทถ้วน) ทั้งนี้ พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน เป็นกิจกรรมสำคัญที่กรมศิลปากรปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี เพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา           วัดพระงาม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศตะวันตก เฉียงเหนือของเมืองนครปฐมโบราณ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี สันนิษฐานในเบื้องต้นว่าน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ มีโบราณสถานสำคัญเรียกกันว่า "เนินวัดพระงาม" เป็นชั้นดินทับถมหนากลายเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ในอดีตเส้นทางรถไฟสายใต้ได้ตัดผ่านเนินดินทางด้านทิศเหนือของวัดพระงาม ทำให้มีการค้นพบโบราณวัตถุศิลปะทวารวดีหลายรายการ เช่น พระพุทธรูปสําริด กวางหมอบ ธรรมจักร พระพิมพดินเผา รวมทั้งเศียรพระพุทธรูปดินเผาที่มีพุทธศิลป์งดงาม การคนพบหลักฐานทางโบราณคดีลาสุดในพุทธศักราช ๒๕๖๒ และนับวาเปนโบราณวัตถุชิ้นสําคัญคือ การคนพบจารึกบริเวณเนินโบราณสถานวัดพระงาม



Messenger