ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,820 รายการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ: เปลี่ยนนามอำเภอ -- แต่เดิมนั้น การกำหนดนามของอำเภอต่างๆ จะกำหนดตามชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ ซึ่งการกำหนดนามในลักษณะนี้ เป็นไปตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่ได้ประกาศไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว ยังคงพบปัญหาในการกำหนดนามอำเภอตามประกาศดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2470 กระทรวงมหาดไทยได้รับใบบอกจากมณฑลพายัพว่า มีอำเภอหลายแห่งมีนามที่ไม่ตรงกับที่ตั้งที่ว่าการ และราษฎรเองก็ไม่นิยมเรียกนามอำเภอที่ใช้อยู่ จึงเสนอขอเปลี่ยนนามอำเภอในมณฑลพายัพรวม 11 แห่ง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ในที่นี่จะขอยกตัวอย่าง 3 อำเภอคือ 1. อำเภอบุญยืน จังหวัดน่าน ขอเปลี่ยนนามเป็นอำเภอเวียงสา 2. อำเภอบ้านม่วง จังหวัดน่าน ขอเปลี่ยนนามเป็นอำเภอเมืองปง (ภายหลังโอนมาอยู่กับจังหวัดเชียงรายและจังหวัดพะเยาตามลำดับ) 3. อำเภอบ้านกลาง จังหวัดแพร่ ขอเปลี่ยนนามเป็นอำเภอเมืองสอง การเสนอขอเปลี่ยนนามของทั้ง 3 อำเภอ มีเหตุผลมาจากนามอำเภอที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้น เป็นชื่อที่ราษฎรนิยมเรียก และเป็นที่เข้าใจกันมาแต่เดิมมากกว่าชื่อปัจจุบันที่ทราบกันแต่ทางราชการเท่านั้น ความเรื่องนี้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงมีพระราชกระแสว่า โดยมากไม่ทรงเห็นขัดข้อง แต่ทรงสงสัยเรื่องนามอำเภอที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมือง” เช่น อำเภอเมืองสอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทูลถามไปยังกรมพระดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) กรมพระดำรงราชานุภาพทรงมีพระดำริเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ไม่ควรใช้คำว่า “เมือง” ในชื่ออำเภอ เช่น “อำเภอเมืองสอง” ควรเรียกว่า “อำเภอสอง” เท่านั้นก็พอแล้ว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยตามพระดำริ และโปรดเกล้าฯ ให้บอกไปยังกระทรวงมหาดไทยตามนัยแห่งพระดำริดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการเสนอขอเปลี่ยนนามอำเภอ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นชอบแล้วก็ตาม แต่กว่าที่อำเภอทั้ง 3 แห่ง (รวมถึงอำเภออื่นๆ ที่เสนอมาพร้อมกัน) จะได้รับการเปลี่ยนนามกันจริงๆ ต้องรอจนถึงปี พ.ศ. 2482 เมื่อมี “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง” ออกมาอย่างเป็นทางการผู้เขียน: นายธัชพงศ์ พัตรสงวน (นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง: 1. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงมหาดไทย ร.7 ม. 4.3/2 เรื่อง นามเมือง, นามอำเภอ, นามจังหวัด [28 มิ.ย. 2470 – 21 เม.ย. 2475]2. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารส่วนพระองค์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สบ.2.42/81 เรื่อง กระทรวงมหาดไทยขอเปลี่ยนนามอำเภอในมณฑลพายัพ [28 มิ.ย. – 4 ก.ค. 2470]3. “พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช 2482.” (2482). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 (17 เมษายน): 354-363.#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
.
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (สุวรรณสาม) สพ.บ. สพ.บ.420/2กหมวดหมู่ พระพุทธศาสนาภาษา บาลี-ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก พระไตรปิฎก ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ "ฉันท์สรเสริญพระมหามณีรัตนปฏิมากร : บทสดุดี “พระแก้วมรกต” ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร
๑๖๑ ปี คณะราชทูตสยามในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ เข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) เป็นอุปทูต และ พระณรงค์วิชิต (วร บุนนาค) เป็นตรีทูต จำทูลพระราชศาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ แห่งประเทศฝรั่งเศส บาทหลวงลาร์นอดีได้ร่วมเดินทางกับคณะทูตชุดนี้ในฐานะล่ามคณะราชทูตสยาม นำโดยเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (แพ บุนนาค) เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส และเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และพระจักรพรรดินีเออเชนี เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๐๔ ณ ห้องราตรีสโมสรอองรีที่ ๒ ในพระราชวังฟงแตนโบล
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม(สงฺคิณี-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. อย.บ.4/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดพระสี่อิริยาบถ เมืองกำแพงเพชร กับเจดีย์รายวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย.วัดพระสี่อิริยาบถเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองกำแพงเพชร สิ่งก่อสร้างสำคัญที่เป็นแกนหลักของวัดประกอบด้วยวิหาร ด้านหลังวิหารคือมณฑปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วรอบมณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถพบโบราณสถานที่คาดว่าเป็นเจดีย์ราย จำนวน 16 องค์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าเจดีย์ประจำมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑปประธาน มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอด จึงทำการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์รายดังกล่าวกับเจดีย์รายวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย..เจดีย์ทรงปราสาทยอด มีความหมายตามศัพทานุกรมทางโบราณคดีหมายถึง เจดีย์ทรงปราสาทที่มีส่วนสำคัญ คือ เรือนธาตุต่อด้วยยอดทรงกรวยรูปแบบต่างๆ กันตามความนิยมของแต่ละพื้นที่ ในแต่ละยุคสมัย .เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย ตามคำนิยามของ ศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทที่มีเรือนธาตุและยอดเป็นเจดีย์ มีส่วนสำคัญคือ เหนือเรือนธาตุจะมีเรือนชั้นซ้อนตั้งแต่ 2-4 ชั้น ประดับกลีบขนุน และประดับกรอบซุ้มหน้านาง ที่ส่วนกลางในแต่ละชั้น สันนิษฐานว่าปรับปรุงรูปแบบมาจากปราสาทเขมรคือ การมีเรือนชั้นซ้อน โดยเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัย ไม่มีช่องวิมานและบรรพแถลง ทำแต่เพียงกรอบซุ้มไว้ที่กลางชั้นแต่ละชั้น และดัดแปลงร่วมกับแนวความคิดของเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบพุกาม และล้านนาคือการทำกรอบซุ้มฝักเพกา ในขณะที่เจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบสุโขทัยทำกรอบซุ้มหน้านาง.ศาสตราจารย์ ดร. สันติ เล็กสุขุม อธิบายว่า ปราสาท หมายถึงรูปแบบเรือนที่มีหลายชั้นซ้อนกัน (ชั้นซ้อน) หรือที่มีหลังคาหลายชั้นซ้อนลดหลั่นกัน (หลังคาซ้อน) สำหรับเจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัยมีลักษณะบางประการคล้ายเจดีย์ทรงปรางค์ของอยุธยา เพราะต่างได้รับแรงบันดาลใจมาจากปราสาทเขมร เพียงแต่บริเวณส่วนยอดของเจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัยซ้อนกันน้อยชั้น และเรียบง่ายกว่า ไม่พบหลักฐานชัดเจนว่าสร้างเป็นประธานของวัดในสมัยสุโขทัย เช่น เจดีย์บริวารประจำทิศตะวันออก วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย.เจดีย์ทรงปราสาทแบบอื่นที่สร้างในศิลปะสุโขทัย อันได้รับแรงบันดาลใจจากเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนาโดยตรง หรือจากศิลปะพุกาม ตัวอย่างเช่น เจดีย์ราย วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย..วัดเจดีย์เจ็ดแถว ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวตูม และมีเจดีย์รายรวมทั้งอาคารขนาดเล็กแบบต่าง ๆ กัน 33 องค์ โดยตัวอย่างเจดีย์รายที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เจดีย์ประจำทิศใต้ มีลักษณะฐานบัวชั้นแรกประดับท้องไม้ด้วยเสาอิงเป็นระยะจนเกิดเป็นช่องสี่เหลี่ยม ต่อด้วยฐานสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวย่อมุมไม้ยี่สิบสองชั้น โดยฐานบัวชั้นล่างปรากฏร่องรอยปูนปั้นแสดงลักษณะฐานบัวลูกฟัก ต่อจากฐานบัวเป็นเรือนธาตุ 1 ชั้น ปรากฏซุ้มคูหาและบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ส่วนด้านทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ทำซุ้มประตูหลอก ประดับกรอบซุ้มหน้านาง ต่อจากเรือนธาตุเป็นฐานกลมสองชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกันสามชั้นและองค์ระฆัง ตามลำดับ .เจดีย์รายมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถ เมืองกำแพงเพชร มีลักษณะฐานเขียงวางตัวซ้อนกันสามชั้นในผังสี่เหลี่ยม ถัดจากฐานเขียงขึ้นมาสันนิษฐานว่าเป็นเรือนธาตุปรากฏซุ้มคูหาและบันไดทางขึ้นทางด้านทิศเหนือ ไม่เหลือร่องรอยการตกแต่งหรือทำเรือนชั้นซ้อนบริเวณกรอบซุ้มดังกล่าว ถัดขึ้นไปเป็นบัวถลาซ้อนกันสามชั้น พบบัวปากระฆังและองค์ระฆังบางส่วนตามลำดับบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ..จากลักษณะดังกล่าวเจดีย์รายที่มณฑปประธานวัดพระสี่อิริยาบถมีลักษณะคล้ายคลึง และแตกต่างกับเจดีย์ประจำทิศใต้ของเจดีย์ประธาน วัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย ดังนี้.ความเหมือน :1. ฐานอยู่ในผังสี่เหลี่ยม 2. มีเรือนธาตุและกรอบซุ้มหนึ่งชั้น และ บันไดทางขึ้นสู่เรือนธาตุ3. ส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานบัวถลาซ้อนกันสามชั้น.ความแตกต่าง : วัดพระสี่อิริยาบถ (เมืองกำแพงเพชร) วัดเจดีย์เจ็ดแถว (เมืองศรีสัชนาลัย)- ไม่พบฐานบัวรองรับเรือนธาตุ - ปรากฏฐานบัว และร่องรอยฐานบัวลูกฟัก- ผนังเรียบก่อด้วยศิลาแลง ไม่ทราบการตกแต่งโดยรอบเรือนธาตุแน่ชัด เนื่องจากการหลุดร่อนของปูนปั้น - เรือนธาตุทำซุ้มประตูหลอกในด้านทั้งสามที่เหลือ- ฐานบัวรองรับซุ้มคูหามีลักษณะยื่นออกมาจากฐานเขียงเพียงด้านเดียว - ปรากฏฐานรองรับซุ้มคูหาในลักษณะย่อมุม เมืองกำแพงเพชรปรากฏชื่อในจารึกสมัยสุโขทัยครั้งแรกในศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร พุทธศักราช 1940 ในฐานะเมืองบริวารร่วมกับเมืองศรีสัชนาลัย ดังข้อความ จารึกกฎหมายลักษณะโจร ด้านที่ 1 “...พระองค์ท่านเสด็จในกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ ด้วยพระราชศฤงคารบริพารพลแลจตุรงคนิกร ธารลำน้ำพระยาพังเกษตร สคาบุรีพระยาพัง ศรีสัชนาลัยบุรีพระยาพังไทวยนทีศรียมนาพี่พระยาทานพังนครไทยแล...พระราชโองการบรมเอาฬารหนักหนาจึงท่านให้ตราพระราชปรชญบติ...ให้ลูกขุนมูลตวานบริวารไพร่ฟ้าทั้งหลาย ถ้วนเมืองเล็กเมื(องใหญ่)...ราชสีมาทั้งหลายนี้ไซร้ กลางเมืองสุโขทัยอันเป็นประธาน กึ่งในเมื(อง)...ทํเนปรเชลียง กำแพงเพชร ทุ่งย้างปากยม สองแคว...” ส่วนวัดเจดีย์เจ็ดแถวมีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 - พุทธศตวรรษที่ 20 ตัวอย่างการกำหนดอายุเช่น เจดีย์ประธานทรงยอดดอกบัวตูม ซึ่งเป็นเจดีย์รูปแบบเดียวกับเจดีย์ประธานวัดอโสการามที่พบจารึกกล่าวถึงสมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์ พระอัครมเหสี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทรงมีพระราชศรัทธาประดิษฐานพระสถูปไว้ในวัดอโสการาม โดยจารึกระบุปีพุทธศักราช 1956 วัดพระสี่อิริยาบถสามารถกำหนดอายุได้จากการพบแผ่นจารึกลานเงินเสด็จพ่อพระยาสอย ที่ระบุว่าจารขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1963 กล่าวถึง สมเด็จพ่อพระยาสอยได้เสวยราชย์ที่บุรีศรีกำแพงเพชร และสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลีฯ ได้ประดิษฐานผอบพระรัตนธาตุเจ้าดังนั้นการที่ส่วนประกอบหลักของรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏความคล้ายกันระหว่างเจดีย์ราย วัดพระสี่อิริยาบถ และเจดีย์ประจำทิศใต้ วัดเจดีย์เจ็ดแถว อันได้แก่ ส่วนฐานวางตัวในผังสี่เหลี่ยม มีเรือนธาตุและกรอบซุ้มหนึ่งชั้น พร้อมบันไดทางขึ้น และ ส่วนยอดเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานบัวถลาซ้อนกันสามชั้น สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากอายุสมัยแห่งการก่อสร้างวัดทั้งสองแห่งที่อยู่ร่วมสมัยกันในฐานะเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัยเอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.กรมศิลปากร. รายงานการศึกษาและสำรวจโบราณสถานภายในเขตกำแพงเมือง. งานจัดทำแผนแม่บทโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, ม.ป.ป. เอกสารอัดสำเนา.คณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2542.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. นนทบุรี : เมืองโบราณ, 2560.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปกรรมโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, 2561.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สมาพันธ์, 2563.สันติ เล็กสุขุม. เจดีย์ ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : มติชน, 2553.ภาควิชาศิลปะสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. รายงานแบบสำรวจรังวัดโบราณสถานศรีสัชนาลัย (เล่มที่ 1). ม.ป.ท., 2549.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 55/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
อวิชฺชามาติกา (อวิชฺชามาติกา) ชบ.บ 111/1ฉ
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 158/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อผู้แต่ง กระทรวงศึกษาธิการ กรมสามัญศึกษา
ชื่อเรื่อง ที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดจงเจริญการพิมพ์
ปีที่พิมพ์ 2522
จำนวนหน้า 110 หน้า
หมายเหตุ ที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน กรมสามัญศึกษา
รายละเอียด
หนังที่ระลึกในงานพระกฐินพระราชทาน กรมสามัญศึกษา ณ วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี เนื้อหาสาระประกอบด้วยเรื่องประวัติวัดใหญ่อินทาราม คำปราศรัยของ รมต ว่าการกระทรวงศึกษาธิการจำนวน ๓ ครั้ง
แนะนำหนังสือน่าอ่าน
จักราพิชญ์ อัตโน. ตำราพรหมชาติ ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: วารา พับลิชชิ่ง, 2563. 1011 หน้า. ภาประกอบ. 800 บาท.
ให้ความรู้ในเรื่องการพยากรณ์ปีนักษัตร ลักษณะทั่วไปของคนทั้ง 7 วัน ลักษณะคู่ครอง วันมิตร วันศัตรู ตำราทำนายบุตรในครรภ์ เรื่องกงล้อแห่งโชคชะตา ตำรามหาฤกษ์ ตำราปลูกต้นไม้ ตำราทำนายลักาณะตามคัมภีร์ไตรเพท ศาสตร์ของการตั้งชื่อ นิติลางสังหรณ์ การทำนายฝัน เรื่องเวทมนต์ คาถาและมหาอาคม
133.52
จ 231 ต (ห้องทั่วไป 1)
ชื่อผู้แต่ง อบ ไชยวสุ.
ชื่อเรื่อง สะกดให้ถูกตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๖สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สำนักงาน หอสมุดกลาง๐๙
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๒
จำนวนหน้า ๖๗๙ หน้ารายละเอียด
สะกดให้ถูกตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย
คำศัพท์เฉพาะที่สะกดยาก ชวนให้ไขว้เขวผิดได้ง่าย พร้อมทั้งให้ความหมายตามแบบพจนานุกรม มีคำที่มักสะกดผิด ซึ่งประมวลจากบัญชีที่สถาบันการศึกษาต่างๆรวบรวมขึ้นไว้ คำพ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ และที่มีความหมายคล้ายกัน และการใช้วรรณยุกต์ตรีทับศัพท์คำต่างประเทศ
เลขทะเบียน : นพ.บ.426/3กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 153 (109-119) ผูก 3ก (2566)หัวเรื่อง : พระธัมสังคิณี--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.567/1ก ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 186 (347-356) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
“เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 14 พฤษภาคม 2566”
ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. มีการเลือกตั้งล่วงหน้าไปแล้วเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย คำว่า "ประชาธิปไตย" แปลว่า "ประชาชนเป็นใหญ่" คือการที่ประชาชนมีอำนาจอธิปไตย หรือมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ประชาชนทั้ง 65 ล้านคนจะเข้าไปปกครองบริหารประเทศทั้งหมดด้วยตนเองย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ตัวแทนที่ตนเลือกเพื่อให้ไปทำหน้าที่แทน ดังนั้นวันเลือกตั้ง ก็คือวันที่ประชาชนไปมอบอำนาจอธิปไตย หรือไปมอบหมายหน้าที่ให้แก่ผู้แทนที่ตนเลือกนั่นเอง
ถ้าผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปสามารถทำหน้าที่แทนประชาชนได้อย่างดี มีประสิทธิภาพสมกับที่ประชาชนไว้วางใจ ประชาชนก็จะอยู่ดีมีสุข ประเทศชาติและท้องถิ่นเจริญพัฒนา ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการเยียวยาแก้ไข
แต่ถ้าประชาชนเลือกผู้แทนที่ไม่ดี ไม่มีความรู้ความสามารถขาดคุณธรรม ได้รับเลือกตั้งด้วยการทุจริต ใช้เงินซื้อเสียง หลบเลี่ยงกฎหมาย เมื่อได้เข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน ก็ต้องถอนทุนคืนด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นเงินงบประมาณที่จะไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนก็รั่วไหล ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนก็ไม่ได้รับการแก้ไขเพราะตัวแทนที่เลือกเข้าไปไม่มีความคิดรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และทรยศต่อประชาชนที่ไว้วางใจมอบอำนาจอธิปไตยให้ตนเข้าไปทำหน้าที่แทน
การเลือกตั้งจึงมีความสำคัญที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปทำหน้าที่เลือกตัวแทน โดยพินิจพิจารณาเลือกอย่างละเอียดรอบคอบพิถีพิถัน ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบหนึ่งสำหรับเลือกบุคคลที่ชื่นชอบ ที่จะไปเป็นผู้แทนในสภา อีกบัตรหนึ่งเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ
ก่อนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มาทำความเข้าใจเพื่อป้องกันความสับสน ในการลงคะแนนเสียง การเลือกตั้งครั้งนี้ มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และ บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ใบที่ 1 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (สีม่วง) มีหมายเลขผู้สมัคร และ ช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค
ใบที่ 2 : บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (สีเขียว) มีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายของพรรคการเมือง และ มีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง
ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-17.00 น. ขอเชิญผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เข้าคูหา กาบัตรเลือกตั้ง เลือกคนที่รัก และ เลือกพรรคที่ชอบ
ข้อมูลประกอบ : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง